Skip to main content

หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30


หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า

มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน”

ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง”

ถูกภรรยาทิ้ง”

ตกงาน”

รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”

สิ่งเหล่านี้จะทำลายวันดี ๆ ไปจนหมดสิ้น (หน้า 9)


จากนั้นก็นำผู้อ่านไปสู่ความสัมพันธ์ของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ที่ดูเหมือนจะไม่แตกต่างจากคู่อื่น ๆ อาจจะดีกว่าคู่อื่น ๆ ด้วยซ้ำไปเพราะสามีทำงานเป็นโปรดิวเซอร์เงินเดือนสูง ภรรยาฉลาด และลูกน่ารัก


แต่แล้ว วิกฤติแห่งชีวิตก็มาเยือนเมื่อ “แฮร์รี่” แอบนอกใจภรรยาตัวเองด้วยการหลับนอนกับลูกน้องสาวสวยที่ทำงานด้วยกัน แล้วก็แก้ตัวด้วยคำแก้ตัวหวาน ๆ ที่ภรรยา (บางคน) อาจยอมยกโทษให้ว่า

ผมเสียใจที่ทำร้ายคุณ จีน่า และจะเสียใจตลอดไป คุณเป็นคนสุดท้ายในโลกที่ผมอยากทำร้าย” (หน้า 71)

อย่างไรก็ตาม คำพูดหวาน ๆ ชวนคลื่นเหียนแบบนี้ใช้ไม่ได้ผลสำหรับ “จีน่า” เธอรับสามีของเธอได้ทุกอย่างยกเว้นการนอกใจ

ฉันน่าจะรู้นะ” เธอพูด “ว่าพวกที่ชอบทำซาบซึ้งนี่แหละร้ายที่สุด พวกที่ชอบให้ดอกไม้และคำหวาน พวกที่สัญญาว่าจะไม่มองผู้หญิงอื่น พวกนี้แหละร้ายที่สุด เพราะพวกนี้จะมองหาคนใหม่อยู่เสมอ เป็นพวกที่ขาดความซาบซึ้งไม่ได้ ใช่ไหม แฮร์รี่” (หน้า 71)


จีนาปาดน้ำตาสลัดแฮร์รี่ออกไปจากชีวิตแล้วดั้นด้นค้นหาชีวิตใหม่ ด้วยการเดินทางไปญี่ปุ่นซึ่งเธอเกือบได้ไปตอนสาว ๆ แต่ทิ้งโอกาสไปเพราะเลือกแฮร์รี่ เธอหวังจะพาลูกไปกับเธอด้วยแต่ญี่ปุ่นก็ไม่เป็นดั่งหวัง ค่าครองชีพแสนแพง ชีวิตไม่หรูหราง่ายดายอย่างที่คิด


แพ็ต ลูกชายอายุ 4 ขวบที่เติบโตมากับสตาร์วอร์จึงอยู่กับแฮร์รี่...

แฮร์รี่เป็นแบบฉบับของคุณพ่อ? คือทำงานนอกบ้าน เลี้ยงลูกไม่เป็น มีเหตุผลที่ฉลาดร้อยแปดสำหรับความผิดพลาดของตนเอง ?

ด้วยความรักลูกและสถานการณ์บังคับ แฮร์รี่ตั้งใจอย่างสูงยิ่งที่จะดูแลลูกให้ดีแบบเดียวกับที่อดีตภรรยาของเขาเคยทำ ตั้งแต่อาบน้ำแต่งตัวให้ลูกไปโรงเรียน ไปจนถึงนำลูกเข้านอน แฮร์รี่ค่อย ๆ เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จนกระทั่งเชื่อว่าตนเองสามารถเป็นพ่อที่ดีได้


หนังสือพรรณาถึงความรัก ความผูกพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก ระหว่างหลานกับปู่ ย่า ไว้อย่างน่าซาบซึ้งใจ อ่านแล้วคาดไม่ถึงว่าฝรั่งจะให้คุณค่าเรื่อง “ครอบครัวอบอุ่น” ได้มากขนาดนี้ เมื่อแพ็ตประสบอุบัติเหตุจากการหัดขี่รถจักรยาน แฮร์รี่ ผู้เป็นพ่อ พูดถึงปู่ของแพ็ตว่า

ผมรู้ว่าพ่อสามารถทำทุกอย่างได้เพื่อแพ็ต รู้ว่าท่านรักเจ้าหนูอย่างไร้เงื่อนไขแบบที่คนเราจะมีให้ก็แต่เด็ก ๆ เท่านั้น ความรักที่ยากจะรู้สึกเมื่อลูกแสนดีคนนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่คอยแต่จะทำสิ่งผิดพลาด พ่อรักแพ็ตแบบที่ครั้งหนึ่งท่านเคยรักผม แพ็ตก็คือผมเมื่อสมัยที่ยังไม่ได้ทำลายทุกอย่างลง การที่พ่อทำได้เพียงนั่งรอแบบนี้ กัดกร่อนจิตใจท่านยิ่งนัก” (หน้า 146)

แม้ว่า “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” ที่แปลโดย “ภัสรี สิงหเดช” จะไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนอันเป็นแนวที่คอลัมน์นี้เขียนแนะนำและวิจารณ์ แต่ด้วยความที่ตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่องคือเด็กชายวัย 4 ขวบ ที่เป็นศูนย์กลางความรักของทุกฝ่าย ทำให้ผมคิดว่าสามารถจัดวรรณกรรมเรื่องนี้เข้ามาไว้ในคอลัมนี้ได้


จีน่า แม่ของแพ็ต ล้มเหลวในการแสวงหาชีวิตใหม่ที่ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นไม่ใช่ดินแดนสำหรับการขุดทองสำหรับฝรั่งเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว แต่จะว่าไป จีน่าก็ไม่ล้มเหลวเสียทีเดียวนักเพราะเธอพบรักใหม่และตั้งใจจะอยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผย และจะพาแพ็ตไปอยู่ด้วย


แพ็ต” คือศูนย์กลางแห่งคุณค่าของชีวิตของคนเป็นพ่อ/แม่ (รวมทั้งปู่กับย่า) แต่เมื่อพ่อกับแม่แยกทางกัน เด็กก็ตกอยู่ตรงกึ่งกลางที่ไม่อาจเลือกข้างใดข้างหนึ่ง


ศึกแห่งการแย่งชิงลูกเริ่มต้นขึ้น ผู้เป็นพ่อและแม่ต่างจ้างทนายเพื่อค้นหาความผิด ความล้มเหลวและข้อบกพร่องของกันและกันเพื่อจะฟ้องต่อศาล


อย่างไรก็ตาม ในตอนท้าย แฮร์รี่แสดงความเป็นพระเอกตามแบบที่เขาถนัดด้วยการหลีกทางให้กับจีน่า เขาบอกแก่ตนเองว่า “ความรักคือการรู้จักปล่อยว่างเมื่อถึงเวลา”


วรรณกรรมเล่มนี้ นอกจากจะพูดถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกแล้วยังอภิปรายถึงการแยกทางของคู่สามี-ภรรยา การโหยหาครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ ชีวิตที่แคบลงของคนที่อายุมากขึ้นด้วยมุมมองที่แหลมคม ฉลาด และตลก


มีหลายคำ หลายตอนที่นักสิทธิสตรีอ่านแล้วอาจค่อนแคะเอาบ้าง เช่นตอนที่แฮร์รี่นอกใจภรรยาซึ่งดูเหมือนเขาจะบอกว่าเกิดขึ้นเพราะผู้หญิงเป็นฝ่ายให้ท่าเขาทั้งที่เขาไม่ค่อยเต็มใจ


อย่างไรก็ตาม นี่เป็นหนังสือดีในรอบปีแห่งการอ่านหนังสือ(วรรณกรรม) ของผม และอยากแนะนำเพื่อน ๆ ชาวประชาไทลองอ่านดู.




บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมจากแดนไกลเล่มนี้ คงไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนในความหมายที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและการผจญภัยอันสนุกสนานของเด็ก ๆ ในแบบเดียวกับ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” แม้ว่าชื่อเรื่องจะฟังดูชวนฝัน เสริมสร้างจินตนาการแบบเดียวกับ “เจ้าชายน้อย” ของ อังตวน เดอ เซงเตก ซูเปรี ก็ตาม ตรงกันข้ามทีเดียวนี่เป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับนักอ่านประเภท “ฮาร์ดคอร์” โดยแท้ ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้เนื้อหาสาระจะนำมาซึ่งความบันเทิงประทับใจ เนื้อหาสาระอันเข้มข้นและลีลาลูกเล่นในการเล่าเรื่องต่างหากที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ ไม่ใช่สาระบันเทิงแบบรายการ “ตาสว่าง” ที่ดูแล้วชวนให้มืดมัวด้วยอคติและความไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น…
นาลกะ
เคยได้ยินชื่อ “ขบวนการนกกางเขน” มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าคืออะไร จนกระทั่งเห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้วางอยู่บนชั้นและลงมืออ่าน จึงได้รู้ว่า “ขบวนการนกกางเขน” เป็นวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศที่แปลโดย “แว่นแก้ว” “ขบวนการนกกางเขน” เป็นทั้งชื่อหนังสือและชื่อเรียกของกลุ่มตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่อง เด็ก ๆ ถูกวาดให้มีหลากหลายบุคลิก ตั้งขบวนการ รวมตัวกันหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนกระทั่งเข้าไปผจญภัยในห้องใต้ดินและนำไปสู่การค้นพบขุมทรัพย์ในที่สุด ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้น่าจะอยู่ที่ผู้แปลมากกว่าผู้เขียน  สำหรับผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคือ Madeleine Treherne  ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ในภาคฝรั่งเศสว่า Rossignols…
นาลกะ
“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”1 แปลมาจากเรื่อง “Dibs In Search of Self” เป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ใช่นวนิยายที่จัดได้ว่าเป็น Bestseller  อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้อ่านสนุกน่าติดตามราวกับเป็นวรรณกรรมเยาวชน (จะว่าไปเรื่องราวของเด็ก ๆ ก็เป็นวรรณกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว)ผมเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญในห้องสมุด อ่านเพียงผ่าน ๆ แต่แรงดึงดูดบางประการทำให้วางไม่ลงและอ่านต่อไปด้วยความเพลิดเพลินจนจบ ผิดกับหนังสือหลายเล่มที่ในระยะหลังผมมักจะอ่านไม่จบ ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่ไม่มีแรงดึงดูดให้อ่าน แต่สำหรับเรื่อง “ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” นี้เป็นข้อยกเว้นจริง ๆ“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”…
นาลกะ
 อนาโตล ฟรองซ์  เขียนไกรวรรณ  สีดาฟอง แปลอนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์…
นาลกะ
“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมายแห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารักเพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)
นาลกะ
 จอห์น  โฮลท์  เขียนกาญจนา  ถอดความหนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้ นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน  …
นาลกะ
อาการป่วยของแม่ทุเลาลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติเพราะโรคฉวยโอกาสบางชนิดที่ยังทำให้แม่อ่อนเพลีย คุณหมอมาดูแลอาการของแม่บ่อยครั้ง คุณหมอจะยิ้มอย่างปลอดโปร่งใจทุกครั้งเมื่อตรวจดูอาการของแม่เสร็จ สายรุ้งไม่แน่ใจว่ารอยยิ้มของคุณหมอมีความหมายว่าอะไร อาจหมายถึงว่าแม่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงดังเดิมหรือเพื่อปลอบใจสายรุ้งกันแน่ หรือว่าคุณหมอที่ไหน ๆ ต่างก็มีรอยยิ้มลักษณะเช่นนี้“แม่ผมเป็นยังไงบ้างครับ”คุณหมอทำท่าตรึกตรองราวกับกำลังหาคำอธิบายที่เหมาะ ๆ นั่นยิ่งทำให้สายรุ้งรู้สึกกังวลหนักขึ้น“หนูต้องดูแลแม่ดี ๆ นะ” คุณหมอตอบ “หนูรู้ไหมว่าหนูมีส่วนอย่างมากในการทำให้คุณแม่หายจากอาการป่วยไว ๆ” “…
นาลกะ
คุณตาและน้ามลมาที่บ้านสายรุ้งบ่อยขึ้น เพราะแม่ของสายรุ้งไม่สบาย แม่เป็นลมหมดสติขณะกำลังทำงาน โชคดีที่ตอนนั้นสายรุ้งอยู่ที่บ้านด้วย สายรุ้งตกใจมากที่เห็นแม่ล้มลงและหมดสติเขาวิ่งไปตามคุณตาและน้ามลสายรุ้งไม่เข้าใจเลยว่าแม่ล้มป่วยได้อย่างไรในเมื่อดูแลตัวเองดีมาโดยตลอด  แม่เคร่งครัดต่อวิถีชีวิตประจำวันอย่างมาก นอนและตื่นตรงเวลาเหมือนกันทุกวัน ระวังให้ไม่โดนแดด โดนฝน แม่เลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น อาหารที่ผ่านการหมักดองแม่ไม่ทานเด็ดขาด ผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดแม่ล้างแล้วล้างอีก อาหารทอดหรือปิ้งย่าง แม่ก็ไม่ทาน ทั้งแม่ยังออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย…
นาลกะ
วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปจนใกล้สิ้นปี สายรุ้งและแม่ผ่านวันเวลาร่วมกันมาอย่างกล้าหาญ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางลมพายุ รู้จักการโอนเอนตามแรงลมเมื่อพายุกระหน่ำหนักในขณะที่รากนั้นยึดเกาะดินไว้อย่างมั่นคงสายรุ้งมีอายุเพิ่มมากขึ้นอีกปี การผ่านวันเวลาไปจนมีอายุเพิ่มขึ้นหนึ่งปีนั้นอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับแม่ของสายรุ้งแล้ว เธอรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่มีความหมาย และความสำคัญอย่างยิ่งยวด เธอตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละวินาที และรู้ว่ากาลเวลาในหนึ่งวินาทีของเธอกับของคนอื่นนั้นแตกต่างกันด้วยเหตุว่าเธอมีมาตรวัดความยาวนานของเวลาต่างออกไป ส่วนสายรุ้งอาจยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ “…
นาลกะ
สายรุ้งก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เพลิดเพลินกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เกมที่มีภาพสวยงามดึงดูดสายตาและสามารถติดต่อสัมพันธ์ คุยเล่นสนุกกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกไซเบอร์ การสร้างสีสันสวยงามเกินจริง การออกแบบฉากที่อลังการ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร ตัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ  และความน่าตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่ปรากฏในเกม ยั่วเย้าเร้าความสนใจของสายรุ้งและเด็กคนอื่นๆ จนไม่อาจต้านทานได้หากเล่นเกมที่ร้านเกมซึ่งมีเด็กๆ ไปชุมนุมกันนั้น สายรุ้งจะนั่งเล่นไม่นานนัก แค่เพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เพราะแม่ไม่ต้องการให้เขาขลุกอยู่ที่ร้านเกมนานเกินไป…
นาลกะ
เมฆฝนตั้งเค้าทำท่าเหมือนว่าจะเทน้ำลงมา แต่ก็ไม่เคยหล่นลงมาสักหยด สายลมจะพัดพาเมฆให้ลอยไปที่อื่น จากนั้นท้องฟ้าก็จะปลอดโปร่งเหมือนเดิม ชาวสวนที่เฝ้ารออยู่แหงนหน้าขึ้นฟ้าหวังจะได้เห็นเม็ดฝนโปรยปราย เมล็ดพืชที่หว่านไว้รอเพียงฝนแรกเท่านั้นก็จะแทงยอดอ่อนออกมาท้องฟ้าครึ้ม เมฆสีดำลอยต่ำและบดบังความร้อนแรงแห่งแสงอาทิตย์ อากาศยามสายขมุกขมัว  “วันนี้ฝนจะตก” ตาพูดกับเด่นและสายรุ้ง “ดูฝงมดพวกนั้นสิพากันอพยพเพราะมันรู้ว่าน้ำจะเจิ่งนองท่วมรังของมัน” สายรุ้งแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ท้องฟ้าช่างดูอึดอัดด้วยบรรยากาศอันอึมครึม นกฝูงบินตัดก้อนเมฆที่คล้อยลงต่ำ“เราจะได้เล่นน้ำ” เด่นว่าแล้วฝนก็เทลงมาจริงๆ…
นาลกะ
วันนี้เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งของสายรุ้งมาโรงเรียนสาย พอครูถามเขาก็ตอบว่าที่บ้านเขากำลังมีปัญหา พ่อของเขาป่วยหนัก เมื่อสายรุ้งเห็นแววตาเศร้าสร้อยของเพื่อนนักเรียนคนนั้นแล้วรู้สึกสงสารจับใจ เพื่อนนักเรียนกำลังจะร้องไห้อยู่แล้วตอนที่ตอบคำถามของครู เป็นไปได้ว่าสายรุ้งอาจกำลังคิดถึงตัวเองที่สูญเสียพ่อไปตั้งแต่ยังเล็ก แล้วก็เลยเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนนักเรียนคนนั้นดีว่าจะต้องเสียใจมากเพียงใดหากพ่อของเขาต้องมีอันเป็นไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนไม่ได้รู้สึกอย่างที่สายรุ้งรู้สึก ความทุกข์ใจของเพื่อนนักเรียนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของพ่อซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวนั้น…