Skip to main content

Public morals are natural complements of all laws: they are by themselves an entire code.
Napoleon Bonaparte

ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงกฎหมายหลักที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเราซึ่งหลายต่อหลายคนคุ้นเคยกันดี ก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2466 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง กระทั่งนับถึงปัจจุบัน เรามีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับมาแล้วถึง 84 ปี

ส่วนประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) ประกาศใช้ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับถึงบัดนี้เป็นเวลาเกือบหนึ่งร้อยปี

ถ้าดูแค่เพียงตัวเลข อาจรู้สึกว่าประวัติศาสตร์การบังคับใช้กฎหมายในบ้านเรามีความเป็นมาย้อนหลังกลับไปไม่ไกลเท่าไรนัก แค่เพียงหนึ่งชั่วอายุคนเท่านั้น

แต่นั่นเป็นเพียงประวัติศาสตร์ของการมีกฎหมายขึ้นมาบังคับใช้อย่างเป็นสากลรูปธรรม หากมองกันตามข้อเท็จจริงแล้ว ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยกลับมีความเป็นมาย้อนหลังไปไกลกว่านั้น จากหลักฐานที่พบเริ่มแรกตั้งแต่คัมภีร์พระธรรมศาสตร์สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781) หรือประมาณ 700 กว่าปีล่วงมาแล้ว

ตั้งแต่เมื่อ 700 ปีก่อน ระบบกฎหมายดั้งเดิมของไทยใช้หลักการตัดสินคดีความโดยอ้างอิงคำตัดสิน(พระบรมราชวินิจฉัย)เป็นหลัก แต่ปัจจุบันเราเดินอยู่บนเส้นทางของระบบกฎหมาย Civil Law ซึ่งเป็นหนี่งในสองระบบกฎหมายหลักของโลก

Civil Law คืออะไร?

การจะตอบคำถามนี้ได้ ต้องอธิบายถึงระบบกฎหมายหลักทั้งสองระบบเสียก่อนค่ะ

ระบบกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกทุกวันนี้มีที่มาจากสองระบบกฎหมายหลัก นั่นคือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law)

ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) มีวิวัฒนาการจากกฎหมายโรมัน ซึ่งภายหลังได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในอิตาลี ระบบกฎหมายนี้ยึดถือหลักกฎหมายที่ได้จากจารีตประเพณีและตัวบทกฎหมายที่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างประเทศในยุโรปที่ใช้ระบบนี้ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน ในเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย

คำว่ายึดถือตัวบทกฎหมายที่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หมายความว่า ในการวินิจฉัยคดี ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยยืนอยู่บนพื้นฐานของหลักกฎหมายตามที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายหรือพระราชบัญญัติเป็นหลัก โดยอาศัยการตีความกฎหมายเหล่านี้ซึ่งได้มีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จากนั้นจึงนำหลักกฎหมายที่ได้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับคดี ในระบบนี้อำนาจการออกกฎหมายขึ้นอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติ ศาลไม่มีอำนาจในการสร้างหลักกฎหมาย แต่มีสถานะเป็นเพียงผู้ใช้กฎหมาย นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลก็ไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย เป็นแต่เพียงแนวทางในการวินิจฉัยคดีเท่านั้น

ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) ระบบนี้พัฒนาขึ้นในประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่ใช้อยู่ใน อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ โดยมีวิวัฒนาการจากการที่ศาลในอังกฤษสมัยก่อนนำหลักเกณฑ์ในจารีตประเพณีมาเป็นมาตรฐานในการตัดสินคดี จากนั้นศาลที่ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีต่อๆ มาจึงได้ยึดถือคำพิพากษาของศาลในคดีก่อนหน้าเป็นบรรทัดฐาน เกิดเป็นหลักเกณฑ์ทางกฎหมายสืบต่อกันมา

ในระบบนี้ถือว่าผู้พิพากษาเป็นผู้ออกกฎหมาย (Judge made law) ด้วยเหตุนี้ ในระบบนี้จึงไม่มีการตรากฎหมายขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะอาศัยเทียบเคียงหลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลที่เคยตัดสินไว้ก่อนหน้า โดยในคดีที่มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน ศาลซึ่งทำหน้าที่วินิจฉัยในคดีหลังจะถูกผูกพันโดยคำพิพากษาของศาลที่ตัดสินไว้ก่อน (Stare decisis) อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่ยังไม่เคยมีคดีเกิดขึ้นมาก่อน ก็อาจมีการตรากฎหมายขึ้นมาใช้สำหรับกรณีนั้นๆ เป็นการเฉพาะได้ ระบบนี้ถือว่าคำพิพากษาของศาลมีสถานะเป็นกฎหมายในตัวเอง โดยหลักกฎหมายเหล่านั้นมีที่มาจากจารีตประเพณี ศาสนา คำพิพากษา หลักความยุติธรรม (equity) และความเห็นของนักกฎหมาย

สำหรับระบบกฎหมายของประเทศไทย ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าเราใช้ระบบกฎหมายที่เรียกว่า "ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร" หรือระบบ Civil Law ค่ะ

เหตุใดไทยจึงใช้ระบบกฎหมาย Civil Law?

สาเหตุหลักที่ไทยเลือกใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร แทนที่จะใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ห้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรากำลังมีการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชาติตะวันตก ปรากฏว่าพัฒนาการทางกฎหมายจารีตประเพณีของเราในยุคนั้นยังไม่อาจนำมาปรับใช้ใด้ทันกับกฎเกณฑ์และวิธีคิดแบบฝรั่ง ผลจากการสูญเสียอธิปไตยทางการศาลหรือการสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รัชกาลที่ห้าประกาศใช้ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ตามแบบฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมัน ทั้งนี้ เพราะการตรากฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการง่าย สะดวก ชัดเจน และรวดเร็วกว่าการรอให้เกิดวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีอันเกิดจากคำพิพากษาของศาล

ปัจจุบันเรามีประมวลกฎหมายใช้บังคับอยู่ 7 ฉบับ ได้แก่

        1.  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
        2.  ประมวลกฎหมายอาญา
        3.  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
        4.  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
        5. ประมวลกฎหมายที่ดิน
        6.  ประมวลรัษฎากร
        7.  ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

ประมวลกฎหมายเหล่านี้ออกโดยอาศัยอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ มีลำดับศักดิ์และกระบวนการจัดทำเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ ส่วนที่แตกต่างคือ ประมวลกฎหมายเป็นการนำหลักกฎหมายทั่วไปในหลายเรื่องมารวมบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน โดยจัดแบ่งหมวดหมู่เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปบังคับใช้ค่ะ

บล็อกของ ช้องนาง วิพุธานุพงษ์

ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
TANSTAAFL- There ain't no such thing as a free lunch.Milton Friedmanเคยได้ยินใช่ไหมคะที่เขาว่ากันว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ประโยคนี้มีที่มาจากไหนใครเป็นคนริเริ่มไม่ปรากฏแน่ชัด ว่ากันว่ามีที่มาจากร้านอาหารอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดึงดูดผู้มีรายได้น้อยด้วยการประกาศเลี้ยงอาหารกลางวันฟรี แต่มีข้อแม้อยู่ว่าใครจะกินต้องจ่ายค่าเครื่องดื่มอีกต่างหากอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อมาจึงเป็นที่มาของแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลให้ประโยคที่ว่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางภายใต้ชื่อของศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยชิคาโก Milton Friedmanแนวคิดที่ว่านี้คือ การได้มาซึ่งสิ่งใดก็ตามในโลก…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
If power is for sale, sell your mother to buy it. You can always buy her back again.Arabian Proverb ได้อ่านพบโครงการดีๆ ทางอินเทอร์เน็ตโครงการหนึ่งเข้าโดยบังเอิญค่ะโครงการนี้ชื่อว่า “ฉลาดไม่ซื้อ” คอนเซปต์ของโครงการคือ “การไม่ซื้อ ไม่ใช้ ไม่จ่ายเงินเพื่ออะไรนอกจากอาหารและการเดินทางเป็นเวลา 7 วัน รวมถึงทดลองไม่ซื้ออะไรเลยเป็นเวลา 1-2 วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ ท้ายที่สุดคือแสวงหาหนทางจะมีชิวิตอยู่ให้ได้โดยไม่ซื้ออะไรหรือซื้อให้น้อยที่สุด”สัปดาห์ฉลาดไม่ซื้อจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ม.ค. – 3 ก.พ. 51 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะจบลงไปแล้ว แต่กิจกรรมดีๆ แบบนี้ สามารถปฏิบัติต่อเนื่องได้เรื่อยๆ โดยไม่มีวันหยุด…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Now is the time to make real the promise of democracy. Martin Luther King, Jr.เพิ่งเริ่มปีใหม่มาหมาดๆ เงินเดือนแรกของปีหนูถีบจักรยังไม่ทันโอนเข้ากระเป๋า แต่ดูเหมือนว่าโลกหลังปีใหม่ ทั้งในบ้านเขา และบ้านเรา จะหมุนเร็วเสียจนไล่กวดแทบไม่ทันแน่ะค่ะตามธรรมเนียมของการเริ่มต้นศักราชใหม่ ใครๆ ตั้งใจอยากจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ เพิ่มสีสันให้ชีวิต ความตั้งใจตอนปีใหม่แบบนี้ ฝรั่งเรียกว่า New Year’s resolution ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนสาวคนหนึ่ง เธอตั้ง New Year’s resolution สำหรับปี 2008 ไว้ว่า หนึ่ง จะตื่นเช้าขึ้นครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาริสสีแดงได้จอดในร่มทุกวัน สีจะได้ไม่ซีดและดู cool ตลอดเวลา,  สอง…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Public morals are natural complements of all laws: they are by themselves an entire code.Napoleon Bonaparte ปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงกฎหมายหลักที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเราซึ่งหลายต่อหลายคนคุ้นเคยกันดี ก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2466 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังจากนั้นได้มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง กระทั่งนับถึงปัจจุบัน เรามีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับมาแล้วถึง 84 ปีส่วนประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451)…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Lawyers would have a hard time making a living if people behaved themselves and kept their promises                                                                                  …
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
A Lawyer will do anything to win a case, sometimes he will even tell the truth.Patrick Murray ครั้งที่แล้วเล่าถึงกระบวนการกว่าจะมาเป็นทนายในประเทศเกาหลีใต้ไปแล้วคราวนี้ลองมาดูในประเทศอื่นกันบ้างนะคะในประเทศเยอรมันนี ซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) เหมือนกับบ้านเรา (อันที่จริงต้องบอกว่าเราไปเหมือนเขาต่างหาก) หลังจบชั้นมัธยม เด็กนักเรียนในเยอรมันสามารถเลือกเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ นี่เป็นข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดประการหนึ่งของระบบการศึกษาเยอรมันนอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว อีกประการหนึ่งที่เด็กไทยน่าจะชอบก็คือ…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Doctors are the same as lawyers; the only difference is that lawyers merely rob you, whereas doctors rob you and kill you too.Anton Chekhov*เคยได้ยินไหมคะ ที่ใครๆเขาว่าทนายเป็นอาชีพที่ทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นในฐานะคนข้างเคียงในวงการ จะออกอาการว่าเห็นด้วยเสียเหลือเกินก็คงไม่ได้ แต่จะให้ปฏิเสธว่าไม่ใช่ก็ดูจะขัดแย้งกับความรู้สึกยังไงอยู่เอาเป็นว่าขอเถียงแทนเพื่อนนิดหนึ่งก็แล้วกัน ว่าการเป็นทนายไม่ใช่เรื่องของการทำมาหากินบนความทุกข์ของคนอื่นหรอกนะคะ แต่เป็นการแบกรับความทุกข์ของคนอื่น ไว้บนความทุกข์ของตัวเองอีกทีต่างหาก (ฮา)ปัจจุบันทนายความในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 53,236 คน (…
ช้องนาง วิพุธานุพงษ์
Rape is the only crime in which the victim becomes the accused.Freda Adler* และแล้วในที่สุด บรรดานักศึกษากฎหมายก็ได้โอกาสทำหน้าที่เป็นลูกขุนกับเขาบ้าง ในวันปฐมนิเทศ โรงเรียนได้จัดให้มีศาลจำลองเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการพิจารณาคดีในศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของลูกขุน โดยมีตัวแทนนักศึกษารุ่นก่อนสวมบทบาทเป็นโจทก์ จำเลย ทนายโจทก์ และทนายจำเลย และผู้พิพากษาส่วนลูกขุนที่เข้าร่วมฟังการพิจารณา ก็คือบรรดานักศึกษาปริญญาโททั้งหลายนั่นเองปรากฏว่าเมื่อลองนับจำนวนลูกขุนในคดีนี้ดูแล้ว มีจำนวนเกือบสองร้อยกว่าคน มากกว่าลูกขุนที่นั่งพิจารณาคดีในศาลจริงๆ ถึง 20…