Skip to main content

บางท่านอาจเคยรู้มาบ้างแล้วว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทยสยาม แต่บรรดาคนเกือบทั้งหมดในจำนวนนี้อาจจะยังไม่รู้ว่า เชื้อสายไทยสยามของท่านนั้นแท้จริงแล้วคือ มอญ ด้วยสายเลือดข้างมารดานั้นคือ คุณหญิงเนื่อง (คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี) หลานลุงของหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีคนแรก ต้นสกุล นนทนาคร

มาเลเซียแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ รัฐ แต่ละรัฐมีเมืองหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครอง เช่น รัฐยะโฮร์ (เมืองหลวง คือ ยะโฮร์บาห์รู) รัฐกลันตัน (เมืองหลวง คือ โกตาบารู) นอกจากนี้ มาเลเซียยังมีดินแดนสหพันธ์อีก  แห่ง คือ กัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง คือกัวลาลัมเปอร์) และลาบวน (เมืองหลวง คือ วิกตอเรีย) รัฐหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับไทยและเคยเป็นดินแดนในปกครองของไทยมาก่อนก็คือ รัฐไทรบุรี หรือเคดาห์ (เมืองหลวง คือ อลอร์สตาร์) ไทรบุรีเคยอยู่ภายใต้การปกครองของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค และแบ่งการปกครองเป็น ๑๘ มณฑล สมัยนั้นไทรบุรีมีฐานะเป็นมณฑลไทรบุรี แต่ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ไทยต้องเสียอำนาจการปกครองหัวเมืองมลายู ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู ให้กับอังกฤษ เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมืองไทรบุรีปกครองโดยเจ้าเมืองตำแหน่ง เจ้าพระยาไทรบุรี
 ตนกูอะหมัด เมื่อตนกูอะหมัดถึงแก่อสัญกรรม จึงโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งบุตรคนโตคือ ตนกูไซนาระชิด ขึ้นเป็นพระยาไทรบุรี ตนกูไซนาระชิด มีน้องชายคนหนึ่งชื่อ ตนกูฮามิด ท่านผู้นี้ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็น พระเสนีณรงค์ฤทธิ์รายามุดา หลังจากพระยาไทรบุรีไซนาระชิดดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองได้  ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯตั้งพระเสนีณรงค์ฤทธิ์เป็นพระยาไทรบุรีต่อมา โดยมียศเป็น เจ้าพระยาฤทธิสงครามรามภักดี แต่ชาวมลายูนิยมเรียกว่า สุลต่านอับดุล ฮามิด


สุลต่านอับดุล ฮามิด เป็นสุลต่านองค์ที่ ๒๔ ของเมืองไทรบุรี (รัฐเคดาห์) ท่านมีชายาเป็นคนไทยเชื้อสายมอญเมืองนนทบุรี ชื่อ หม่อมเนื่อง หรือมะเจ๊ะเนื่อง (แปลว่า คุณแม่เนื่อง) หรือ ชิค เมนยาราลา ในสำเนียงของชาวมลายู แต่บางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า หม่อม ด้วยเช่นกัน หม่อมเนื่องนับเป็นชายาองค์ที่ ๖ ของสุลต่าน ฮามิด แม้สุลต่านจะมีชายาหลายคนตามธรรมเนียมศาสนาอิสลาม แต่ได้ยกให้หม่อมเนื่องเป็นภรรยาเอก เพราะเป็นภรรยาพระราชทานจากราชสำนักสยามในขณะนั้น

ตนกูอับดุล เราะฮ์มาน (Tunku Abdul Rahman)


ตนกูอับดุล รอฮ์มาน
(Tunku Abdul Rahman) เกิดวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๖ ที่เมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เป็นบุตรชายคนที่ ๔ ในบรรดาบุตรธิดาบิดามารดาเดียวกัน ๘ คน ของสุลต่านอับดุล ฮามิด กับหม่อมเนื่อง ในวัยเด็กท่านเดินทางมาอยู่ในไทยเช่นเดียวกับเจ้านายไทรบุรีคนอื่นๆ โดยเดินทางเข้ามาตั้งแต่อายุได้ ๑๐ ขวบ เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ตามคำชักชวนของพี่ชาย ตนกู ยูซุฟ ซึ่งทำงานอยู่ในกรมตำรวจของไทย ยศร้อยเอก จนเมื่อไทรบุรีตกเป็นของอังกฤษ กอรปกับพี่ชายที่อุปถัมภ์ดูแลเสียชีวิตลง ขณะนั้น ตนกูอับดุล รอฮ์มาน อายุได้ ๑๒ ขวบ (พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๘) ท่านได้เดินทางกลับบ้านเกิดไปเรียนต่อที่ปีนัง และที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ กระทั่งจบปริญญาตรี


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่
  ญี่ปุ่นยึดมลายูได้ รัฐไทรบุรีหลุดจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ มาอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นแทน เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามอังกฤษก็กลับมาเป็นเจ้าอาณานิคมปกครองมลายูเช่นเดิม ช่วงนี้มีพรรคแนวร่วมชาตินิยมมลายูหรือพรรคอัมโนเกิดขึ้น หัวหน้าพรรคคือ ดะโต๊ะออนน์ บิน จาฟาร์ โดยมี ตนกูอับดุล รอฮ์มาน สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป ตนกูอับดุล รอฮ์มาน มีความโดดเด่นมาก จึงได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนดะโต๊ะออนน์ และก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ สหพันธ์มลายา” ที่ขณะนั้นมีเพียง  รัฐ


ต่อมาตนกูอับดุล
 รอฮ์มาน นำเอาสิงคโปร์ บอร์เนียวเหนือ และซาราวัก ซึ่งยังไม่ได้เอกราชมาเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์มลายู และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์มาเลเซีย เมื่อ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๖ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้  ปี ก็ลาออกเพราะขัดแย้งกับนักการเมืองรุ่นใหม่ที่ชื่อ ดร.มหฎีร์ มุฮัมหมัด และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓


คุณหญิงเนื่อง หรือ คุณหญิงฤทธิสงครามรามภักดี หลานสาวหลวงรามัญนนทเขตคดี อดีตนายอำเภอปากเกร็ดคนแรก และมารดาของอดีตนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียคนแรก ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดหลักแหลมและทำธุรกิจร่ำรวยที่สุดในบรรดาชายาของสุลต่านทั้งหมด ยังคงรักษาสายเลือดมอญที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา แม้จะอยู่ในแวดล้อมของเครือญาติข้างสามีและประชาชนชาวมุสลิม แต่ก็ยังมีจิตศรัทธาสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้นึกถึงแผ่นดินเกิดและวัฒนธรรมของบรรพชน วัดที่คุณหญิงเนื่องสร้างขึ้นนี้คือ วัดบาร์กาบาตา (วัดสโมสรราชานุประดิษฐ์ หรือ วัดราชานุประดิษฐ์) ที่ยังคงปรากฏอยู่ ณ เมืองไทรบุรีจวบจนปัจจุบัน


ลูกหลานในสกุล นนทนาคร ยังคงจดจำได้ว่า ตนกูอับดุล รอฮ์มาน เคยเดินทางมาเยี่ยมคารวะหลวงรามัญนนทเขตคดีที่บ้านพักริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับวัดเตย อำเภอปากเกร็ด


การดำเนินนโยบายของ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ที่เจรจาจนให้ให้ชนชาติต่างๆ รวมกันเป็นชาติ ร่วมสร้างประเทศสหพันธ์มลายูด้วยกัน รวมทั้งยังเจรจาให้สุลต่านทั้ง ๙ รัฐ สลับกันขึ้นเป็นประมุขของชาติ อันแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยที่นิยมความรอมชอมและมีบุคลิคการประนีประนอมสูง


สอดคล้องกับข้อเขียนของท่าน ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ (รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างวัดและโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นเพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ ๔ พระราชชนนีผู้มีเชื้อสายมอญของพระองค์) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ที่ส่งบทความมาร่วมตีพิมพ์ตามคำขอเพื่อลงในหนังสือ
ชื่นชุมนุม ที่คณะกรรมการจัดงานได้จัดทำขึ้นเป็นอนุสรณ์ในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสโมสรสถานของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ที่ถนนราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ได้ส่งข้อเขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ และมีผู้แปลเป็นภาษาไทย ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงความประทับใจในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ได้รับการศึกษาในเมืองไทย และมีนัยยะของเนื้อความที่สื่อถึงทิศทางความสัมพันธ์ของสองประเทศนับจากนี้ไป


...ข้าพเจ้าระลึกถึงชีวิตเด็กที่เทพศิรินทร์ด้วยความปีติเป็นอันมาก การศึกษาที่ข้าพเจ้าได้รับจากที่นั่นและชีวิตที่เคยอยู่ในประเทศไทย นับเป็นทุนทรัพย์อันมีค่าอย่างแท้จริง ในการปฏิบัติงานปัจจุบันของข้าพเจ้าในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพราะความรักในชีวิตไทยของข้าพเจ้า ช่วยอำนวยให้เกิดความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้งสองของเรา…”


หาก ตนกูอับดุล รอฮ์มาน ยังมีชีวิตอยู่จนถึงวันนี้ ความหลากหลายในสายเลือดและการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน น่าจะเป็นจุดหลอมรวมสำคัญที่ทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้อยู่ร่วมกันอย่างคนที่เข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกันมากกว่านี้

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…