Skip to main content

If power is for sale, sell your mother to buy it. You can always buy her back again.

Arabian Proverb

 

ได้อ่านพบโครงการดีๆ ทางอินเทอร์เน็ตโครงการหนึ่งเข้าโดยบังเอิญค่ะ

โครงการนี้ชื่อว่า “ฉลาดไม่ซื้อ” คอนเซปต์ของโครงการคือ “การไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่จ่ายเงินเพื่ออะไรนอกจากอาหารและการเดินทางเป็นเวลา 7 วัน รวมถึงทดลองไม่ซื้ออะไรเลยเป็นเวลา 1-2 วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ ท้ายที่สุดคือแสวงหาหนทางจะมีชิวิตอยู่ให้ได้โดยไม่ซื้ออะไรหรือซื้อให้น้อยที่สุด”

สัปดาห์ฉลาดไม่ซื้อจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 51 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะจบลงไปแล้ว แต่กิจกรรมดีๆ แบบนี้ สามารถปฏิบัติต่อเนื่องได้เรื่อยๆ โดยไม่มีวันหยุด ผู้สนใจดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  http://wechange.seubsan.net/ ค่ะ

ไม่แปลกเลยใช่ไหมคะ หากจะกล่าวว่าธรรมดาเรื่องการซื้อมาขายไปเป็นกิจกรรมที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีจนกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน

กระทั่งคนส่วนมากอาจลืมคิดไปเลยว่าการตื่นเช้ามาซื้อกับข้าวไปตักบาตร จ่ายค่าหมูปิ้ง ซื้อตั๋วรถเมล์ไปทำงาน จ่ายค่าแท็กซี่ ขายซีดีต่อให้เพื่อน ล้วนแต่เป็นการกระทำกิจกรรมทางกฎหมาย ซึ่งมีผลสมบูรณ์ไม่ต่างไปจากการทำสัญญากู้เงินธนาคาร ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ประกันชีวิต จำนองที่ดิน ค้ำประกัน ฯลฯ

กิจกรรมทางกฎหมายที่มีผลสมบูรณ์ต่างๆ เหล่านี้ นักกฎหมายเรารวมเรียกว่า “นิติกรรม” ค่ะ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 149 ให้คำจำกัดความนองนิติกรรมไว้ว่า “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ์”

แปลความได้ว่าการกระทำใดๆ จะถือว่าเป็นนิติกรรม การกระทำนั้นต้อง...1) เป็นการกระทำโดยเจตนา 2) การแสดงเจตนานั้นต้องชอบด้วยกฎหมาย 3) ผู้แสดงเจตนากระทำลงด้วยความสมัครใจ 4) มีความประสงค์จะผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ 5) เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในสิทธิ ซึ่งได้แก่ การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

นิติกรรมมีได้หลายประเภท เช่น การทำสัญญาต่างๆ เช่น สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่า สัญญาค้ำประกัน หรือแม้แต่การหมั้น การสมรส การทำพินัยกรรม การปลดหนี้หรือชำระหนี้ ฯลฯ

ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขาย ก็เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง

ก่อนที่จะเกิดสัญญาใดๆ ภาษากฎหมายบอกไว้ ขั้นแรก คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องมี “คำเสนอ” และ “คำสนอง” ที่ถูกต้องตรงกันเสียก่อนค่ะ

“คำเสนอ” เรียกอีกอย่างว่าเป็น “คำขอให้เข้าทำสัญญา” ส่วน “คำสนอง” อีกนัยหนึ่งหมายถึง “การตอบรับเข้าทำสัญญาตามคำเสนอ”

ตัวอย่างเช่น นางสาว ก. เดินไปปากซอย ตั้งใจจะซื้อมะม่วงมาทำน้ำปลาหวาน แม่ค้าคือนาง ข. บอกว่า มะม่วงแรดรสดีขายอยู่กิโลละ 50 บาท นางสาว ก. ต่อราคา เหลือ 15 บาท นาง ข. ไม่ขาย บอกว่า ลดให้ได้แค่ 5 บาท เหลือโลละ 45 บาท จะชื้อไหม นางสาว ก. บอกว่าแพงไป ให้ได้แค่ โลละ 20 บาท จะขายไม่ขาย แม่ค้าเหลียวซ้ายและขวา หันไปคว้ามีดปอกมะม่วง ตวาดว่าถ้าต่ออีกคำเดียวจะยกมีดให้ฟรีๆ นางสาว ก. ไม่พอใจ สะบัดหน้าเดินหนีกลับบ้าน  

อย่างนี้...เรียกว่าสัญญาซื้อขายมะม่วงไม่เกิดค่ะ เพราะคำเสนอและคำสนองไม่ถูกต้องตรงกัน  คำบอกเล่าของแม่ค้าที่ว่ามะม่วงราคากิโลละ 50 บาทนั้น เรียกได้ว่าเป็นคำเสนอให้นางสาว ก. เข้าทำสัญญาซื้อขาย แต่ในเมื่อนางสาว ก. ไม่พอใจ ตั้งราคาไปใหม่ ราคาที่นางสาว ก. บอกไปนั้น จึงกลายเป็นคำเสนอขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง หากครั้งนี้แม่ค้าตอบตกลง ถือว่าแม่ค้ามีคำสนองรับ สัญญาซื้อขายมะม่วงจึงจะเกิด

เมื่อผลปรากฎว่า ต่างฝ่ายต่างมีคำเสนอ และไม่มีฝ่ายใดสนองรับ คำเสนอทั้งหลายจึงสิ้นผลไปในที่สุด

อย่างไรก็ดี กรณีดังกล่าวนี้ไม่รวมถึงคำเสนอที่ว่าจะยกมีดให้ฟรีๆ นะคะ เพราะคำเสนอแบบนี้เรียกว่าเป็นการแสดงเจตนาทำคำเสนอโดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150

แม้นางสาว ก. จะต่อรองราคาอีกครั้ง นาง ข. ก็ไม่มีความผูกพันตามสัญญาในอันที่จะต้องยกมีดปอกผลไม้ให้นางสาว ก. แต่อย่างใด งานนี้นางสาว ก. รอดตัวเพราะรีบหนีกลับบ้านไป เป็นหนทางที่ปลอดภัยที่สุดแล้วค่ะ
                           

*เพิ่มเติม คำพิพากษาฎีกาที่ 5343/2542 จำเลยมีคำเสนอขายข้าวสาร จำนวน 20,000 เมตริกตัน ส่งมอบเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2537 ไปยังโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยเป็นผู้ส่งข้าว คำเสนอและคำสนองดังกล่าวจึงถูกต้องตรงกัน ย่อมก่อให้เกิดสัญญาแล้ว แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระราคาและเสนอราคาใหม่ไปยังโจทก์ ถือว่าเป็นคำเสนอใหม่ โจทก์ตอบตกลงซื้อข้าวตามราคาที่เสนอมาใหม่และให้จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ แสดงว่าคำเสนอคำสนองใหม่ถูกต้องตรงกันสัญญาเกิดขึ้นแล้ว มีผลให้เป็นการยกเลิกสัญญาเดิมและผูกพันกันตามสัญญาที่เกิดขึ้นใหม่
ต่อมาโจทก์ มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบข้าวลงเรือในเดือนตุลาคม 2537 โดยไม่มีข้อความให้จำเลยมาทำสัญญาเป็นหนังสือ แต่กลับเร่งรัดให้จำเลยส่งมอบข้าวให้ทันกำหนดเวลา แสดงว่าโจทก์ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้สัญญามีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก่อน การที่จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วมีหนังสือขอเลื่อนไปส่งมอบข้าวสารในเดือนธันวาคม 2537 โดยไม่ทักท้วงหรือโต้แย้งว่าสัญญายังไม่ได้ลงนามเนื่องจากยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องค่าเสียหาย การค้ำประกันและการส่งมอบ พฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยเองมิได้มุ่งที่จะให้การซื้อขายข้าวดังกล่าวนั้นจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือเช่นกัน ดังนั้น สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยจึง มีผลบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว หาได้มีกรณีที่สงสัยว่าสัญญาจะต้องทำเป็นหนังสือดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสองแต่อย่างใดไม่



บล็อกของ ช้องนาง วิพุธานุพงษ์

ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
TANSTAAFL- There ain't no such thing as a free lunch.Milton Friedmanเคยได้ยินใช่ไหมคะที่เขาว่ากันว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ประโยคนี้มีที่มาจากไหนใครเป็นคนริเริ่มไม่ปรากฏแน่ชัด ว่ากันว่ามีที่มาจากร้านอาหารอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดึงดูดผู้มีรายได้น้อยด้วยการประกาศเลี้ยงอาหารกลางวันฟรี แต่มีข้อแม้อยู่ว่าใครจะกินต้องจ่ายค่าเครื่องดื่มอีกต่างหากอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อมาจึงเป็นที่มาของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลให้ประโยคที่ว่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางภายใต้ชื่อของศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก Milton Friedmanแนวคิดที่ว่านี้คือ การได้มาซึ่งสิ่งใดก็ตามในโลก…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
If power is for sale, sell your mother to buy it. You can always buy her back again.Arabian Proverb ได้อ่านพบโครงการดีๆ ทางอินเทอร์เน็ตโครงการหนึ่งเข้าโดยบังเอิญค่ะโครงการนี้ชื่อว่า “ฉลาดไม่ซื้อ” คอนเซปต์ของโครงการคือ “การไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่จ่ายเงินเพื่ออะไรนอกจากอาหารและการเดินทางเป็นเวลา 7 วัน รวมถึงทดลองไม่ซื้ออะไรเลยเป็นเวลา 1-2 วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ ท้ายที่สุดคือแสวงหาหนทางจะมีชิวิตอยู่ให้ได้โดยไม่ซื้ออะไรหรือซื้อให้น้อยที่สุด”สัปดาห์ฉลาดไม่ซื้อจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 51 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะจบลงไปแล้ว แต่กิจกรรมดีๆ แบบนี้ สามารถปฏิบัติต่อเนื่องได้เรื่อยๆ โดยไม่มีวันหยุด…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Now is the time to make real the promise of democracy. Martin Luther King, Jr.เพิ่งเริ่มปีใหม่มาหมาดๆ เงินเดือนแรกของปีหนูถีบจักรยังไม่ทันโอนเข้ากระเป๋า แต่ดูเหมือนว่าโลกหลังปีใหม่ ทั้งในบ้านเขา และบ้านเรา จะหมุนเร็วเสียจนไล่กวดแทบไม่ทันแน่ะค่ะตามธรรมเนียมของการเริ่มต้นศักราชใหม่ ใครๆ ตั้งใจอยากจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ เพิ่มสีสันให้ชีวิต ความตั้งใจตอนปีใหม่แบบนี้ ฝรั่งเรียกว่า New Year’s resolution ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนสาวคนหนึ่ง เธอตั้ง New Year’s resolution สำหรับปี 2008 ไว้ว่า หนึ่ง จะตื่นเช้าขึ้นครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาริสสีแดงได้จอดในร่มทุกวัน สีจะได้ไม่ซีดและดู cool ตลอดเวลา,  สอง…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Public morals are natural complements of all laws: they are by themselves an entire code.Napoleon Bonaparte ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงกฎหมายหลักที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเราซึ่งหลายต่อหลายคนคุ้นเคยกันดี ก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2466 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง กระทั่งนับถึงปัจจุบัน เรามีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับมาแล้วถึง 84 ปีส่วนประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Lawyers would have a hard time making a living if people behaved themselves and kept their promises                                                                                  …
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
A Lawyer will do anything to win a case, sometimes he will even tell the truth.Patrick Murray ครั้งที่แล้วเล่าถึงกระบวนการกว่าจะมาเป็นทนายในประเทศเกาหลีใต้ไปแล้วคราวนี้ลองมาดูในประเทศอื่นกันบ้างนะคะในประเทศเยอรมันนี ซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เหมือนกับบ้านเรา (อันที่จริงต้องบอกว่าเราไปเหมือนเขาต่างหาก) หลังจบชั้นมัธยม เด็กนักเรียนในเยอรมันสามารถเลือกเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นี่เป็นข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดประการหนึ่งของระบบการศึกษาเยอรมันนอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว อีกประการหนึ่งที่เด็กไทยน่าจะชอบก็คือ…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Doctors are the same as lawyers; the only difference is that lawyers merely rob you, whereas doctors rob you and kill you too.Anton Chekhov*เคยได้ยินไหมคะ ที่ใครๆเขาว่าทนายเป็นอาชีพที่ทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นในฐานะคนข้างเคียงในวงการ จะออกอาการว่าเห็นด้วยเสียเหลือเกินก็คงไม่ได้ แต่จะให้ปฏิเสธว่าไม่ใช่ก็ดูจะขัดแย้งกับความรู้สึกยังไงอยู่เอาเป็นว่าขอเถียงแทนเพื่อนนิดหนึ่งก็แล้วกัน ว่าการเป็นทนายไม่ใช่เรื่องของการทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นหรอกนะคะ แต่เป็นการแบกรับความทุกข์ของคนอื่น ไว้บนความทุกข์ของตัวเองอีกทีต่างหาก (ฮา)ปัจจุบันทนายความในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 53,236 คน (…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Rape is the only crime in which the victim becomes the accused.Freda Adler* และแล้วในที่สุด บรรดานักศึกษากฎหมายก็ได้โอกาสทำหน้าที่เป็นลูกขุนกับเขาบ้าง ในวันปฐมนิเทศ โรงเรียนได้จัดให้มีศาลจำลองเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการพิจารณาคดีในศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกขุน โดยมีตัวแทนนักศึกษารุ่นก่อนสวมบทบาทเป็นโจทก์ จำเลย ทนายโจทก์ และทนายจำเลย และผู้พิพากษาส่วนลูกขุนที่เข้าร่วมฟังการพิจารณา ก็คือบรรดานักศึกษาปริญญาโททั้งหลายนั่นเองปรากฏว่าเมื่อลองนับจำนวนลูกขุนในคดีนี้ดูแล้ว มีจำนวนเกือบสองร้อยกว่าคน มากกว่าลูกขุนที่นั่งพิจารณาคดีในศาลจริงๆ ถึง 20…