Skip to main content

ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 

กรณีทุบรถ คนทุบมีฐานะดี มีอำนาจต่อรองสูง ทำลายของส่วนบุคคล ละเมิดของส่วนตัว ไม่ได้ตั้งใจประท้วงปัญหานโยบายแต่แรก โทสะส่วนบุคคล ส่วนการขยายไปเป็นเรื่องสาธารณะนั้น ไม่แน่ใจว่าคนทุบรถคิดไว้แต่แรกหรือเปล่า หรือเพราะสื่อมวลชนและสังคมขยายประเด็นกันไปเอง 

ที่น่าแปลกใจก็คือ คนทุบรถกลายเป็นผู้มีส่วนเปิดโปงปัญหาของการบริหารราชการไป ทั้งๆ ที่อันที่จริงเป็นการละเมิดผู้อื่นที่มากีดขวางทางตน ไม่ได้ตั้งใจประท้วงความผิดผลาดเชิงนโยบายหรือการบริหารอะไรเลย  

กรณีทุบลิฟ คนทุบเป็น "คนพิการ"* อำนาจต่อรองน้อย ทำลายของสาธารณะ ตั้งใจทำเพื่อประท้วงปัญหาการบริหารและนโยบาย อาจมีโทสะส่วนตัว แต่การบันดาลโทสะในที่นี้ถือเป็นตัวแทนปัญหาส่วนรวมที่กว้างใหญ่กว่ากรณีทุบรถมาก อาจไม่ได้คิดวางแผนแต่แรกเช่นกัน แต่เป็นไปได้ว่าจะคิดทำให้เป็นประเด็นสาธารณะด้วยวิธีใดมานานแล้ว เพราะประสบปัญหานี้ด้วยตนเองมานานแล้ว 

แต่ผมกำลังคิดว่า กรณีนี้จะไม่ได้รับความสนใจมากเท่ากรณีแรก ส่วนหนึ่งเพราะสังคมไทยสนใจคนพิการน้อยอยู่แล้ว มีคนเคารพที่จอดรถที่มีสัญลักษณ์รถเข็นมากน้อยแค่ไหน กฎหมายมีบทลงโทษการจอดรถในที่คนพิการจริงจังแค่ไหน มีบัตรสำหรับคนพิการใช้แสดงสิทธิพิเศษในการจอดที่แบบนั้นไหม เพราะคนพิการบางคนไม่ได้ต้องนั่งรถเข็นเสมอไป แต่เขาสัญจรลำบากไม่น้อยกว่าคนใช้รถเข็น 

เห็นได้ชัดว่าสังคมไทยหมักหมมปัญหานี้ไว้ ไม่ถือว่าคนเหล่านี้เป็นคนเท่ากับคนที่เดินเหินสบาย สังคมไทยไม่เอาใจใส่กับสิทธิการสัญจรไปมาของพวกเขา ไม่ต้องอะไรมาก ไปดูกระทรวงสาธารณสุขสิครับ ดูสิว่ารถวีลแชร์คันไหนจะวิ่งบนทางเท้าในกระทรวงนี้ได้บ้าง ลำพังแค่คนจะเดินบนทางเท้าในกระทรวงนี้ยังลำบากเลย นี่ขนาดกระทรวงที่ตามหน้าที่ต้องดูแลสุขภาวะของคนนะครับ 

ฉะนั้น กรณีทุบรถมีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งส่วนตัว ที่มีปัญหาเชิงนโยบายและการบริหารเป็นโครงสร้างอีกชั้น คนทุบไม่ได้ทุบไปที่ตัวปัญหาใหญ่ ส่วนกรณีทุบลิฟมีพื้นฐานจากความขัดแย้งระหว่างสังคม แสดงออกผ่านคนพิการ กับปัญหาเชิงนโยบายและการบริหารของรัฐและบริษัทสัมปทานจากรัฐ เป็นการทุบไปที่ปัญหาใหญ่ 

กรณีทั้งสองชวนให้นึกถึง civil disobedience แล้วนึกเทียบว่าบางกรณีอาจเป็น uncivil disobedience การประท้วงสังคม ประท้วงรัฐ ผ่านการสื่อสารด้วยวิธีรุนแรง ส่วนหนึ่งเป็นการทำผิดเพื่อให้สังคมรับรู้ปัญหา  

การที่คนในสังคมต้องใช้วิธีรุนแรงตัดสินปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐหรือบริการสาธารณะ ย่อมชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของสถาบันการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งก็คือกระบวนการยุติธรรมหรือองค์กรกลางที่ทำงานอย่างที่ควรทำ ถ้าสถาบันเหล่านั้นทำงานอย่างแข็งขัน จริงจัง อย่างเสมอหน้ากัน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล คนที่ลงไม้ลงมือกันเองก็คงไม่เกิดบ่อยนักขนาดนี้ 

แต่ในสังคมที่สถาบันจัดการความขัดแย้งไม่ทำงานดี หรือไม่มีเอาเสียเลย การประท้วงรุนแรง การจัดการปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีรุนแรงของประชาชนด้วยกันเอง การปะทะกัน ก็จะเกิดขึ้นอีกต่อไปเรื่อยๆ เพราะประชาชนไม่ไม่ที่พึ่งที่ดีกว่าการลงมือลงไม้กันนั่นเอง

*หมายเหตุ: มีผู้อยู่ในแวดวงนักต่อสู้เพื่อคนพิการท้วงติงว่า คำว่า “คนทุพลภาพ” ไม่เหมาะสม ขอเปลี่ยนคำเป็น "คนพิการ" ตามข้อท้วงติงครับ ภาษาอังกฤษปัจจุบันก็พยายามเลี่ยงคำว่า disable ไปใช้คำว่า physically challenged แทน อาจแปลว่า “ผู้ประสบความท้าทายทางกายภาพ”

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย