Skip to main content

คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ

คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

นาย Alexander Hamilton ได้เขียนบันทึกการเดินทางของเขาไว้ดังนี้*

รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต้นเรื่องมีอยู่ว่า มีชาวเปอร์เซียคนหนึ่งนามว่า Collet (เขาคนนี้มีเส้นสายกับบุคคลในกระบวนการยุติธรรมสยาม - ซึ่งจะเป็นโจทก์ฟ้องคดี) พยายามกีดกันการค้าของนาย Hamilton (ชาวอังกฤษ) เนื่องจากนาย Hamilton ไม่ยอมขอหนังสือในคุ้มครองของนาย Collet (Collet's Letters of Protection) - ทำนองมาเฟีย - เนื่องจากสหราชอาณาจักรเคยทำสนธิสัญญาค้าขายกับรัฐบาลสยามไว้อยู่ก่อนแล้ว นาย Hamilton จึงไม่ยอมจะทำตามอำนาจบาดใหญ่ของชาวเปอร์เซียผู้นี้

ประมาณ ๑ สัปดาห์ต่อมา นาย Hamilton ได้รับ "หมายเรียก" ให้ไปให้การต่อศาลในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Indictment of speaking Treason of the King) นาย Hamilton รู้ว่าตนบริสุทธิ์จึงไปศาลตามนัดประมาณ ๘ โมงเช้า แต่ "ตุลาการ" (อายุประมาณ ๕๐ ปี ดูสุภาพเรียบร้อย เคร่งขรึม) พร้อมบริวารประมาณ ๑,๐๐๐ คน เดินทางมาถึงศาลประมาณ ๙ โมงเช้า (มาช้า ๑ ชั่วโมงโดยประมาณ)

ตุลาการเข้านั่งประจำที่และให้พนักงานอ่านคำฟ้องจนเสร็จประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นตุลาการให้ล่ามแปลให้นาย Hamilton ฟังถึงข้อความซึ่งถูกกล่าวหาว่า นาย Hamilton พูดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ด้วยประโยคว่าที่เขากล่าวว่า "That the King had been imposed upon."

นาย Hamilton ให้การปฏิเสธว่าพูดเช่นนั้น โดยโยนให้เป็นภาระนำสืบของฝ่ายโจทก์ว่าเขากล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่

ตุลาการจึงตั้งทนายความให้ฝ่ายละ ๒ คน โต้เถียงเป็นเวลา ๓-๔ ชั่วโมง ในประเด็นดังนี้

๑. ชาวต่างชาติไม่รู้กฎหมายสยามต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายสยามหรือไม่ (ในห้องพิจารณาเห็นว่า ต้องอยู่ในบังคับกฎหมายสยาม)

๒. พยานประเภทใดเบิกความได้ และไม่ได้

๒.๑ ฝ่ายโจทก์จะเบิก "คนรับใช้ของโจทก์" มาให้การในศาล แต่ถูกทนายฝ่ายจำเลยโต้แย้งว่า ตามกฎหมายตราสามดวง ไม่รับฟังคำให้การของ "คนรับใช้" ไม่ว่าจะเป็นคนใช้ของจำเลยเองหรือไม่ก็ตาม

๒.๒ พยานฝ่ายโจทก์ นำนาย Collinson (สมุนของนาย Collet) มาเบิกให้การเป็นพยาน

ตุลาการ ซักถามนาย Collinson (พยาน) ผ่านล่ามว่า พยานอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ จำเลย พูดคุยกับโจทก์ใช่หรือไม่

นาย Collinson (พยาน) ตอบว่า ใช่ โดยพยาน ยืนกรานว่า ตนได้ยินนาย Hamilton กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงเช่นนั้น

ตุลาการ ซักถามนาย Hamilton (จำเลย) ว่า "มีอะไรจะหักล้างคำพูดพยานไหม"

นาย Hamilton (จำเลย) ถามนาย Collinson (พยาน) โดยถามผ่าน ตุลาการว่า "ภาษาที่ใช้ในการสนทนากับโจทก์ในขณะนั้นคือภาษาอะไร" ซึ่งตุลาการก็ถามให้

พยาน ตอบว่า "ผมไม่รู้จักภาษานี้ดีนัก แต่เข้าใจว่ามันคือภาษา Industan"

จำเลยจึงให้ตุลาการถามพยานว่า "พยานเข้าใจภาษา Industan หรือเปล่า"

พยานหยุดนิ่งไปชั่วครู่แล้วตอบว่า "เปล่า"

ตุลาการจึงถามพยานเองว่า "พยานมาเบิกความในคำกล่าวที่พูดในภาษาที่ตนไม่เข้าใจได้อย่างไร"

พยานตอบว่า "ผมคิดว่าจำเลยน่าจะพูดอย่างนั้น"

ตุลาการ จึงพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิด และให้ปล่อยตัวจำเลยไป.

_________________________

*ดู Alexander Hamilton, A new Account of the East Indies, vol. 2, John Mofman, 1727, p. 183-187.
http://books.google.co.th/books/about/A_new_account_of_the_East_Indies.html?id=2YCoCwtJd1gC&redir_esc=y 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะเรื่อง ท่านประยุทธ์ ปยุตฺโตพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง 'ดาวคะนอง'พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์ร่าง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ :  ความเพิกเฉยต่อปัญหาการโยนภาระให้เอกชนแบกรับหน้าที่ให้บริการภายหลังสัญญาอนุญาตฯ/ใบอนุญาตฯสิ้นสุดเป็นการชั่วคราวพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อสังเกตบางประการ : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลังจากที่ผมได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ( http://prachatai.org/journal/20
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
งบประมาณแผ่นดินสำหรับรักษาพระเกียรติยศของสถาบันกษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๕๘พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
สำรวจข้อมูล : เรียน 'สาขาใด' มีโอกาสเป็น 'องคมนตรี' มากที่สุดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม.
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อพิจารณาเรื่องความผิดฐานข่มขืนและความรับผิดทางกฎหมายอาญา: วิพากษ์การดำรงอยู่ของโทษประหารชีวิต (โดยสังเขป) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล เมื่อเกิดข่าวคราวข่มขืน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"บวรศักดิ์" โต้ "บวรศักดิ์"พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เมื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ตีความเสียงหัวเราะของ เสนีย์ ปราโมช (คดีอาชญากรสงคราม ๒๔๘๙)พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการปรุงนิยายให้กลายเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์: เรื่องพินัยกรรม ร.๕ คือ ให้ ร.๖ พระราชทานรัฐธรรมนูญ?พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตอบ 'ข้อโต้แย้งของ พระยานิติวิบัติดำน้ำลึก (กิตติศักดิ์ ปรกติ)' ภาค๒พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล