Skip to main content

A Lawyer will do anything to win a case, sometimes he will even tell the truth.

Patrick Murray

 

ครั้งที่แล้วเล่าถึงกระบวนการกว่าจะมาเป็นทนายในประเทศเกาหลีใต้ไปแล้ว

คราวนี้ลองมาดูในประเทศอื่นกันบ้างนะคะ

ในประเทศเยอรมันนี ซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เหมือนกับบ้านเรา (อันที่จริงต้องบอกว่าเราไปเหมือนเขาต่างหาก) หลังจบชั้นมัธยม เด็กนักเรียนในเยอรมันสามารถเลือกเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นี่เป็นข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดประการหนึ่งของระบบการศึกษาเยอรมัน

นอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว อีกประการหนึ่งที่เด็กไทยน่าจะชอบก็คือ การเรียนกฎหมายในเยอรมันสามารถจัดตารางเรียนได้เอง และไม่มีข้อบังคับว่าจะต้องเข้าห้องเรียนด้วย

ดูเหมือนจะง่ายๆ อย่างนี้ แต่เอาเข้าจริงแล้ว กว่าจะเป็นทนายในเยอรมันได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

การเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยที่เยอรมันใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี แต่ก่อนที่จะออกว่าความเป็นทนายได้เต็มตัว นักเรียนกฎหมายในเยอรมันต้องผ่านกระบวนการสอบที่สำคัญสองขั้นตอนที่เรียกว่า First State Exam และ Second State Exam รวมถึงการฝึกงานต่างๆ คิดเป็นระยะเวลาในการเรียนและการสอบทั้งสิ้นประมาณ 6-7 ปี

First State Exam เป็นการทดสอบครั้งแรกหลังจากจบมหาวิทยาลัย เงื่อนไขการมีสิทธิสอบ First State Exam ง่ายๆ มีอยู่ว่า ระหว่างเรียนในมหาวิทยาลัย นักเรียนกฎหมายทุกคนต้องผ่านการสอบข้อเขียนครั้งใหญ่ก่อนสองครั้ง ต้องเขียนรายงานหนึ่งฉบับความยาวประมาณ 35 หน้า ประกอบกับพรีเซนเตชั่นในชั้นเรียนความยาวประมาณ 25 นาที รวมถึงสอบปากเปล่าในสาขาวิชาที่ตัวเองสนใจอีกหนึ่งครั้ง และมีระยะเวลาฝึกงานในสองสาขาวิชากฎหมายที่แตกต่างโดยไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงอีก 12 สัปดาห์

ทั้งหมดนี้คิดเป็นส่วนหนึ่ง หรือประมาณ 30% ของคะแนนสอบ First State Exam ทั้งหมด 

หลังผ่านบททดสอบข้างต้นเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาจึงจะมีสิทธิเข้าสอบ First State Exam โดยเป็นการสอบข้อเขียนในวิชากฎหมายแพ่ง 3 ครั้ง ครั้งละห้าชั่วโมง, วิชากฎหมายมหาชน 1 ครั้ง และกฎหมายอาญาอีก 1 ครั้ง แล้วยังต้องสอบปากเปล่าในสามสาขาวิชานี้รวมกันอีกครั้งหนึ่งด้วย ทั้งหมดนี้คือคะแนนในส่วน 70% ที่เหลือ

หลังหลุดรอดจากการสอบ First State Exam มาได้ ต่อไปก็มาถึงการสอบ Second State Exam

ก่อนมีสิทธิสอบ Second State Exam นักศึกษาทุกคนต้องผ่านการฝึกงานในสถาบันกฎหมายเสียก่อนเป็นระยะเวลาสองปีโดยได้รับเบี้ยเลี้ยง อาจเป็นหน่วยงานของรัฐ ศาล อัยการ หรือสำนักงานทนายความก็ได้

การสอบ Second State Exam จะเป็นตัวชี้วัดว่า นักศึกษาคนนั้นจะได้ประกอบวิชาชีพอะไร โดยผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุด จำนวนประมาณ 1% ของผู้เข้าสอบทั้งหมด จะได้เป็น Notary* ส่วนผู้ที่ทำคะแนนได้ในลำดับรองลงมาอีก 15% จะเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ

ส่วนที่เหลืออีก 85% ก็จะเป็นทนายความ มีสิทธิว่าความได้ตามระเบียบ

มาตรฐานข้อสอบ รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆในการทดสอบทางกฎหมายครั้งสำคัญทั้งสองครั้งนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานของรัฐที่ชื่อว่า “Landesjustizpruefungsamt”

ชื่อยาวๆ อย่างนี้ พยายามยังไงก็อ่านไม่ออกค่ะ... แต่แปลเป็นไทยได้ง่ายๆ ว่า “หน่วยงานของรัฐสำหรับการทดสอบทางกฎหมาย” นั่นเอง

* Notary Public ผู้มีอำนาจทำคำรับรองทั้งในทางข้อเท็จจริงและทางกฎหมาย เช่น รับรองความถูกต้องของลายมือชื่อ รับรองสำเนาเอกสาร คำพยาน บันทึกคำให้การที่ต้องมีการสาบาน หรือเอกสารอื่นๆ   ในบางประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) โนตารีพับลิคอาจมีอำนาจในการรับรองนิติกรรมด้วย โนตารีในยุโรปมีความสำคัญมาก เพราะสามารถมีอำนาจเทียบเท่าศาลในบางเรื่อง และยังเป็นเจ้าพนักงานของรัฐในการเก็บเอกสารสำคัญต่างๆ  กฎหมายโนตารีพับลิกมีใช้ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อิตาลี ออสเตรเลีย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับโนตารี แต่สภาทนายความฯ ได้มีความพยายามจัดให้มีบริการในลักษณะเดียวกันที่เรียกว่า Notarial Services Attorney

บล็อกของ ช้องนาง วิพุธานุพงษ์

ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
TANSTAAFL- There ain't no such thing as a free lunch.Milton Friedmanเคยได้ยินใช่ไหมคะที่เขาว่ากันว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ประโยคนี้มีที่มาจากไหนใครเป็นคนริเริ่มไม่ปรากฏแน่ชัด ว่ากันว่ามีที่มาจากร้านอาหารอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดึงดูดผู้มีรายได้น้อยด้วยการประกาศเลี้ยงอาหารกลางวันฟรี แต่มีข้อแม้อยู่ว่าใครจะกินต้องจ่ายค่าเครื่องดื่มอีกต่างหากอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อมาจึงเป็นที่มาของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลให้ประโยคที่ว่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางภายใต้ชื่อของศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก Milton Friedmanแนวคิดที่ว่านี้คือ การได้มาซึ่งสิ่งใดก็ตามในโลก…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
If power is for sale, sell your mother to buy it. You can always buy her back again.Arabian Proverb ได้อ่านพบโครงการดีๆ ทางอินเทอร์เน็ตโครงการหนึ่งเข้าโดยบังเอิญค่ะโครงการนี้ชื่อว่า “ฉลาดไม่ซื้อ” คอนเซปต์ของโครงการคือ “การไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่จ่ายเงินเพื่ออะไรนอกจากอาหารและการเดินทางเป็นเวลา 7 วัน รวมถึงทดลองไม่ซื้ออะไรเลยเป็นเวลา 1-2 วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ ท้ายที่สุดคือแสวงหาหนทางจะมีชิวิตอยู่ให้ได้โดยไม่ซื้ออะไรหรือซื้อให้น้อยที่สุด”สัปดาห์ฉลาดไม่ซื้อจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 51 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะจบลงไปแล้ว แต่กิจกรรมดีๆ แบบนี้ สามารถปฏิบัติต่อเนื่องได้เรื่อยๆ โดยไม่มีวันหยุด…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Now is the time to make real the promise of democracy. Martin Luther King, Jr.เพิ่งเริ่มปีใหม่มาหมาดๆ เงินเดือนแรกของปีหนูถีบจักรยังไม่ทันโอนเข้ากระเป๋า แต่ดูเหมือนว่าโลกหลังปีใหม่ ทั้งในบ้านเขา และบ้านเรา จะหมุนเร็วเสียจนไล่กวดแทบไม่ทันแน่ะค่ะตามธรรมเนียมของการเริ่มต้นศักราชใหม่ ใครๆ ตั้งใจอยากจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ เพิ่มสีสันให้ชีวิต ความตั้งใจตอนปีใหม่แบบนี้ ฝรั่งเรียกว่า New Year’s resolution ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนสาวคนหนึ่ง เธอตั้ง New Year’s resolution สำหรับปี 2008 ไว้ว่า หนึ่ง จะตื่นเช้าขึ้นครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาริสสีแดงได้จอดในร่มทุกวัน สีจะได้ไม่ซีดและดู cool ตลอดเวลา,  สอง…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Public morals are natural complements of all laws: they are by themselves an entire code.Napoleon Bonaparte ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงกฎหมายหลักที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเราซึ่งหลายต่อหลายคนคุ้นเคยกันดี ก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2466 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง กระทั่งนับถึงปัจจุบัน เรามีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับมาแล้วถึง 84 ปีส่วนประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Lawyers would have a hard time making a living if people behaved themselves and kept their promises                                                                                  …
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
A Lawyer will do anything to win a case, sometimes he will even tell the truth.Patrick Murray ครั้งที่แล้วเล่าถึงกระบวนการกว่าจะมาเป็นทนายในประเทศเกาหลีใต้ไปแล้วคราวนี้ลองมาดูในประเทศอื่นกันบ้างนะคะในประเทศเยอรมันนี ซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เหมือนกับบ้านเรา (อันที่จริงต้องบอกว่าเราไปเหมือนเขาต่างหาก) หลังจบชั้นมัธยม เด็กนักเรียนในเยอรมันสามารถเลือกเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นี่เป็นข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดประการหนึ่งของระบบการศึกษาเยอรมันนอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว อีกประการหนึ่งที่เด็กไทยน่าจะชอบก็คือ…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Doctors are the same as lawyers; the only difference is that lawyers merely rob you, whereas doctors rob you and kill you too.Anton Chekhov*เคยได้ยินไหมคะ ที่ใครๆเขาว่าทนายเป็นอาชีพที่ทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นในฐานะคนข้างเคียงในวงการ จะออกอาการว่าเห็นด้วยเสียเหลือเกินก็คงไม่ได้ แต่จะให้ปฏิเสธว่าไม่ใช่ก็ดูจะขัดแย้งกับความรู้สึกยังไงอยู่เอาเป็นว่าขอเถียงแทนเพื่อนนิดหนึ่งก็แล้วกัน ว่าการเป็นทนายไม่ใช่เรื่องของการทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นหรอกนะคะ แต่เป็นการแบกรับความทุกข์ของคนอื่น ไว้บนความทุกข์ของตัวเองอีกทีต่างหาก (ฮา)ปัจจุบันทนายความในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 53,236 คน (…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Rape is the only crime in which the victim becomes the accused.Freda Adler* และแล้วในที่สุด บรรดานักศึกษากฎหมายก็ได้โอกาสทำหน้าที่เป็นลูกขุนกับเขาบ้าง ในวันปฐมนิเทศ โรงเรียนได้จัดให้มีศาลจำลองเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการพิจารณาคดีในศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกขุน โดยมีตัวแทนนักศึกษารุ่นก่อนสวมบทบาทเป็นโจทก์ จำเลย ทนายโจทก์ และทนายจำเลย และผู้พิพากษาส่วนลูกขุนที่เข้าร่วมฟังการพิจารณา ก็คือบรรดานักศึกษาปริญญาโททั้งหลายนั่นเองปรากฏว่าเมื่อลองนับจำนวนลูกขุนในคดีนี้ดูแล้ว มีจำนวนเกือบสองร้อยกว่าคน มากกว่าลูกขุนที่นั่งพิจารณาคดีในศาลจริงๆ ถึง 20…