Skip to main content

ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้

1. การผลักภาระให้ปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคลผู้รับผิดในเหตุ #กราดยิงโคราช ก็คือจ่าสิบเอกคนนั้นคนเดียว เขาถูกผลักออกจากการเป็นทหาร แล้วถูกตีตราว่าเป็นอาชญากร โดยพฤติกรรมแล้วเขาเป็นอาชญากรอย่างไม่ต้องสงสัย หากแต่พฤติกรรมเดียวกันนี้ การสังหารผู้บริสุทธิ์โดยทหารด้วยอาวุธสงครามบางครั้ง (เช่นในกรณีพฤษภาคม 2553) ก็ไม่ได้ถูก ผบทบ. คนเดียวกันนี้ตีตราว่าเป็นอาชญากรรมเสมอไป คำพูดที่ว่า “วินาที ที่ผู้ก่อเหตุลั่นไกสังหารประชาชนนั้น เขาคืออาชญากร ไม่ใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว” จึงไม่ได้พูดออกมาจากหลักการใดๆ แต่พูดออกมาจากการพยายามปัดความรับผิดชอบเป็นกรณีๆ ไปเท่านั้น

2. การรับผิดแต่เพียงลำพัง ผบทบ. กล่าวในลักษณะของการรับภาระแต่เพียงลำพังว่า “อย่าด่าว่ากองทัพบก อย่าว่าทหาร ถ้าจะด่า จะตำหนิ ท่านมาด่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผมน้อมรับคำตำหนิ" นั่นคือการยอมรับผิดแต่เพียงเขาผู้เดียว ไม่ยอมรับว่าความผิดพลาดนี้ ทั้งกองทัพต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะการที่เขามาเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพ ไม่ใช่มาด้วยตัวเขาเองคนเดียว ต้องมีกลไกกองทัพทั้งระบบรองรับเขาทั้ง การที่กองทัพให้คนอย่างเขามาเป็นผู้บังคับบัญชา จะปฏิเสธความรับผิดชอบในระดับกองทัพได้อย่างไร

3. การรับผิดแต่ไม่รับโทษ การกล่าวยอมรับผิด ยอมให้ประชาชนกล่าวตำหนิ ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบจะหมดสิ้นไปเพียงเมื่อร้องไห้แสดงความเสียใจแล้วกล่าวโทษตนเองเช่นนี้ ในกระบวนการของระบบการบริหารราชการ หรือการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบ ไต่สวนความผิด และอาจจะต้องพิจารณาโทษทางวินัยหากความบกพร่องของผู้บังคับบัญชามีส่วนต่อความบกพร่องจนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียของประชาชนและเกิดความสะเทือนใจไปทั่วอย่างกรณีนี้ แต่ก็ไม่เห็นว่า ผบทบ. จะเอ่ยถึงกระบวนการดังกล่าวแต่อย่างใด

4. การไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหาของระบบ การรับผิดด้วยตนเอง การผลักความผิดให้ผู้ก่อความรุนแรง เพียงเท่านั้น ยังนับว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบที่ระบบของกองทัพทั้งระบบจะต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน การปกป้องกองทัพให้พ้นจากความรับผิดชอบ เท่ากับเป็นความไม่รับผิดชอบในระดับร้ายแรง เพราะหากผู้บังคับบัญชาสูงสูดของกองทัพเองยังไม่ยอมรับว่า ความบกพร่องในลักษณะนี้เป็นความบกพร่องที่เกินไปกว่าเพียงปัจเจกบุคคลคนใด หรือแม้แต่เพียงตัว ผบทบ. เองคนเดียวจะแบกรับภาระได้ หากแต่เป็นความบกพร่องของทั้งระบบ ก็น่าเป็นห่วงว่าประเทศชาติ ประชาชนจะฝากความรับผิดชอบให้แก่กองทัพได้อย่างไร 

ประชาชนชาวไทยรักกองทัพ รักทหาร และต้องการความเชื่อมั่นจากกองทัพ จากทหาร ไม่น้อยไปกว่า ผบทบ. และด้วยความรัก และความเชื่อมั่นนั้น ประชาชนชาวไทยต้องการให้มีกลไกการสอบสวนเหตุนี้อย่างโปร่งใส มีขั้นมีตอน และเป็นกลางคือมีผู้แทนของประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบนี้ด้วย 

หากคำพูดและน้ำตาของ ผบทบ. ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเยียวยาความสูญเสียใดๆ ได้ แล้วคำพูดและนำ้ตาของ ผบทบ. จะสามารถเยียวยาปัญหาของกองทัพไทยได้อย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย