ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
A Lawyer will do anything to win a case, sometimes he will even tell the truth.Patrick Murray ครั้งที่แล้วเล่าถึงกระบวนการกว่าจะมาเป็นทนายในประเทศเกาหลีใต้ไปแล้วคราวนี้ลองมาดูในประเทศอื่นกันบ้างนะคะในประเทศเยอรมันนี ซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เหมือนกับบ้านเรา (อันที่จริงต้องบอกว่าเราไปเหมือนเขาต่างหาก) หลังจบชั้นมัธยม เด็กนักเรียนในเยอรมันสามารถเลือกเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นี่เป็นข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดประการหนึ่งของระบบการศึกษาเยอรมันนอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว อีกประการหนึ่งที่เด็กไทยน่าจะชอบก็คือ การเรียนกฎหมายในเยอรมันสามารถจัดตารางเรียนได้เอง และไม่มีข้อบังคับว่าจะต้องเข้าห้องเรียนด้วยดูเหมือนจะง่ายๆ อย่างนี้ แต่เอาเข้าจริงแล้ว กว่าจะเป็นทนายในเยอรมันได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยการเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยที่เยอรมันใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี แต่ก่อนที่จะออกว่าความเป็นทนายได้เต็มตัว นักเรียนกฎหมายในเยอรมันต้องผ่านกระบวนการสอบที่สำคัญสองขั้นตอนที่เรียกว่า First State Exam และ Second State Exam รวมถึงการฝึกงานต่างๆ คิดเป็นระยะเวลาในการเรียนและการสอบทั้งสิ้นประมาณ 6-7 ปีFirst State Exam เป็นการทดสอบครั้งแรกหลังจากจบมหาวิทยาลัย เงื่อนไขการมีสิทธิสอบ First State Exam ง่ายๆ มีอยู่ว่า ระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย นักเรียนกฎหมายทุกคนต้องผ่านการสอบข้อเขียนครั้งใหญ่ก่อนสองครั้ง ต้องเขียนรายงานหนึ่งฉบับความยาวประมาณ 35 หน้า ประกอบกับพรีเซนเตชั่นในชั้นเรียนความยาวประมาณ 25 นาที รวมถึงสอบปากเปล่าในสาขาวิชาที่ตัวเองสนใจอีกหนึ่งครั้ง และมีระยะเวลาฝึกงานในสองสาขาวิชากฎหมายที่แตกต่างโดยไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงอีก 12 สัปดาห์ ทั้งหมดนี้คิดเป็นส่วนหนึ่ง หรือประมาณ 30% ของคะแนนสอบ First State Exam ทั้งหมด หลังผ่านบททดสอบข้างต้นเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาจึงจะมีสิทธิเข้าสอบ First State Exam โดยเป็นการสอบข้อเขียนในวิชากฎหมายแพ่ง 3 ครั้ง ครั้งละห้าชั่วโมง, วิชากฎหมายมหาชน 1 ครั้ง และกฎหมายอาญาอีก 1 ครั้ง แล้วยังต้องสอบปากเปล่าในสามสาขาวิชานี้รวมกันอีกครั้งหนึ่งด้วย ทั้งหมดนี้คือคะแนนในส่วน 70% ที่เหลือหลังหลุดรอดจากการสอบ First State Exam มาได้ ต่อไปก็มาถึงการสอบ Second State Examก่อนมีสิทธิสอบ Second State Exam นักศึกษาทุกคนต้องผ่านการฝึกงานในสถาบันกฎหมายเสียก่อนเป็นระยะเวลาสองปีโดยได้รับเบี้ยเลี้ยง อาจเป็นหน่วยงานของรัฐ ศาล อัยการ หรือสำนักงานทนายความก็ได้การสอบ Second State Exam จะเป็นตัวชี้วัดว่า นักศึกษาคนนั้นจะได้ประกอบวิชาชีพอะไร โดยผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุด จำนวนประมาณ 1% ของผู้เข้าสอบทั้งหมด จะได้เป็น Notary* ส่วนผู้ที่ทำคะแนนได้ในลำดับรองลงมาอีก 15% จะเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ ส่วนที่เหลืออีก 85% ก็จะเป็นทนายความ มีสิทธิว่าความได้ตามระเบียบมาตรฐานข้อสอบ รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆในการทดสอบทางกฎหมายครั้งสำคัญทั้งสองครั้งนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานของรัฐที่ชื่อว่า “Landesjustizpruefungsamt”ชื่อยาวๆ อย่างนี้ พยายามยังไงก็อ่านไม่ออกค่ะ... แต่แปลเป็นไทยได้ง่ายๆ ว่า “หน่วยงานของรัฐสำหรับการทดสอบทางกฎหมาย” นั่นเอง* Notary Public ผู้มีอำนาจทำคำรับรองทั้งในทางข้อเท็จจริงและทางกฎหมาย เช่น รับรองความถูกต้องของลายมือชื่อ รับรองสำเนาเอกสาร คำพยาน บันทึกคำให้การที่ต้องมีการสาบาน หรือเอกสารอื่นๆ ในบางประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) โนตารีพับลิคอาจมีอำนาจในการรับรองนิติกรรมด้วย โนตารีในยุโรปมีความสำคัญมาก เพราะสามารถมีอำนาจเทียบเท่าศาลในบางเรื่อง และยังเป็นเจ้าพนักงานของรัฐในการเก็บเอกสารสำคัญต่างๆ กฎหมายโนตารีพับลิกมีใช้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิตาลี ออสเตรเลีย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับโนตารี แต่สภาทนายความฯ ได้มีความพยายามจัดให้มีบริการในลักษณะเดียวกันที่เรียกว่า Notarial Services Attorney
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Doctors are the same as lawyers; the only difference is that lawyers merely rob you, whereas doctors rob you and kill you too.Anton Chekhov*เคยได้ยินไหมคะ ที่ใครๆเขาว่าทนายเป็นอาชีพที่ทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นในฐานะคนข้างเคียงในวงการ จะออกอาการว่าเห็นด้วยเสียเหลือเกินก็คงไม่ได้ แต่จะให้ปฏิเสธว่าไม่ใช่ก็ดูจะขัดแย้งกับความรู้สึกยังไงอยู่เอาเป็นว่าขอเถียงแทนเพื่อนนิดหนึ่งก็แล้วกัน ว่าการเป็นทนายไม่ใช่เรื่องของการทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นหรอกนะคะ แต่เป็นการแบกรับความทุกข์ของคนอื่น ไว้บนความทุกข์ของตัวเองอีกทีต่างหาก (ฮา)ปัจจุบันทนายความในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 53,236 คน (ข้อมูลจากสภาทนายความฯ) กว่าจะมาเป็นทนายในประเทศไทยต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง นับแต่ผ่านด่านเอนทรานซ์ครั้งแรกเมื่อตอนอายุสิบแปด ผ่านกระบวนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยอย่างน้อยๆ อีกสี่ปี หรืออาจจะมากกว่านั้นสำหรับบางคน ผ่านการฝึกงานในสำนักงานทนายความ ทั้งแบบที่ได้รับเงินเดือนและไม่ได้รับเงินเดือนอีกหนึ่งปีสุดท้าย ยังต้องฝ่าด่านอรหันต์ในการสอบ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ตั๋วทนาย” ซึ่งใช้เวลาประมาณปีหนึ่งเป็นอย่างน้อย สำหรับคนที่สอบครั้งเดียวผ่าน รวมๆ แล้วกว่าจะได้มาเป็นทนาย กินระยะเวลาในชีวิตอย่างน้อยๆ ก็ 5-6 ปี เกือบๆ เท่าหมอหรือสถาปนิกนั่นเชียวที่กล่าวมาทั้งหมดคือขั้นตอนคร่าวๆ สู่การประกอบวิชาชีพทนายความในประเทศไทยแล้วทนายความในประเทศอื่นเขามีความเป็นมากันอย่างไร ลองมาดูกันนะคะในประเทศเกาหลีใต้ เพื่อนบ้านซึ่งกำลังโด่งดังเหลือเกินในหมู่วัยรุ่นบ้านเราเวลานี้ ทนายความในเกาหลีใต้เริ่มเรียนกฎหมายในระดับมหาวิทยาลัยเหมือนกันกับของบ้านเรา ระยะเวลาการเรียนก็เท่าๆกัน คือสี่ปีโดยประมาณ แต่กว่าจะได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทนายความอย่างเต็มภาคภูมินั้น การสอบ “เนติบัณฑิต” ให้ผ่าน ถือเป็นปราการด่านสำคัญ ที่น้อยคนนักจะเอาชีวิตรอดผ่านไปได้ สำหรับประเทศไทย การสอบ “เนติบัณฑิต” และ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ” แยกออกจากกันอย่างชัดเจน นั่นหมายความว่า หลังจบนิติศาสตร์บัณฑิตแล้ว หากคุณมีความประสงค์จะประกอบอาชีพทนายความในประเทศไทย สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณต้องสอบ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ” ให้ได้เสียก่อน ส่วน “เนติบัณฑิต” นั้น เป็นเรื่องที่ค่อยว่ากันไป จะสอบหรือไม่สอบก็ได้ จะผ่านหรือไม่ผ่านก็ได้ ไม่เกี่ยวกันตรงกันข้าม หากคุณสอบไล่ได้ความรู้ชั้น “เนติบัณฑิต” แล้ว แต่ทำยังไงๆ ก็สอบ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ” ไม่ผ่านเสียที จะยังไงเสียคุณก็ไม่มีโอกาสเป็นทนายเข้าไปความว่าความในศาลได้แน่นอน สำหรับนักกฎหมายไทย ตามความเป็นจริง หรือแม้กระทั่งในความรู้สึกของหลายๆคน กล่าวกันว่า การสอบ “เนติบัณฑิต” นั้น ยากเย็นแสนเข็ญหนักหนาสาหัสกว่าการสอบ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ” หลายต่อหลายเท่า ทำให้เกิดมโนทัศน์แปลกๆ ว่าทนายความที่มีตรา “เนติบัณฑิต” พ่วงท้ายมาด้วย จะมีความสามารถเหนือกว่าทนายความที่มีแต่ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ” อย่างเดียว แต่ในความเป็นจริง ทนายใบอนุญาตที่ประสบความสำเร็จสูงกว่าทนายเนติบัณฑิต มีให้เห็นออกถม!กลับมาที่เกาหลีใต้กันต่อนะคะ การประกอบอาชีพทนายความในบ้านเราแยกออกเป็นสองระบบอย่างนี้ แต่ในเกาหลีเขามีระบบเดียว คือ “เนติบัณฑิต” การวัดคะแนนของผู้ที่จะสอบผ่านเนติบัณฑิตในเกาหลีใต้ ใช้ระบบอิงกลุ่ม ไม่อิงเกณฑ์ ดังนั้นการที่คุณจะสอบผ่านหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับว่า คนที่นั่งข้างๆ คุณทำได้ดีแค่ไหนด้วย ผู้ที่รอดชีวิตผ่านการสอบเนติบัณฑิตในประเทศเกาหลีใต้มาได้ มีจำนวนประมาณ 5% ของผู้เข้าสอบทั้งหมดทั้ง 5% นี้ ต้องไปเข้ารับการฝึกอบรมโดยกระทรวงยุติธรรมอีกสองปี โดยได้รับเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาล โดยผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุดจำนวน 30% ของผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมดจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ ส่วนพวกที่ทำคะแนนได้ท้ายๆ ลงมานั้น ถึงจะมีสิทธิเป็นทนายความที่พิเศษอย่างยิ่งคือ การสอบเนติบัณฑิตที่นี่ไม่จำกัดวงเฉพาะผู้ที่จบ “นิติศาสตร์บัณฑิต” เท่านั้นนี่คือคำตอบที่ว่าเหตุใดการสอบเนติบัณฑิตในประเทศนี้จึงยากเย็นยิ่งนัก เนื่องจากมีผู้เข้าสอบจำนวนมากมายมหาศาล และใช้ระบบการวัดคะแนนแบบอิงกลุ่มนายโนห์ มูเฮียน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบัน จบการศึกษาแค่ระดับ High school เท่านั้น แต่สามารถสอบเนติบัณฑิตผ่านได้ จึงเป็นที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับคนเกาหลีค่ะ *Anton Chekhov นักเขียนบทละครและเรื่องสั้นสมัยใหม่ ชาวรัสเซีย ค.ศ.1860-1904
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Rape is the only crime in which the victim becomes the accused.Freda Adler* และแล้วในที่สุด บรรดานักศึกษากฎหมายก็ได้โอกาสทำหน้าที่เป็นลูกขุนกับเขาบ้าง ในวันปฐมนิเทศ โรงเรียนได้จัดให้มีศาลจำลองเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการพิจารณาคดีในศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกขุน โดยมีตัวแทนนักศึกษารุ่นก่อนสวมบทบาทเป็นโจทก์ จำเลย ทนายโจทก์ และทนายจำเลย และผู้พิพากษาส่วนลูกขุนที่เข้าร่วมฟังการพิจารณา ก็คือบรรดานักศึกษาปริญญาโททั้งหลายนั่นเองปรากฏว่าเมื่อลองนับจำนวนลูกขุนในคดีนี้ดูแล้ว มีจำนวนเกือบสองร้อยกว่าคน มากกว่าลูกขุนที่นั่งพิจารณาคดีในศาลจริงๆ ถึง 20 เท่าเลยทีเดียวคดีที่เข้าร่วมฟังการพิจารณาวันนี้เป็นคดีข่มขืนค่ะ แต่จะไม่ขอเล่าถึงขั้นตอนสืบพยาน (ซึ่งบอกได้เลยว่าฮากลิ้งห้องประชุมแทบแตก) แต่จะเล่าข้อเท็จจริงในคดีที่ได้รับฟังจากการสืบพยานให้ทราบโดยสรุปเลยแล้วกันนะคะข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ฝ่ายผู้เสียหายคือ นางสาวเอ (นามสมมติ) สาวผิวสี หน้าตาสวยคมขำ รูปร่างดี โสด อายุ 28 ปี มีอาชีพหลักเป็นพนักงานเก็บเงินในซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนอาชีพเสริมคือหมอนวดแผนโบราณ รับจ้างนวดตามบ้าน ขณะเกิดเหตุ นางสาวเอเพิ่งเริ่มทำอาชีพนี้ได้เพียงปีกว่าๆ รายได้ไม่แน่นอน อยู่ระหว่างการหาลูกค้า ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ เธอจึงได้ทำนามบัตร ติดรูปตัวเองอย่างสวยงามเพื่อเชิญชวนลูกค้า โดยระบุหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเรียกใช้บริการไว้ด้วยส่วนจำเลย นายบี หนุ่มผิวขาว โสด หน้าตาดี(มาก) อายุ 35 ปี เป็นพนักงานธนาคารในละแวกซุปเปอร์มาร์เก็ตที่นางสาวเอทำงานอยู่ แต่ไม่เคยเห็นนางสาวเอ และไม่เคยรู้จักกันมาก่อน จำเลยทราบจากนามบัตรที่นางสาวเอให้ไว้ขณะมาเปิดบัญชีที่ธนาคารว่า นางสาวเอมีอาชีพเสริมเป็นหมอนวดแผนโบราณ โดยนายบีได้รับนามบัตรตั้งแต่วันแรกที่นางสาวเอมาขอเปิดบัญชี แต่ผ่านไปเกือบครึ่งปี นายบีไม่เคย(แม้แต่คิด)จะโทรไปขอใช้บริการเลย (เนื่องจากนายบีบอกว่าแฟนสาวของตนดุมาก ถ้ารู้ว่าโทรไปให้หมอสาวๆ มานวดให้ถึงบ้าน ต้องถึงขั้นเลือดตกยางออกแน่ และตัวเขาเองคงจะได้เป็นผู้เสียหาย ใม่ใช่ตกที่นั่งจำเลยอย่างในคดีนี้) หลังจากหกเดือนผ่านไป เย็นวันศุกร์วันหนึ่งนายบีรู้สึกเคร่งเครียดปวดขมับ เนื่องจากปัญหาหลายด้านรุมเร้า ทั้งเรื่องที่ทำงาน (เจ้านายเป็นเกย์) เรื่องที่บ้าน (ครอบครัวหัวโบราณของแฟนสาวเร่งรัดให้แต่งงาน) ฯลฯ ทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเป็นกำลัง นึกถึงสาวหมอนวดแผนโบราณขึ้นมาได้ จึงตัดสินใจโทรไปเรียกใช้บริการนางสาวเอตั้งหน้าตั้งตาขับรถจากอพาร์ทเมนต์ของตนซึ่งอยู่ห่างไปทางเหนือถึง 5 ไมล์ เพื่อมาหานายบีถึงที่ โดยพกอุปกรณ์นวดแผนโบราณมาพร้อม นางสาวเอขึ้นไปนวดให้นายบีถึงในห้องพักชั้น 15 ห้อง 1520 โดยมีพยานรู้เห็นคือพนักงานประจำเคาน์เตอร์ชั้นล่างของอพาร์ทเมนต์ และที่นี่เองที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นนางสาวเออ้างว่า หลังจากนวดไปได้สักพัก เธอถูกนายบีใช้กำลังข่มขืน เธอสู้แรงไม่ไหว และพยายามร้องให้คนช่วย แต่เนื่องจากห้องดังกล่าวเป็นห้องหัวมุม จึงไม่มีใครได้ยิน นายบีข่มขืนเธอจนสำเร็จความใคร่ หลังจากถูกปล่อยให้เป็นอิสระ เธอจึงรีบสวมเสื้อผ้า เก็บข้าวของอุปกรณ์นวดแผนโบราณ และหนีออกมาจากห้องนั้น ขับรถกลับบ้านทันทีส่วนนายบีพูดหน้าตาเฉยว่า เขามีเพศสัมพันธ์กับเธอในวันนั้นจริง แต่ไม่ใช่เป็นการข่มขืน ทุกอย่างเกิดจากการสมยอม โดยนายบีอ้างว่า นางสาวเอมีเจตนาขายบริการทางเพศพ่วงกับการนวดแผนโบราณอยู่แล้ว สังเกตจากรูปที่ปรากฏบนนามบัตร และในวันนั้นนางสาวเอเป็นคนเสนอตัวให้เขาเอง และเขาก็ได้จ่ายค่าตอบแทนไปแล้วเรียบร้อย(สำหรับทั้งสองบริการ) ซึ่งกรณีบริการอย่างหลัง นางสาวเอปฏิเสธหลังเกิดเหตุ ปรากกฏว่านางสาวเอขับรถกลับไปอพาร์ทเมนต์ของตน พยานที่เป็นพนักงานหน้าเคาน์เตอร์อพาร์ทเมนต์ของนายบีบอกว่า เขาไม่เห็นว่านางสาวเอมีท่าทางผิดปกติขณะลงมาจากห้องของนายบี หลังจากนั้นนางสาวเอไม่ได้ไปทำงานที่ซุปเปอร์มาเก็ตอีกสามวัน ไม่ได้ไปตรวจร่างกาย และไม่ได้ไปแจ้งความ กระทั่งในวันที่สี่ทางซุปเปอร์มาเก็ตจึงไล่เธอออก เนื่องจากขาดงาน ทำให้เธอไม่ได้รับค่าชดเชย ในวันที่ห้านางสาวเอจึงมาแจ้งความว่าเธอถูกข่มขืน ซึ่งเป็นเหตุให้เธอตกใจ หวาดกลัว หวั่นวิตก และเครียดจัดจนต้องเก็บตัวอยู่แต่ในอพาร์ทเมนต์ ไม่สามารถไปทำงานได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เธอโดนไล่ออกในขณะที่นายบีอ้างว่า ถ้านางสาวเอถูกเขาข่มขืนจริง เธอควรจะไปแจ้งความทันทีตั้งแต่ขับรถออกจากอพาร์ทเมนต์ ไม่ใช่รอให้ผ่านไปจนกระทั่งห้าวัน โดยไม่มีใครรู้ว่าสาม-สี่วันที่ขาดงานเธอไปทำอะไรมาบ้าง นายบีอ้างว่า เพราะนางสาวเอรู้ว่าตนเองกำลังจะไม่มีรายได้ เนื่องจากถูกไล่ออกจากงาน จึงมาฟ้องเป็นคดีข่มขืนเพื่อให้ดำเนินคดีอาญาและขอค่าชดเชยขอให้ลูกขุนร่วมกันพิจารณา...สำหรับคดีนี้ การพิจารณาข้อเท็จจริงของลูกขุนต้องอิงกับหลักการเกี่ยวกับภาระการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีอาญาของสหรัฐ ซึ่งใช้หลัก “Beyond A Reasonable Doubt-BRD” ค่ะหลักนี้ถือเป็นภาระการพิสูจน์พยานหลักฐานที่แน่นหนาที่สุด (90-100%) เหนือกว่าหลัก “More Likely than Not” (มากกว่า 50%) และหลัก “Clear and Convincing Evidence” (70-90%) ซึ่งโดยปกติทั้งสองหลักหลังนี้จะใช้กับการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดีแพ่งกล่าวอีกในหนึ่งก็คือ ในคดีอาญา โจทก์มีภาระหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ศาลและลูกขุนเชื่อว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงโดยปราศจากข้อสงสัย หลังเสร็จสิ้นกระบวนการสืบพยาน คณะลูกขุนทั้งหลายต้องแยกย้ายกลับไปประชุมร่วมกัน ณ ห้องที่จัดไว้ เพื่อมีความเห็นว่า ตกลงในคดีนี้ ลูกขุนเห็นว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องโจทก์หรือไม่ โดยแต่ละคนต้องแบกเอาหลัก “Beyond A Reasonable Doubt” เข้าไปใช้ในการพิจารณาด้วยจากการเข้าร่วมเป็นคณะลูกขุนด้วยตัวเองในวันนั้น ทำให้ได้ข้อคิดอะไรอีกมากเกี่ยวกับระบบนี้ ซึ่งดูแล้วก็เชื่อว่าไม่น่าเหมาะจะนำมาใช้กับประเทศไทยสักเท่าไหร่โดยเฉพาะในสังคมพวกมากลากไปอย่างบ้านเราในห้องพิจารณาของลูกขุนพบว่า มีกลุ่มหนึ่งที่มีความคิดเห็นเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน โดยเชื่อว่างานนี้จำเลยไม่สมควรถูกตัดสินว่าได้กระทำผิด เนื่องจากผู้เสียหายไม่ได้ไปแจ้งความทันทีหลังเกิดเหตุ จึงน่าเชื่อว่าที่มาฟ้องคดีนี้เพราะต้องการค่าชดเชยมากกว่า นอกจากนี้ประเด็นยังมีข้อสงสัยว่า ผู้เสียหายมีเจตนาขายบริการทางเพศด้วยจริงหรือไม่ อาศัยหลัก Beyond A Reasonable Doubt จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยในขณะที่อีกกลุ่มบอกว่ากรณี้นี้ ไม่เป็นที่สงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่ เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่หญิงผู้เสียหายจะช็อกมาก ถึงขนาดกินไม่ได้นอนไม่หลับ จึงไม่ไปทำงาน และถูกไล่ออกจากงาน คดีไม่มีประเด็นน่าสงสัย เชื่อว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงทั้งสองฝ่ายมีจำนวนใกล้เคียงกัน หลังจากผ่านการถกเถียงพักใหญ่ ให้ออกเสียง ปรากฏว่า ฝ่ายถือหางข้างจำเลยชนะคดีนี้ปรากฏว่านายบีจำเลยสุดหล่อรอดตัวไปตามระเบียบค่ะ เพิ่มเติม1. ปัจจุบันได้มีการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราจากเดิม “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภรรยาของตน...” เป็น “ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น...” ทั้งนี้เพื่อให้รวมถึงความผิดอาญาที่ (ก)สามีข่มขืนภรรยา (ข)ชายข่มขืนชาย (ค)หญิงข่มขืนชาย (ง)หญิงข่มขืนหญิง หรือ(จ)ภรรยาข่มขืนสามีด้วย2. สำหรับประเทศไทย ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเป็นเหตุการณ์ที่กระทำกันตัวต่อตัว จึงต้องอาศัยพยานแวดล้อมประกอบว่ายินยอมหรือถูกข่มขืน เช่น คำพิพากษาฎีกาที่1605/2538 เมื่อเกิดเหตุถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราแล้ว ผู้เสียหายได้บอกให้บิดาทราบทันทีที่บิดากลับบ้านหลังเกิดเหตุ 2 ชั่วโมง เป็นพยานแวดล้อมรับฟังได้ว่าเป็นการข่มขืนกระทำชำเราฉะนั้น เมื่อเกิดเหตุแล้วอย่าอยู่นิ่งเฉยนานเกินไป ให้รีบบอกคนใกล้เคียงหรือรีบแจ้งความโดยเร็วที่สุด* นักประพันธ์และนักการศึกษาชาวอเมริกัน