Skip to main content

วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่

เหตุเริ่มที่ไทเป เกิดจากการจับกุมและทุบตีหญิงขายบุหรี่หนีภาษีโดยเจ้าหน้าที่โรงงานยาสูบ ทำให้คนโกรธแค้น คนจน ผู้ใช้แรงงานซึ่งไม่พอใจการผูกขาดบุหรี่มายาวนาน จึงไปรวมตัวกันหน้าโรงงานยาสูบ เกิดเหตุวิวาทกัน จนมีเสียงปืน มีคนถูกยิงตาย หลายคนบาดเจ็บ วันรุ่งขึ้นคนไปล้อมทำเนียบ governor

 

 

คนประท้วงบุกยึดสถานีวิทยุแล้วประกาศข่าวไปทั่วประเทศ เมื่อคนรู้ เหตุการณ์ก็บานปลาย จากไทเป การลุกฮือก็ขยายไปเมืองใหญ่ทั่วประเทศ 

 

 

 

governor ไต้หวันจึงขอกำลังไปที่แผ่นดินใหญ่ เจียงไคเชกจึงส่งกำลังทหารมาปราบ กองกำลังทหารก๊กมินตั๋งยิงคนทั่วประเทศไต้หวันแบบไม่แยกแยะ คนเสียชีวิตไป 28,000 คน หลังเหตุการณ์ รัฐบาลยังล่าสังหารคนที่ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังเหตุกาณ์อีก เรียกว่า White Terror ทำให้คนตาบและสูญหายอีกนับหมื่นคน ประเทศอยู่ในกฎอัยการศึกจนถึงปี 1987

ภายหลัง รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ปี 1995 โดยลีเตงฮุย ประธานาธิบดีคนนี้ปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง ลีเตงฮุยได้ขอโทษประชาชน แล้วเริ่มรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ ทำ Peace Park และเอาสถานีวิทยุที่คนบุกไปยึดเป็นพิพิธภัณฑ์ เล่าเรื่องและแสดงชื่อเหยื่อทุกคน มีคลิปบันทึกการกล่าวขอโทษประชาชนของประธานาธิบดีไต้หวัน

เจียงไคเชกเป็นผู้ที่ถูกตราหน้าว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุกาณ์นี้ ในวาระครบรอบ 70 ปรเหตุการณ์ (2 ปีที่แล้ว) มีการเรียกร้องให้รื้ออนุสาวรีย์เจียงไคเชกทั้งหมดทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ได้มีการทำกันจริงๆ ทุกๆ ปีจะมีข่าวการพ่นสีแดงบนอนุสาวรีย์ของเขาในที่ต่างๆ เพื่อสื่อถึงเลือดประชาชนที่ตายไปทั้งในเหตุการณ์ 228 และการปราบปรามประชาชนหลังจากนั้น

ในปีนี้ เมื่อวานนี้เอง ก็มีการทาสีแดงบนอนุสาวรีย์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีหุ่นเขานั่งบนหลังม้า ส่วนม้าก็ถูกตัดขาออกข้างหนึ่ง อีกกรณีคือชายคนหนึ่ง วิ่งเข้าไปในเขตหวงห้าม แล้วปาโจ๊กใส่อนุสาวรีย์เจียงไคเชก ที่อนุสรณ์สถานของเขา พร้อมตะโกนว่า "ไอ้ เพื่อประท้วงว่า ประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลจากการใช้กฎอัยการศึกมานานกว่า 40 ปียังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในปีนี้ รัฐบาลที่นำโดยพรรค Democratic Progressive Party จัดงานระลึกด้วยการที่ประธานาธิบดีโค้งคารวะญาติเหยื่อทุกคน แล้วออกประกาศนียบัตรถอดถอนรายชื่อผู้เป็นภัยต่อชาติให้แก่เหยื่อในเหตุกาณ์และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมาเงินของก๊กมินตั๋งถูกเอามาแจกจ่ายเป็นค่าชดเชยแก่เหยื่อ แต่ประชาชนและหน่วยงานรัฐเรียกร้องว่า ประธานาธิบดีคนปัจจุบันก็ยังไม่ได้เร่งรัดสอบสวนเหตุการณ์ ที่ยังมีคนอีกมายังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ไต้หวันเพิ่งเป็นประชาธิปไตย แต่มีพัฒนาการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ก้าวกระโดดมาก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ