Skip to main content

คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ

คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

นาย Alexander Hamilton ได้เขียนบันทึกการเดินทางของเขาไว้ดังนี้*

รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต้นเรื่องมีอยู่ว่า มีชาวเปอร์เซียคนหนึ่งนามว่า Collet (เขาคนนี้มีเส้นสายกับบุคคลในกระบวนการยุติธรรมสยาม - ซึ่งจะเป็นโจทก์ฟ้องคดี) พยายามกีดกันการค้าของนาย Hamilton (ชาวอังกฤษ) เนื่องจากนาย Hamilton ไม่ยอมขอหนังสือในคุ้มครองของนาย Collet (Collet's Letters of Protection) - ทำนองมาเฟีย - เนื่องจากสหราชอาณาจักรเคยทำสนธิสัญญาค้าขายกับรัฐบาลสยามไว้อยู่ก่อนแล้ว นาย Hamilton จึงไม่ยอมจะทำตามอำนาจบาดใหญ่ของชาวเปอร์เซียผู้นี้

ประมาณ ๑ สัปดาห์ต่อมา นาย Hamilton ได้รับ "หมายเรียก" ให้ไปให้การต่อศาลในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Indictment of speaking Treason of the King) นาย Hamilton รู้ว่าตนบริสุทธิ์จึงไปศาลตามนัดประมาณ ๘ โมงเช้า แต่ "ตุลาการ" (อายุประมาณ ๕๐ ปี ดูสุภาพเรียบร้อย เคร่งขรึม) พร้อมบริวารประมาณ ๑,๐๐๐ คน เดินทางมาถึงศาลประมาณ ๙ โมงเช้า (มาช้า ๑ ชั่วโมงโดยประมาณ)

ตุลาการเข้านั่งประจำที่และให้พนักงานอ่านคำฟ้องจนเสร็จประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นตุลาการให้ล่ามแปลให้นาย Hamilton ฟังถึงข้อความซึ่งถูกกล่าวหาว่า นาย Hamilton พูดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ด้วยประโยคว่าที่เขากล่าวว่า "That the King had been imposed upon."

นาย Hamilton ให้การปฏิเสธว่าพูดเช่นนั้น โดยโยนให้เป็นภาระนำสืบของฝ่ายโจทก์ว่าเขากล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่

ตุลาการจึงตั้งทนายความให้ฝ่ายละ ๒ คน โต้เถียงเป็นเวลา ๓-๔ ชั่วโมง ในประเด็นดังนี้

๑. ชาวต่างชาติไม่รู้กฎหมายสยามต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายสยามหรือไม่ (ในห้องพิจารณาเห็นว่า ต้องอยู่ในบังคับกฎหมายสยาม)

๒. พยานประเภทใดเบิกความได้ และไม่ได้

๒.๑ ฝ่ายโจทก์จะเบิก "คนรับใช้ของโจทก์" มาให้การในศาล แต่ถูกทนายฝ่ายจำเลยโต้แย้งว่า ตามกฎหมายตราสามดวง ไม่รับฟังคำให้การของ "คนรับใช้" ไม่ว่าจะเป็นคนใช้ของจำเลยเองหรือไม่ก็ตาม

๒.๒ พยานฝ่ายโจทก์ นำนาย Collinson (สมุนของนาย Collet) มาเบิกให้การเป็นพยาน

ตุลาการ ซักถามนาย Collinson (พยาน) ผ่านล่ามว่า พยานอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ จำเลย พูดคุยกับโจทก์ใช่หรือไม่

นาย Collinson (พยาน) ตอบว่า ใช่ โดยพยาน ยืนกรานว่า ตนได้ยินนาย Hamilton กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงเช่นนั้น

ตุลาการ ซักถามนาย Hamilton (จำเลย) ว่า "มีอะไรจะหักล้างคำพูดพยานไหม"

นาย Hamilton (จำเลย) ถามนาย Collinson (พยาน) โดยถามผ่าน ตุลาการว่า "ภาษาที่ใช้ในการสนทนากับโจทก์ในขณะนั้นคือภาษาอะไร" ซึ่งตุลาการก็ถามให้

พยาน ตอบว่า "ผมไม่รู้จักภาษานี้ดีนัก แต่เข้าใจว่ามันคือภาษา Industan"

จำเลยจึงให้ตุลาการถามพยานว่า "พยานเข้าใจภาษา Industan หรือเปล่า"

พยานหยุดนิ่งไปชั่วครู่แล้วตอบว่า "เปล่า"

ตุลาการจึงถามพยานเองว่า "พยานมาเบิกความในคำกล่าวที่พูดในภาษาที่ตนไม่เข้าใจได้อย่างไร"

พยานตอบว่า "ผมคิดว่าจำเลยน่าจะพูดอย่างนั้น"

ตุลาการ จึงพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิด และให้ปล่อยตัวจำเลยไป.

_________________________

*ดู Alexander Hamilton, A new Account of the East Indies, vol. 2, John Mofman, 1727, p. 183-187.
http://books.google.co.th/books/about/A_new_account_of_the_East_Indies.html?id=2YCoCwtJd1gC&redir_esc=y 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ