Skip to main content

วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่

เหตุเริ่มที่ไทเป เกิดจากการจับกุมและทุบตีหญิงขายบุหรี่หนีภาษีโดยเจ้าหน้าที่โรงงานยาสูบ ทำให้คนโกรธแค้น คนจน ผู้ใช้แรงงานซึ่งไม่พอใจการผูกขาดบุหรี่มายาวนาน จึงไปรวมตัวกันหน้าโรงงานยาสูบ เกิดเหตุวิวาทกัน จนมีเสียงปืน มีคนถูกยิงตาย หลายคนบาดเจ็บ วันรุ่งขึ้นคนไปล้อมทำเนียบ governor

 

 

คนประท้วงบุกยึดสถานีวิทยุแล้วประกาศข่าวไปทั่วประเทศ เมื่อคนรู้ เหตุการณ์ก็บานปลาย จากไทเป การลุกฮือก็ขยายไปเมืองใหญ่ทั่วประเทศ 

 

 

 

governor ไต้หวันจึงขอกำลังไปที่แผ่นดินใหญ่ เจียงไคเชกจึงส่งกำลังทหารมาปราบ กองกำลังทหารก๊กมินตั๋งยิงคนทั่วประเทศไต้หวันแบบไม่แยกแยะ คนเสียชีวิตไป 28,000 คน หลังเหตุการณ์ รัฐบาลยังล่าสังหารคนที่ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังเหตุกาณ์อีก เรียกว่า White Terror ทำให้คนตาบและสูญหายอีกนับหมื่นคน ประเทศอยู่ในกฎอัยการศึกจนถึงปี 1987

ภายหลัง รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ปี 1995 โดยลีเตงฮุย ประธานาธิบดีคนนี้ปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง ลีเตงฮุยได้ขอโทษประชาชน แล้วเริ่มรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ ทำ Peace Park และเอาสถานีวิทยุที่คนบุกไปยึดเป็นพิพิธภัณฑ์ เล่าเรื่องและแสดงชื่อเหยื่อทุกคน มีคลิปบันทึกการกล่าวขอโทษประชาชนของประธานาธิบดีไต้หวัน

เจียงไคเชกเป็นผู้ที่ถูกตราหน้าว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุกาณ์นี้ ในวาระครบรอบ 70 ปรเหตุการณ์ (2 ปีที่แล้ว) มีการเรียกร้องให้รื้ออนุสาวรีย์เจียงไคเชกทั้งหมดทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ได้มีการทำกันจริงๆ ทุกๆ ปีจะมีข่าวการพ่นสีแดงบนอนุสาวรีย์ของเขาในที่ต่างๆ เพื่อสื่อถึงเลือดประชาชนที่ตายไปทั้งในเหตุการณ์ 228 และการปราบปรามประชาชนหลังจากนั้น

ในปีนี้ เมื่อวานนี้เอง ก็มีการทาสีแดงบนอนุสาวรีย์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีหุ่นเขานั่งบนหลังม้า ส่วนม้าก็ถูกตัดขาออกข้างหนึ่ง อีกกรณีคือชายคนหนึ่ง วิ่งเข้าไปในเขตหวงห้าม แล้วปาโจ๊กใส่อนุสาวรีย์เจียงไคเชก ที่อนุสรณ์สถานของเขา พร้อมตะโกนว่า "ไอ้ เพื่อประท้วงว่า ประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลจากการใช้กฎอัยการศึกมานานกว่า 40 ปียังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในปีนี้ รัฐบาลที่นำโดยพรรค Democratic Progressive Party จัดงานระลึกด้วยการที่ประธานาธิบดีโค้งคารวะญาติเหยื่อทุกคน แล้วออกประกาศนียบัตรถอดถอนรายชื่อผู้เป็นภัยต่อชาติให้แก่เหยื่อในเหตุกาณ์และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมาเงินของก๊กมินตั๋งถูกเอามาแจกจ่ายเป็นค่าชดเชยแก่เหยื่อ แต่ประชาชนและหน่วยงานรัฐเรียกร้องว่า ประธานาธิบดีคนปัจจุบันก็ยังไม่ได้เร่งรัดสอบสวนเหตุการณ์ ที่ยังมีคนอีกมายังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ไต้หวันเพิ่งเป็นประชาธิปไตย แต่มีพัฒนาการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ก้าวกระโดดมาก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย