Skip to main content

การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 

20 ปีที่ผ่านมา คนหน้าใหม่ทางการเมืองเหล่านี้ค่อยๆ เติบโตขึ้นมาในวังวนของการเลือกตั้งและการรัฐประหาร ช่วงเวลานี้การเมืองไทยเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในหลายต่อหลายมิติด้วยกัน และปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนใน 20 ปีนี้อย่างหนึ่งก็คือ การตื่นตัวของนักเรียนนักศึกษาในขนาดและความหลากหลายอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ ที่เป็นเช่นนี้น่าจะด้วยสาเหตุเชิงโครงสร้างหลายประการด้วยกัน

1) เงื่อนไขเชิงประชากร คนรุ่นเก่ามีอายุยืนยาวขึ้น คนรุ่นเขาจึงไม่อาจปล่อยวางทางการเมือง ไม่อาจปล่อยวางอนาคตในแบบที่พวกเขาไม่ชอบ ไม่อยากเห็นให้เกิดขึ้น การเปลี่ยนผ่านในปัจจุบันจึงเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ พลังอนุรักษนิยมไม่จำเป็นต้องหรือที่จริงก็ไม่สามารถจะจัดตั้งคนรุ่นใหม่มาสานต่อความอนุรักษนิยมอีกต่อไป เพราะพวกเขาคนรุ่นเก่ายังจะมีชีวิตอยู่กับคนรุ่นใหม่ไปอีกนานแสนนาน พวกเขาจะยังคงประวิงอำนาจไว้ให้นานที่สุด ดังนั้น ที่ว่ากันว่า "เวลาอยู่ข้างเรา" น่ะ อาจจะไม่จริง เพราะ "เทคโนโลยีการแพทย์และอำนาจเงินในการยืดอายุอยู่ข้างเขา"

2) เงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรม เงื่อนไขนี้สืบเนื่องกับเงื่อนไขแรก การเกิดช่องว่างระหว่างวัย ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรม 2.0 และ 3.5 (คือยังไม่ 4.0 ดีนัก) ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน เกิดการเห็นอนาคตที่แตกต่างกัน เกิดทางเลือกที่แตกต่างกัน ข้อนี้แทบไม่ต้องอธิบายก็เห็นกันอยู่ เช่นว่า โลกของพวกเขาไม่ได้อยู่เฉพาะหน้าจอทีวีที่ยังควบคุมโดยรัฐ ไม่ได้อยู่เฉพาะในขอบเขตประเทศไทย แต่เป็นโลกก้าวที่จะยิ่งกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพราะพวกเขาสร้างตัวตนจากความแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ คนรุ่นพ่อแม่พวกเขาส่วนใหญ่พูดได้อย่างมาก 2 ภาษา แต่คนรุ่นหลังค่อยๆ เรียนภาษาที่ 3 กันมากขึ้น 

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงวัฒนธรรมบริโภคที่คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่เติบโตมาเลย พวกเขามองความรักต่างออกไป พวกเขามองความงามต่างออกไป พวกเขามองศาสนา (ถ้าจะยังสนใจกันอยู่) ต่างออกไป

การยืดยาวขยายอายุและจึงนำไปสู่การพยายามรักษาอำนาจของคนรุ่นเก่า จึงยิ่งส่งผลให้เกิดช่องว่างของความคิด อุดมการณ์ ความใฝ่ฝันของคนต่างช่วงวัยที่ขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น โลกเก่าอันงดงามของสังคมพ่อปกครองลูกที่เมื่อลูกๆ ทะเลาะกันก็ให้พ่อตัดสินคดีความนั้น ได้หมดพลังไปจากจินตนาการของคนรุ่นใหม่แล้ว หรือหากพวกเขาจะถูกปลูกฝังมา พวกเขาก็ไม่มีวัน "อิน" กับจินตนาการแบบนั้นอีกต่อไป โลกของคนหน้าใหม่ทางการเมืองไทยเหล่านี้ยึดมั่นในการตัดสินใจของตนเอง การเป็นตัวของตัวเอง การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

3) เงื่อนไขทางการเมือง ภูมิทัศน์การเมืองใหม่ที่สร้าง "ชนชั้นใหม่" ซึ่งเป็นชนชั้นกลางทางการเมืองและเศรษฐกิจ ให้เติบโตขยายตัว กระจายตัว และหยั่งรากลงลึกในท้องถิ่นต่างๆ ในเขตเมืองของจังหวัดและอำเภอต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาธิปไตยในท้องถิ่นเกิดขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และแผ่กระจายมากขึ้น แม้จะเกิดการรัฐประหาร 2 ครั้งติดกันใน 20 ปีที่ผ่านมา แต่พลังเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่ 

ดังจะเห็นได้จากการเลือกตั้งหลังการรัฐประหารปี 2549 และการเลือกตั้งหลังรัฐประหารปี 57 ที่พรรคการเมืองฝ่าย "ก้าวหน้า" ที่เป็นตัวแทนของ "คนนอกกรุงเทพฯ" ก็ยังมีพลังในการท้าทายอำนาจรวมศูนย์ และแม้ในกรุงเทพฯ เอง ก็เกิดการแทรกเข้ามาของพรรคการเมืองฝ่ายก้าวหน้า ที่มีที่นั่งถึง 2 ใน 3 ของพรรคการเมืองฝ่านอนุรักษนิยม 

คนหน้าใหม่ที่ออกมาแสดงความเห็นในขณะนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของพลังชนชั้นใหม่ที่เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเมืองนั่นเอง พวกเขาคือลูกหลานของชนชั้นกลางใหม่ทั้งในเมืองและในชนบท ที่ต่อสู้กับพลังอนุรักษนิยมและชนชั้นกลางเก่ามาอย่างยาวนาน พวกเขาจึงกระจายอยู่ทั่วไปไม่ต่างจากชนชั้นใหม่ หากแต่พวกเขามีเครื่องมือสื่อสาร มีความสามารถทางปัญญา และมีเทคโนโลยีทางการเมืองที่ทรงพลังต่างไปจากพ่อแม่ของพวกเขา

4) เงื่อนไขทางเทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงไม่เฉพาะคนในพื้นที่ออนไลน์ แต่ยังเชื่อมออกมายังคนในพื้นที่ออฟไลน์ การเคลื่อนไหวที่ผ่านมาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ชุมชนที่สร้างโดยอินเตอร์เน็ตไม่ได้ทำให้ผู้คนจมจ่อมหรือก้มหน้าอยู่กับจอโทรศัพท์มือถือ แต่ยังดึงให้พวกเขาออกมาร่วมไม้ร่วมมือกันแสดงพลังให้คนเห็นตัวตนของพวกเขาในพื้นที่สาธารณะอีกด้วย เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่บรรลุผลทางการเมืองของพวกเขาได้แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนหน้า

เงื่อนไขนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเมืองซึ่งไร้การจัดตั้งขึ้นโดยง่าย ไร้การนำโดยใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มการเมืองใดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยง่าย การรีทวีต การติดแฮชแทก การสร้างแฮชแทก เป็นทั้งการแสดงความเห็นทางการเมืองการทดสอบตรวจสอบวิพากษ์ผู้มีอำนาจทางการเมือง และการสร้างชุมชนทางการเมือง ความแหลมคมของแฮชแทกจำนวนมากสร้างความเห็นทางการเมืองที่ไม่สามารถสร้างได้ก่อนหน้าเทคโนโลยีนี้ นี่ยังไม่นับเครื่องมืออื่นๆ อย่างมีม และการถ่ายทอดสด ที่ทั้งยอกย้อน พลิกอำนาจ และทันท่วงที 

ถึงที่สุดแล้ว ที่สำคัญคือ ในแง่ของความเป็นอิสระทางการเมือง การที่พวกเขาตัดสินใจก้าวออกมาจากโลก "ในจอ" สู่โลกการเมือง "นอกจอ" ออกมาแสดงตัวให้เห็นกันตัวเป็นๆ แสดงถึงการตัดสินใจอย่างที่การสร้างเครือข่ายทางการเมืองด้วยระบบอุปถัมภ์และอุดมการณ์แบบเก่าไม่สามารถทำได้ คุณจะไม่สามารถดูถูกว่าพวกเขาถูกซื้อ ถูกจ้าง ถูกชักจูงมา ถูกสั่งมา ได้ง่ายๆ อีกต่อไป 

ถึงแม้ใครจะปรามาสว่าการแสดงออกของคนหน้าใหม่ของการเมืองไทยยังอยู่เพียงในระดับของอารมณ์โกรธแค้น แต่อารมณ์ทางการเมืองนี่แหละที่จะก่อตัวขึ้นเป็น "โครงสร้างอารมณ์" ที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุดมการณ์ โครงสร้างสังคม และโครงสร้างการเมืองในระยะยาวได้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด