Skip to main content

ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 

ผมในวันนี้ วัยย่าง 56 ขวบปี ผ่านช่วงวัยที่ต่อสู้กับความล้าหลังของคนรุ่นก่อนหน้ามามาก ผมโชคดีหน่อยที่บรรดาครูของผมจำนวนหนึ่ง ลงแรงเรียนรู้ไปกับศิษย์ แต่ก็มีครูจำนวนมากที่ล้าหลังเหนี่ยวรั่งการเรียนรู้ของศิษย์ 

ในทศวรรษ 2530 ที่เริ่มเรียนบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท ด้วยการเรียนในไทยใต้บรรยากาศกดทับของคนรุ่นเก่ามากมาย (จะมียกเว้นก็แต่ครูของผมจำนวนหนึ่ง) 

ผมจึงปวารณาตนเองว่า เมื่อมาเป็นครูผู้สอนแแล้ว จะต้องไม่ทำแบบเดียวกับที่ผมและเพื่อนๆ รุ่นพี่รุ่นน้องใกล้เคียงกันถูกกระทำมาอย่างเด็ดขาด 

เมื่อเรียนจบกลับมา ผมถูกคำถามใหม่ๆ มากมายจากนักศึกษาทุกระดับชั้นปี ผมเห็นอดีตของตัวเองในพวกเขาเหล่านั้นว่า คนรุ่นใหม่ๆ เขาหิวกระหายความแปลกใหม่ที่ตอบโจทย์ของชีวิตเขาอยู่เสมอทุกรุ่น 

สมัยผม ผมกับเพื่อนๆ อ่านหนังสือล้ำหน้าอาจารย์ไปนับสิบปี นี่ไม่ใช่จะคุยโม้ แต่มันมีเหตุผลที่อธิบายได้ว่า นั่นเป็นเพราะ 

(1) อาจารย์ยุ่งกับงานสอน งานวิจัย และงานบริหารมากกว่านักศึกษา จึงเห็นอะไรใหม่ๆ ช้ากว่านักศึกษา 

(2) การเรียนรู้ของอาจารย์ต้องมีการวางรากฐานอย่างมั่นคง จึงมักอาศัยเวลามากกว่านักศึกษา 

(3) อาจารย์สนใจสานต่อโจทย์วิจัยในยุคเก่าของตนเอง มากกว่านักศึกษาที่มุ่งแสวงหาอะไรใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ในรุ่นของตนเองเสมอ

อย่างไรก็ตาม สมัยเป็นนักศึกษา ผมและเพื่อนๆ ก็ยังไม่มีทักษะและพื้นฐานที่ดีพอที่จะเข้าใจงานใหม่ๆ ในสมัยนั้น 

แต่ครูอาจารย์ที่สอนเราอยู่ก็มีน้อยเกินไปที่จะมาร่วมเรียนรู้และชี้นำเราได้ ยิ่งที่จะเสี่ยงมาดั้นด้นหาความรู้ใหม่ยิ่งน้อยยิ่งกว่า

เมื่อจบปริญญาเอกจากอเมริกากลับมา นักเรียนผมไม่ว่าจะในระดับการศึกษาไหน มีคำถามมากมายที่ผมตอบไม่ได้ ยิ่งระดับ ป. โท ป.เอก ยิ่งถามอะไรที่ซับซ้อนเกินกว่าความรู้ของผม 

เช่น ในยุคอินเทอร์เน็ต มีนักศึกษาถามผมว่านักมานุษยวิทยาจะศึกษาสังคมออนไลน์ได้อย่างไร คำถามนี้อาจารย์ผมคนหนึ่งที่เป็นหนึ่งในปรมจารย์ด้านสื่อศึกษาในทศวรรษ 1990 ยังตอบไม่ได้เลย

ทางที่ผมเลือกคือ ขอเรียนรู้ร่วมไปกับพวกเขา ไม่ว่าจะในแง่ข้อมูล วิธีการศึกษา ทฤษฎี และหลักปรัชญาพื้นฐาน 

สิ่งที่คนผ่านการเรียนปริญญาเอกมาแล้วมีคือ อย่างน้อยในสาขาวิชาที่เราจบมา เรารู้ว่าจะปูพื้นฐานให้คนอย่างไร และสำคัญที่สุดคือ จะนำความรู้จากแนวคิดใหม่ๆ ไปสู่การวิจัยที่ได้ความรู้ใหม่ๆ อย่างไร

เพียงแต่ว่า เมื่อเจอกับปรากฏการณ์ที่เกินความรู้ของเรา เจอกับวิธีคิดใหม่ๆ ที่เราไม่ได้เรียนมา คำถามคือ ฐานความรู้ของเราครูบาอาจารย์รุ่นเก่า จะส่งเสริมให้เกิดความรู้ใหม่ๆ แก่นักวิชาการรุ่นใหม่ๆ อย่างไร 

วิธีหนึ่งที่ผมทำคือ ปล่อยให้นักศึกษาเป็นตัวของตัวเองตามความสนใจของเขาอย่างเต็มที่ แต่วิธีที่ควรทำควบคู่กันคือ สร้างคนให้พร้อมเรียนรู้ตั้งแต่มัธยมปลาย

อีกวิธีคือ ผมจะลงแรงเรียนพร้อมพวกเขา บ่อยครั้งที่ผมให้ นศ.เลือกเองว่าจะเรียนอะไร แล้วมาจัดตารางสอนร่วมกัน

ฝากถึงอาจารย์รุ่นเก่าว่า ขออย่าดูถูกความรู้ของนักเรียนรุ่นใหม่ๆ เลย ขอให้พยายามผลักดันให้นักเรียนก้าวหน้าไปไกลกว่าตนเองด้วยฐานความรู้ที่ท่านมี 

ขออย่าเอาขีดจำกัดความรู้ของตนเอง มาปิดกั้นความกระหายใคร่รู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่ทันโลกวิชาการและปรากฏการณ์ปัจจุบันเลย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย