Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

Carousal
‘Wild horses run unbridled or their spirit dies’ทุกครั้งที่ได้ยินประโยคนี้จากเพลง ฉันจะคิดถึงการ์ตูนอนิเมชั่นของ Dreamwork เรื่อง Spirit : Stallion of the Cimarron หรือในชื่อไทย สปิริต ม้าแสนรู้ มหัศจรรย์ผจญภัยคุณเคยดูการ์ตูนเรื่องนี้ไหมคะ? มันเป็นเรื่องของม้าป่าในทวีปอเมริกา ในยุคที่คนขาวจากยุโรปอพยพย้ายเข้าไปอยู่ได้ระยะหนึ่งแล้ว กำลังทำสงครามต่อสู้ติดพันกับอินเดียนแดง และกำลังสร้างทางรถไฟพาดผ่านแผ่นดินจากตะวันออกสู่ตะวันตก Spirit เป็นม้าป่าไร้ชื่อที่กำเนิดในฝูงม้าที่มีเพียงทุ่งหญ้าและสายลมเป็นเจ้าของ มันเติบโตขึ้นเป็นม้าหนุ่มฉกรรจ์ รับหน้าที่เป็นผู้นำฝูง คอยปกป้องคุ้มครองดูแลพี่น้องของมันเหมือนที่พ่อของมันเคยทำมาก่อน ความคะนองทำให้คืนหนึ่ง เมื่อมันเห็นแสงวาบที่ขอบฟ้า มันก็วิ่งทะยานข้ามทุ่งไปดูว่าต้นกำเนิดแสงนั้นคืออะไร และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของชะตากรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
สวัสดีค่ะ อาทิตย์นี้เป็นอย่างไรกันบ้าง ฝากถึงท่านที่อีเมล์เข้ามาขอรับคำพยากรณ์นะคะ “ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดรับใหม่” นะคะ เนื่องจากยังมีคำทำนายคงค้างจากปีที่แล้วอยู่เลย T-T ต้องขอโทษจริงๆ ค่ะ อย่างไรก็ขออ่านไพ่ให้กับผู้ที่รออยู่ก่อนนะคะ โดยเฉพาะคุณมด, คุณทิม และคุณขนิษฐาค่ะ หรือตกหล่นใครอีก รบกวนแจ้งมานิดนะคะ:-D
ชาน่า
การแสดงความรักและความใคร่ที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวเกย์ ส่วนหนึ่งคงหนีไม่พ้นการร่วมเพศ แต่จะเป็นเพศร่วมแบบไหนคงทายได้ไม่ยากนัก  ซึ่งอันที่จริงแล้วก็เป็นธรรมชาติของเกย์ กะเทยที่ต้องใช้ทวารยังหวานอยู่ภายในร่างกายเพื่อประกอบกามกิจ (อยู่บ้าง)  ซึ่งภาระนี้จะตกอยู่กับฝ่ายรับ จนเกย์คิงหลายคนบอกว่า “ผมไม่ชอบรับ ผมชอบรุก เพราะเป็นฝ่ายรับมันเจ๊บบบบ เจ็บ”  ขออนุญาตทำความเข้าใจกับคนที่ยังอ่อนต่อวิชาเกย์ศาสตร์ ว่า ฝ่ายรับคือ ผู้ให้ (ทวารยังหวานอยู่) ส่วนฝ่ายรุกคือผู้กระทำ
Hit & Run
ตติกานต์ เดชชพงศคงรู้กันหมดแล้วว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีถูกยึด และต่อจากนี้ ทีวีช่องนี้จะไม่มีรายการบันเทิง ‘ไร้แก่นสาร' อีก จะมีก็แต่รายการที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์สังคม มีคุณค่า ประเทืองปัญญากว่ารายการทีวีแบบเดิมๆๆๆๆ ฯลฯ แล้วทีวีช่องนั้นก็ถูกเรียกเสียใหม่ว่า ‘ทีวีสาธารณะ' ในฐานะประชาชนคนหนึ่งซึ่งเติบโตมากับสิ่งที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ‘รสนิยมสาธารณ์' ไม่ว่าจะเป็น ละครน้ำเน่า (ผ่านยุคของ พจมาน สว่างวงศ์, ดาวพระศุกร์ หรือ โสรยา ใน ‘จำเลยรัก' มามากกว่าหนึ่งยุค!) รวมถึงเกมโชว์ที่ ‘ได้รับแรงบันดาลใจ' มาจากต่างประเทศ และการ์ตูนญี่ปุ่นที่เอะอะก็ต่อสู้กัน (แม้แต่การ์ตูนแมวหุ่นยนต์ ‘โดราเอมอน' ที่ไม่มีฉากต่อสู้ ก็ยังอุตส่าห์มีฉากยั่วยุทางเพศอย่าง ‘ฉากอาบน้ำ' จนต้องเซ็นเซอร์เบลอๆ ให้เป็นที่เลื่องลือ) ฯลฯ ต้องสารภาพว่า...สิ่งที่เห็นในทีวีบ้านเราตอนนี้ ไม่ได้แตกต่างหรือพัฒนาจากที่เคยเห็น (หรือเคยเป็น) เมื่อหลายปีก่อนสักกี่มากน้อย เชื่อว่าน่าจะมีประชาชนไทยอีกหลายสิบล้านคนที่เติบโตมาในยุคไล่เลี่ยกัน และมีความรู้สึกทำนองเดียวกันนี้อยู่บ้าง...การตั้งเป้าหมายของทีวีสาธารณะว่าจะผลิตรายการที่มี ‘สาระ' ออกสู่สังคม เพื่อยกระดับทางความคิดความอ่านและให้ความรู้กับผู้เสพสื่ออันทรงอิทธิพลอย่างโทรทัศน์เป็นประจำ จึงเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนับสนุนความบันเทิงที่เราเคยเสพ ผ่านทางละครน้ำเน่า ละครเกาหลี-ญี่ปุ่นสุดรันทด การ์ตูนบ้าพลัง รวมถึงเกมโชว์ที่ระดมกำลังดารานักร้องมาเล่นเกมกระชากเรตติ้ง จึงถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่ ‘นอกกลุ่ม' สาระ อย่างไม่มีทางเลี่ยง โทษฐานที่รายการเหล่านี้ ‘ไม่สร้างสรรค์' ในสายตาของคนที่ (ถูกเรียกว่า) เป็นปัญญาชน แต่คำถามหนึ่งซึ่งซ้อนทับขึ้นมาก็คือว่า รสนิยมสาธารณ์ซึ่งปรากฏอยู่ในทีวีมาเนิ่นนาน กลับกลายเป็น ‘ความสามานย์' ที่ต้องกำจัดให้สิ้นซากไปเสียแล้วหรือ...ถ้าอย่างนั้นหมายความว่า คนที่เติบโตมากับสื่อด้อยคุณภาพซึ่งยึดครองพื้นที่ฟรีทีวีมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีคือคนไม่มีคุณภาพ ไร้สาระ และถูกมอมเมา อย่างนั้นหรือ?อีกคำถามที่น่าสนใจก็คือ บรรดาคนใหญ่คนโตผู้มีอำนาจตัดสินชี้ขาดให้ทีวีช่องหนึ่ง-ซึ่งเคยสร้างความบันเทิงให้กับคนจำนวนมาก-ต้องมากลายเป็น ‘ทีวีในฝัน' ที่พวกเขาอยากจะเห็นนั้น เติบโตมากับทีวียุคไหน? การหล่อหลอมแบบไหนที่ทำให้พวกเขากล้าตัดสินใจ ทั้งๆ ที่ไม่เคยได้ถกเถียงกันอย่างจริงจังเลยว่า ระหว่าง ‘สาระ' และ ‘สาธารณ์' อย่างไหนที่คนดูต้องการมากกว่ากัน? เพราะอะไร พวกเขาถึง ‘ลืมถาม' ความเห็นของพนักงานกว่า 800 คนที่มีชะตากรรมเกี่ยวพันกับสถานีโทรทัศน์ที่กำลังจะเป็นทีวีสาธารณะนั่นด้วย 000สิ่งที่สร้างความบันเทิงให้กับคนส่วนใหญ่ได้ง่ายๆ ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือความรู้ขั้นสูงก็สามารถเข้าถึงได้ทุกคน ถูกมองว่าเป็นสิ่งไร้สาระ มักง่าย ฉาบฉวย ไม่ต่างอะไรกับการกล่าวหาว่า รสนิยมสาธารณ์มีส่วนในการมอมเมาให้คนในสังคมคุ้นชินกับความตื้นเขินและรสชาติสีสันอันฉาบฉวยของลูกกวาดที่หวานหอมแต่ขาดแคลนคุณค่าทางโภชนาการ? แต่ถึงแม้ว่าลูกกวาดจะไม่มีประโยชน์เมื่อเทียบกับอาหารมื้อหลัก ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะทำให้ลูกกวาดหายสาบสูญไปจากการรับรู้ของ ‘ผู้บริโภค' เพราะถึงที่สุดแล้ว ลูกกวาดก็ให้รสชาติที่อาหารจานหลักไม่มีทางให้ได้ถ้ามีทีวีสาธารณะแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพูดถึง การพัฒนาระบบการศึกษา, การเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น หรือการปรับระบบโครงสร้างให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรหรือองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน อย่างนั้นหรือ?คำตอบก็คือ ‘ไม่ใช่' เพราะปัจจัยที่จะสร้างคุณภาพให้กับคนในประเทศ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ทีวีสาธารณะเท่านั้น ส่วนความคลุมเครือประการอื่นๆ ที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชนกันอีกยาว ก็คงจะเป็นเรื่องของงบประมาณจำนวนมากมาย ปีละ 2 พันล้านบาท คิดกันหรือยังว่าจะจัดการกับมันอย่างไร? และจะมีกลไกการตรวจสอบขั้นตอนบริหารจัดการสถานีแบบไหน? โปร่งใสหรือเปล่า?ประเด็นคำถามเหล่านี้ ถือเป็นแรงเสียดทานอย่างหนึ่ง ซึ่ง (อาจ) ทำให้ทีวีสาธารณะคืบหน้าไปได้ช้ากว่าที่คิด ลำพังแค่การเอาชนะใจสาธารณชนในขั้นแรกก็ทำไม่ได้เสียแล้ว...ต่อให้จุดหมายปลายทางทีวีสาธารณะสวยหรูอย่างไรก็ตาม จะมีคนยอมเดินไปด้วยจนตลอดรอดฝั่งล่ะหรือ?000คำว่า ‘สาธารณ์' ปรากฏในงานเขียนเรื่อง The Unbearable Lightness of Being ของ ‘มิลาน คุนเดอรา' ซึ่งถูกแปลออกมาเป็นภาษาสวยงามโดย ภัควดี วีระภาสพงษ์ ส่วนรากศัพท์ในภาษาเยอรมันคือคำว่า Kitsch และได้รับการอธิบายว่าเป็น ‘ความดาษดื่น' ‘การเลียนแบบ' หรือ ‘การเสแสร้งว่ามีรสนิยมต่ำ' (ในกรณีที่พูดถึงงานศิลปะ) หรือแม้กระทั่งการถูกเรียกว่า ‘ความตื้นเขินทางอารมณ์' แต่ถึงที่สุดแล้ว คนที่มีจิตใจฝักใฝ่รสนิยมสาธารณ์ก็มีความสุขดีี่ ในการที่ได้ซึมซับและชื่นชมสิ่งต่างๆ ซึ่งถูกจัดประเภทว่าเป็น Kitsch เหล่านั้น...
new media watch
สถานการณ์ความรุนแรงที่ตกเป็นข่าวรายวันตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทำให้ภาพลักษณ์ความเป็น ‘ที่เกิดเหตุ' ของจังหวัดชายแดนใต้แจ่มชัดในความรู้สึกของคนไทยภาคอื่นๆ จนไม่มีใครคิดจะเดินทางไปเยือนพื้นที่สีแดงที่อยู่ปลายด้ามขวาน แต่ถ้ามองจากมุมของคนในพื้นที่ ทั้ง ‘ความรู้สึก' และ ‘การมีส่วนร่วม' ย่อมจะแตกต่างออกไปจากมุมของคนที่มองจากที่ไกลๆ  Deep South Watch คือพื้นที่แห่งหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งขับเคลื่อนโดยนักข่าวหลายค่ายหลายสำนักที่เคยรวมตัวกันทำงานในยุคบุกเบิกของสถาบันข่าวอิศรา (สถาบันนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) ซึ่งลงไปฝังตัวอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นเวลานาน ปัจจุบัน นักข่าวกลุ่มนี้มีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อรายงานความเป็นไปและข้อเท็จจริงของจังหวัดชายแดนใต้ และได้แตกหน่อมาทำงานในฐานะองค์กรสื่ออีกแห่งหนึ่ง โดยร่วมมือกับ นักวิชาการ และบุคลากรในแวดวงต่างๆ ที่ในพื้นที่ ภายใต้สโลแกน ‘เรียนรู้และเข้าใจชายแดนใต้' ที่นี่ไม่ได้มีแค่รายงานเหตุร้ายรายวัน เพราะเน้นหนักที่การเปิดมุมมองของคนในพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ ‘คนนอก' ได้รับรู้รับฟังและทำความเข้าใจ ที่สำคัญคือมีหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กและข้อมูลการวิเคราะห์วิจัยของนักวิชาการในจังหวัดชายแดนใต้ เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีในรูปแบบ pdf.ด้วย!
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (หลายเพลงของ Nirvana ฟังแล้วติดหูมาก ผมยอมรับตรงนี้เหมือนกัน) เพียงแต่การนำคุณสมบัติบางอย่างที่เหมือนกันมาตัดสินว่าดนตรีร็อค ไม่ว่าจะในยุค 60's, 90's หรือยุคปัจจุบัน ล้วนเป็น Popular music ที่ผลิตอะไรซ้ำๆ เหมือนๆ กันไปหมด มันก็ฟังดูทุเรศทุรังไม่น้อยดนตรีพวก Classical music เองก็หยิบยืมอะไรจากกันและกันมาเหมือนกันไม่ใช่หรือ แม้ผมไม่อาจจะชี้ชัดในรายละเอียดแบบลึกๆ ลงไปได้ แต่ขอบอกด้วยสามัญสำนึกของคนธรรมดาทั่วไปก็ได้ว่า สำหรับคนที่เคยฟัง Popular music มาตั้งแต่เกิด (ไม่ต้องไปหาที่ไหน คนที่เราเดินเฉียด เดินสวนกัน 98 ใน 100 ล้วนเป็นผู้ที่ฟัง Popular Music มาตั้งแต่เกิดทั้งสิ้น) จะแยกไม่ออกว่าเพลงคลาสสิคเพลงนึงเป็นของยุค Baroque (ค.ศ.1600-1750) หรือยุค Renaissance (ค.ศ.1450-1600) ก็เป็นเรื่องธรรมดามาก ฉันใดก็ฉันนั้น คนที่ไม่ได้ฟังดนตรี Rock อย่างจริงจังจะเห็นว่า Nirvana กับ Linkin Park มันก็เหมือนๆ กันก็ไม่แปลกพวกที่เอาแนวคิดของ Adorno มาจับ Popular music ของยุค 70's เป็นต้นไปนั้น ก็มักจะมองด้วยกรอบที่ตีมาแล้วว่า "ขึ้นชื่อว่าเป็น Popular music มันต้องเหมือนกันแน่ๆ" โดยไม่เคยได้สนใจบริบททางวัฒนธรรมที่ประกอบสร้างดนตรีแนวย่อยๆ ทั้งหลายขึ้นมาเลย พวกเขาจะรู้หรือเปล่าว่าเหตุใดวัยรุ่นชนชั้นล่างในอังกฤษถึงลุกขึ้นมาเล่นเพลงง่ายๆ แต่งตัวแสบๆ จนกลายเป็นแนวพังค์ พวกเขาจะรู้หรือเปล่าว่าทำไมถึงชอบมีคนโยงดนตรี grunge (ดนตรีร็อคแบบของ Nirvana, Pearl Jam ฯลฯ ) เข้ากับ Generation X พวกเขาจะรู้หรือเปล่าว่าทำไมทั้ง Damon Albarn (ตอนนั้นเป็นนักร้องนำวง Blur) และ Noel Gallagher (แห่ง Oasis) ต่างพร้อมใจพากันออกมาด่าพวก grunge ถ้าไม่ทางตรงก็แอบสอดลงไปในเนื้อเพลงแน่นอน...ไม่ว่าพวกเขาจะปฏิเสธเรื่องความเป็น Elite ในแนวคิดของ Adorno มากขนาดไหน แต่การละทิ้ง ไม่ยอมลงมาศึกษาสิ่งที่พวกเขาเอาแต่วิพากษ์วิจารณ์อยู่บนหอคอย มันก็โชยกลิ่น Elite มาให้เหม็นหืนอย่างช่วยไม่ได้สิ่งที่ Adorno เชิดชูเป็นอย่างมากอีกอย่างหนึ่งในดนตรีคือ Atonality ซึ่งพูดง่ายๆ คือดนตรีที่ไม่มีฐานตัวโน๊ตและบันไดเสียงหลัก บ้างก็เรียก Twelve-tone คือ บันไดเสียง 12 เสียง และทั้ง 12 เสียงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เวลาบรรเลงจึงทำให้เกิดซาวน์ดนตรีที่มีลักษณะขัดหู หัวเรือใหญ่ของดนตรีแนวนี้คือนักประพันธ์ที่ชื่อ Arnold Schoenberg และอีกคนที่ผมพอจะเคยฟังบ้างคือ Bela Bartok ซึ่ง Adorno รวมถึงผู้ที่เชื่อใน Adorno บางคน ได้เชิดชูดนตรีที่มีลักษณะนี้ไว้ว่าเป็นดนตรีที่ช่วยปลดปล่อย (Liberate) ออกจากแบบแผนการวางตัวโน๊ตแบบเดิมๆ ซึ่งหมายความว่า มันคือดนตรีที่เต็มไปด้วยเสรีภาพ และจิตวิญญาณอิสระ ไม่ได้ทำการล้างสมองใครด้วยสรรพสำเนียงซ้ำซากผมขอขยายความก่อนหน้าที่จะพูดถึงนิทานกล่อมเด็กอันแสนยิ่งใหญ่ของ Adorno เขาได้เขียนถึง Popular Music ไว้ว่า มันเต็มไปด้วยการเรียบเรียงแบบซ้ำๆ (Repetitive) และทำให้คนฟังติดอยู่กับการฟังตัวโน้ต- คอร์ด-จังหวะหรืออะไรก็ตามแบบซ้ำๆ ตรงนี้ไม่ต่างจากการบริโภคผลผลิตที่ซ้ำซากจากโรงงานอุตสาหกรรม และข้อความที่แฝงมาในเนื้อหาของเพลงประเภทนี้ก็เป็นการบีบให้ผู้ฟังได้แต่รับสารโดยไม่ต้องตีความ เนื่องจากทำนองเพลงอันมีลักษณะตายตัวช่วยทำให้ผู้ฟังเคลิ้มไปกับมันจนไม่ต้องได้ตีความใดๆ - นี่คือสิ่งที่ผมเรียบเรียงได้จากความพยายามใช้โวหารรำพึงรำพันของ Adorno เพื่อดิสเครดิตดนตรีป็อบ   Bela Bartokผมได้บอกไว้ในคราวที่แล้วว่า Adorno ดันตายไปก่อนในปี 1969 การที่ผู้ศึกษา Adorno เอาแนวคิดเขามาพูดถึงดนตรีหลังยุค 70's จึงชวนให้ต้องชั่งใจเสียเล็กน้อย มีดนตรีอยู่แขนงหนึ่งที่ค่อยๆ เฟื่องฟูขึ้นมาในช่วงต้น 70's มันคือดนตรีที่เรียกว่า Progressive Rock ผมไม่เข้าใจว่า ทำไม Adorno ถึงคิดว่าผู้บริโภคดนตรีทั้งหลาย มันจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "ความเบื่อหน่าย" เอาเสียเลย จากดนตรีพวก Folk-rock , Blues-rock , Psychedelic ในช่วงก่อนหน้า ทำให้มีศิลปินบางกลุ่มเริ่มอยากจะหลุดจากพื้นที่ตรงนั้น และก้าวเดินต่อไปเพื่อปลูกสร้างสิ่งใหม่โดยอาจจะทั้งหยิบยืมและต่อต้านสิ่งเดิม พลวัตทางศิลปะวัฒนธรรมมันมีตรงนี้อยู่ทั้งสิ้นโดยเริ่มต้นแล้วดนตรี Progressive Rock มีส่วนหนึ่งของความทะเยอทยาน ในการที่จะทำให้ดนตรี Rock เทียบชั้นได้กับพวก (ที่เขาเรียกกันว่า) Art Music อย่างดนตรี Classic หรือดนตรี Jazz บางสายที่เต็มไปด้วยความแพรวพราว คุณสมบัติของดนตรีดังกล่าวจึงถูกผสมผสานลงไปในดนตรี Rock สมัยนั้นได้อย่างกลมกลืน จนทำให้เกิดวงอย่าง Yes, Genesis, King Crimson หรือบ้างก็พัฒนามาทางสาย Psychedelic อย่าง Pink Floyd ฯลฯฟังดูแล้วเหมือนดนตรี Progressive จะเป็นเพลงของคนหัวสูง ต้องปีนกระไดฟัง (ข้อหาเดียวกับดนตรีคลาสสิก) แต่เท่าที่ผมพบเจอมา คนฟังแนวนี้ก็เป็นคนฟังเพลงธรรมดา ฟังป็อบ ฟังร็อค อะไรทั่วไป เพียงแต่อาจจะมีจำนวนน้อยหน่อย บางคนเคยฟัง Classic บางคนก็มาจากสาย Jazz บางคน (ส่วนใหญ่) ซึ่งรวมผมด้วยเป็นพวก Rock เพียวๆ มาก่อน บางคนเคยเป็น Metalhead ดุๆ แต่เบื่อหน่ายการพยายามจะแข่งกัน "โหด" อย่างเดียวเลยหันมาหาอะไรวิจิตรๆ เสียบ้างผมอยากรู้ว่า Adorno จะอธิบายปรากฏการณ์ตรงนี้ว่าอย่างไร?และคนฟัง Prog (ชื่อเรียกย่อของ Progressive Rock) ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ปิดกั้นตัวเองเลย พวกเขายังคงฟัง Pop Rock ฟัง Jazz ฟังอะไรที่ตัวเองเคยฟังมาก่อนโดยไม่จำเป็นต้องสมาทานตัวเองแบบคนฟังดนตรี Classic บางคนที่ถึงขั้นไม่อยากแตะแนวอื่น หรือคนฟัง Extreme Metal บางคนที่คอยแต่จะด่าเหยียดดนตรีแขนงอื่นนั่นอาจจะเป็นเพราะ Progressive Rock เป็นแนวดนตรีที่ไม่มีรูปแบบการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม พวกเขาคิดว่าดนตรีก็คือดนตรี ก็คือศิลปะ ขณะเดียวกันก็เป็นความบันเทิง คอนเสิร์ตสำหรับพวกเขามันก็คือโชว์อย่างหนึ่ง ซึ่งบางทีก็มีการประดิษฐ์ประดอยเวทีจนราวกับฉากโรงละคร ไม่ได้เป็นพิธีกรรมอะไรมากกว่านั้นAdorno จะอธิบายว่าอย่างไร เมื่อได้รู้ว่าคนฟังดนตรี Pop ที่เขาเคยด่า ไม่ได้กลายเป็นทาสอุตสาหกรรมวัฒนธรรมอย่างที่เขาพูดถึง?และยิ่งกว่านั้น Adorno จะอธิบายอย่างไร หากเขามีโอกาสได้มาฟังเพลงบางเพลงของ King Crimson แล้วพบว่ามันเป็น Atonal music ที่เขาชื่นชมนักชื่นชมนักหนา... ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรนัก เพราะนักวิจารณ์เองยังบอกเลยว่าวงนี้ได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจาก Bela Bartok นั่นแหละ!!King Crimson(ไม่ใช่ Line-up ในปัจจุบันแน่นอนเพราะวงนี้เปลี่ยนสมาชิกบ่อยมาก)ก่อนที่ผมจะโดนข้อหา Romantized ดนตรี Prog (ฮิๆ) ผมก็ขอออกมาบอกว่า ไอ่ดนตรีที่ไม่มีฐานตัวโน้ตแน่นอน ไม่ได้มีแต่ใน Progressive หรือ Avant-garde (ดนตรีแนวทดลอง) เท่านั้น แม้แต่ในพวก Noise rock, Brutal, Grindcore หรืออะไรอีกหลายๆ แนวที่ผมอาจจะตกสำรวจไป มี Atonality นี้อยู่เต็มไปหมดหากทุกท่านจำได้จากตอนที่แล้ว Adorno ได้บอกไว้ว่าดนตรี Popular Music นั้น มันได้สร้างแต่มวลชนที่เฉื่อยชา ไม่สนใจสังคม ไม่คิดจะลุกขึ้นมาปลดปล่อยตัวเองหรืออะไรอื่นผมอยากรู้ว่า Adorno จะอธิบายอย่างไรเมื่อได้เห็นวัยรุ่นมีการศึกษาจำนวนหนึ่ง เริ่มลุกขึ้นมาท้าทายค่านิยมเก่า เดินขบวนต่อต้านสงคราม เอาดอกไม้ทัดหูเป็นบุปผาชน พวกนี้ "เลือก" ใช้ Folk-Rock, Pop-Rock เป็นพื้นที่ประท้วง เป็นสาส์นของความรักและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็ "เลือก" Psychedelic เป็นพาหนะเพื่อการปลดปล่อยตัวเองเขาจะอธิบายอย่างไรเมื่อรู้ว่าพวกพังค์ดั้งเดิมชวนกันทำอะไรห่ามๆ ท้าทายอำนาจรัฐกันอย่างกระจัดกระจาย เขาจะอธิบายอย่างไรเมื่อได้ยินว่าชาว Black Metal ผู้อยู่ในประเทศที่ถูกกดขี่ทางศาสนามาก่อนพากันออกไปเผาโบสท์ทั้งหมดนี้ หากเป็นพวกที่มัวเชิดชูแต่ดนตรีคลาสสิค ไม่ได้เป็นผู้ที่มาศึกษารับรู้เรื่องดนตรีป็อบจริงๆ คงเอาแต่มองว่า "พวกนี้มันหัวรุนแรง" บ้างล่ะ "ถูกดนตรีครอบงำ" บ้างล่ะ โดยไม่สนใจศึกษาเลยว่ามันมีบริบทแวดล้อมทางสังคมอยู่ด้วย แล้วอย่าทำเป็นลืมไปว่า เพลงคลาสสิคบางเพลงมันก็กลายเป็นเพลงเชิดชูสงครามและเผด็จการทหารมาเหมือนกันแล้วผมก็ไม่รู้ว่าทำไม Adorno ถึงโยงเรื่องความเป็น Atonality กับการปลดแอก หรือการหลุดพ้น ไปได้เพราะไม่ว่าจะเป็น Hippies, Proghead, Metalhead, Punk, Grunger, Hardcore, Nu Metal, Emo ฯลฯพวกนี้เขาก็ล้วนพยายามจะ "หลุดพ้น" ไปจากอะไรบางอย่างทั้งนั้นเพียงแต่ไอ่อะไร ‘บางอย่าง' นั่นมันต่างกันเท่านั้นเอง -------------เนื่องจาก Blogazine ใส่เพลงไม่ได้ ผมจึงขอทำลิ้งค์คลิป youtube มาให้ดูและฟังแทนคลิปเพลงของวง King Crimson ที่ผมอยากแนะนำให้ฟังhttp://www.youtube.com/watch?v=DJQHOFJs6mwอันนี้ของ Bela Bartok ครับhttp://www.youtube.com/watch?v=A1PK3lkIAI4   
การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
สำหรับแฟนๆ บล็อก "แม่นไหมไม่ทราบ" ของ การะเกต์ ขอให้อดใจรออีกนิด คาดว่าค่ำคืนวันพรุ่งนี้ (คืนวันเสาร์) ข้อมูลน่าจะเรียบร้อย และเอามาลงให้อ่านกันได้
เมธัส บัวชุม
การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในปัจจุบัน ทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะนึกถึงนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเด็ดขาด และได้ผลของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสิทธิมนุษยชน แต่ข้อดีอันเป็นรูปธรรมที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือยาเสพติดได้ลดหายไปจากสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน-นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้ผม “คิดถึง” อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร การเอาจริงเอาจังกับปัญหายาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายเดือดร้อนถูกจับกันถ้วนหน้าทั้งที่ก่อนหน้านี้ซื้อและขายอย่างสะดวกสบายโดยที่รัฐบาลไม่มีปัญญาจะจัดการได้ ผู้ขายยาเสพติดรายใหญ่คนหนึ่งบอกว่า เขาสามารถซื้อตำรวจได้ทั้งจังหวัด และไม่คิดว่านโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร นั้นจะทำอะไรเขาได้เพราะรัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่าก็ดีแต่พูดว่าจะแก้ไขปัญหายาเสพติดแต่ไม่เคยทำได้จริงสักที อย่างไรก็ตามไม่กี่วันหลังจากนั้นเขาก็ถูกจับโดยตำรวจที่เขาเคยซื้อและคิดว่ายังซื้อต่อไปได้ปัญหายาเสพติดนั้นเป็นปัญหาที่ผมให้ความสำคัญในระดับต้น ๆ สำหรับปัญหาของเยาวชน เพราะเยาวชนที่หลงเข้าไปบนทางเส้นนี้แล้ว โอกาสที่จะเสียคน เสียเวลา เสียอนาคตนั้นมีอยู่ไม่น้อย  ผมไม่ใช่คนแก่ (และยังไม่แก่) ที่ชอบพร่ำบ่นถึงการทำตัวเหลวไหลของเด็ก ๆ เพราะผมเองก็เคยทำอะไรที่เหลวไหลไว้มากเหมือนกันในอดีต
ภู เชียงดาว
อยู่ดีๆ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งส่งเรียงความ เรื่องวันเด็ก ของ ด.ช.ภูภู่ มาให้ แถมยังย้ำบอกอีกว่าต้องอ่าน อืมม...ใช่ พออ่านแล้วฮาเลยนะครับ ผมว่าอารมณ์ขัน แสบ มัน ฮา อย่างนี้ น่าจะเขียนส่ง ต่วยตูน นะเนี่ยไม่รู้ว่าใครได้อ่านกันหรือยัง ขออนุญาตนำมาแปะให้อ่านกันตรงนี้แล้วกันครับ...ขอย้ำ- -โปรดเขย่าอารมณ์ขันก่อนอ่าน...
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน ต้องเดินทางไปทำงาน หรือไปในที่ๆ เราไม่รู้จัก ฉันมักกังวลเสมอ แม้ว่าจะใช้การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ ถึงอย่างไรเขาก็ต้องพาผู้โดยสารทั้งหมดไปส่งที่จุดหมายปลายทางของแต่ละคน ฉันเห็นตัวเองเมื่อฉันไม่รู้จักสถานที่นั้น ซึ่งจริงๆ อาจต้องใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงกว่าจะเดินทางถึง ทั้งๆ ที่ไปกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ ฉันก็ยังกังวลใจกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึงคือจุดหมายปลายทาง ฉันรู้สึกว่าฉันไม่สามารถควบคุมมันได้ ฉันไม่สามารถวางแผนแล้วเป็นไปอย่างที่ฉันวางไว้ได้ สิ่งใดก็เกิดขึ้นอยู่เสมอ ข้อธรรมที่ฟังมาตั้งแต่เด็กจนปัจจุบันก็ไม่ช่วยได้ หากฉันหรือเธอไม่เริ่มปฏิบัติ ด้วยการเริ่มวางมัน เมื่อฉันเห็นตัวเองดังนั้นแล้ว การเดินทางอีกครั้งของฉันบนรถโดยสารเช่นเดิม กับเพื่อนกลุ่มเดิม แต่ในสถานที่ใหม่จึงเริ่มขึ้นฉันเริ่มดูตัวเอง...อืม...ฉันยังกังวลอยู่ แล้วฉันก็เริ่มมามองดูที่ลมหายใจของตัวเองว่ากำลังหายใจเข้า หรือ หายใจออก สักพักฉันก็มาชื่นชมกับต้นไม้ข้างถนน รถ ผู้คนที่เดินไปมา บางที่ๆ ผ่านแทบจะไม่มีคนเลย บางที่ก็เป็นตลาด เออ...หนอ พอเราอยู่กับปัจจุบันแล้ว ความสุขใจ มันช่างหาง่ายจริงๆ ความกังวลใจที่เคยมีมันมลายหายไปตอนไหน...ไม่รู้ เท่าที่ฉันสัมผัส คนอย่างเราๆ มักวางกายไว้ที่หนึ่ง...ที่นี่ ใจลอยไปอยู่กับอนาคต...สิ่งที่มาไม่ถึง ลึกๆ แล้วมันคือความกลัว ที่การศึกษาและชีวิตสมัยใหม่จับมันใส่สมองส่วนคิดเรามาตลอดว่า คนต้องหา ความมั่นคง ...บางครั้งอดคิดไม่ได้ว่าความมั่นคงมันคืออะไร แปลว่า ความสุขหรือเปล่า อนาคตจะเป็นอย่างไร หลายคนวางแผนเป็นอย่างดี ดังเช่น งาน การนัดหมายงาน มีแผนปี แผน 2 ปี แต่เมื่อเหตุการณ์มาถึง แผนทั้งหลายกลับพลิก ฝนอาจจะตกอย่างแรง น้ำท่วมทำให้เดินทางหรือไปทำงานได้ทันตามที่วางแผนไว้ เหตุการณ์ที่ร้ายแรงก็อาจจะมีคนที่เรารักสูญเสียชีวิต เจ็บ หรือป่วย สิ่งเหล่านี้ ทำให้เราต้องล้มเลิกแผนที่วางไว้ ไม่ว่านานแค่ไหนก็ตาม อันเนื่องจากการที่เราเห็นคุณค่าของชีวิต ความสุข มากไปกว่า "ความมั่นคง" เงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือสิ่งตอบแทนใดๆ  หลายเสียงคงบอกว่าอยู่ที่เงิน ถ้าเรามีเงินมากๆ จะทำให้เรามั่นคงได้ สิ่งนั้นเป็นความจริงหรือเป็นจริงหรือไม่ ฉันไม่อาจรู้และไม่อาจตอบแทนใครได้ ฉันรู้เพียงว่า หากวันนี้ฉันมีเงินมากๆ ฉันต้องรับผิดชอบมากขึ้น ต้องทำงานมากขึ้น ร่างกายของฉันคงรับกับโรค ความเจ็บป่วยไม่ไหว จิตใจก็คงเครียด ....ฉันคงป่วยจิตและป่วยกายไปพร้อมๆ กัน ขณะที่คนทำงานเพื่อสังคม แรกเข้ามาต่างมาด้วยความพยายามที่จะเปลี่ยนสังคม อย่างพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน การเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเกิดกับสิ่งใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบและย้อนกลับมาที่ตัวเรา ทั้งในสิ่งดีและสิ่งที่ไม่ดี แม้ว่าเราจะมีอุดมการณ์เพื่อช่วยชาวบ้าน ช่วยเด็ก ช่วยคนทุกข์ อย่างยากลำบาก ลงมือทำทั้งแรงกายแรงใจ โดยไม่สนใจว่าตนเองจะเจ็บป่วยหรือทุกข์เพียงใด ขอให้คนทุกข์ยากเหล่านี้ได้มีชีวิตที่ดี คนเหล่านี้เขาขอให้เราทำหรือ? ไม่? ถ้าเขาขอ เราทำแล้วมีความสุข ก็อย่าลืมดูแลจิตใจตนเอง ... เราไม่รู้ว่า วันนี้เราดีสำหรับคนอื่น แต่เราไม่เห็นดีในตัวเอง ถ้าเขาไม่ขอ เราทำ...เราคาดหวังให้เขาขอบคุณเราหรือ...เพื่อชื่อเสียงที่จะอยู่กับเราไปจนตายหรือ แล้วเรามีตรงไหนที่เรารักและดูแลตัวเอง อย่างไม่เบียดเบียนต่อสรรพสิ่ง หากคำตอบออกมาว่าเรามีความสุขจากที่ชาวบ้านขอบคุณเรามากมาย เราเองอาจไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย...นอกจากคนอื่นที่รู้จักชื่อและหน้าตาของเรา...เท่านั้น เมื่อความทุกข์และความเจ็บป่วยมาเยือน หลายคนที่ทำงานเพื่อคนอื่น ทำงานเพื่อสังคม มักย้อนถามตัวเองว่า เราทุ่มเทมานาน เราทำไปเพื่ออะไร ทำไมเราไม่ได้สิ่งตอบแทน การเดินทางเข้าวัดป่าสุคะโต อาจเป็นจุดเริ่มต้อนของพันธกุมภา...ในฐานะเพื่อน ฉันได้แต่เอาใจช่วยว่า เมื่อไปถึงแล้วเธอจะได้เรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้น เรื่องง่ายๆ ที่ทำยากสำหรับคนสมัยนี้...ให้กายกับจิตอยู่ด้วยกัน ...อยู่กับปัจจุบัน... เมื่อทำงาน เราเองก็เหมือนกับคนทั่วไป ยังต้องดูแลตนเองด้วยการ ดูแลกาย ดูแลจิต ความห่วงใยที่มีต่อคนใฝ่ปฏิบัติธรรมก็เป็นแบบหนึ่ง คนที่มีอุดมการณ์ทำงานเพื่อสังคมก็เป็นแบบหนึ่ง อย่าท้อใจ...ที่จะเริ่มต้น เริ่ม...จากการมองเห็นตัวเอง เห็นจิตของตนเอง
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  2 - 3 วันมานี้มีโอกาสอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ หลายต่อหลายชิ้น ที่เห็นพ้องกันว่า... สุดท้าย..พรรคแกนนำก็คงเป็น "พลังประชาชน"โดยมีพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก เข้าร่วมด้วยทั้งหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นพรรคการเมืองอีกฟาก... คอลัมนิสต์บางรายเชื่อว่านี่เป็นผลมาจาก "คณิตศาสตร์การเมือง" เกี่ยวกับจำนวน ส.ส.และความน่าจะเป็น ของชัยชนะจากการเลือกตั้ง และเลือกตั้งซ่อมตลอดจนสัดส่วน ของการแบ่งสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่พรรคพลังประชาชนสามารถตอบสนองได้ดีกว่าประชาธิปัตย์ แถมยังน่าจะมั่นคงกว่าเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลผสม... บางคนบอกว่านี่เป็น "ธรรมชาติ" ของ "การเมืองไทยๆ"ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับผลประโยชน์ และอำนาจ ของผู้เกี่ยวข้องเป็นด้านหลักแทนที่จะเชื่อมโยงไปถึงผลประโยชน์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือประชาชน และสังคมโดยรวม... ดูเหมือนทุกอย่างจะสามารถอธิบายได้ขอเพียงเราละวางมโนธรรมสำนึก และจริยธรรมทางการเมืองตลอดจนหัวใจและเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยไปเสีย ไม่ต้องคิดไปถึง "ธรรมาธิปไตย" ดอกนั่นมันเกินระดับสติปัญญาของใครต่อใคร ที่เป็น "นักเลือกตั้ง" มากเกินไป และขณะเดียวกัน พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้หมายถึงใครดีใครเลว ในระดับพรรค หรือกลุ่มการเมืองเพียงแต่ภาพที่ปรากฏมันแสดงออกว่าไม่อายและไร้สัจจะ อย่างที่กล่าวไว้เมื่อหาเสียง เพียงชั่วระยะไม่กี่วันเท่านั้นเอง... ถึงจุดนี้ "ข่าวการเมือง" ดูจะเป็นเรื่องผะอืดผะอมไปอย่างสิ้นเชิงและ "นักการเมือง" กลับกลายเป็นจำอวด หรือปาหี่ราคาถูกไปตามๆ กัน ดีไม่ดี ก็ยิ่งแย่กว่าก่อนนี้เสียอีก... ชาวบ้านบางคนถึงกับกล่าวว่า...ยังไม่ทันไร ฝนก็ตกชะขี้หมูไหล ให้ใครต่อใครมารวมกันเสียแล้วชนิดแทบจะหน้าไม่อายกันเอาเลย... ข่าวคุณเสนาะ คุณบรรหาร คุณสุวัจน์คุณสุรเกียรติ์ คุณสมศักดิ์ และใครต่อใคร หันไปซุกชนิดรวมมุ้งเพื่อหวังพึ่ง "ศักยภาพ" ของคุณทักษิณทั้งด้าน "โอกาส" และ "กำไร"บ่งบอกสภาพการณ์ทางการเมือง ชนิดไม่ต้องกล่าวคำใดๆ อีก เช่นเดียวกับ "ข้าราชการ" ที่เริ่มชะเง้อชะแง้เหลียวแลเบิ่งหา ว่าใครจะสวมหัวโขนมาเป็นนายอย่างน้อยก็จะได้ดักทางถูก หรือจัดแถวของตนเองกับเพื่อนๆให้สอดคล้องกับ "นาย" ที่กำลังจะมาอยู่รำไร... แน่ล่ะ...คำและนิยามของ "คุณธรรม" - "จริยธรรม"ทั้งทางรัฐกิจและการเมือง คงเลือนๆ ไป และอาจจะถูกกล่าวถึงอีกครั้ง เมื่อเราจะไล่ใครออกไปสักคนหรือจะมีการเลือกตั้ง และมีการหาเสียงในแต่ละท้องถิ่น เช่นเดียวกับ"ความจงรักภักดี" และ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ที่ดูจะเป็นเครื่องมือ ซึ่งหน้าตาท่าทางละม้ายกันเหลือเกินขึ้นอยู่กับว่าในที่สุด ใครจะใช้ และใช้กับใคร...เท่านั้นเอง ฝ่ายวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า...นักการเมืองที่เอ่ยชื่อมาข้างต้นอายุค่อนข้างมากและดูท่าว่าหลายคนก็รู้ดีว่ายามชราภาพ ตนเองคงไร้พื้นที่ ที่จะพักพิงอิงอาศัยในฐานะรัฐบุรุษ(รัฐบุรุษโดยนิยาม หาใช่โดยการแต่งตั้งไม่)จึงพากันกระโดดขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย อย่างไม่กลัวเกรงสิ่งใดอีก ชนิดใครจะติเตียนหรือจะตำหนิ แล้วด่าซ้ำ อย่างสาดเสียเทเสียก็ยังยอมขอเพียงได้ร่วมรัฐบาลเป็นพอ... นี่ก็เป็นตลกร้ายที่ออกจะน่าขมขื่นไม่น้อย .............................................. อีกไม่นาน...พวกเราก็จะมีตำนานหน้าใหม่เช่นเดียวกันกับบันทึกของประวัติศาสตร์ที่จำหลักเรื่องราวร้อยแปดไว้รอใครสักคน(หรือหลายคน)มาค้นพบ และยอมรับฟัง เพียงเพื่อเราจะมั่งคงและมั่นใจขึ้น ในการไม่เดินซ้ำรอยเดิม ............................................... ตลาดความดีงามวายเสียแล้วเช่นเดียวกับตลาดของสัจจะ หลักการและความถูกต้อง... กล่าวอย่างถึงที่สุดผู้ใช้สิทธิ์ และผู้สมัครรับเลือกตั้งตลอดจนรัฐบาล กกต. และพรรคการเมืองช่วยกันเล่นอะไรอยู่? ประชาชนได้อะไรจากการเลือกตั้งประชาชนได้อะไร จากระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนและกฏหมายแม่บทอย่างรัฐธรรมนูญ...ยังเป็นคำถามที่รอคำตอบอยู่เช่นเคย... และตอบยากยิ่งขึ้นทุกที ว่าเราจะมีรัฐบาลใหม่ไปทำไม?จะปฏิรูปการเมืองไปทำไม? ... ... ... 
นาโก๊ะลี
เรื่องเล่าจีนแต่โบราณเรื่องหนึ่ง  เล่ากันมาว่า  ผู้เฒ่าเซียนหมากล้อมขณะกำลังนั่งเดินหมาก เด็กหนุ่มที่เดินหมากอยู่ด้วยถามขึ้นว่า ผู้เฒ่าท่านรอบรู้ทุกเรื่องหรือเปล่า  ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  ท่านรู้เรื่องการปกครองหรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  รู้เรื่องกฎหมายหรือเปล่า  ผู้เฒ่าบอกไม่รู้ รู้เรื่องดาราศาสตร์หรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  รู้เรื่องศิลปะศาสตร์หรือเปล่า ผู้เฒ่าบอกไม่รู้  แล้วท่านรู้เรื่องอะไรบ้าง ผู้เฒ่าบอก รู้เรื่องเดินหมาก  เราไม่รู้อะไรนอกจากเรื่องเดินหมาก  มนุษย์ควรมีสิ่งที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง จนแตกฉาน  หากรู้ทุกเรื่อง อย่างละนิดอย่างละหน่อยแล้วก็จะไม่แตกฉานสักเรื่อง  ในที่สุดก็กลายเป็นคนตื้นเขิน.....นั่นอาจเป็นอุปมาอุปมัยเรื่องเล่าปรัมปรา ประวัติศาสตร์ เล่าชวนหัว นิทาน อะไรทั้งหลายเหล่านี้ที่ส่งผ่านมาจากอดีต  ทำให้เราพบว่า  ปวงปราชญ์บัณฑิตทั้งปวงในกาลสมัยนั้นๆ ล้วนดำรงชีวิตอยู่อย่างมีเวลา  พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นล้วนมีการงานที่มีไว้หล่อเลี้ยงชีวิตเพียงน้อยนิด  และพวกท่านก็ลึกซึ้งในความรู้ที่มี  อย่างนั้นเอง ด้วยภาระที่น้อย ก็ทำให้ท่านทั้งหลายนั้น มีสิ่งที่สำคัญที่สุด  นั่นก็คือเวลา  และอีกส่วนที่สำคัญก็คือท่านเหล่านั้น หรือยุคสมัยนั้นเอื้อให้ชีวิตสัมผัสอยู่กับธรรมชาติ ดิน น้ำ  ต้นไม้ใบหญ้า ป่าเขา ลำธาร  และนั่นคือวิถีแห่งปราชญ์  นอกจากเรื่องของคน  สิ่งประดิษฐ์  บ้านช่องเรือนชาน ถ้วยโถโอชาม ของใช้ไม้สอย สร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจง ธรรมชาติที่งาม  ข้าวของเครื่องใช้ที่งาม  นั่นไยจะไม่ใช่หนทางที่นำพาชีวิตไปสู่ความงาม  และด้วยกิจภาระที่น้อยนั้นเอง เวลาจึงมีเหลือเฟือ  นอกจากการสร้างข้าวของเครื่องใช้วิจิตรอลังการแล้ว  ผู้คนยังสามารถสร้างงานศิลปะล้ำค่า ที่ความงามของงานเหล่านั้นบางส่วนยังคงอยู่เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ โน้มนำความดีความงามของผู้คนแม้ปัจจุบัน งานที่บริสุทธิ์ หัวใจผู้สร้างบริสุทธิ์  งานยิ่งใหญ่ราวถูกสร้างจากเทพเทวดา  และบางส่วนเราจะพบว่า งานเหล่านั้นปราศจากลายเซ็นเวลาที่ไม่เร่งรีบบีบคั้น  ทำให้คนได้มีเวลามองฟ้ามองดิน และรวมถึงมองเห็นผู้คนตามที่เป็นจริง  และแน่นอนว่าการสัมผัสกับธรรมชาติที่งดงามนั่นเองที่ทำให้หัวใจคนอ่อนโยน  หัวใจที่อ่อนโยนทำให้เรามองเห็นการดำรงอยู่อย่างเชื่อมโยง เกื้อกูลของสรรพสิ่ง  มองเห็นความเชื่อมโยง ทำให้เกิดความเข้าใจ  และเมื่อเข้าใจแล้ว หัวใจก็ก่อเกิดความรัก  ความรักจึงก่อให้เกิดการงานเพื่อรับใช้  อย่างนั้นเองที่มนุษย์จึงได้สร้างความงามที่ยิ่งใหญ่ไว้ประดับโลก  คลื่นพลังของยุคสมัย  เป็นคลื่นของการไม่มีเวลา  ผู้คนพูดคำนี้วันละหลายๆ รอบ  การจะพบกันของผู้คนกลายเป็นเรื่องที่ต้องประกอบด้วยเงื่อนไขมากมาย  การสนทนาของผู้คนกลายเป็นเรื่องที่ต้องจัดการวางแผนล่วงหน้า  ผู้คนให้ความสำคัญกับบางอย่าง  ที่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร (เป็นงานหรือเปล่า ไม่แน่ใจ เพราะบางครั้งผู้คนยังไม่มีเวลาให้กับงาน)  และเป้าหมายในชีวิตของผู้คนก็สลับซับซ้อน และมากมายเกินไป   ความจริง.....ความจริง...ลึกลงไปในหัวใจมนุษย์  ต่างก็โหยหาความงาม  ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามมีผู้คนมากมายบอกเล่าเรื่อง เวลา ว่าง และความงาม  คล้ายใช่ว่าผู้คนจะไม่เห็น ผู้คนจะไม่รู้สึก  และใช่ว่าผู้คนจะไม่ใส่ใจ  เพราะเพียงแต่มองดู  เราจะพบว่ามนุษย์ ต่างกำลังแสวงหาเวลา  เพื่อที่ว่า เวลานั้นจะเปิดพื้นที่ให้มนุษย์เข้าไปสัมผัสความงามอย่างแท้จริง   และแน่นอนว่า มีผู้คนอยู่มากมายในวิถีแห่งการแสวงหาเวลา ที่ได้พบเวลา  และพวกเขาก็พบชีวิตที่งดงาม 

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม