Skip to main content
 

หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน เพื่อให้เยาวชน "มือใหม่" เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

ปี 2550 ที่ผ่านมา มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการทั่วประเทศมากกว่า 300 โครงการและแต่ละโครงการเยาวชนจะเป็นคนที่คิดเองโดยมีงบประมาณสนับสนุนกลุ่มละไม่เกิน 8,000 บาท และมีการพิจารณาจากกรรมการที่แต่ละภาคได้สรรหามา หลังจากนั้นเยาวชนก็ดำเนินการตามแผนการที่วางไว้

 

ในตัวโครงการเยาวชน1000ทาง นอกจากจะมีการสนับสนุนงบประมาณแล้ว ยังมีระบบการให้คำปรึกษา การติดตามสนับสนุน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการพัฒนางานวิจัยเพื่อรองรับการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ในการทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่อๆ ไป

 

อย่างก็ตาม อยากจะนำเรื่องราวดีๆ ของเพื่อนๆ พี่น้อง เยาวชนที่ได้ดำเนินการมาเผยแพร่ในที่นี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มาจากภาคอีสาน....

 

มาที่โครงการแรกคือ โครงการ "เพื่อนยามเหงา" เป็นโครงการของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เริ่มมาจากการที่เพื่อนๆ ได้พบเจอผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ บางคนก็มีญาติมาเยี่ยม บางคนก็ไม่มี เพื่อนๆ จึงบอกว่า อยากจะใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมของเขาเป็นเพื่อนยามเหงาให้กับคนป่วยที่ขาดเพื่อน ขาดการเอาใจใส่จากคนที่รัก และมอบสิ่งดีๆ ให้กับคนเหล่านั้น

 

ส่วนโครงการ "ปาท่องโก๋ร่วมใจต้านภัยหนาว" นั้น ก็เป็นอีกโครงการ ที่น้องๆ เยาวชนจากนครราชสีมา อยากทำกิจกรรมสักอย่างหนึ่งในช่วงปิดเทอมและหารายได้เสริม และน้องๆ ก็บอกว่า หน้าหนาวแล้ว จึงอยากจะมอบผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้าน โดยนำเงินที่ได้จากการทำปาท่องโก๋ไปจัดซื้อผ้าห่มกันหนาวมาให้

 

น้องในทีมงานโครงการ 2 บอกเหตุผลที่ทำปาท่องโก๋ขายว่า เพราะสงสารผู้สูงอายุในชุมชนที่ต้องทนกับอากาศหนาว "บ้านเราเวลาอากาศหนาว มันหนาวมาก และคนที่เดือดร้อนที่สุดคือคนแก่ยากจน เวลาหนาวๆ พวกท่านมักจะห่มผ้าห่มผืนเก่าๆ ขาดๆ มานั่งผิงไฟหน้าบ้าน เห็นแล้วก็อดสงสารไม่ได้"

 

น้องอาย สมาชิกในทีม ยังเล่าต่ออีกว่า "แต่ละวันขายปาท่องโก๋ได้ 200-300 บาท ทำอย่างนี้อยู่ 1 เดือน ตอนแรกๆ เหนื่อยมาก ไหนจะต้องขายปาท่องโก๋ ไหนจะต้องเรียน แต่พอคิดว่าทำเพื่อคนแก่ ก็มีกำลังใจขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาพวกท่านเมตตาเรามาก เหนื่อยแค่นี้ทนได้ค่ะ"

หลังจากที่ทำเสร็จน้องๆ ก็นำเงินไปซื้อผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในชุมชน...


ต่อมาก็เป็นโครงการอื่นๆ เช่น3 โครงการแลกเปลี่ยนความรู้สู่น้องในหมู่บ้านห้องสมุดของเรา ของเยาวชนจากขอนแก่น ที่ใช้เวลาว่างของตนเองสอนหนังสือให้กับเด็กในหมู่บ้านที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนพิเศษเหมือนกับเด็กในตัวอำเภอคนอื่น ๆ เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่ค่อนข้างไกลจากตัวอำเภอ จึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อสอนหนังสือให้กับน้องๆ ทุกๆ วันเสาร์และอาทิตย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลของเยาวชน 1000 ทางจากจังหวัดพะเยา ที่เห็นว่าปัญหาขยะในชุมชนมีมากเลยอยากจะปลูกฝังให้กับเด็กเรื่องการทิ้งขยะจึงคิดโครงการนี้ขึ้นมา นอกจากจะเป็นการช่วยปลูกฝังการรักษาความสะอาดแล้ว การนำขยะกลับมาขายยังเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดีด้วยเนื่องจากเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน


โครงการร้อยฝัน ของเยาวชนจากสิงห์บุรี ที่นำความรู้และภูมิปัญญาที่ตนเองมีมาถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน นั่นคือความรู้ด้านการปักและซ่อมแซมเสื้อผ้า โดยน้อง ๆ นักเรียนอาข่าส่วนใหญ่ค่อนข้างขาดแคลนทุนทรัพย์ เวลาที่เสื้อผ้าขาดก็ไม่สามารถซื้อใหม่ได้ น้อง ๆ กลุ่มนี้จึงนำความรู้ความสามารถที่มีมาสอนเพื่อนๆ และน้องๆ ในโรงเรียน รวมไปถึงการสอนการปักผ้าในลวดลายของชาวอาข่าอีกด้วยเนื่องจากบางครั้งมีชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมโรงเรียนก็เกิดความสนใจและขอซื้อในราคาที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นอีกทางที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเด็ก ๆ ชาวอาข่า


นี่เป็นแค่โครงการตัวอย่างบางส่วนที่นำมานำเสนอ ทว่า มีหลายโครงการที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ เยาวชน เช่น โครงการเสียงร้องจากเหรียญสตางค์ ที่ทีมงานบอกว่า "ได้รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ให้กับผู้อื่น การเป็นผู้ใหญ่มากกว่าผู้รับ การได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม การได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก เรียนรู้ความไม่เห็นแก่ตัว เรียนรู้ถึงความสุขที่ได้รับจากคนหลายคนที่จริงใจและไม่จริงใจ ได้เพื่อนๆ เยอะ"


เยาวชนจากโครงการ "น้ำส้มควันไม้" บอกว่า ได้พัฒนาความรับผิดชอบในตัวเองและหน้าที่การงานมากขึ้น มีความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน ความอดทน ขยันมากขึ้น ได้เป็นตัวอย่างในการนำไปขยายผลต่อในโรงเรียนอื่นๆ


นอกจากการได้เพื่อนใหม่ การได้พัฒนาทักษะ ประสบการณ์ บทเรียนชีวิตแล้ว เยาวชนหลายๆ โครงการจากทั่วประเทศ ยังได้บอกเป็นเสียงทำนองเดียวกันว่า การทำกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านโครงการเยาวชน1000ทาง ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้การให้ และความรับผิดชอบของตัวเองต่อสังคม

 

ทั้งนี้ พี่หนึ่ง ผู้จัดการภาคอีสานตอนล่างเขียนในบันทึกไว้ว่า 4
"น้อง ๆ ขยันขันแข็งกันน่าดู บางกลุ่มทำกิจกรรมในโครงการเสร็จแล้วก็โทรมาถามเกี่ยวกับเรื่องเอกสารสรุปว่าต้องทำอย่างไรบ้าง.....บางกลุ่มก็เข้ามาที่บ้านเลย....อันนี้ต้องเลี้ยงข้าวด้วย..เฮ้อ...ยิ่งเหนื่อยหนัก....แต่โดยรวมพอใจกับน้อง ๆ โครงการมากถึง 80 % เลยทีเดียว น้องๆ ตั้งอกตั้งใจทำกิจกรรมกันทุกๆ คน มีบ้างที่เหนื่อยหน่อย อย่างเช่น ปาท่องโก๋ร่วมใจ...ต้านภัยหนาว.....กว่าจะได้มาซึ่งผ่าห่ม..ดูน้องๆ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากับการทำ....การขาย....พักผ่อนน้อย เวลาทั้งหมดที่เคยเล่น ๆ กลับถูกนำมาใช้เพื่อคนอื่นๆ....แต่น้องๆ ก็ทำได้และก็ประสบผลสำเร็จด้วย....ส่วนโครงการอื่นๆ ก็ดีทีเดียวมีปัญหาอุปสรรคบ้างแต่ก็ฝ่าฟันไปได้ด้วยดี...เห็นความตั้งในของน้อง ๆ แล้วรู้สึกหายเหนื่อย...โดยเฉพาะเวลาที่มีผู้ใหญ่ พูดถึงน้องๆ โครงการเยาวชน1000ทาง....มีความรู้สึกว่าทุนทางสงคมเพิ่มขึ้น ....มีผู้ที่พร้อมจะมาเป็นแรงสนับสนุน..เป็นเพื่อนร่วมทางในการกรุยทางให้กับน้อง ๆ โครงการเยาวชน1000ทางในรุ่นๆ ต่อ ๆ ไป"


ใช่, อย่างที่พี่หนึ่งได้บันทึกไว้ ว่าการทำงานของเยาวชนที่ตั้งใจนี้ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ควรจะสนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับเยาวชน ทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงกายภาพ และพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงโอกาส กล่าวคือ ควรมีการพัฒนาเยาวชนจากมุมที่เป็นการส่งเสริมเยาวชนมากกว่าเป็นการควบคุมจำกัดสิทธิ และควรส่งเสริมให้เยาวชนมีโอกาสในการสื่อสารกับผู้ใหญ่ ส่งเสียงต่อสาธารณะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง


สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ - ความฝันเหล่านี้เป็นไปได้ เพียงแค่ว่าผู้ใหญ่จะเห็นความสำคัญมากน้อยเพียงใด และความท้าทายที่สำคัญคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่นอกจากผู้ใหญ่จะให้เยาวชนมีส่วนร่วมแล้ว จะมอบ "อำนาจ" ในการตัดสินใจให้แก่เยาวชนด้วย

 

1 โครงการเยาวชน 1000ทาง เป็นการรวมตัวของเครือข่ายเยาวชนจากทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน (สทย.) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ดูเวบไซต์ได้ที่ http://www.1000tang.net/

2 อ่านต่อได้ที่มติชนออนไลน์ http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lad03250151&day=2008-01-25§ionid=0115

3 อ่านต่อที่เดลินิวส์ ออนไลน์

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=153444&NewsType=1&Template=1

4 บันทึกของพี่น้อยหนึ่ง อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/node-esandown/146409

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหนที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้นสำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กิตติพันธ์ กันจินะ หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย1“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ” เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!  ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัยปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้สวัสดีค่ะ คุณคาวี พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัยผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาริยา มหาประลัย
กิตติพันธ์ กันจินะ
ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้นอย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน  “อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมาผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก  ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า…
กิตติพันธ์ กันจินะ
  หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน…