Skip to main content
 

 

พวกปาหินหนักแผ่นดิน น่าจะตายไปเสียให้หมด...

ขอให้จับคนร้ายได้ไวๆ แล้วเอาตัวไปประหารชีวิต...

พวกวัยรุ่นปาหินสมควรตาย...

 

{ตติกานต์ เดชชพงศ}

ประโยคที่ถูกส่งผ่านทาง SMS มายังหน้าจอโทรทัศน์ซึ่งกำลังเสนอรายการประเภท เล่าข่าว' เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 ส่วนใหญ่เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือ การแสดงความเกลียดชังต่อผู้ก่อเหตุ ปาหิน' ไปโดนศีรษะเด็กชายอนุพงษ์ สายเพ็ชร หรือ น้องมอส' อายุ 12 ปี ซึ่งนั่งรถมากับพ่อผู้เป็นคนขับรถบรรทุก และน้องมอสได้เสียชีิวิตในเวลาไม่นานหลังจากนั้น

หลายคนสาปแช่งคนลงมือก่อเหตุให้ตายตกไปตามกัน ในขณะที่อีกบางส่วนก็แสดงความเห็นใจผ่านข้อความที่ส่งมา และอวยพรให้พ่อของเด็กชายผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้รับ ความเป็นธรรม' ในเร็ววัน

หลังจากนั้น สื่อมวลชนก็รับลูกต่ออย่างตั้งอกตั้งใจ รวบรวมคดี ปาหิน' มานำเสนอ นอกเหนือจากการรายงานข่าวอุบัติเหตุรายวัน จนดูเหมือนกับว่า แฟชั่นปาหิน' กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศไทย จากเพชรบุรี ไปปทุมธานี และอยุธยาฯ


บางกรณีเป็นการ ปาขวด' ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจงใจของผู้ขว้างปา หรือแท้จริงแล้วเป็นเพียงขวดเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่ถูกคนมักง่ายโยนทิ้ง และบังเิอิญมีผู้เคราะห์ร้ายผ่านมาทางนั้นพอดี ซึ่งก็ยังอุตส่าห์มีคนเชื่อมโยงจนได้ว่าเป็นเรื่องของ แก๊งค์ปาขวด-ปาหิน' ซึ่งกำลังเป็นประเด็นให้ต้องคอยระแวดระวังกันอย่างหนัก

ยิ่งถ้าหากจับอาการของสังคมในช่วงนี้ จะเห็นว่าการสรรหาวิธีลงโทษผู้ก่อเหตุปาหินถูกพูดถึงกันมากทีเดียว ทั้งข้อเสนอให้ประหารชีวิต พิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ไม่ต้องออกมาเห็นเดือนเห็นตะวันกันอีกเลย

ความเป็นจริงที่ว่า สังคมไทยอ่อนไหวง่าย' ยังเหมือนเดิมอยู่อย่างนั้น และเรื่องของการตอบโต้แบบตาต่อตา ฟันต่อฟันก็มักจะ ยุขึ้น' เสียด้วย

ระหว่างเจ้าหน้าที่กำลังสืบสวนคดีกรณีขว้างหินไปโดน ด.ช.อนุพงษ์ ก็มีข่าวออกมาอีกเช่นกันว่า ผู้้ต้องสงสัยในกรณีดังกล่าว ฆ่าตัวตาย' เพื่อชดใ้ช้ความผิดแล้ว

ผู้ต้องสงสัยในกรณีนี้ คือ นายพนม อินทกูล' วัย 37 ปี ซึ่งมีหลักฐานในที่เกิดเหตุบ่งชี้ให้เข้าใจว่านายพนมตัดสินใจฆ่าตัวตาย เพราะมีจดหมายสั่งเสียถึง 3 ฉบับวางอยู่ด้วย ในขณะที่เพื่อนคนหนึ่งของนายพนมให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ผู้ตายกล่าวในคืนก่อนเสียชีวิตว่าเป็นคนปาก้อนหินใส่รถบรรทุก และเมื่อติดตามข่าวจากสื่อจึงได้ทราบว่ามีเด็กชายเคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ดังกล่าว

หลังจากพูดอย่างนั้นได้ไม่นาน นายพนมก็เสียชีวิต...

จากปากคำของ เพื่อนของนายพนม' กลายเป็นว่าตำรวจ แทบจะ' ปิดคดี เลิกตามหาหลักฐานมายืนยันว่าผู้ปาหินตัวจริงคือใคร และหนังสือพิมพ์หลายฉบับพร้อมใจกันลงข่าวซ้ำว่า มือปาหิน' ในคดีเด็กชายอนุพงษ์สำนึกผิดจึงฆ่าตัวตาย ทั้งที่ในความเป็นจริง...นายพนมอาจไม่ใช่มือปาหินตามที่ระบุลงในข่าวก็เป็นได้

เมื่อพี่สาวของนายพนมออกมาโต้แย้งว่าน้องชายของตน เป็นแพะรับบาป' จึงมีการรื้อฟื้นคดีเด็กชายอนุพงษ์มาสืบสวนกันต่อ...

จากการติดตามข่าวของหนังสือพิมพ์หลายฉบับ พบว่าข้อเท็จจริงบางอย่างในกรณีนายพนมและ ด.ช.อนุพงษ์ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

หนังสือพิมพ์ แนวหน้า ฉบับวันพุธที่ 12 มีนาคม 2551 ระบุว่า

 

"จดหมายลาตายเขียนด้วยลายมือมีข้อความสรุปได้ว่า ผู้เสียชีวิตทะเลาะกับภรรยาจึงขับรถจักรยานยนต์ไปตามถนน ก่อนจะใช้ก้อนหินปาใส่รถบรรทุกเพื่อระบายอารมณ์ความโกรธโดยไม่คาดคิดว่าจะไปถูก ด.ช.อนุพงษ์ จนเสียชีวิต หลังเกิดเหตุยิ่งทำให้รู้สึกเครียดจัด จึงตัดสินใจกินยาพิษฆ่าตัวตาย"

 

 

ทางด้าน ไทยรัฐ ก็รายงานการเสียชีวิตของนายพนมในวันเดียวกัน แต่มีรายละเอียดต่างกัน

 

"ในห้องที่เกิดเหตุพบจดหมายลาตาย 1 ฉบับ เขียนถึงภรรยา มารดา และบุตร แต่ไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุ ได้มอบให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำผู้ที่เกี่ยวข้อง"

 

 

พอถึงตอนนี้ ความจริงในคดี ด.ช.อนุพงษ์เป็นอย่างไร และการเสียชีวิตของนายพนมมีเงื่อนงำหรือมูลเหตุจูงใจอย่างไรแน่ อาจไม่ใช่เรื่องที่คนอ่านข่าวให้ความสนใจอีกต่อไป เพราะหลายคนอาจ พอใจแล้ว' กับข่าวที่ถูกเสนอออกมา่ว่า มือปาหินสำนึกผิดฆ่าตัวตาย'

ดูเหมือนว่านั่นจะเป็น บทลงโทษ' ที่สังคมปรารถนาจะให้เกิดกับผู้ก่อเหตุและผู้ที่สร้างความเดือดร้อนในกรณีต่างๆ แต่หลายคนอาจลืมไปว่า ขณะที่กำลังชี้นิ้วพิพากษาว่า คนบางคนสมควรตาย' เราอาจกำลังแสดงความโหดเหี้ยมเลวร้ายออกมาโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจในหลายๆ กรณีที่มี ผู้เคราะห์ร้าย' จากการปาหินลึกลับ ไม่รู้ที่มาที่ไป แต่บางทีการหล่อเลี้ยงจิตใจด้วยความเกลียดชังโดยไม่รับฟังข้อมูลหรือเหตุผลอะไรเลย--ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นสักเท่าไหร่นัก

การเสียชีวิตของนายพนมอาจตอบโจทย์ของสังคมได้ เพราะเมื่อมีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้น สิ่งที่คนในสังคมเลือกทำเป็นอันดับแรกก็คือการหาใครสักคนมาเป็นเป้าโจมตี เพื่อที่จะได้กล่าวโทษโดยไม่รู้สึกผิดว่า เราเองอาจเป็นอีกคนหนึ่งที่ก่อปัจจัยความรุนแรงขึ้นในสังคมนี้'

ข่าวเล็กๆ ของนายพนมคงจะเงียบหายไปในไม่ช้า หลังจากที่นายพนมลงเอยด้วยการถูก พิพากษา' ไปแล้วกลายๆ ว่าเป็น ผู้กระทำความผิด' โดยที่เขาไม่มีสิทธิ์จะแก้ตัวหรือแก้ต่างอีกต่อไป

แต่กับสังคมที่พอใจเพียงมาตรการตอบโต้แบบถึงเลือดถึงเนื้อ แรงมา-แรงไป และเป็นสังคมที่ตัดสินเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยอารมณ์เพียงวูบเดียวว่า คนชั่วสมควรตาย' โดยไม่คิดทบทวนว่าเรื่องราวทั้งหลายมีความเป็นมาอย่างไรนี่แหละ ทำให้คนฆ่ากันตายมานักต่อนักแล้ว ทั้งที่สาเหตุจริงๆ อาจเล็กน้อยเสียเหลือเกิน

สังคมเช่นนี้ได้สั่งสมบ่มเพาะความรุนแรงขึ้นมามากมายกว่าที่เราคิดมากนัก

 

บล็อกของ Hit & Run

Hit & Run
 หอกหักจูเนียร์  ขณะที่นั่งปั่นข้อเขียนชิ้นนี้ ยังมีสองเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น และผมต้องอาศัยการแทงหวยคาดเดาเอาคือ1. การเลือกนายกรัฐมนตรี (จะมีในวันที่ 15 ธ.ค. 2551)2. การโฟนอินเข้ามายังรายการความจริงวันนี้ของคุณทักษิณ (จะมีในวันที่ 13 ธ.ค. 2551)เรื่องที่ผมจะพูดก็เกี่ยวเนื่องกับสองวันนั้นและเหตุการณ์หลังสองวันนั้น ผมขอเน้นประเด็น การจัดการ - การบริหาร "ความแค้น" ของสองขั้ว I ขอแทงหวยข้อแรกคือ ในวันที่ 15 ธ.ค. 2551 หากว่า คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะถูกโหวตให้เป็นนายก และพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล (ขออภัยถ้าแทงหวยผิด แต่ถ้าแทงผิด…
Hit & Run
ผู้สื่อข่าวเฉพาะกิจ  หลังการประกาศชัยชนะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลังการยุบพรรค แล้วล่าถอยในวันที่ 3 ธ.ค. พอตกค่ำวันที่ 3 ธ.ค. เราจึงกลับมาเห็นบรรยากาศที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แทนที่สนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำพันธมิตรฯ จะปราศรัยบนเวที หรือหลังรถปราศรัย ก็กลายเป็นเสวนา และวิเคราะห์การเมืองกันในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์ ASTV อย่างไรก็ตาม สนธิ ลิ้มทองกุล ก็พยายามรักษากระแสและแรงสนับสนุนพันธมิตรฯ หลังยุติการชุมนุมเอาไว้ โดยเขาเผยว่าจะจำลองบรรยากาศการชุมนุมพันธมิตรตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาไว้ในห้องส่ง เพื่อแฟนๆ ASTV โดยเขากล่าวเมื่อ 3 ธ.ค. [1] ว่า “พี่น้องครับ…
Hit & Run
พิชญ์ รัฐแฉล้ม            นานมากแล้วที่ “ประเทศของเรา” ประสบกับสภาพความมั่นคงและเสถียรภาพที่แหว่งวิ่นเต็มทน และตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าความหวังในความสำเร็จของการจัดการกับปัญหายิ่งเลือนรางไปทุกที ทุกเรื่อง ทุกราว กำลังถาโถมเข้ามาจากทุกสารทิศเพื่อมารวมศูนย์ ณ เมืองหลวงมิคสัญญีแห่งนี้ จนกระแสข่าวรายวันจากปักษ์ใต้ อีสาน...แผ่วและเบาเหมือนลมต้นฤดูหนาว   สื่อต่างๆ ทั้งไทย-ต่างประเทศ ประโคมข่าวจากเมืองหลวงกระจายสู่ทุกอณูเนื้อโลก ช่างน่าตกใจ! ภาพแห่ง “ความรุนแรง” ของฝูงชนขาดสติและไม่เหลือแม้สายใยในความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ถูกกระจายออกไป…
Hit & Run
  ธวัชชัย ชำนาญ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นห้วงเวลาที่คนไทยทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาร่วมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ "พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ" ความยิ่งใหญ่อลังการที่ทุกคนคงรู้ดีที่ไม่จำเป็นต้องสาธยายเยอะ  แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ความสงบเงียบของบ้านเมืองที่ดูเหมือนมีพลังอำนาจอะไรบางอย่างมากดทับกลิ่นอายของสังคมไทยที่เคยเป็นอยู่กลิ่นอายที่ว่านั้น..เป็นกลิ่นอายของความขัดแย้ง ความเกลียดชังของคนในสังคมที่ถูกกดทับมาตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา…
Hit & Run
 ภาพจากเว็บบอร์ด pantipจันทร์ ในบ่อ เชื่อว่าหลายคนคงได้ชมรายการตีสิบเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเชิญ ‘คุณต้น' อดีตนักร้องวง ‘ทิค แทค โท' บอยแบนด์ไทยสไตล์ญี่ปุ่นรุ่นแรกๆ ที่โด่งดังราวสิบปีก่อนมาออกรายการ เพื่อเป็นอุทธาหรณ์แก่สังคมเรื่องผลเสียจากการใช้ยาเสพติดคุณต้นสูญเสียความทรงจำและมีอาการทางสมองชนิดที่เรียกว่า ‘จิตเภท' จากการใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะยาบ้าและยานอนหลับชนิดรุนแรง จนหลายปีมานี้เขาได้หายหน้าหายตาไปจากวงการบันเทิงและจดจำใครไม่ได้เลย คุณแม่เคยสัญญากับคุณต้นไว้ว่า หากอาการดีขึ้นจะพามาออกรายการตีสิบอีกครั้งเพื่อทบทวนเรื่องราวในอดีต เพราะคุณต้นและเพื่อนๆ…
Hit & Run
  คนอเมริกันและลามถึงคนทั่วโลกด้วยกระมัง ที่เหมือนตื่นจากความหลับใหล พบแดดอ่อนยามรุ่งอรุณ เมื่อได้ประธานาธิบดีใหม่ที่ชนะถล่มทลาย คนหนุ่มไฟแรง ผิวสี เอียงซ้ายนิดๆ ผู้มาพร้อมสโลแกน "เปลี่ยน เปลี่ยน เปลี่ยน และเปลี่ยน" แม้ผู้คนยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าจะเปลี่ยนได้ไหม เปลี่ยนไปสู่อะไร (เพราะอเมริกาไม่มีหมอลักษณ์ฟันธง หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม) แต่ขอแค่โลกนี้มีหวังใหม่ๆ ความเปลี่ยนแปลงสนุกๆ ก็ทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย ท้องฟ้าสดใสกว่าที่เคยเป็นได้ง่ายๆ   มองไปที่อื่นฟ้าใส แต่ทำไมฝนมาตกที่ประเทศไทยไม่เลิก บ้านนี้เมืองนี้ ผู้คนพากันนอนไม่หลับ ฟ้าหม่น ฝนตก หดหู่มายาวนาน นานกว่าเมืองหนึ่งใน ‘100…
Hit & Run
    ช่วงนี้มีแต่เรื่องวุ่นวาย ส่วนตัวความจริงแล้วไม่อยากยุ่งเพราะเป็นคนรักสงบและถึงรบก็ขลาด แต่ไม่ยุ่งคงไม่ได้เพราะมันใกล้ตัวขึ้นทุกที ระเบิดมันตูมตามก็ถี่ขึ้นทุกวัน จนไม่รู้ใครเป็นตัวโกง ใครเป็นพระเอก เลยขอพาหันหน้าหาวัดพูดเรื่องธรรมะธรรมโมบ้างดีกว่า แต่ไม่รับประกันว่าพูดแล้วจะเย็นลงหรือตัวจะร้อนรุมๆ ขัดใจกันยิ่งกว่าเดิม ยังไงก็คิดเสียว่าอ่านขำๆ พอฆ่าเวลาปลายสัปดาห์ก็แล้วกัน.....
Hit & Run
< จิรนันท์ หาญธำรงวิทย์ >หลังจากอ่าน บทสัมภาษณ์ของซูโม่ตู้ หรือจรัสพงษ์ สุรัสวดี ในเว็บไซต์ผู้จัดการรายสัปดาห์ออนไลน์ แล้วพบว่าสิ่งหนึ่งที่ควรชื่นชมคือ ความตรงไปตรงมาของจรัสพงษ์ที่กล้ายอมรับว่าตนเองนั้นรังเกียจคนกุลีรากหญ้า ที่ไร้การศึกษา โง่กว่าลิงบาบูน รวมไปถึง “เจ๊ก” และ “เสี่ยว” ที่มาทำให้ราชอาณาจักรไทยของเขาเสียหาย เป็นความตรงไปตรงมาของอภิสิทธิ์ชนที่ปากตรงกับใจ ไม่ต้องอ้อมค้อมให้เสียเวลา ที่คงไม่ได้ยินจากปากนักวิชาการ หรือนักเคลื่อนไหวคนไหน (ที่คิดแบบนี้) (เดี๋ยวหาว่าเหมารวม)
Hit & Run
  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านไป ความวุ่นวายในเมืองหลวงเริ่มคลีคลาย แต่ความสับสนและกลิ่นอายของแรงกดดันยังบางอย่างภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองยังคงคลุกรุ่นอยู่ไม่หาย... ไม่รู้ว่าน่าเสียใจหรือดีใจที่ภารกิจบางอย่างทำให้ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก่อนหน้าเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เรียกกันว่า "7 ตุลาทมิฬ" เพียงข้ามคืน สิ่งที่เกิดขึ้นในความทรงจำจึงเป็นเพียงอีกเรื่องราวของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ถึงขณะนี้ยังไม่รู้ถึงข้อมูลที่แน่ชัดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความสูญเสียเกิดจากอะไร เพราะใครสั่งการ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น อย่างไร ฯลฯ คำถามมากมายที่ยังรอคำตอบ   …
Hit & Run
   (ที่มาภาพ: http://thaithai.exteen.com/images/photo/thaithai-2550-11-4-chess.jpg)หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความขัดแย้งทางชนชั้น การปะทะกันระหว่าง "ความเชื่อในคุณธรรม vs ความเชื่อในประชาธิปไตย" เริ่มปรากฏตัวชัดขึ้นเรื่อยๆ และได้ก่อให้เกิดความรุนแรงจากมวลชนทั้งสองกลุ่มฝั่งคุณธรรม อาจเชื่อว่า หากคนคิดดี ทำดี ปฏิบัติดีแล้ว เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และปัญหาใหญ่ที่สุดของสังคมในขณะนี้คือ จริยธรรมของคนที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง ดั้งนั้น จึงพยายามกดดันให้นักการเมืองเข้ากรอบระเบียบแห่งจริยธรรมที่ตนเองคิด หรือไม่ก็ไม่ให้มีนักการเมืองไปเลยฝั่งประชาธิปไตย อาจเชื่อว่า…
Hit & Run
Ko We Kyawเมื่อวันเสาร์ สัปดาห์ก่อน มีการจัดงาน ‘Saffron Revolution, A Year Later' ที่จัดโดยคณะผลิตสื่อเบอร์ม่า (Burma Media Production) หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึง 1 ปี แห่งการปฏิวัติชายจีวร นอกจากการเสวนาและการกิจกรรมเพื่อเป็นการรำลึกแล้ว ภาคบันเทิงในงานก็มีความน่าสนใจเพราะมีการแสดงจากคณะตีเลตี (Thee Lay Thee) ที่มีชื่อเสียงจากพม่าการแสดงในวันดังกล่าว เป็นการแสดงในเชียงใหม่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี 2551 หลังจากเคยจัดการแสดงมาแล้วในเดือนมกราคม และการแสดงการกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิส เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในพม่า…
Hit & Run
  ขุนพลน้อย       "ผมรู้สึกภูมิใจยิ่งที่สามารถคว้าเหรียญทอง สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย แต่ก็แอบน้อยใจบ้างที่เงินอัดฉีดของพวกเราจากรัฐบาลน้อยกว่าคนปกติ นี่ถ้าได้สักครึ่งหนึ่งของพวกเขาก็คงดี"น้ำเสียงของ ‘ประวัติ วะโฮรัมย์' เหรียญทองหนึ่งเดียวของไทย ในกีฬา ‘พาราลิมปิกเกมส์ 2008' หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงดึกวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2551 เป็นไปอย่างมุ่งมั่นระคนทดท้อการต้อนรับนักกีฬาในหมู่คนใกล้ชิดและในวงการมีขึ้นอย่างอบอุ่น แต่ความไม่เท่าเทียมกันเมื่อเปรียบเทียบกับนักกีฬาที่ได้รางวันใน ‘โอลิมปิก' คงเป็นภาพที่สะท้อนมองเห็นสังคมแบบบ้านเราได้ชัดเจนขึ้น…