Skip to main content

ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 

ผมในวันนี้ วัยย่าง 56 ขวบปี ผ่านช่วงวัยที่ต่อสู้กับความล้าหลังของคนรุ่นก่อนหน้ามามาก ผมโชคดีหน่อยที่บรรดาครูของผมจำนวนหนึ่ง ลงแรงเรียนรู้ไปกับศิษย์ แต่ก็มีครูจำนวนมากที่ล้าหลังเหนี่ยวรั่งการเรียนรู้ของศิษย์ 

ในทศวรรษ 2530 ที่เริ่มเรียนบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท ด้วยการเรียนในไทยใต้บรรยากาศกดทับของคนรุ่นเก่ามากมาย (จะมียกเว้นก็แต่ครูของผมจำนวนหนึ่ง) 

ผมจึงปวารณาตนเองว่า เมื่อมาเป็นครูผู้สอนแแล้ว จะต้องไม่ทำแบบเดียวกับที่ผมและเพื่อนๆ รุ่นพี่รุ่นน้องใกล้เคียงกันถูกกระทำมาอย่างเด็ดขาด 

เมื่อเรียนจบกลับมา ผมถูกคำถามใหม่ๆ มากมายจากนักศึกษาทุกระดับชั้นปี ผมเห็นอดีตของตัวเองในพวกเขาเหล่านั้นว่า คนรุ่นใหม่ๆ เขาหิวกระหายความแปลกใหม่ที่ตอบโจทย์ของชีวิตเขาอยู่เสมอทุกรุ่น 

สมัยผม ผมกับเพื่อนๆ อ่านหนังสือล้ำหน้าอาจารย์ไปนับสิบปี นี่ไม่ใช่จะคุยโม้ แต่มันมีเหตุผลที่อธิบายได้ว่า นั่นเป็นเพราะ 

(1) อาจารย์ยุ่งกับงานสอน งานวิจัย และงานบริหารมากกว่านักศึกษา จึงเห็นอะไรใหม่ๆ ช้ากว่านักศึกษา 

(2) การเรียนรู้ของอาจารย์ต้องมีการวางรากฐานอย่างมั่นคง จึงมักอาศัยเวลามากกว่านักศึกษา 

(3) อาจารย์สนใจสานต่อโจทย์วิจัยในยุคเก่าของตนเอง มากกว่านักศึกษาที่มุ่งแสวงหาอะไรใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ในรุ่นของตนเองเสมอ

อย่างไรก็ตาม สมัยเป็นนักศึกษา ผมและเพื่อนๆ ก็ยังไม่มีทักษะและพื้นฐานที่ดีพอที่จะเข้าใจงานใหม่ๆ ในสมัยนั้น 

แต่ครูอาจารย์ที่สอนเราอยู่ก็มีน้อยเกินไปที่จะมาร่วมเรียนรู้และชี้นำเราได้ ยิ่งที่จะเสี่ยงมาดั้นด้นหาความรู้ใหม่ยิ่งน้อยยิ่งกว่า

เมื่อจบปริญญาเอกจากอเมริกากลับมา นักเรียนผมไม่ว่าจะในระดับการศึกษาไหน มีคำถามมากมายที่ผมตอบไม่ได้ ยิ่งระดับ ป. โท ป.เอก ยิ่งถามอะไรที่ซับซ้อนเกินกว่าความรู้ของผม 

เช่น ในยุคอินเทอร์เน็ต มีนักศึกษาถามผมว่านักมานุษยวิทยาจะศึกษาสังคมออนไลน์ได้อย่างไร คำถามนี้อาจารย์ผมคนหนึ่งที่เป็นหนึ่งในปรมจารย์ด้านสื่อศึกษาในทศวรรษ 1990 ยังตอบไม่ได้เลย

ทางที่ผมเลือกคือ ขอเรียนรู้ร่วมไปกับพวกเขา ไม่ว่าจะในแง่ข้อมูล วิธีการศึกษา ทฤษฎี และหลักปรัชญาพื้นฐาน 

สิ่งที่คนผ่านการเรียนปริญญาเอกมาแล้วมีคือ อย่างน้อยในสาขาวิชาที่เราจบมา เรารู้ว่าจะปูพื้นฐานให้คนอย่างไร และสำคัญที่สุดคือ จะนำความรู้จากแนวคิดใหม่ๆ ไปสู่การวิจัยที่ได้ความรู้ใหม่ๆ อย่างไร

เพียงแต่ว่า เมื่อเจอกับปรากฏการณ์ที่เกินความรู้ของเรา เจอกับวิธีคิดใหม่ๆ ที่เราไม่ได้เรียนมา คำถามคือ ฐานความรู้ของเราครูบาอาจารย์รุ่นเก่า จะส่งเสริมให้เกิดความรู้ใหม่ๆ แก่นักวิชาการรุ่นใหม่ๆ อย่างไร 

วิธีหนึ่งที่ผมทำคือ ปล่อยให้นักศึกษาเป็นตัวของตัวเองตามความสนใจของเขาอย่างเต็มที่ แต่วิธีที่ควรทำควบคู่กันคือ สร้างคนให้พร้อมเรียนรู้ตั้งแต่มัธยมปลาย

อีกวิธีคือ ผมจะลงแรงเรียนพร้อมพวกเขา บ่อยครั้งที่ผมให้ นศ.เลือกเองว่าจะเรียนอะไร แล้วมาจัดตารางสอนร่วมกัน

ฝากถึงอาจารย์รุ่นเก่าว่า ขออย่าดูถูกความรู้ของนักเรียนรุ่นใหม่ๆ เลย ขอให้พยายามผลักดันให้นักเรียนก้าวหน้าไปไกลกว่าตนเองด้วยฐานความรู้ที่ท่านมี 

ขออย่าเอาขีดจำกัดความรู้ของตนเอง มาปิดกั้นความกระหายใคร่รู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่ทันโลกวิชาการและปรากฏการณ์ปัจจุบันเลย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย