Skip to main content

TANSTAAFL- There ain't no such thing as a free lunch.

Milton Friedman

เคยได้ยินใช่ไหมคะที่เขาว่ากันว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี”

ประโยคนี้มีที่มาจากไหนใครเป็นคนริเริ่มไม่ปรากฏแน่ชัด ว่ากันว่ามีที่มาจากร้านอาหารอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดึงดูดผู้มีรายได้น้อยด้วยการประกาศเลี้ยงอาหารกลางวันฟรี แต่มีข้อแม้อยู่ว่าใครจะกินต้องจ่ายค่าเครื่องดื่มอีกต่างหากอย่างน้อยหนึ่งอย่าง

ต่อมาจึงเป็นที่มาของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลให้ประโยคที่ว่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางภายใต้ชื่อของศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก Milton Friedman

แนวคิดที่ว่านี้คือ การได้มาซึ่งสิ่งใดก็ตามในโลก ย่อมต้องแลกมาด้วยบางสิ่งบางอย่างเสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีข้อแลกเปลี่ยน”

ในทางกฎหมาย เวลาที่ “บุคคลสองฝ่าย” ตกลงแลกเปลี่ยนสิ่งใดก็ตามระหว่างกัน หากทั้งสองฝ่ายมีคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน เราเรียกว่าคำเสนอและคำสนองนั้นก่อให้เกิด “สัญญา” ค่ะ

ในกรณีเช่นนี้ หากการแลกเปลี่ยนนั้น เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของกับสิ่งของ สัญญานั้นเรียกว่า “สัญญาแลกเปลี่ยน” แต่หากเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของและเงิน สัญญานั้นเรียกว่า “สัญญาซื้อขาย”

โดยหลักแล้ว แม้ว่า “สัญญาแลกเปลี่ยน” และ “สัญญาซื้อขาย” จะมีลักษณะเฉพาะต่างกันดังกล่าว แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดให้นำบทบัญญัติในเรื่องซื้อขายมาใช้บังคับกับการแลกเปลี่ยนด้วย โดยให้ถือว่าผู้เป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ขายในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้ส่งมอบ และเป็นผู้ซื้อในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้รับในการแลกเปลี่ยนนั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 519)

ขอแถมนิดหนึ่งว่า ในกรณีที่กล่าวถึงการเข้าทำสัญญาไม่ว่ากรณีใด ทางกฎหมายจะไม่ใช้คำว่า “คนสองคน” นะคะ เนื่องจากในการทำสัญญาแต่ละครั้ง คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอาจประกอบด้วยบุคคลมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ คำว่า “คนสองคน” จึงขออนุญาตเก็บไว้ใช้ในโอกาสอื่นๆ ที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับกฎหมายจะดีกว่า

กลับมาที่สัญญาซื้อขายและสัญญาแลกเปลี่ยนกันอีกครั้งค่ะ 
เมื่อปรากฏว่าสัญญาแลกเปลี่ยน คือการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของกับสิ่งของ และสัญญาซื้อขาย คือการแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งของกับเงิน
แล้วทราบไหมคะว่า สิ่งของอะไรในโลกนี้ที่สามารถใช้แลกกับเงินได้บ้าง?

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 ระบุประเภทของทรัพย์ที่สามารถทำสัญญาซื้อขาย ได้แก่ “อสังหาริมทรัพย์” และ “สังหาริมทรัพย์”
อสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 139) หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย ตัวอย่างเช่น ไม้ยืนต้น โรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน แร่ธาตุ กรวด หิน ดิน ทรายขณะยังอยู่ในที่ดิน (ไม่ใช่ขุดออกมาแล้ว) ส่วนทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีโฉนด สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย

ส่วนไม้ล้มลุก หรือทรัพย์อื่นๆซึ่งติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรานี้
ทรัพย์ที่อาจทำการซื้อขายได้อีกประเภทหนึ่งคือ สังหาริมทรัพย์ (มาตรา 140) หมายถึงทรัพย์สิน “อื่น” นอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย

ส่วนทรัพย์ที่ไม่สามารถทำสัญญาซื้อขาย ได้แก่ “ทรัพย์นอกพาณิชย์” (มาตรา 143)  ซึ่ง หมายถึงทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือทรัพย์สินอื่นซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนตามมาตรา 1700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ในการทำสัญญาซื้อขาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 กำหนดว่า กรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ขายนั้นย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน

พูดแบบนี้อาจทำให้เข้าใจไปได้ว่า เพียงแค่เอ่ยปากเจรจาตกลงทำสัญญาซื้อขาย กรรมสิทธิในทรัพย์ที่ขายนั้นก็จะตกเป็นของผู้ซื้อทันทีโดยไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่นอีก  เกือบจะใช่ แต่ก็ยังไม่ใช่เสียทีเดียวค่ะ

ที่จริงแล้ว ในการทำสัญญาซื้อขาย กรรมสิทธิในทรัพย์นั้นจะโอนไปยังผู้ซื้อโดยสมบูรณ์หรือไม่  ขึ้นอยู่กับว่า ทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้นเป็นทรัพย์ชนิดใด และต้องดูด้วยว่าผู้ซื้อผู้ขายได้ทำสัญญากันถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่

กล่าวคือ ถ้าเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ และสัตว์พาหนะ ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายนั้นตกเป็นโมฆะ คือสิ้นผลไปทั้งหมด กรรมสิทธิไม่โอนไปยังผู้ซื้อ

ส่วนการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ โดยปกติเพียงแค่ตกปากรับคำซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อทันที เว้นแต่คู่กรณีจะได้ระบุเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไว้เป็นอย่างอื่น

ตัวอย่างเช่น  คำพิพากษาฎีกาที่ 60/2524 รถยนต์ไม่ใช่ทรัพย์ที่อยู่ในบังคับตามมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกันโดยมิต้องไปโอนทะเบียน ส่วนการโอนทะเบียนรถยนต์ตามกฎหมาย เกี่ยวกับทะเบียนรถยนต์นั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่จะควบคุมยานพาหนะและภาษีรถยนต์ มิใช่แบบของนิติกรรมแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2546 จำเลยที่ 1 ซื้อรถยนต์พิพาทมาจากจำเลยที่ 2 โดยชำระราคาด้วยเช็คหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ชำระราคาครบถ้วนและได้รับมอบรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว แม้เช็คที่จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์พิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การซื้อขายรถยนต์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์โอนไปยังจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะที่เมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 458 ส่วนการชำระราคาไม่ใช่เงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6289/2549 ข้อความในหนังสือสัญญาซื้อขาย แม้จะระบุว่าผู้ขายได้รับชำระค่ามัดจำเป็นเงินจำนวนหนึ่งและยอมให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือภายใน 1 ปี พร้อมกับการส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายก็ตาม แต่ก็ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่าหากผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ซื้อและผู้ขายจะไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลังต่อไป หนังสือสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่อาจนำหนังสือสัญญาซื้อขายมาฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทได้

บล็อกของ ช้องนาง วิพุธานุพงษ์

ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
TANSTAAFL- There ain't no such thing as a free lunch.Milton Friedmanเคยได้ยินใช่ไหมคะที่เขาว่ากันว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ประโยคนี้มีที่มาจากไหนใครเป็นคนริเริ่มไม่ปรากฏแน่ชัด ว่ากันว่ามีที่มาจากร้านอาหารอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดึงดูดผู้มีรายได้น้อยด้วยการประกาศเลี้ยงอาหารกลางวันฟรี แต่มีข้อแม้อยู่ว่าใครจะกินต้องจ่ายค่าเครื่องดื่มอีกต่างหากอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อมาจึงเป็นที่มาของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลให้ประโยคที่ว่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางภายใต้ชื่อของศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก Milton Friedmanแนวคิดที่ว่านี้คือ การได้มาซึ่งสิ่งใดก็ตามในโลก…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
If power is for sale, sell your mother to buy it. You can always buy her back again.Arabian Proverb ได้อ่านพบโครงการดีๆ ทางอินเทอร์เน็ตโครงการหนึ่งเข้าโดยบังเอิญค่ะโครงการนี้ชื่อว่า “ฉลาดไม่ซื้อ” คอนเซปต์ของโครงการคือ “การไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่จ่ายเงินเพื่ออะไรนอกจากอาหารและการเดินทางเป็นเวลา 7 วัน รวมถึงทดลองไม่ซื้ออะไรเลยเป็นเวลา 1-2 วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ ท้ายที่สุดคือแสวงหาหนทางจะมีชิวิตอยู่ให้ได้โดยไม่ซื้ออะไรหรือซื้อให้น้อยที่สุด”สัปดาห์ฉลาดไม่ซื้อจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 51 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะจบลงไปแล้ว แต่กิจกรรมดีๆ แบบนี้ สามารถปฏิบัติต่อเนื่องได้เรื่อยๆ โดยไม่มีวันหยุด…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Now is the time to make real the promise of democracy. Martin Luther King, Jr.เพิ่งเริ่มปีใหม่มาหมาดๆ เงินเดือนแรกของปีหนูถีบจักรยังไม่ทันโอนเข้ากระเป๋า แต่ดูเหมือนว่าโลกหลังปีใหม่ ทั้งในบ้านเขา และบ้านเรา จะหมุนเร็วเสียจนไล่กวดแทบไม่ทันแน่ะค่ะตามธรรมเนียมของการเริ่มต้นศักราชใหม่ ใครๆ ตั้งใจอยากจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ เพิ่มสีสันให้ชีวิต ความตั้งใจตอนปีใหม่แบบนี้ ฝรั่งเรียกว่า New Year’s resolution ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนสาวคนหนึ่ง เธอตั้ง New Year’s resolution สำหรับปี 2008 ไว้ว่า หนึ่ง จะตื่นเช้าขึ้นครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาริสสีแดงได้จอดในร่มทุกวัน สีจะได้ไม่ซีดและดู cool ตลอดเวลา,  สอง…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Public morals are natural complements of all laws: they are by themselves an entire code.Napoleon Bonaparte ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงกฎหมายหลักที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเราซึ่งหลายต่อหลายคนคุ้นเคยกันดี ก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2466 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง กระทั่งนับถึงปัจจุบัน เรามีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับมาแล้วถึง 84 ปีส่วนประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Lawyers would have a hard time making a living if people behaved themselves and kept their promises                                                                                  …
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
A Lawyer will do anything to win a case, sometimes he will even tell the truth.Patrick Murray ครั้งที่แล้วเล่าถึงกระบวนการกว่าจะมาเป็นทนายในประเทศเกาหลีใต้ไปแล้วคราวนี้ลองมาดูในประเทศอื่นกันบ้างนะคะในประเทศเยอรมันนี ซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เหมือนกับบ้านเรา (อันที่จริงต้องบอกว่าเราไปเหมือนเขาต่างหาก) หลังจบชั้นมัธยม เด็กนักเรียนในเยอรมันสามารถเลือกเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นี่เป็นข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดประการหนึ่งของระบบการศึกษาเยอรมันนอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว อีกประการหนึ่งที่เด็กไทยน่าจะชอบก็คือ…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Doctors are the same as lawyers; the only difference is that lawyers merely rob you, whereas doctors rob you and kill you too.Anton Chekhov*เคยได้ยินไหมคะ ที่ใครๆเขาว่าทนายเป็นอาชีพที่ทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นในฐานะคนข้างเคียงในวงการ จะออกอาการว่าเห็นด้วยเสียเหลือเกินก็คงไม่ได้ แต่จะให้ปฏิเสธว่าไม่ใช่ก็ดูจะขัดแย้งกับความรู้สึกยังไงอยู่เอาเป็นว่าขอเถียงแทนเพื่อนนิดหนึ่งก็แล้วกัน ว่าการเป็นทนายไม่ใช่เรื่องของการทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นหรอกนะคะ แต่เป็นการแบกรับความทุกข์ของคนอื่น ไว้บนความทุกข์ของตัวเองอีกทีต่างหาก (ฮา)ปัจจุบันทนายความในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 53,236 คน (…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Rape is the only crime in which the victim becomes the accused.Freda Adler* และแล้วในที่สุด บรรดานักศึกษากฎหมายก็ได้โอกาสทำหน้าที่เป็นลูกขุนกับเขาบ้าง ในวันปฐมนิเทศ โรงเรียนได้จัดให้มีศาลจำลองเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการพิจารณาคดีในศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกขุน โดยมีตัวแทนนักศึกษารุ่นก่อนสวมบทบาทเป็นโจทก์ จำเลย ทนายโจทก์ และทนายจำเลย และผู้พิพากษาส่วนลูกขุนที่เข้าร่วมฟังการพิจารณา ก็คือบรรดานักศึกษาปริญญาโททั้งหลายนั่นเองปรากฏว่าเมื่อลองนับจำนวนลูกขุนในคดีนี้ดูแล้ว มีจำนวนเกือบสองร้อยกว่าคน มากกว่าลูกขุนที่นั่งพิจารณาคดีในศาลจริงๆ ถึง 20…