Skip to main content

วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่

เหตุเริ่มที่ไทเป เกิดจากการจับกุมและทุบตีหญิงขายบุหรี่หนีภาษีโดยเจ้าหน้าที่โรงงานยาสูบ ทำให้คนโกรธแค้น คนจน ผู้ใช้แรงงานซึ่งไม่พอใจการผูกขาดบุหรี่มายาวนาน จึงไปรวมตัวกันหน้าโรงงานยาสูบ เกิดเหตุวิวาทกัน จนมีเสียงปืน มีคนถูกยิงตาย หลายคนบาดเจ็บ วันรุ่งขึ้นคนไปล้อมทำเนียบ governor

 

 

คนประท้วงบุกยึดสถานีวิทยุแล้วประกาศข่าวไปทั่วประเทศ เมื่อคนรู้ เหตุการณ์ก็บานปลาย จากไทเป การลุกฮือก็ขยายไปเมืองใหญ่ทั่วประเทศ 

 

 

 

governor ไต้หวันจึงขอกำลังไปที่แผ่นดินใหญ่ เจียงไคเชกจึงส่งกำลังทหารมาปราบ กองกำลังทหารก๊กมินตั๋งยิงคนทั่วประเทศไต้หวันแบบไม่แยกแยะ คนเสียชีวิตไป 28,000 คน หลังเหตุการณ์ รัฐบาลยังล่าสังหารคนที่ถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังเหตุกาณ์อีก เรียกว่า White Terror ทำให้คนตาบและสูญหายอีกนับหมื่นคน ประเทศอยู่ในกฎอัยการศึกจนถึงปี 1987

ภายหลัง รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ปี 1995 โดยลีเตงฮุย ประธานาธิบดีคนนี้ปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง ลีเตงฮุยได้ขอโทษประชาชน แล้วเริ่มรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ ทำ Peace Park และเอาสถานีวิทยุที่คนบุกไปยึดเป็นพิพิธภัณฑ์ เล่าเรื่องและแสดงชื่อเหยื่อทุกคน มีคลิปบันทึกการกล่าวขอโทษประชาชนของประธานาธิบดีไต้หวัน

เจียงไคเชกเป็นผู้ที่ถูกตราหน้าว่าต้องรับผิดชอบต่อเหตุกาณ์นี้ ในวาระครบรอบ 70 ปรเหตุการณ์ (2 ปีที่แล้ว) มีการเรียกร้องให้รื้ออนุสาวรีย์เจียงไคเชกทั้งหมดทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ได้มีการทำกันจริงๆ ทุกๆ ปีจะมีข่าวการพ่นสีแดงบนอนุสาวรีย์ของเขาในที่ต่างๆ เพื่อสื่อถึงเลือดประชาชนที่ตายไปทั้งในเหตุการณ์ 228 และการปราบปรามประชาชนหลังจากนั้น

ในปีนี้ เมื่อวานนี้เอง ก็มีการทาสีแดงบนอนุสาวรีย์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีหุ่นเขานั่งบนหลังม้า ส่วนม้าก็ถูกตัดขาออกข้างหนึ่ง อีกกรณีคือชายคนหนึ่ง วิ่งเข้าไปในเขตหวงห้าม แล้วปาโจ๊กใส่อนุสาวรีย์เจียงไคเชก ที่อนุสรณ์สถานของเขา พร้อมตะโกนว่า "ไอ้ เพื่อประท้วงว่า ประชาชนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลจากการใช้กฎอัยการศึกมานานกว่า 40 ปียังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในปีนี้ รัฐบาลที่นำโดยพรรค Democratic Progressive Party จัดงานระลึกด้วยการที่ประธานาธิบดีโค้งคารวะญาติเหยื่อทุกคน แล้วออกประกาศนียบัตรถอดถอนรายชื่อผู้เป็นภัยต่อชาติให้แก่เหยื่อในเหตุกาณ์และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้อง

ที่ผ่านมาเงินของก๊กมินตั๋งถูกเอามาแจกจ่ายเป็นค่าชดเชยแก่เหยื่อ แต่ประชาชนและหน่วยงานรัฐเรียกร้องว่า ประธานาธิบดีคนปัจจุบันก็ยังไม่ได้เร่งรัดสอบสวนเหตุการณ์ ที่ยังมีคนอีกมายังไม่ได้รับความเป็นธรรม

ไต้หวันเพิ่งเป็นประชาธิปไตย แต่มีพัฒนาการทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ก้าวกระโดดมาก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฏิกิริยาของสังคมต่อการกักขังนักศึกษา 14 คนได้ชี้ให้เห็นถึงการก้าวพ้นกำแพงความกลัวของประชาชน อะไรที่กระตุ้นให้ผู้คนเหล่านี้แสดงตัวอย่างฉับพลัน และการแสดงออกเหล่านี้มีนัยต่อสถานการณ์ขณะนี้อย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในโลกนี้มีสังคมมากมายที่ไม่ได้นับว่าตนเองเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และการแบ่งแยกความแตกต่างของกลุ่มคนนั้นก็ไม่ได้ทาบทับกันสนิทกับความเป็นประเทศชาติ ชาว Rohingya (ขอสงวนการเขียนด้วยอักษรโรมัน เพราะไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงตามภาษาพม่า) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลุ่มคนที่ไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่ที่อาศัยครอบครองอยู่ทาบกันสนิทกับขอบเขตพื้นที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงเวลาของการสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ในแต่ละปีถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ผมจะใช้อัพเดทความเปลี่ยนแปลงของสังคมหรือทำความเข้าใจสังคม จากมุมมองและประสบการณ์ชีวิตสั้นๆ ของนักเรียนที่เพิ่งจบการศึกษามัธยม ปีที่ผ่านๆ มาผมและเพื่อนอาจารย์มักสนุกสนานกับการตรวจสอบสมมติฐานของแต่ละคนว่าด้วยประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง บางทีก็ตรงกับที่มีสมมติฐานไว้บ้าง บางทีก็พลาดไปบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (31 พค. 58) ผมไปเป็นเพื่อนหลานสาววัย 13 ปี ที่ชวนให้ไปเที่ยวงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นที่โรงแรมแห่งหนึ่งแถวถนนสุขุมวิท ผมเองสนับสนุนกิจกรรมเขียนการ์ตูนของหลานอยู่แล้ว และก็อยากรู้จักสังคมการ์ตูนของพวกเขา ก็เลยตอบรับคำชวน เดินทางขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปกันอย่างกระตือรือล้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กรณีการออกเสียงชื่อชาว Rohingya ว่าจะออกเสียงอย่างไรดี ผมก็เห็นใจราชบัณฑิตนะครับ เพราะเขามีหน้าที่ต้องให้คำตอบหน่วยงานของรัฐ แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการออกเสียงให้ตายตัวเบ็ดเสร็จว่าควรจะออกเสียงอย่างไรกันแน่ ยิ่งอ้างว่าออกเสียงตามภาษาพม่ายิ่งไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลดังนี้ครับ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (7 พค. 58) ผมสอนวิชา "มานุษยวิทยาวัฒนธรรม" ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นวันสุดท้าย มีเรื่องน่ายินดีบางอย่างที่อยากบันทึกไว้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มันคงมีโครงสร้างอะไรบางอย่างที่ทำให้ "ร้านสะดวกซื้อ" เกิดขึ้นมาแทนที่ "ร้านขายของชำ" ได้ ผมลองนึกถึงร้านขายของชำสามสี่เมืองที่ผมเคยอาศัยอยู่ชั่วคราวบ้างถาวรบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันที่ 30 เมษายน 2558 เป็นวันครบรอบ 40 ปี "ไซ่ง่อนแตก"Ž เดิมทีผมก็ใช้สำนวนนี้อยู่ แต่เมื่อศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามมากขึ้น ก็กระอักกระอ่วนใจที่จะใช้สำนวนนี้ เพราะสำนวนนี้แฝงมุมมองต่อเวียดนามแบบหนึ่งเอาไว้