Skip to main content

ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 

ผมในวันนี้ วัยย่าง 56 ขวบปี ผ่านช่วงวัยที่ต่อสู้กับความล้าหลังของคนรุ่นก่อนหน้ามามาก ผมโชคดีหน่อยที่บรรดาครูของผมจำนวนหนึ่ง ลงแรงเรียนรู้ไปกับศิษย์ แต่ก็มีครูจำนวนมากที่ล้าหลังเหนี่ยวรั่งการเรียนรู้ของศิษย์ 

ในทศวรรษ 2530 ที่เริ่มเรียนบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท ด้วยการเรียนในไทยใต้บรรยากาศกดทับของคนรุ่นเก่ามากมาย (จะมียกเว้นก็แต่ครูของผมจำนวนหนึ่ง) 

ผมจึงปวารณาตนเองว่า เมื่อมาเป็นครูผู้สอนแแล้ว จะต้องไม่ทำแบบเดียวกับที่ผมและเพื่อนๆ รุ่นพี่รุ่นน้องใกล้เคียงกันถูกกระทำมาอย่างเด็ดขาด 

เมื่อเรียนจบกลับมา ผมถูกคำถามใหม่ๆ มากมายจากนักศึกษาทุกระดับชั้นปี ผมเห็นอดีตของตัวเองในพวกเขาเหล่านั้นว่า คนรุ่นใหม่ๆ เขาหิวกระหายความแปลกใหม่ที่ตอบโจทย์ของชีวิตเขาอยู่เสมอทุกรุ่น 

สมัยผม ผมกับเพื่อนๆ อ่านหนังสือล้ำหน้าอาจารย์ไปนับสิบปี นี่ไม่ใช่จะคุยโม้ แต่มันมีเหตุผลที่อธิบายได้ว่า นั่นเป็นเพราะ 

(1) อาจารย์ยุ่งกับงานสอน งานวิจัย และงานบริหารมากกว่านักศึกษา จึงเห็นอะไรใหม่ๆ ช้ากว่านักศึกษา 

(2) การเรียนรู้ของอาจารย์ต้องมีการวางรากฐานอย่างมั่นคง จึงมักอาศัยเวลามากกว่านักศึกษา 

(3) อาจารย์สนใจสานต่อโจทย์วิจัยในยุคเก่าของตนเอง มากกว่านักศึกษาที่มุ่งแสวงหาอะไรใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ในรุ่นของตนเองเสมอ

อย่างไรก็ตาม สมัยเป็นนักศึกษา ผมและเพื่อนๆ ก็ยังไม่มีทักษะและพื้นฐานที่ดีพอที่จะเข้าใจงานใหม่ๆ ในสมัยนั้น 

แต่ครูอาจารย์ที่สอนเราอยู่ก็มีน้อยเกินไปที่จะมาร่วมเรียนรู้และชี้นำเราได้ ยิ่งที่จะเสี่ยงมาดั้นด้นหาความรู้ใหม่ยิ่งน้อยยิ่งกว่า

เมื่อจบปริญญาเอกจากอเมริกากลับมา นักเรียนผมไม่ว่าจะในระดับการศึกษาไหน มีคำถามมากมายที่ผมตอบไม่ได้ ยิ่งระดับ ป. โท ป.เอก ยิ่งถามอะไรที่ซับซ้อนเกินกว่าความรู้ของผม 

เช่น ในยุคอินเทอร์เน็ต มีนักศึกษาถามผมว่านักมานุษยวิทยาจะศึกษาสังคมออนไลน์ได้อย่างไร คำถามนี้อาจารย์ผมคนหนึ่งที่เป็นหนึ่งในปรมจารย์ด้านสื่อศึกษาในทศวรรษ 1990 ยังตอบไม่ได้เลย

ทางที่ผมเลือกคือ ขอเรียนรู้ร่วมไปกับพวกเขา ไม่ว่าจะในแง่ข้อมูล วิธีการศึกษา ทฤษฎี และหลักปรัชญาพื้นฐาน 

สิ่งที่คนผ่านการเรียนปริญญาเอกมาแล้วมีคือ อย่างน้อยในสาขาวิชาที่เราจบมา เรารู้ว่าจะปูพื้นฐานให้คนอย่างไร และสำคัญที่สุดคือ จะนำความรู้จากแนวคิดใหม่ๆ ไปสู่การวิจัยที่ได้ความรู้ใหม่ๆ อย่างไร

เพียงแต่ว่า เมื่อเจอกับปรากฏการณ์ที่เกินความรู้ของเรา เจอกับวิธีคิดใหม่ๆ ที่เราไม่ได้เรียนมา คำถามคือ ฐานความรู้ของเราครูบาอาจารย์รุ่นเก่า จะส่งเสริมให้เกิดความรู้ใหม่ๆ แก่นักวิชาการรุ่นใหม่ๆ อย่างไร 

วิธีหนึ่งที่ผมทำคือ ปล่อยให้นักศึกษาเป็นตัวของตัวเองตามความสนใจของเขาอย่างเต็มที่ แต่วิธีที่ควรทำควบคู่กันคือ สร้างคนให้พร้อมเรียนรู้ตั้งแต่มัธยมปลาย

อีกวิธีคือ ผมจะลงแรงเรียนพร้อมพวกเขา บ่อยครั้งที่ผมให้ นศ.เลือกเองว่าจะเรียนอะไร แล้วมาจัดตารางสอนร่วมกัน

ฝากถึงอาจารย์รุ่นเก่าว่า ขออย่าดูถูกความรู้ของนักเรียนรุ่นใหม่ๆ เลย ขอให้พยายามผลักดันให้นักเรียนก้าวหน้าไปไกลกว่าตนเองด้วยฐานความรู้ที่ท่านมี 

ขออย่าเอาขีดจำกัดความรู้ของตนเอง มาปิดกั้นความกระหายใคร่รู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่ทันโลกวิชาการและปรากฏการณ์ปัจจุบันเลย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน