Skip to main content

ตลาดน้ำเกิดใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วอึดใจ ท่ามกลางธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ผู้คนให้การต้อนรับแบบน้ำใสใจจริง และเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์รายรอบที่น่าสนใจ แม้จะเป็นตลาดน้ำเกิดใหม่เมื่อไม่นานแต่ก็ไม่มีการเสริมแต่งอย่างฝืนธรรมชาติ ซ้ำยังโดดเด่นด้วยของกินของใช้และของฝากหลากหลายโดยพ่อค้าแม่ขายคนในท้องถิ่น เปิดขายทุกวันเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าตรู่เรื่อยไปจนแดดร่มลมตก จากนั้นตลาดก็จะวายไปเองตามวิถีทางของมัน

 



ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งริมคลองบางน้ำผึ้ง

 
หากตั้งต้นจากฝั่งกรุงเทพฯ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง
จะอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือคลองเตย มีเพียงแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นกลาง พื้นที่ของตลาดอยู่ริมคลองด้านเหนือของวัดบางน้ำผึ้งใน ซึ่งเป็นพื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านย่านนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญที่มาตั้งถิ่นฐานกันตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
(พระประแดง) และป้อมปราการขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกที่อาจจะเข้ามารุกรานทางทะเล ให้ไพร่พลมอญไปสร้างและอยู่ดูแลป้อม โดยได้ตั้งขุนนางมอญเป็นเจ้าเมืองติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน กระทั่งเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบผู้ว่าราชการจังหวัด ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองมอญไป ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบันจึงมีชาวมอญตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยากันอย่างคับคั่งทั้งสองฟากแม่น้ำ


ตลาดน้ำแห่งนี้อยู่ท่ามกลางพื้นที่สีเขียวผืนใหญ่ที่ถือเป็นปอดสำคัญของกรุงเทพฯ จากสภาพการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดเคี้ยวในช่วงนี้ เมื่อมองจากมุมสูงจะพบว่ามีรูปร่างคล้ายกระเพาะหมู มีสวนสาธารณะที่อยู่ใกล้เคียงในพื้นที่ตำบลบางกระเจ้านั่นคือ สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ที่ปรับปรุงจากเรือกสวนไร่นาทิ้งร้างและป่าชายเลน เนื้อที่รวม ๑๑,๘๑๙ ไร่ โอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และที่สำคัญคุ้งน้ำกระเพาะหมูแห่งนี้ได้อนุรักษ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เป็นแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ให้กับประชาชนในเขตสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร ช่วยกรองฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมหาศาล


สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ได้แก่ วัดมอญต่างๆ ในเขตอำเภอพระประแดง วัดที่แนะนำได้แก่ วัดบางน้ำผึ้งนอก มีจิตรกรรมฝาผนังรูปสาวมอญนุ่งผ้าแหวกที่ได้รับคำชื่นชมจาก น. ณ ปากน้ำ พระสมุทรเจดีย์ (พระเจดีย์กลางน้ำ) ป้อมพระจุลฯ และพิพิธภัณฑ์มอญใต้ทางด่วนวงแหวนอุตสาหกรรม ซึ่งอาคารจัดแสดงสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมมอญประยุกต์สวยแปลกตา สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพิจารณาเห็นว่า พื้นที่สร้างสะพานวงแหวนแห่งนี้ล้วนมาจากการเวนคืนหมู่บ้านมอญ เป็นต้น

 


จิตรกรรมฝาผนังวัดบางน้ำผึ้งนอกภาพสาวมอญนุ่งผ้าถุงแหวกเห็นโคนขา

 


พิพิธภัณฑ์มอญใต้ทางด่วนวงแหวนอุตสาหกรรม (กาญจนาภิเษก)


ทั่วบริเวณพื้นที่ต่อเนื่องเป็นป่าชายเลนและเรือกสวนสลับกับบ้านเรือนผู้คน แม้วันนี้อาจจะดูรกร้างไปบ้าง เพราะชาวบ้านหลายรายเปลี่ยนอาชีพไปกันตามสภาพสังคม ตลอดพื้นที่ยังคงเต็มไปด้วยแมกไม้เขียวครึ้ม บ้านเรือนผู้คนแทรกตัวอยู่เป็นระยะ ต่างอยู่อาศัยกันแบบเรียบง่าย บางหลังอยู่ริมคลองสามารถกางเต็นท์นอนได้ บางหลังเป็นเรือนไทยโบราณอายุกว่า ๑๐๐ ปี ในจำนวนนี้หลายหลังเปิดเป็นโฮมเสตย์ ตอบรับกระแสการท่องเที่ยวแบบอีโก้ทัวร์ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกพักได้ตามใจชอบ


ตลาดน้ำแห่งนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๗ เป็นการร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้งและชาวบ้านในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตการเกษตรล้นตลาด ซึ่งนับว่าได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากตลาดน้ำแห่งนี้จะเป็นที่ระบายสินค้าเกษตรแล้วยังสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตลาดน้ำแห่งนี้ คือ ผู้ขายเป็นคนในชุมชน มีการจำกัดจำนวนผู้ขายและสินค้าที่ต้องผลิตขึ้นเอง รายล้อมด้วยวิถีชีวิตชาวบ้านริมคลอง น้ำในคลองที่ยังใสสะอาด ชาวบ้านยังใช้เรือสัญจรไปมาเป็นปกติ ขนถ่ายพืชผลทางการเกษตร และค้าขาย เช่น ผลไม้ ขนมสด ก๋วยเตี๋ยว อาหารแปรรูปและของกินส่วนใหญ่ในตลาดเป็นฝีมือของชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ไข่เค็มดินสอพอง ผลิตภัณฑ์จากทะเลอย่างกุ้งแห้ง กะปิ หอยดอง ขนมไทยนานาชนิด เช่น ทองหยอด เม็ดขนุน ฝอยทอง กะละแม ข้าวตู ขนมใส่ไส้ นอกจากนี้ก็มีผลไม้จากสวน ที่ขึ้นชื่อที่สุดของที่นี่ คือ มะม่วงน้ำดอกไม้


ของใช้และของที่ระลึก ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ ดอกไม้เกล็ดปลา ธูปปั้นสมุนไพร ภาพประดิษฐ์จากรกมะพร้าว โมบาย ลูกตีนเป็ดประดิษฐ์รูปร่างแปลกตา สินค้าพื้นบ้านมอญ เป็นต้น


ผู้ที่ต้องการนั่งชมบรรยากาศและชิมอาหารอร่อยๆ ริมน้ำก็มีให้เลือกมากมาย เป็นต้นว่า หมี่กรอบ หอยทอด ผัดไทย ห่อหมก ก๋วยเตี๋ยวหมู เย็นตาโฟ บะหมี่ ราดหน้า กระเพาะปลา ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ส่วนขนมจีนก็มีให้เลือกกินได้กับแกงต่างๆ เช่น น้ำพริก น้ำยา แกงเขียวหวาน แกงไตปลา กินแกล้มผักสด พ่อค้าแม่ขายก็มีทั้งที่ลอยเรืออยู่ในคลองและตั้งร้านรวงอยู่บนตลิ่ง อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจก็คือลานใต้ร่มไม้กลางสวน ที่ยังคงสภาพเป็นร่องสวนมะพร้าว มีสะพานทอดเป็นระยะ ม้านั่งวางเป็นจุด มีเวทีการแสดงอยู่กึ่งกลาง เหมาะสำหรับผู้ที่มากันเป็นหมู่คณะหรือเป็นครอบครัว จะปูเสื่อ เลือกเก้าอี้ไม้ตัวเตี้ย หรือม้านั่งหินอ่อนก็ตามถนัด ซื้อของมานั่งกินกันไปคุยกันไปอิ่มอร่อยแบบได้บรรยากาศ หากเกิดครึ้มอกครึ้มใจจะขึ้นไปเขย่าลูกคอกับคาราโอเกะบนเวทีสักเพลงสองเพลงก็ไม่มีใครว่า สลับกับชมการแสดงของเยาวชนและคนในชุมชนที่หารายได้พิเศษช่วงวันหยุด ส่วนเด็กเล็กที่ไปด้วยก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเบื่อ เพราะมีมุมวาดภาพ ฝึกระบายสีตุ๊กตา เพ้นท์เสื้อ และงานฝีมือให้เลือกทำหลากหลาย ทำเสร็จก็ได้งานฝีมือตัวเองกลับบ้านไปอวดเพื่อนด้วย


นอกจากนี้ในบริเวณตลาดน้ำยังมีเรือพายให้บริการ สามารถนั่งเรือลัดเลาะคลองซอยน้อยใหญ่ผ่านป่าชายเลนและสวนผลไม้ตลอด ๒ ฝั่งคลอง จะพายเองหรือให้มีคนพายให้นั่งก็แล้วแต่ตกลงราคากัน รวมทั้งจักรยานให้เช่า ที่นักท่องเที่ยวนิยมปั่นกันเช้าเย็น ส่วนผู้ที่ใช้วิธีเดินเท้าหากเกิดอาการเมื่อยขบจะแวะพักนวดตัวนวดเท้าได้ที่มุมนวดคลายเส้นตรงปากทางเข้าตลาด
 

การเดินทาง สามารถขับรถไปเองถึงที่ ลงทางด่วนที่ถนนสุขสวัสดิ์ขับเรื่อยไปจนถึงสามแยกพระประแดง เลี้ยวซ้ายตรงไปจนเกือบสุดทางในตลาดพระประแดง จะมองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ข้างหน้า เลี้ยวซ้ายผ่านวัดทรงธรรมวรวิหารไปประมาณ ๕ กิโลเมตร เมื่อพบป้ายบอกทางเข้าตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตร ก็จะถึงสถานีอนามัยบางน้ำผึ้งซึ่งเป็นที่จอดรถ หากใช้รถประจำทางก็มีประจำทางที่ไปพระประแดงเช่น ปอ.๑๓๘ จากหมอชิตผ่านหน้าตลาดนัดจตุจักร สาย ๘๒ และสาย ๖ จากสนามหลวง เมื่อหมดระยะที่ตลาดพระประแดงแล้ว ต่อรถสองแถวสายบางกอบัวหรือมอเตอร์ไซค์รับจ้างตามสะดวก


ตลาดใหม่เอี่ยมแห่งนี้คงต้องรอเวลาอีกกว่า ๙๐ ปี จึงจะมีอายุร้อยปีอย่างตลาดอื่นเขา อย่างไรก็ตาม ตลาดแห่งนี้เกิดขึ้นโดยชุมชนและสนองตอบความต้องการของชุมชนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังผ่านการศึกษาปัญหาของตลาดแห่งอื่นๆ จึงมีมาตรการรองรับปัญหาดังที่เกิดขึ้นในตลาดแห่งอื่น เนื่องจากเกิดขึ้นเร็ว เติบโตเร็ว จึงโรยราเร็ว เพราะไร้การควบคุมและวางแผนที่ดี เหตุเพราะตลาดเก่าแก่หลายต่อหลายแห่งถูกปลุกให้ตื่นขึ้นใหม่โดยหน่วยงานราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการของชุมชน ที่สุดก็ล่มสลายหรือเตลิดเปิดเปิงออกนอกลู่นอกทาง แม้ว่าหลายแห่งจะยังคงอยู่ได้ แต่ก็เน้นการค้าขายทางปริมาณ เต็มไปด้วยสินค้าและบริการที่หาซื้อได้ทั่วไป เช่น จตุจักร โบ๊เบ๊ ปากคลองตลาด เกาะเกร็ด อัมพวา และปาย ซึ่งสินค้าล้วนมาจากแหล่งเดียวกัน มิหนำซ้ำนายทุนยังไปจากส่วนกลาง ไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไร้จิตวิญญาณและตัวตนคนในพื้นที่


ลองแวะไปเยือนตลาดน้ำบางน้ำผึ้งดูสักครั้ง หลายคนอาจจะพบเสน่ห์ของตลาด ผู้คน และสินค้ารูปร่างแปลกตาหลากหลายใต้ร่มมะพร้าว กอจาก โกงกาง กระบูน แสม และลำพู คงมีสักครั้งที่ใครสักคนแอบเผลอใจให้กับมัน

 

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…