Skip to main content

 

20080331 ภาพปก หนีให้พ้นไปจากวัยเด็ก
จอห์น  โฮลท์  เขียน
กาญจนา  ถอดความ


หนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  

ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้

นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน    ตลอดจนได้ทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเด็กมาอย่างกว้างขวางยังได้เขียนงานวิชาการเกี่ยวกับเด็กไว้อีกหลายเล่มด้วยกันคือ How Children Fail, How Children Learn, The Underachieving School และบทความที่เกี่ยวกับเด็กที่ตีพิมพ์ตามนิตยสารต่าง ๆ อีกมากหลาย

เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องอยู่กับ “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ที่วางอยู่ในบริบทของโลกสมัยใหม่ ซึ่งได้สร้างกฏเกณฑ์ กฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อกำหนดว่าเด็ก ๆ ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร พวกผู้ใหญ่จะปฏิบัติต่อแกอย่างไร และกล่าวถึงวิธีการที่ไม่ถูกต้องทั้งหลายทั้งปวงที่สังคมกระทำต่อเด็ก ๆ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังบอกไว้ด้วยว่าควรจะเปลี่ยนแปลงมันอย่างไร

คำว่า “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ตามการนำเสนอของผู้เขียนคือ ทัศนคติ ประเพณี กฏเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกของคนในสังคมที่มีต่อเด็ก สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกำแพงกั้นขวางชีวิตวัยเยาว์กับชีวิตผู้ใหญ่ออกจากกัน

 

 

“สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” จะกางกั้นเด็กออกจากโลกของผู้ใหญ่ ทำให้ผู้เยาว์พบกับความยากลำบากในการที่จะติดต่อสื่อสารกับสังคมส่วนใหญ่รอบ ๆ ตัวเขา ขาดแม้แต่โอกาสที่จะได้เข้ามาร่วมเล่น ร่วมรับผิดชอบในส่วนที่เด็กก็พอจะทำได้

ทัศนคติและความรู้สึกเช่นนี้ได้ปิดกั้นเด็กให้ห่างออกจากโลกแห่งเสรีภาพ และความเป็นอิสระ ทำให้เด็ก ๆ เป็นอย่างที่เราเห็น ๆ กัน เด็ก ๆ กลายเป็นแหล่งรวมของการจู้จี้จุกจิก ร้องไห้กวนใจ  น่ารำคาญ  เลี้ยงไม่โต  ไม่มีเหตุผล    

ผู้เขียนวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ผู้ปกครองบางประเภทที่  “ไม่อยากให้ลูกโต” ต้องการยืดวัยเด็กของลูกให้ยาวออกไป ในสายตาของพ่อแม่บางประเภทนั้น “ลูกไม่เคยโต” (เพราะไม่ต้องการให้โต)  จนเด็กทนไม่ได้และต้องรำพันออกมาว่า

“ผมรักพ่อแม่มาก เราเคยอยู่กันอย่างมีความสุข แต่จนเดี๋ยวนี้พ่อกับแม่ก็ยังอยากให้ผมทำตัวเหมือนเด็กอย่างแต่ก่อน ผมอยากจะทำอะไรของผมเองบ้าง พ่อกับแม่ก็ไม่ชอบ ผมรู้สึกสับสนและรู้สึกผิดมากที่ทำให้ท่านไม่สบายใจ ผมไม่รู้จะทำอย่างไรดี ใจหนึ่งก็ไม่อยากทำให้ท่านผิดหวัง แต่อีกใจหนึ่งผมก็อยากจะมีชีวิตของผมเองบ้าง” (หน้า 21)

พ่อแม่ต้องการให้ชีวิตวัยเด็กยาวนานเกินไป และมักไม่ยอมให้เด็กได้ค่อย ๆ หลุดพ้นไปจากอ้อมอก ให้กลับมามีความสัมพันธ์ในรูปแบใหม่กับพ่อแม่ เมื่อเด็กไม่มีทางเลือกแบบอื่นที่พอจะผูกพันกับพ่อแม่ได้แกก็จะเลือกหนทางที่จะตัดขาดกับพ่อแม่เสียเลย ยิ่งถ้าพ่อแม่พยายามผูกแกให้แน่นเพียงใด แกก็จะยิ่งออกแรงดึงดิ้นให้หลุดแรงขึ้นเพียงนั้น แรงดึงที่รุนแรงนี้อาจจะก่อให้เกิดความร้าวฉานกับทุกฝ่ายและกลายเป็นฝันร้ายของทุกคน

ถ้าไม่มีทางอื่นที่เด็กจะออกจากอ้อมอกของครอบครัวไปได้ แกคงต้องเลือกเอาขั้นแตกหักเป็นทางเลือกสุดท้าย

ในบทที่ว่าด้วย “การเห็นเด็กเป็นตุ๊กตา” ผู้เขียนเสนอให้เลิกมองเด็กเป็น “ตุ๊กตา” เสียทีเพราะการที่มองดูเด็กเป็นตุ๊กตาตัวน้อย ๆ น่ารักน่าเอ็นดูนั้นมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริงแต่มันเป็นค่านิยมที่เราใส่เข้าไปเอง ความน่ารัก น่าเอ็นดูนี้มีอยู่ในคนทุกรุ่น ทุกวัย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะในเด็ก ๆ เท่านั้นและการที่เราเห็นเด็ก ๆ เป็นของเล่นตัวเล็ก ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะความรู้สึกดังกล่าวทำให้เรารู้สึกว่าเป็นผู้ใหญ่กว่า รู้สึกเหนือกว่าเด็ก ๆ

ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เรามีต่อเด็กนั้นไม่ใช่เพราะคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวเด็กจริง ๆ แต่เป็นเพียงทฤษฎีความเชื่อต่าง  ๆ ที่ผู่ใหญ่เราสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับตัวเด็ก  ๆ มากกว่า คุณสมบัติหลาย ๆ อย่างที่เด็กมี เช่น ความมีชีวิตชีวา ความเฉลียวฉลาด ความสวยมีเสน่ห์ ความอยากรู้อยากเห็น ความหวัง ความไว้วางใจซึ่งดูเหมือนคุณสมบัติที่ดี ๆ ทั้งนั้นแต่ความจริงแล้วเด็ก ๆ ย่อมมีคุณสมบัติที่จะเสียใจ สนุกสนานชื่นชม เด็กก็รู้จักความทุกข์ ความกังวลด้วย

คุณสมบัติที่เด็กมีนี้ไม่ได้เป็นคุณสมบัติเฉพาะเด็กเท่านั้น แต่มันเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ทุกคน ทุกรุ่น ทุกวัย หากแต่ผู้ใหญ่มักคิดไปว่า นี่คือคุณสมบัติแห่งความเป็นเด็กเท่านั้น เช่น ความอยากรู้อยากเห็น

ที่แย่ที่สุดก็คือผู้ใหญ่ชอบไปสอนเด็ก ๆ ที่กำลังจะเริ่มโตให้ทิ้งหรือซุกซ่อนลักษณะแห่งความเป็นเด็กเอาไว้ สอนให้อายถ้าเขาทำท่าอยากรู้อยากเห็นแบบเด็ก ๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าพวกผู้หญิงได้รับอนุญาตจากสังคมให้แสดงท่าแบบเด็ก ๆ ได้มากกว่าผู้ชาย บางสังคมก็ให้ค่ายกย่องไปเลย เช่น ยิ่งผู้ใหญ่ไร้เดียงสาเหมือนเด็ก ๆ ก็ยิ่งน่ารักมากเท่านั้น!

เด็กไม่ใช่อะไรที่เป็นนามธรรมอย่างที่คิดกัน แต่เป็นรูปธรรมอย่างสามัญที่สุดเช่นเดียวกับสัตว์โลกทั่ว ๆ ไป เด็ก ๆ มักคิดถึงตนเองก่อนคนอื่นและเห็นแก่ตัว ไม่มีความสามารถที่จะเข้าไปนั่งในจิตใจของคนอื่นได้ เอาแต่ใจตนเองและใจร้าย ส่วนการเป็นผู้ใหญ่ไมได้หมายความว่าจะต้องเลวมากขึ้น

เมื่อมีคนถามว่า “มันผิดอย่างไรที่จะมองเด็กอย่างชื่นชม มันดีกว่าที่จะดูเด็กอย่างที่เด็กเป็นอยู่จริง ๆ มิใช่หรือ ?”

คำตอบของผู้เขียนคือ “การที่เรามองใครสักคนดีกว่าที่เขาเป็นอยู่จริงนั้นเป็นการถูกต้องหรือ มันจะไม่อันตรายดอกหรือ” แล้วผู้เขียนก็ยกตัวอย่างประกอบให้เห็นอย่างชัดเจน

สำหรับคนที่สนใจเรื่อง “เด็ก” ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้
                                   

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมจากแดนไกลเล่มนี้ คงไม่ใช่วรรณกรรมเยาวชนในความหมายที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมจินตนาการและการผจญภัยอันสนุกสนานของเด็ก ๆ ในแบบเดียวกับ “แฮร์รี่ พอตเตอร์” แม้ว่าชื่อเรื่องจะฟังดูชวนฝัน เสริมสร้างจินตนาการแบบเดียวกับ “เจ้าชายน้อย” ของ อังตวน เดอ เซงเตก ซูเปรี ก็ตาม ตรงกันข้ามทีเดียวนี่เป็นวรรณกรรมที่เหมาะสำหรับนักอ่านประเภท “ฮาร์ดคอร์” โดยแท้ ซึ่งวรรณกรรมประเภทนี้เนื้อหาสาระจะนำมาซึ่งความบันเทิงประทับใจ เนื้อหาสาระอันเข้มข้นและลีลาลูกเล่นในการเล่าเรื่องต่างหากที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ ไม่ใช่สาระบันเทิงแบบรายการ “ตาสว่าง” ที่ดูแล้วชวนให้มืดมัวด้วยอคติและความไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น…
นาลกะ
เคยได้ยินชื่อ “ขบวนการนกกางเขน” มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าคืออะไร จนกระทั่งเห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้วางอยู่บนชั้นและลงมืออ่าน จึงได้รู้ว่า “ขบวนการนกกางเขน” เป็นวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศที่แปลโดย “แว่นแก้ว” “ขบวนการนกกางเขน” เป็นทั้งชื่อหนังสือและชื่อเรียกของกลุ่มตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่อง เด็ก ๆ ถูกวาดให้มีหลากหลายบุคลิก ตั้งขบวนการ รวมตัวกันหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนกระทั่งเข้าไปผจญภัยในห้องใต้ดินและนำไปสู่การค้นพบขุมทรัพย์ในที่สุด ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้น่าจะอยู่ที่ผู้แปลมากกว่าผู้เขียน  สำหรับผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคือ Madeleine Treherne  ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ในภาคฝรั่งเศสว่า Rossignols…
นาลกะ
“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”1 แปลมาจากเรื่อง “Dibs In Search of Self” เป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ใช่นวนิยายที่จัดได้ว่าเป็น Bestseller  อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้อ่านสนุกน่าติดตามราวกับเป็นวรรณกรรมเยาวชน (จะว่าไปเรื่องราวของเด็ก ๆ ก็เป็นวรรณกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว)ผมเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญในห้องสมุด อ่านเพียงผ่าน ๆ แต่แรงดึงดูดบางประการทำให้วางไม่ลงและอ่านต่อไปด้วยความเพลิดเพลินจนจบ ผิดกับหนังสือหลายเล่มที่ในระยะหลังผมมักจะอ่านไม่จบ ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่ไม่มีแรงดึงดูดให้อ่าน แต่สำหรับเรื่อง “ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” นี้เป็นข้อยกเว้นจริง ๆ“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”…
นาลกะ
 อนาโตล ฟรองซ์  เขียนไกรวรรณ  สีดาฟอง แปลอนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์…
นาลกะ
“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมายแห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารักเพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)
นาลกะ
 จอห์น  โฮลท์  เขียนกาญจนา  ถอดความหนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้ นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน  …
นาลกะ
อาการป่วยของแม่ทุเลาลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติเพราะโรคฉวยโอกาสบางชนิดที่ยังทำให้แม่อ่อนเพลีย คุณหมอมาดูแลอาการของแม่บ่อยครั้ง คุณหมอจะยิ้มอย่างปลอดโปร่งใจทุกครั้งเมื่อตรวจดูอาการของแม่เสร็จ สายรุ้งไม่แน่ใจว่ารอยยิ้มของคุณหมอมีความหมายว่าอะไร อาจหมายถึงว่าแม่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงดังเดิมหรือเพื่อปลอบใจสายรุ้งกันแน่ หรือว่าคุณหมอที่ไหน ๆ ต่างก็มีรอยยิ้มลักษณะเช่นนี้“แม่ผมเป็นยังไงบ้างครับ”คุณหมอทำท่าตรึกตรองราวกับกำลังหาคำอธิบายที่เหมาะ ๆ นั่นยิ่งทำให้สายรุ้งรู้สึกกังวลหนักขึ้น“หนูต้องดูแลแม่ดี ๆ นะ” คุณหมอตอบ “หนูรู้ไหมว่าหนูมีส่วนอย่างมากในการทำให้คุณแม่หายจากอาการป่วยไว ๆ” “…
นาลกะ
คุณตาและน้ามลมาที่บ้านสายรุ้งบ่อยขึ้น เพราะแม่ของสายรุ้งไม่สบาย แม่เป็นลมหมดสติขณะกำลังทำงาน โชคดีที่ตอนนั้นสายรุ้งอยู่ที่บ้านด้วย สายรุ้งตกใจมากที่เห็นแม่ล้มลงและหมดสติเขาวิ่งไปตามคุณตาและน้ามลสายรุ้งไม่เข้าใจเลยว่าแม่ล้มป่วยได้อย่างไรในเมื่อดูแลตัวเองดีมาโดยตลอด  แม่เคร่งครัดต่อวิถีชีวิตประจำวันอย่างมาก นอนและตื่นตรงเวลาเหมือนกันทุกวัน ระวังให้ไม่โดนแดด โดนฝน แม่เลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น อาหารที่ผ่านการหมักดองแม่ไม่ทานเด็ดขาด ผัก ผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดแม่ล้างแล้วล้างอีก อาหารทอดหรือปิ้งย่าง แม่ก็ไม่ทาน ทั้งแม่ยังออกกำลังกายเป็นประจำอีกด้วย…
นาลกะ
วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปจนใกล้สิ้นปี สายรุ้งและแม่ผ่านวันเวลาร่วมกันมาอย่างกล้าหาญ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ยืนหยัดอยู่ท่ามกลางลมพายุ รู้จักการโอนเอนตามแรงลมเมื่อพายุกระหน่ำหนักในขณะที่รากนั้นยึดเกาะดินไว้อย่างมั่นคงสายรุ้งมีอายุเพิ่มมากขึ้นอีกปี การผ่านวันเวลาไปจนมีอายุเพิ่มขึ้นหนึ่งปีนั้นอาจเป็นเรื่องปกติสำหรับคนอื่น ๆ แต่สำหรับแม่ของสายรุ้งแล้ว เธอรู้ว่ามันเป็นสิ่งที่มีความหมาย และความสำคัญอย่างยิ่งยวด เธอตระหนักถึงคุณค่าของแต่ละวินาที และรู้ว่ากาลเวลาในหนึ่งวินาทีของเธอกับของคนอื่นนั้นแตกต่างกันด้วยเหตุว่าเธอมีมาตรวัดความยาวนานของเวลาต่างออกไป ส่วนสายรุ้งอาจยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ “…
นาลกะ
สายรุ้งก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เพลิดเพลินกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เกมที่มีภาพสวยงามดึงดูดสายตาและสามารถติดต่อสัมพันธ์ คุยเล่นสนุกกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกไซเบอร์ การสร้างสีสันสวยงามเกินจริง การออกแบบฉากที่อลังการ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร ตัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ  และความน่าตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่ปรากฏในเกม ยั่วเย้าเร้าความสนใจของสายรุ้งและเด็กคนอื่นๆ จนไม่อาจต้านทานได้หากเล่นเกมที่ร้านเกมซึ่งมีเด็กๆ ไปชุมนุมกันนั้น สายรุ้งจะนั่งเล่นไม่นานนัก แค่เพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เพราะแม่ไม่ต้องการให้เขาขลุกอยู่ที่ร้านเกมนานเกินไป…
นาลกะ
เมฆฝนตั้งเค้าทำท่าเหมือนว่าจะเทน้ำลงมา แต่ก็ไม่เคยหล่นลงมาสักหยด สายลมจะพัดพาเมฆให้ลอยไปที่อื่น จากนั้นท้องฟ้าก็จะปลอดโปร่งเหมือนเดิม ชาวสวนที่เฝ้ารออยู่แหงนหน้าขึ้นฟ้าหวังจะได้เห็นเม็ดฝนโปรยปราย เมล็ดพืชที่หว่านไว้รอเพียงฝนแรกเท่านั้นก็จะแทงยอดอ่อนออกมาท้องฟ้าครึ้ม เมฆสีดำลอยต่ำและบดบังความร้อนแรงแห่งแสงอาทิตย์ อากาศยามสายขมุกขมัว  “วันนี้ฝนจะตก” ตาพูดกับเด่นและสายรุ้ง “ดูฝงมดพวกนั้นสิพากันอพยพเพราะมันรู้ว่าน้ำจะเจิ่งนองท่วมรังของมัน” สายรุ้งแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ท้องฟ้าช่างดูอึดอัดด้วยบรรยากาศอันอึมครึม นกฝูงบินตัดก้อนเมฆที่คล้อยลงต่ำ“เราจะได้เล่นน้ำ” เด่นว่าแล้วฝนก็เทลงมาจริงๆ…
นาลกะ
วันนี้เพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งของสายรุ้งมาโรงเรียนสาย พอครูถามเขาก็ตอบว่าที่บ้านเขากำลังมีปัญหา พ่อของเขาป่วยหนัก เมื่อสายรุ้งเห็นแววตาเศร้าสร้อยของเพื่อนนักเรียนคนนั้นแล้วรู้สึกสงสารจับใจ เพื่อนนักเรียนกำลังจะร้องไห้อยู่แล้วตอนที่ตอบคำถามของครู เป็นไปได้ว่าสายรุ้งอาจกำลังคิดถึงตัวเองที่สูญเสียพ่อไปตั้งแต่ยังเล็ก แล้วก็เลยเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนนักเรียนคนนั้นดีว่าจะต้องเสียใจมากเพียงใดหากพ่อของเขาต้องมีอันเป็นไป อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนไม่ได้รู้สึกอย่างที่สายรุ้งรู้สึก ความทุกข์ใจของเพื่อนนักเรียนอันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยของพ่อซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวนั้น…