Skip to main content
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน)
 
คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอาวัฒนธรรมอาหารตนเองไปเป็นตัววัดอาหารคนอื่น
ข้อเขียนของเพจ อดีตกินได้ ล่าสุด (ติดตามอ่านที่นี่) ชี้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างตรงไปตรงมา เข้าประเด็นอย่างแรง
ข้อเขียนนั้นทำให้ผมคิดถึงเรื่องผัสสะที่ไกลไปกว่าเรื่องอาหารไปได้อีกมาก ด้วยการใช้มโนทัศน์ต่างๆ ข้างต้นนั้น ผมจึงอยากขยายความเพิ่มอีกสักเล็กน้อยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ขนาดไหน
 
เคยมีนักวิชาการอาหารคนสำคัญของไทยเล่าถึงอาหารชุดหนึ่งในเวียดนาม ที่เวียดนามเองก็ไม่มีคำเรียกรวม แต่นักวิชาการท่านนี้เรียกอาหารกลุ่มนี้ว่า ขนมครก ด้วยความที่ต่างก็ปรุงสุกด้วยภาชนะปรุงอาหารที่เป็นถาดหลุมมีฝาปิดตั้งไฟ
 
แต่ถ้าไล่เรียงดูอาหารที่ปรุงด้วยภาชนะนี้ของเวียดนาม แต่ละจานล้วนแตกต่างกันอย่างยิ่งในวิธีกิน เครื่องปรุง มื้ออาหาร และความคาวความหวาน รวมทั้งการใช้ความร้อนที่อาหารบางจานก็นึ่งไม่ใช่กึ่งอบกึ่งทอด อาหารเหล่านี้จึงเทียบกันไม่ได้เลยกับขนมครกในความเข้าใจของชาวสยาม
การเปรียบเทียบอาหารในประเทศไทยเองแต่ต่างถิ่นกัน ซึ่งเรารู้กันอยู่ว่าไม่ได้มีเอกภาพทางวัฒนธรรม และไม่ได้มีเอกภาพทางภาษา รวมไปถึงว่ายังมีความหลากหลายของความคิดความอ่านความเชื่อและอำนาจทางการเมือง ก็ต้องระวังอย่างยิ่งเช่นกัน
 
หากเราเชื่อในการรักษาไว้ซึ่งความเฉพาะถิ่น เชื่อในสุนทรียะของความแตกต่าง เชื่อในคุณค่าของการเรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่าง เราก็ไม่ควรละเลยการเข้าใจประเด็นอัตวิสัยของผัสสะ (sensory subjectivity) อย่างลึกซึ้ง ทั้งในเชิงปรากฏการณ์วิทยาของการลิ้มรส และการเมืองของผัสสะ
พ้นไปจากเรื่องอาหาร 
 
ประเด็นเดียวกันนี่โยงไปได้ถึงเรื่องการมอง อย่านำเกณฑ์ความงามตามจริตของเราไปตัดสินคนอื่น (ว่าชาติอื่นว่าแต่งตัวลิเก เท่ากับดูถูกทั้งลิเกและชาติอื่น) อย่านำเกณฑ์การฟังของตนเองไปตัดสินคนอื่น (เพลงแรปฟังไม่รู้เรื่อง หนวกหู) อย่านำเกณฑ์การดม รสชาติ การสัมผัส ไปตัดสินคนอื่น อย่าเอาวิธีจัดความสัมพันธ์ผัสสะของเราไปวัดคนอื่น อย่าติดกับดัก 5 ผัสสะที่เรารับอิทธิพลมาจากชาวกรีกโบราณ
 
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ทำงานด้านวัฒนธรรม หากไม่ต้องการผลิตซ้ำอาณานิคมทางผัสสะ ก็ไม่ควรใช้ระบบการจัดประเภทผัสสะของเราเอง (sensory categories) ไปจัดประเภทผัสสะของผู้อื่น ควรตระหนักและระแวดระวังการเอาผัสสะตนเองเป็นศูนย์กลาง (sensory ethnocentrism) ด้วยการเข้าใจผัสสะอื่นๆ ผ่านฐานความเข้าใจผัสสะตนเองไปเสียทั้งหมด ระวังการใช้อคติทางผัสสะ (sensory bias) ในการเข้าใจจัดการผัสสะคนอื่น
 
หากไม่ตระหนักถึงปัญหาทั้งหมดนั้น ก็อาจนำมาซึ่งหรือแฝงอยู่ด้วยโครงสร้างอำนาจแบบมีกรุงเพทฯ สยาม ภาคกลางเป็นศูนย์กลางอำนาจ และการสถาปนากรุงเทพฯ สยาม ภาคกลางเป็นเจ้าอาณานิคมทางผัสสะ (sensory colonization)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด