Skip to main content

มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า

"ผมก็ไม่แน่ใจว่า งานชิ้นนั้นจะถือว่าเป็นงานทางมานุษยวิทยาหรือเปล่า ไม่เข้าใจว่านักมานุษยวิทยาไม่ลงสนามแล้วจะถือว่าทำงานมานุษยวิทยาได้ยังไง"
 
ผมมารู้ทีหลังว่า ตอนนั้นอาจารย์อคินกำลังพูดถึงวิทยานิพนธ์ปริญญาโท (ปี 2538) ของผม ที่ตอนหลัง "ฟ้าเดียวกัน" มาพิมพ์ให้ชื่อ "อ่านวัฒนธรรมชุมชน" (2548) แต่ตอนที่พูดถึงงานผมนั้น อาจารย์อคินท่านก็คงไม่ได้สนใจหรอกว่าผมทำวิทยานิพนธ์เรื่องอักษรไตในเวียดนามอยู่
 
ผมขอสารภาพว่าผมเฉยๆ กับงานเขียนเรื่องสลัมของอาจารย์อคิน เท่าที่รู้คือเป็นงานปริญญาเอกของท่าน ผมออกจะรู้สึกถึงกลิ่นอายแบบเจ้าอาณานิคมไปศึกษาคนพื้นเมืองในประเทศอาณานิคมด้วยซ้ำ เมื่อผมเข้ามาทำงานเรียนที่ธรรมศาสตร์น่ะ อาจารย์อคินออกจากธรรมศาสตร์ไปแล้ว ท่านออกไปตั้งแต่ปีแรกๆ ที่ผมมาเรียนปริญญาตรีที่ธรรมศาสตร์แล้วล่ะ แต่ชื่อท่านยังอยู่ที่รายชื่ออาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
 
อาจารย์อคินทิ้งมรดกไว้อย่างหนึ่งที่มันตกทอดมาสู่ผมโดยที่ท่านเองก็คงไม่สนใจหรอก ที่จริงมันก็ไม่ใช่มรดกของท่านหรอก เพราะมันเป็นครุภัณฑ์ คือโต๊ะทำงานไม้ ที่ตกทอดจากอาจารย์อคิน ไปยังอีกท่านที่เมื่อท่านนี้ย้ายไป พอผมเข้ามาทำงานหลังจบปริญญาโท โต๊ะตัวนั้นผมก็รับมาใช้ต่อ แล้วก็ยังใช้มาจนปัจจุบันนั่นแหละ
 
หนังสืออาจารย์อคินที่ผมได้เรียนรู้มากที่สุด และทำให้ผม "ตาสว่าง" แล้วอย่างเป็นระบบในวิธีอ่านแบบของผมเองมานานแล้ว คือหนังสือที่เคยแปลกันในชื่อว่า "สังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์" (2527 ต้นฉบับภาษาอังกฤษพิมพ์ปี 1969) ขณะนี้มี pdf ให้อ่านฟรีแล้ว (http://www.openbase.in.th/files/tbpj105.pdf) และมีสำนวนแปลใหม่ออกมาแล้ว (http://socanth.tu.ac.th/outreach/publication/saipin-tr-2560/)
 
ผมได้ยินหรือรู้มาจากไหนสักแห่งว่าอาจารย์อคินเขียนหนังสือเล่มนี้สมัยเรียนปริญญาโทใบที่สอง คือท่านไปเรียนปริญญาโทใบแรกในทางกฎหมาย ด้วยเพราะภาระในตระกูลแกคาดหวังแกอย่างนั้น แต่ภายหลังท่านย้ายไปเรียนมานุษยวิทยา แล้วใช้วิธีการทางกฎหมายประกอบกับมานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ทำวิทยานิพนธ์ พูดอีกอย่างคือ นี่ก็ไม่ใช่วิทยานิพนธ์ที่ใช้ฟิวว้งฟิวเวิร์คหรือเก็บข้อมูลภาคสนามอะไรที่ท่านมาคาดหวังคนรุ่นใหม่สักหน่อย แต่ก็เป็นงานที่มีค่ามากต่อวงวิชาการและความรู้ประวัติศาสตร์สังคมไทยกรุงเทพฯ
 
ที่เป็นงานที่มีค่าเพราะหนังสือเล่มนี้ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างสังคมไทย หนังสือชี้ว่า สังคมไทยมีระบบระเบียบที่เคร่งครัด เข้มงวด เต็มไปด้วยลำดับชั้น และที่สำคัญคือ ช่วยให้เข้าใจว่า ใครที่เป็นกษัตริย์น่ะ คือคนที่คุมกำลังมากที่สุด แล้วระบบการสืบสันตติวงศ์น่ะ ที่ต้องเปลี่ยนในช่วงเดียวกับการเปลี่ยนระบอบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เพื่อช่วยให้การสืบราชสมบัติราบรื่นขึ้นหลังการยกเลิกระบบไพร่นั่นแหละ แต่ผมก็ไม่คิดว่านั่นจะเป็นวัตถุประสงค์ที่อาจารย์อคินตั้งใจจะเผิดเผยให้เห็นไว้ตั้งแต่แรกหรอก
 
ผมไม่ได้มีส่วนร่วมงานกับอาจารย์อคินเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท งานช่วงนั้นอาจารย์ไปทำที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมจึงรู้จักท่านในบทบาทนี้เพียงผิวเผิน ภายหลังเมื่ออาจารย์เกษียณ ก็ได้ข่าวว่ามาทำงานที่สำนักงานทรัพย์สินฯ จัดการเรื่องพื้นที่ของคนจนในกรุงเทพฯ ผมก็ห่างๆ เพราะไม่ได้ทำเรื่องนี้อีกเช่นกัน
 
ในช่วงที่เกิดความขัดแย้งเหลือง-แดง อาจารย์อคินหอบโครงการและรายชื่อ NGOs ผู้สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์ในช่วงก่อนล้อมปราบคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ เข้าไปเสนอโครงการปฏิรูปประเทศไทยกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ เข้าใจว่าไปคุยกันที่ราบ 11 ที่ผมรู้เพราะไปให้ข้อมูลงานวิจัยเรื่องคนเสื้อแดงที่ขณะนั้นผมเพิ่งเริ่มต้นทำ ในการประชุมของหน่วยงานหนึ่ง พร้อมกับที่อาจารย์อคินไปเสนอข้อมูลอีกมุมที่ที่ประชุมเดียวกัน แน่นอนว่าผมมีมุมมองที่ต่างไปจากอาจารย์อคินและสนับสนุนคนละแนวทางกับอาจารย์อคิน
 
จากนั้น ผมก็พอจะรู้ว่าอาจารย์อคินน่าจะเริ่มจำหน้า ชื่อ และทัศนะผมได้บ้างแล้วล่ะ แต่คราวนี้ท่านไม่ว่าผมไม่ลงฟิวด์ ไม่เก็บข้อมูลสนามแล้วล่ะ แต่ท่านไม่เห็นด้วยกับทัศนะทางการเมืองของผมอย่างรับไม่ได้ที่จะให้ผมร่วมงานด้วย ซึ่งผมก็คาดไว้อยู่แล้วว่าจะเป็นอย่างนั้น เพียงแต่ก็อยากให้รู้ชัดๆ ว่าอะไรที่คิดว่าตนเองเข้าใจน่ะ เป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ แล้วก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ
 
งานวิชาการเล่มสุดท้ายที่สำคัญของอาจารย์อคินคือ "วัฒนธรรมคือความหมาย" (2551) ซึ่งเป็นการทบทวนงานเขียนของคลิฟเฟิร์ด เกิร์ซ (Clifford Geertz) ตั้งแต่งานยุคแรกๆ ถึงงานยุคหลัง ผมอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างเพลิดเพลิน แต่ที่ลุ้นที่สุดคืออยากรู้ว่าท่านจะเขียนถึงบทที่ว่าด้วย "ความหมาย" หรือเกิร์ซยุคหลังจากที่เขาได้รับอิทธิพลของวรรณกรรมมากขึ้นแล้วอย่างไร
 
แล้วก็เป็นไปดังคาดไว้ อาจารย์อคินดูจะไม่ค่อย "อิน" กับงานของเกิร์ซยุคหลังนัก อ่านไปๆ ท่านคงเห็นเงาของนักเรียนมานุษยวิทยาที่เคยเดินตามหลังท่านมาเมื่อหลายปีก่อน ผมไม่โทษหรือดูเบาท่านหรอก เพราะมันคงประหลาดมากที่ในบั้นปลายชีวิต อาจารย์อคินผู้เคยทำงานในขนบแบบปฏิฐานนิยมมาโดยตลอด จะหันกลับมาให้ความสำคัญกับการตีความความหมายและวรรณกรรม เพียงแต่ผมก็ต้องคอยเตือนนักเรียนรุ่นหลังๆ ว่า หากจะใช้หนังสือเล่มนี้ ก็ใช้อย่างระมัดระวังว่ามันมีข้อจำกัดอยู่ที่ไหน เพราะผมมั่นใจว่า อาจารย์อคินไม่ได้อินนักกับสิ่งที่เรียกว่า "ความหมาย" ที่ติดอยู่บนชื่อหนังสือเล่มนี้เองนักหรอก
 
ใครสักคนที่ทำงานอย่างจริงจัง ทุ่มเทชีวิตให้กับสาธารณชนอย่างหนักหน่วงอย่างอาจารย์อคิน รพีพัฒน์ ก็จะต้องเป็นที่จดจำไปอีกนานแสนนาน เพียงแต่ผมคงไม่สามารถจำคนหลายคนได้แต่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ความอาลัยอย่างกระอักกระอ่วนที่ผมมีต่ออาจารย์อคินคงจะยังอยู่ต่อไปอีกนาน พร้อมๆ กับที่ผมจะระลึกถึงคุณูปการที่อาจารย์ส่งผ่านมายังคนรุ่นหลังรวมทั้งผม ผ่านการสร้างวิชามานุษยวิทยาในไทย และการฝากผลงานสำคัญๆ อย่างการศึกษาโครงสร้างสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก