Skip to main content

picture1

เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปรากฎว่า มีผู้เขียนเข้ามาคุย และโทร.เข้ามาคุยเรื่องขยะ ๆ เป็นส่วนใหญ่ เรื่องของผู้ชายริมทางรถไฟหล่นหายไปพร้อมกับเรื่องวรรณกรรมที่อยากนำเสนอ

นั่นแสดงว่า เรื่องขยะ ๆ มันเป็นเรื่องโดนใจใคร ๆ และมีผู้สนใจเรื่องขยะอยู่พอสมควร สนใจนะคะไม่ใช่ชอบ  หรือรัก ใคร ๆ ก็ไม่ชอบขยะ และอยากเอาขยะออกไปให้พ้น ๆ ตัว

ดังนั้นขอคุยเรื่องขยะต่ออีกครั้งนะคะ

หญิงสาวคนหนึ่งมีอาชีพเป็นพยาบาล เธอคุยกับฉันว่า เธออยากเห็นตลาดสักแห่งหนึ่งที่เป็นตลาดไร้ถุงพลาสติก ขายกันด้วยใบกล้วย ใบตอง ผู้คนหิ้วตะกร้ามาจ่ายกับข้าว เอาถุงผ้ามาซื้อข้าวสาร เธอย้ำว่าเธออยากจะไปตลาดเช่นนั้น

ฉันก็เห็นด้วยกับเธอ แต่ฉันคิดว่าเธอคงไม่ได้เห็นหรอก 

ส่วนน้องสาวอีกคน เธอมาบ่นว่า เธอมีปัญหาเรื่องโฟมใส่อาหารมาก มีปัญหาทางใจ มีปัญหาครอบครัวเพราะสามีของเธอเคร่งเครียดกับเรื่องนี้มาก เขาเห็นมันเข้ามาในบ้านไม่ได้เลย ใครหิ้วเข้ามาก็ต้องโดนว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร เธอเองก็ไม่อยากได้โฟมหรอก แต่เมื่อไปซื้ออาหารพวกเขาบอกว่าไม่มีอย่างอื่น ถุงพลาสติกก็ไม่มี วันหนึ่งตัดสินใจซื้อขนมปากหม้อ สาคูไส้หมู เจ้าอร่อยมาฝาก เขาถามว่า ทำไมใส่กล่องโฟมมา บอกเขาไปว่า ไม่มีอย่างอื่น เขาเสียงเขียวว่า
“ไม่มีก็ไม่เอา ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องกิน แค่ถุงพลาสติกก็แย่แล้ว”

เธอเล่าต่อว่า เมื่อเดือนก่อนเธอกับเขาไปงานชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ที่เชียงใหม่ เขาหันไปเห็นกล่องโฟมใส่อาหารวางเรียงอยู่บนโต๊ะประมาณสามสิบสี่สิบกล่อง เขาตรงเข้าไปถามว่า อาหารพวกนี้กินมื้อเดียวใช่ไหมครับ น้องที่อยู่ใกล้ๆ พยักหน้า  วันหนึ่งกินสามมื้อ วันละร้อยกล่อง พวกคุณจัดงานกี่วันครับ

คราวนี้น้องงง เขาก็เลยพูดต่อว่า ผมเสนอว่า ควรหาทางอื่นในการกินนะครับ อย่าคิดแต่เรื่องสะดวกสบาย ทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อมกันด้วยไม่ใช่หรือครับ ถ้างั้นก็ป่วยการทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อม

ฟังเขาพูดแล้วต้องเดินหนี อายเขาและกลัวว่า คนที่ถูกว่าจะเสียใจ เสียหน้า กลับมาถึงบ้านเขายังเล่าให้ฟังอีกว่า น้องคนนั้นบอกให้เขาไปเขียนลงที่กล่องแสดงความคิดเห็น

ฉันบอกเธอไปว่า ทำเรื่องที่ควรทำไม่น่าจะอายนะคะ  แต่ก็น่าจะคิดวิธีบอกกล่าวบ้างเหมือนกัน  ถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ศิลปะในการพูดไม่ให้คนอื่นเสียหน้าและได้ผลด้วย การเขียนใส่กล่องความคิดเห็นก็เป็นวิธีหนึ่ง

มีอีกหลายคนที่บอกมาว่า ที่เขาและเธออยู่ต่างมีขยะมากมาย  ทั้งเหนือใต้อีสาน แต่เด็ดสุดจากใต้ น้ำตกพรมโลก เธอบอกว่า ที่นั่นขยะมากมาย เคยพบว่ามีถุงดูเร็กด้วย (ถุงยางอนามัยดูเร็กนะ ไม่ใช่ กระดาษช็อกโกแล็ต)

ฉันบอกน้องสาวคนนั้นไปว่า การเดินป่า เที่ยวป่าเขาและน้ำตกนั้น เขาให้เอาไปแต่สิ่งที่จำเป็นแก่ชีวิตเท่านั้น และเอาไปให้น้อยที่สุด แต่ก็นั่นแหละสิ่งจำเป็นของใคร ๆ ก็ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญคือเอาขึ้นไปแล้วก็เอากลับลงมาเหมือนเดิม

บางคนก็บอกเธอเป็นคนเก็บขยะ และเก็บมานานแล้วเห็นขยะที่ไหนก็เก็บ และเขาพบว่า หลังจากที่เขาเริ่มเก็บขยะเขาได้สิ่งมีค่าหลายอย่างที่คนอื่นทิ้งและเขานำมาใช้ได้ บางครั้งเขาก็เอามาขัดมาเช็ดถู เก็บไว้ข้างบ้าน มีเพื่อนมาเห็นชอบเขาก็ยกให้ไปเลย พวกกรอบรูปก็มี พวกเก้าอี้เอามาซ่อมได้ เพื่อน ๆ ไม่รู้หรอกว่าเก็บมาจากที่เขาทิ้ง ๆ

เธอว่าคนชอบทิ้ง ใช้แล้วก็ทิ้งไม่ได้คิดจะเก็บมาใช้ให้คุ้มค่า หรือเอามาซ่อมแซม เธอยังเสนอว่า บริษัทที่ผลิตขยะออกมาก็น่าจะรับผิดชอบเอากลับไปด้วย โดยเฉพาะขยะอันตรายพวกถ่านไฟ แบตเตอรี่มือถือ กระป๋องต่าง ๆ

picture2

อีกคน “น้องเด็กดอย”จากโอเคเนชั่น เขียนมาว่า ขยะบนดอยมาก ดอยไหนก็มีขยะ โดยเฉพาะที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว

เขาเป็นเด็กดอยอินทนนท์ ข้อความสั้น ๆ แต่มีความหมาย และเข้าใจอารมณ์ของคนอยู่ดอยจริง ๆ และข้อความสั้น ๆ นี่แหละ ทำให้ฉันเขียนเรื่องขยะต่อ

ด้วยคำถามว่า ขยะดอยมาจากไหนและมันจะกลับมาได้อย่างไร

แน่นอนมันต้องลงมาถึงพื้นราบ มากับสายน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารต่าง ๆ มากับอากาศ ทั้งน้ำและอากาศจะได้รับกันอย่างทั่วถึง

ว่ากันว่า ขยะในตัวเมืองเชียงใหม่ จำนวนมหาศาล ถูกนำไปเก็บไว้บนป่าบนดอยสูงด้วย คิดดูเถิดว่า การจัดการกับขยะในเมืองเป็นเรื่องโหดแค่ไหน การย้ายขยะจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งเท่านั้น

เคยคุยกับเพื่อนที่เป็นเจ้าของโรงเรียน อนุบาล เธอบอกว่า เด็ก ๆ เป็นภูมิแพ้กันมาก พ่อแม่ต้องเตรียมรับมือเรื่องนี้ให้ดี เพราะพวกเขาจะได้โรคภูมิแพ้เป็นของขวัญทันทีที่เกิดมา    

นี่เป็นเรื่องที่น่ากลัวไหม

บอกกล่าวกันไว้แค่นี้แล้วกันนะคะ เผื่อใครจะคิดต่อทำต่อ

****************

ปล.ข่าวฝากเพื่อสังคมค่ะ

งานเดิน และปั่นจักรยาน ขึ้นดอยสุเทพ ตามรอยครูบา และดูแลสิ่งแวดล้อมค่ะ
“วันที่ 4 พฤศจิกายน 2550” นี้ สำหรับผู้สนใจร่วมเดินทาง

เริ่มโมงเช้าที่ลานครูบาศรีวิชัย กลุ่มเดินเท้าเดินตามเส้นทางป่าดอย ค่อยลัดเลาะไป ดูและฟังเสียงป่า ไปกินขนมอร่อย ๆ ที่วัดผาลาด และเดินต่อไปจนถึงลานวัดพะธาตุไปพบกับทีมปั่นจักรยานที่รออยู่แล้ว  ในช่วงวันดี ๆ เช่นนี้ เราจะฟังธรรมเทศน์เรื่อง การอนุรักษ์ดอยสุเทพและสิ่งแวดล้อมของเชียงใหม่  ณ บริเวณลานวัดพระธาตุ  ครั้งนี้เจ้าอาวาสจะได้เปิดใจเรื่องดอยสุเทพและวัดพระธาตุว่าท่านคิดอย่างไรกับความเปลี่ยนแปลงของดอยสุเทพและวัดพระธาตุดอยสุเทพ หลังจากดื่มด่ำกับธรรมชาติ ก็มาดื่มกินอาหารร่วมกัน  พูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างเป็นธรรมชาติ

งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย เพื่อการจัดงานและเป็นทุนในการดำเนินงานของภาคีคนฮักเชียงใหม่ โดยชื่อบัตรเดินทางคนละ 199 บาท พร้อมรับเสื้อยืดหนึ่งตัว และข้าวหนึ่งห่อ และขนม

ท่านที่จะเดินเท้าหรือปั่นจักรยาน ติดต่อล่วงหน้าล่วงหน้านะคะ โทร.ที่ 084 0415096 หรือ  085 0397138  หรือที่ ร้านหนังสือ สุริวงค์บุคเซ็นเตอร์  ร้านเล่า หรือ ร้านนันทขว้าง  ร้านเมล็ดกาแฟ เอเดน กรีนเฮาส์ และสุดสะแนน

บล็อกของ แพร จารุ

แพร จารุ
“รู้สึกว่า ปีนี้ ไม่ค่อยจะมีความสดชื่น รื่นเริง  ความรื่นเริงและความสุขดูเหมือนจะหายไป ลุงรู้สึกเช่นนั้นไหม”ลุงว่า ใครมันจะมารื่นเริงอยู่ได้ในสถานการณ์เมืองไทยเป็นเช่นนี้ หมายความว่า น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ โดยเฉพาะการเมืองที่สับสนและดูไม่กระจ่างใส  เป็นความเครียดทางสังคม เครียดจากการปกครองโดยทหารที่ลึกลงไป และเข้าใจว่า แม้จะยอมรับก็ยอมรับแบบหวานอมขมกลืน และยิ่งเครียดเข้าไปอีกเมื่อมีการเลือกตั้งในช่วงใกล้ปีใหม่ ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเป็นของฝ่ายไหนก็ไม่น่าจะทำให้ใครสบายใจได้ เมื่อประชาชนถูกแบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจนมากขึ้น…
แพร จารุ
  ฉันรู้สึกว่ามันเป็นช่วงปีใหม่ที่ไม่รู้สึกสดชื่นนัก ดูเหงา ๆ วังเวง ในท่ามกลางงานเลี้ยงรื่นเริงที่มีอยู่และเป็นไปตามวาระของมัน ความรู้สึกอย่างนี้มันอยู่ลึกลงไปแต่ฉันสัมผัสได้อย่างเย็นเยียบจริง ๆ ฉันไม่รู้ว่าคนอื่นจะรู้สึกหรือไม่ หรือว่าฉันรู้สึกอยู่คนเดียว ว่าเป็นปีใหม่ที่ไม่มีความรื่นเริงอยู่จริง มันหดหู่อยู่ภายในหัวใจอย่างไรไม่รู้ คล้ายรู้สึกว่า ความเศร้ามารอคอยเคาะประตูอยู่หลังบ้าน... หลังจากงานรื่นเริงจบลงฉันถามตัวเองหลายครั้งว่าความรู้สึกนี้เป็นจริง หรือว่าฉันกำลังจะป่วยด้วยอาการกลัวหรือกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า อะไรทำให้ฉันคิดอย่างนั้น หรือเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจของตัวเอง…
แพร จารุ
ฉันได้รับหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อว่า อาหารบ้านฉัน  เป็นสูตรอาหารพื้นถิ่น ของกินจากป่าหลังบ้าน และที่สำคัญกว่านั้น เขียนว่าอร่อยไปถึงหัวใจ “ฉันเติบโตมาจากอาหารที่หลังบ้าน เธออยากรู้ไหมว่า อาหารบ้านฉันอร่อยแค่ไหน  เธอไม่ต้องกลัวหรอก บ้านฉันมีอาหารมากมาย กินกันอย่างไม่หมด” หนังสือเล่มนี้ มีผู้ร่วมดูแลหรือผู้ร่วมทำงานด้วย เขาคือ ธนภูมิ อโศกตระกูล เป็นคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุขภาพ การกินอยู่แบบง่าย ๆ เช่น จานอร่อยปลอดเนื้อ มหัศจรรย์แห่งเต้าหู้ เจไม่จำเจ เป็นต้นธนภูมิ อโศกตระกูลเขาเล่าว่า “ได้เข้ามาเที่ยวในแม่เหียะใน เมื่อประมาณสองปีที่แล้ว…
แพร จารุ
“หนาวไหม หนาวหรือยัง”“หนาวแล้ว เชียงไหมหนาวแล้ว”“ฉันจะไปเชียงใหม่”บทสนทนาหนึ่ง ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ รายงานข่าว ขณะนี้ยอดดอยอากาศหนาวมาก โดยเฉพาะดอยสูงอุณหภูมิติดลบแล้ว เกิดน้ำค้างแข็ง มีคำถามว่า นักท่องเที่ยวหรือคนที่จะมาเชียงใหม่ควรได้รับรู้ข่าวคราวอะไรบ้างนอกจากว่า หนาวแล้วหรือหนาวกี่องศา ชายคนหนึ่งพูดขึ้นในยามบ่าย เขาพูดต่อว่า ถ้าอยากให้คนอื่นที่มาเที่ยวเชียงใหม่ รู้ว่าเขาควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลเมืองและรักเมืองนี้ เราต้องให้ข่าวสารเขามากกว่านี้  เราควรต้องทำงานกับสื่อให้มากว่านี้  เขาเป็นหนึ่งในคนทำงานภาคีฯการมุ่งเน้นให้คนเชียงใหม่ดูแลเมืองเชียงใหม่…
แพร จารุ
มีเพื่อนผู้หวังดีส่งเมลมาว่า ให้เขียนเรื่องดี ๆ เพื่อเมืองเชียงใหม่บ้าง ทำไมถึงมองไม่เห็นความงามของเมืองบ้าง  ฉันจึงเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา               1ถ้ามองลงมาจากฟ้า เราจะเห็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ตรงกลาง มีป่าดอยสุเทพอยู่ทางตะวันตก มีแม่น้ำปิงไหลผ่านทางตะวันออก  ช่างเป็นเมืองงดงามที่สมบูรณ์ เล่ากันว่า เดิมทีผู้คนในเมืองนี้อยู่กันอย่างสงบสันติ แต่แน่นอนเมืองที่ดีงามเช่นนี้ ย่อมมีผู้คนต้องการ เข้ามาอยู่มาครอบครอง โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติบนดอยสูง หลายร้อยปีต่อมา เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างรวดเร็ว…
แพร จารุ
ขอบอกก่อนว่า เป็นเรื่องเล่าที่ไม่มีสาระอะไรเลย เล่าเรื่องนี้ เพราะวันพิเศษเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ถือว่า เป็นการผจญภัยในดินแดนที่รื่นรมย์เลยทีเดียวฉันจะเรียกเขาว่า แขกพิเศษ เพราะเป็นการมาเยือนแบบไม่คาดคิดมาก่อน และต่างมาในวันเดียวกันด้วย อีกทั้งไม่ได้นัดหมายมาล่วงหน้า ต่างมาแบบตั้งตัวไม่ติดทั้งนั้น แขกคนที่หนึ่ง เขาเดินทางมาด้วยรถมอเตอร์ไชค์ มาถึงก่อนที่เจ้าของบ้านจะทันตื่น ได้ยินเขาส่งเสียงตะคอก เจ้าสองตัวแม่ลูก ที่ทำหน้าที่เฝ้าบ้าน มันเห่าเสียงแหลมเล็กตามแบบของหมาเล็ก และยังเยาว์ ฉันว่าคนเลี้ยงหมาทุกคนไม่ชอบให้ใครตะคอกหมา และยินดีที่มีคนรักหมาของตัวเอง…
แพร จารุ
ไม่รักไม่บอก  เออ...เหมือนมีใครมาพูดอยู่ข้างหู บอกว่า ฉันรักเธอนะจึงบอก แต่ว่าเรื่องที่ฉันจะบอกนั้น เธออาจไม่ชอบ เธออาจจะโกรธฉัน  แต่ที่ฉันต้องบอกเพราะว่า ฉันรักเธอและปรารถนาดีต่อเธอจริง ๆ “ฉันไม่บอกไม่ได้แล้ว”ถึงตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกรำคาญใจ พูดพร่ำอยู่ทำไม อยากบอกอะไรก็บอกมาเถอะ ใช่...ไม่รักไม่บอกค่ะ เป็นชื่อหนังสือเล่มเล็ก ๆ บาง ๆ มีการ์ตูนน่ารักๆ เปิดไปหน้าแรก ผู้เขียนบอกว่า ที่ทำหนังสือเล่มนี้ เพราะว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเรื่องน่ารัก มีเรื่องดีงามที่เขาค้นพบอยู่มากมาย เขาเล่าถึงเรื่อง เด็กชายคนหนึ่ง ตามแม่ไปซื้อของที่ร้านเกษมสโตร์ เขากินไอศกรีมรอแม่…
แพร จารุ
เรื่องขยะ ๆ มันโดนใจใครต่อใครหลายคน หลังจากที่เขียนเรื่อง แปดสิบบาทกับผู้ชายริมทางรถไฟ และในเรื่องมีขยะ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แพร จารุ
“สุชาติ สวัสดิ์ศรี” ยืนล้วงกระเป๋าเสื้ออยู่ริมทางรถไฟ ในขณะที่รถไฟกำลังมา  เป็นภาพปกหนังสือ ฅ คน ที่ทำให้ฉันต้องนับเงินในกระเป๋าให้ครบแปดสิบบาท ความจริงหนังสือเขาไม่แพงหรอก เพียงแต่ว่า เงินสำหรับบ้านฉันมันหายากมาก หรือจะเรียกให้ถูกก็คือฉันไม่ค่อยหาเงิน ดังนั้นเมื่อไม่หาเงินก็ต้องใช้เงินน้อย ๆ หรือไม่ใช้ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้จริง ๆ แม้ว่าการจะซื้อหนังสือถือเป็นความจำเป็นหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันในเนื้อหา ดังนั้น ถ้าร้านไหนห่อพลาสติกอย่างดีเปิดไม่ได้ ก็ผ่านเลย หนังสือเล่มนี้ก็ห่อพลาสติกอย่างดีเหมือนกัน แต่ก็รีบซื้อ  เพราะทั้งรถไฟและคุณสุชาติ  สวัสดิ์ศรี…