Skip to main content
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน)
 
คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอาวัฒนธรรมอาหารตนเองไปเป็นตัววัดอาหารคนอื่น
ข้อเขียนของเพจ อดีตกินได้ ล่าสุด (ติดตามอ่านที่นี่) ชี้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างตรงไปตรงมา เข้าประเด็นอย่างแรง
ข้อเขียนนั้นทำให้ผมคิดถึงเรื่องผัสสะที่ไกลไปกว่าเรื่องอาหารไปได้อีกมาก ด้วยการใช้มโนทัศน์ต่างๆ ข้างต้นนั้น ผมจึงอยากขยายความเพิ่มอีกสักเล็กน้อยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ขนาดไหน
 
เคยมีนักวิชาการอาหารคนสำคัญของไทยเล่าถึงอาหารชุดหนึ่งในเวียดนาม ที่เวียดนามเองก็ไม่มีคำเรียกรวม แต่นักวิชาการท่านนี้เรียกอาหารกลุ่มนี้ว่า ขนมครก ด้วยความที่ต่างก็ปรุงสุกด้วยภาชนะปรุงอาหารที่เป็นถาดหลุมมีฝาปิดตั้งไฟ
 
แต่ถ้าไล่เรียงดูอาหารที่ปรุงด้วยภาชนะนี้ของเวียดนาม แต่ละจานล้วนแตกต่างกันอย่างยิ่งในวิธีกิน เครื่องปรุง มื้ออาหาร และความคาวความหวาน รวมทั้งการใช้ความร้อนที่อาหารบางจานก็นึ่งไม่ใช่กึ่งอบกึ่งทอด อาหารเหล่านี้จึงเทียบกันไม่ได้เลยกับขนมครกในความเข้าใจของชาวสยาม
การเปรียบเทียบอาหารในประเทศไทยเองแต่ต่างถิ่นกัน ซึ่งเรารู้กันอยู่ว่าไม่ได้มีเอกภาพทางวัฒนธรรม และไม่ได้มีเอกภาพทางภาษา รวมไปถึงว่ายังมีความหลากหลายของความคิดความอ่านความเชื่อและอำนาจทางการเมือง ก็ต้องระวังอย่างยิ่งเช่นกัน
 
หากเราเชื่อในการรักษาไว้ซึ่งความเฉพาะถิ่น เชื่อในสุนทรียะของความแตกต่าง เชื่อในคุณค่าของการเรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่าง เราก็ไม่ควรละเลยการเข้าใจประเด็นอัตวิสัยของผัสสะ (sensory subjectivity) อย่างลึกซึ้ง ทั้งในเชิงปรากฏการณ์วิทยาของการลิ้มรส และการเมืองของผัสสะ
พ้นไปจากเรื่องอาหาร 
 
ประเด็นเดียวกันนี่โยงไปได้ถึงเรื่องการมอง อย่านำเกณฑ์ความงามตามจริตของเราไปตัดสินคนอื่น (ว่าชาติอื่นว่าแต่งตัวลิเก เท่ากับดูถูกทั้งลิเกและชาติอื่น) อย่านำเกณฑ์การฟังของตนเองไปตัดสินคนอื่น (เพลงแรปฟังไม่รู้เรื่อง หนวกหู) อย่านำเกณฑ์การดม รสชาติ การสัมผัส ไปตัดสินคนอื่น อย่าเอาวิธีจัดความสัมพันธ์ผัสสะของเราไปวัดคนอื่น อย่าติดกับดัก 5 ผัสสะที่เรารับอิทธิพลมาจากชาวกรีกโบราณ
 
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ทำงานด้านวัฒนธรรม หากไม่ต้องการผลิตซ้ำอาณานิคมทางผัสสะ ก็ไม่ควรใช้ระบบการจัดประเภทผัสสะของเราเอง (sensory categories) ไปจัดประเภทผัสสะของผู้อื่น ควรตระหนักและระแวดระวังการเอาผัสสะตนเองเป็นศูนย์กลาง (sensory ethnocentrism) ด้วยการเข้าใจผัสสะอื่นๆ ผ่านฐานความเข้าใจผัสสะตนเองไปเสียทั้งหมด ระวังการใช้อคติทางผัสสะ (sensory bias) ในการเข้าใจจัดการผัสสะคนอื่น
 
หากไม่ตระหนักถึงปัญหาทั้งหมดนั้น ก็อาจนำมาซึ่งหรือแฝงอยู่ด้วยโครงสร้างอำนาจแบบมีกรุงเพทฯ สยาม ภาคกลางเป็นศูนย์กลางอำนาจ และการสถาปนากรุงเทพฯ สยาม ภาคกลางเป็นเจ้าอาณานิคมทางผัสสะ (sensory colonization)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนคนหนึ่งตั้งประเด็นว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยไทยในหลายจังหวัดว่าจะพัฒนาไปไกลกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะทางด้าน "สังคมศาสตร์" ผมก็เลยคิดอะไรขึ้นมาได้หลายอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดที่มีรากฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมืองไทยมาเนิ่นนาน น่าจะนานไม่น้อยไปกว่าแนวคิดประชาธิปไตย หากแต่น่าสงสัยว่า ทำไมแนวคิดนี้จึงยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเสียที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้ มีนักคิดหลายๆ คนเสนอวิธีทำความเข้าใจสังคมไทยใหม่ๆ มากมาย หลายคนพยายามไม่ตัดสินว่านี่คือการถอยหลังหรือย้อนรอยกลับไปในอดีต เพราะนักศึกษาประวัติศาสตร์สังคมย่อมทราบดีว่า สังคมเปลี่ยนแปลงเสมอ และในเมื่อเงื่อนไขเปลี่ยนไป เราจะเข้าใจสังคมปัจจุบันอย่างไร ผมคนหนึ่งล่ะที่พยายามไม่คิดว่านี่เป็นการ "ถอยหลัง" หรือซ้ำรอยอดีตอย่าง deja vu 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่องไม่เป็นเรื่องบางครั้งก็ชวนให้น่ารำคาญ ทำให้ต้องมาคอยอารัมภบทออกตัวมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แนวโน้มของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แสดงให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจของประชาชนลง แนวโน้มนี้ไม่ได้เหนือความคาดหมายของผู้เฝ้าติดตามการเมืองไทยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการต่อเนื่องของการทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 ที่เกิดปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองและใช้กำลังรุนแรงของมวลชนเข้าไปปิดล้อมทำลายการเลือกตั้ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันศุกร์ที่ผ่านมา (20 กพ. 58) ผมไปร่วมกิจกรรม 4 กิจกรรมด้วยกัน ทั้งหมดเกี่ยวกันบ้าง ไม่เกี่ยวกันบ้าง แต่อยากเล่าให้ฟังว่ามันชวนคิดและชวนตกใจมากทีเดียว 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเห็นข่าวว่ามีการพูดถึงคนไทยมาจากเขาอัลไตกันขึ้นมาอีก ผมก็ระลึกขึ้นมาทันทีว่า เรื่องนี้ได้ข้อตกลงกันไปชัดเจนนานแล้วนี่นาว่า เป็นความรู้ที่ผิดพลาด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐบาลทหารไม่อยากให้ถูกเรียกว่าตนเองเป็นเผด็จการ เพราะยอมรับความจริงไม่ได้ว่า ที่ตนเป็นอยู่นั้นเป็นเผด็จการ เหมือนโจรที่ไม่อยากถูกเรียกว่าโ