Skip to main content
 

2 - 3 วันมานี้

มีโอกาสอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่

ที่จะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ หลายต่อหลายชิ้น ที่เห็นพ้องกันว่า...

 

สุดท้าย..พรรคแกนนำก็คงเป็น "พลังประชาชน"

โดยมีพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก เข้าร่วมด้วยทั้งหมด

ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นพรรคการเมืองอีกฟาก...

 

คอลัมนิสต์บางรายเชื่อว่า

นี่เป็นผลมาจาก "คณิตศาสตร์การเมือง" เกี่ยวกับจำนวน ส.ส.

และความน่าจะเป็น ของชัยชนะจากการเลือกตั้ง และเลือกตั้งซ่อม

ตลอดจนสัดส่วน ของการแบ่งสรรตำแหน่งรัฐมนตรี

ที่พรรคพลังประชาชนสามารถตอบสนองได้ดีกว่าประชาธิปัตย์

 

แถมยังน่าจะมั่นคงกว่า

เกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลผสม...

 

บางคนบอกว่านี่เป็น "ธรรมชาติ" ของ "การเมืองไทยๆ"

ซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับผลประโยชน์ และอำนาจ ของผู้เกี่ยวข้องเป็นด้านหลัก

แทนที่จะเชื่อมโยงไปถึงผลประโยชน์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

หรือประชาชน และสังคมโดยรวม...

 

ดูเหมือนทุกอย่างจะสามารถอธิบายได้

ขอเพียงเราละวางมโนธรรมสำนึก และจริยธรรมทางการเมือง

ตลอดจนหัวใจและเป้าหมายของระบอบประชาธิปไตยไปเสีย

 

ไม่ต้องคิดไปถึง "ธรรมาธิปไตย" ดอก

นั่นมันเกินระดับสติปัญญาของใครต่อใคร ที่เป็น "นักเลือกตั้ง" มากเกินไป

 

และขณะเดียวกัน พูดอย่างนี้

ก็ไม่ได้หมายถึงใครดีใครเลว ในระดับพรรค หรือกลุ่มการเมือง

เพียงแต่ภาพที่ปรากฏมันแสดงออกว่าไม่อาย

และไร้สัจจะ อย่างที่กล่าวไว้เมื่อหาเสียง เพียงชั่วระยะไม่กี่วัน

เท่านั้นเอง...

 

ถึงจุดนี้ "ข่าวการเมือง" ดูจะเป็นเรื่องผะอืดผะอมไปอย่างสิ้นเชิง

และ "นักการเมือง" กลับกลายเป็นจำอวด หรือปาหี่ราคาถูกไปตามๆ กัน

 

ดีไม่ดี ก็ยิ่งแย่กว่าก่อนนี้เสียอีก...

 

ชาวบ้านบางคนถึงกับกล่าวว่า...

ยังไม่ทันไร ฝนก็ตกชะขี้หมูไหล ให้ใครต่อใครมารวมกันเสียแล้ว

ชนิดแทบจะหน้าไม่อายกันเอาเลย...

 

ข่าวคุณเสนาะ คุณบรรหาร คุณสุวัจน์

คุณสุรเกียรติ์ คุณสมศักดิ์ และใครต่อใคร หันไปซุกชนิดรวมมุ้ง

เพื่อหวังพึ่ง "ศักยภาพ" ของคุณทักษิณ

ทั้งด้าน "โอกาส" และ "กำไร"

บ่งบอกสภาพการณ์ทางการเมือง ชนิดไม่ต้องกล่าวคำใดๆ อีก

 

เช่นเดียวกับ "ข้าราชการ" ที่เริ่มชะเง้อชะแง้

เหลียวแลเบิ่งหา ว่าใครจะสวมหัวโขนมาเป็นนาย

อย่างน้อยก็จะได้ดักทางถูก หรือจัดแถวของตนเองกับเพื่อนๆ

ให้สอดคล้องกับ "นาย" ที่กำลังจะมาอยู่รำไร...

 

แน่ล่ะ...

คำและนิยามของ "คุณธรรม" - "จริยธรรม"

ทั้งทางรัฐกิจและการเมือง คงเลือนๆ ไป

 

และอาจจะถูกกล่าวถึงอีกครั้ง เมื่อเราจะไล่ใครออกไปสักคน

หรือจะมีการเลือกตั้ง และมีการหาเสียงในแต่ละท้องถิ่น

 

เช่นเดียวกับ

"ความจงรักภักดี" และ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

ที่ดูจะเป็นเครื่องมือ ซึ่งหน้าตาท่าทางละม้ายกันเหลือเกิน

ขึ้นอยู่กับว่า

ในที่สุด ใครจะใช้ และใช้กับใคร...เท่านั้นเอง

 

ฝ่ายวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่า...

นักการเมืองที่เอ่ยชื่อมาข้างต้นอายุค่อนข้างมาก

และดูท่าว่าหลายคนก็รู้ดี

ว่ายามชราภาพ ตนเองคงไร้พื้นที่ ที่จะพักพิงอิงอาศัยในฐานะรัฐบุรุษ

(รัฐบุรุษโดยนิยาม หาใช่โดยการแต่งตั้งไม่)

จึงพากันกระโดดขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย อย่างไม่กลัวเกรงสิ่งใดอีก

 

ชนิดใครจะติเตียน

หรือจะตำหนิ แล้วด่าซ้ำ อย่างสาดเสียเทเสียก็ยังยอม

ขอเพียงได้ร่วมรัฐบาลเป็นพอ...

 

นี่ก็เป็นตลกร้ายที่ออกจะน่าขมขื่นไม่น้อย

 

..............................................

 

อีกไม่นาน...

พวกเราก็จะมีตำนานหน้าใหม่

เช่นเดียวกันกับบันทึกของประวัติศาสตร์

ที่จำหลักเรื่องราวร้อยแปด

ไว้รอใครสักคน(หรือหลายคน)มาค้นพบ และยอมรับฟัง

 

เพียงเพื่อเราจะมั่งคง

และมั่นใจขึ้น ในการไม่เดินซ้ำรอยเดิม

 

...............................................

 

ตลาดความดีงามวายเสียแล้ว

เช่นเดียวกับตลาดของสัจจะ หลักการ

และความถูกต้อง...

 

กล่าวอย่างถึงที่สุด

ผู้ใช้สิทธิ์ และผู้สมัครรับเลือกตั้ง

ตลอดจนรัฐบาล กกต. และพรรคการเมือง

ช่วยกันเล่นอะไรอยู่?

 

ประชาชนได้อะไรจากการเลือกตั้ง

ประชาชนได้อะไร จากระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน

และกฏหมายแม่บทอย่างรัฐธรรมนูญ...

ยังเป็นคำถามที่รอคำตอบอยู่เช่นเคย...

 

และตอบยากยิ่งขึ้นทุกที

 

ว่าเราจะมีรัฐบาลใหม่ไปทำไม?

จะปฏิรูปการเมืองไปทำไม?

 

... ... ...

 

บล็อกของ พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ

พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
นางคำ เหล้าหวาน ถูกจับกุมเมื่อต้นเดือนเมษายน 2551ในข้อหาประมาณว่า.."ประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ฯลฯ.."เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 254816 วัน หลังจากนางคำพบศพพระสุพจน์ สุวโจซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2548
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
กว่า 7 เดือนมาแล้ว...ที่ความป่วยไข้มาเยือนอย่างหนักหนาสาหัสหลังจากที่ส่อแสดงความ "แปรปรวน" ของเหตุปัจจัยมาบ้างแล้วนับย้อนทวน ก็อาจเป็นเวลากว่า 1 ปีใครเคยมีประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดทางกายมาบ้างคงพอเข้าใจได้ว่า..หากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดบาดเจ็บ กระทั่งทุพลภาพชั่วคราวจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และความลังเลสงสัยที่ไม่รู้-ไม่แน่ใจ ย่อมนำไปสู่เวทนา และตามมาด้วยการปรุงแต่ง กระทั่งจบลงที่ความทุกข์อันทนได้ยากแต่ถ้าใครสักคน...มีเหตุให้ต้องเจ็บปวดไปแทบทุกข้อกระดูกทุกเส้นเอ็น ทุกมัดกล้ามเนื้อและท้ายสุด…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  .............. ว่ากันว่า...โชคลาภวาสนาเป็นเรื่องชะตาลิขิต แต่ถึงอย่างนั้นในฐานะชาวพุทธ คงจะละเลยเรื่องเหตุปัจจัยและ "กรรม-วิบากกรรม" ไปไม่ได้ .............. จะอย่างไรก็แล้วแต่ถึงบัดนี้ คุณสมัคร สุนทรเวช ก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านขั้นตอนแบไทยๆ คือมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเรียบร้อยแล้วรอเพียงการเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโปรดเกล้าฯ และเสนอนโยบายรัฐบาลผ่านสภาฯ ... คำปรามาสของใครต่อใครก็จะกลายเป็นการดูหมิ่นและอาจนำไปสู่ระดับที่คุณสมัครถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทไปได้ในที่สุด สรุปความได้ ว่า "นายกรัฐมนตรี คนที่ 25" คือ นายสมัคร…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  คุยกันเล่นๆ ในบางวันของชีวิตว่าเรามี "รัฐ" และ "รัฐบาล" ไปทำไม? บางคนตอบทีเล่นทีจริงแต่ค่อนข้างขมขื่น ว่า...ไม่ได้อยากมี มัน "มี" มาแล้วและมัน "มี" ของมันเอง ทำนองว่า... มีมาแต่ไหนแต่ไรหรือ "ที่ไหนๆ" และ "ใครๆ" ก็มีกัน อะไรทำนองนั้น...ประมาณนั้น ! "รัฐ" คือ อะไร? และมีความจำเป็นอย่างไร?ฟังดูเป็นวิชาการ และขึงขัง "เป็นงานเป็นการยิ่ง"... ลองค้นดูใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542 ก็พบความหมาย(หรือคำแปล?) ว่า...รัฐ, รัฐ- [รัด, รัดถะ-] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร). อ่านแล้ว "งง" ไหม?…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  2 - 3 วันมานี้มีโอกาสอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ หลายต่อหลายชิ้น ที่เห็นพ้องกันว่า... สุดท้าย..พรรคแกนนำก็คงเป็น "พลังประชาชน"โดยมีพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก เข้าร่วมด้วยทั้งหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นพรรคการเมืองอีกฟาก... คอลัมนิสต์บางรายเชื่อว่านี่เป็นผลมาจาก "คณิตศาสตร์การเมือง" เกี่ยวกับจำนวน ส.ส.และความน่าจะเป็น ของชัยชนะจากการเลือกตั้ง และเลือกตั้งซ่อมตลอดจนสัดส่วน ของการแบ่งสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่พรรคพลังประชาชนสามารถตอบสนองได้ดีกว่าประชาธิปัตย์ แถมยังน่าจะมั่นคงกว่าเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลผสม... บางคนบอกว่านี่เป็น…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
เคยซื้อหนังสือ "ฟ้าเดียวกัน" ราย 3 เดือนมาอ่านอยู่บ้าง ส่วนใหญ่ซื้อจาก "ลุงเสริฐ" ที่มักมีหนังสือทางเลือกมาขายแบกะดินตามงาน หรือตามกิจกรรม เคลื่อนไหว-รณรงค์ ต่างๆ อยู่เสมอก็ได้แต่ชื่นชมกับใครต่อใคร ว่าคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ช่างกล้าหาญและดูจะมากความสามารถเพราะประเด็นของ "ฟ้าเดียวกัน" แต่ละเล่ม เป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้ความสามารถในการ จัดการ-จัดทำ มากทีเดียว ต้องออกตัวไว้นิด ว่าไม่เคยอ่านเล่มไหนจบใน 3 เดือนเลยด้วยว่าเนื้อหามากมาย หนักหน่วง หลายประเด็นเกินสติปัญญาไปมาก... หลังๆ มาได้ข่าวอยู่ ว่าคุณธนาพล ซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ดูเหมือนจะพร้อมๆ กับ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑.การเมืองของนักเลือกตั้งเร่าร้อนยิ่งขึ้นทุกขณะการแถลงข่าวของบุคคล กลุ่ม ก๊วน และพรรค ตลอดจน "อนาคตพรรคการเมือง"มีขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ราวกับตลาดนัดในอดีต ที่มีทั้งปาหี่ คนเล่นกล พ่อค้าเร่และแม่ค้า "เจ้าประจำ" คุ้นหน้าสถานที่พบปะระหว่าง "ผู้ซื้อ" กับ "ผู้ขาย" นั้นเรียกกันง่ายๆ ว่า "ตลาด" โดยมี "สินค้า" เป็นสื่อกลาง แลกเปลี่ยนความพึงใจระหว่างกัน...ในที่ชุมนุมเช่นนี้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง "คุณค่า" และ "มูลค่า"นอกจากจะมี "ความจริง" เป็นเครื่องเทียบเคียงแล้วดูเหมือนว่า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยสำหรับการตัดสิน หรือชี้วัดความพึงใจตลาดโดยทั่วไปมักเปิดเป็นประจำ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑. หลวงพ่อปัญญาพระเดชพระคุณ พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ “หลวงพ่อปัญญา” ของศิษยานุศิษย์ ละสังขาร หรือมรณภาพเสียแล้ว เมื่อเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม ท่ามกลางความรู้สึกสูญเสียของผู้เกี่ยวข้องผู้เขียนไม่เคยมีโอกาสศึกษาธรรมะจากท่านโดยตรงไม่ว่าโดยการฟัง พูดคุย หรืออ่านหนังสืออีกทั้งยังไม่เคยได้รับใช้ใกล้ชิด หรือมีโอกาสได้จำพรรษาร่วมอารามกับท่านแม้สักพรรษาเดียวแต่ด้วยความที่เติบโตมาในจังหวัดบ้านเกิดของท่านบวชเรียนในวัดที่หลวงพ่อเคยชี้ให้ดูโคนต้นขนุนชราแล้วบอกว่า… ครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กเลี้ยงวัว เคยนั่งพักร่มขนุนต้นนี้บ่อยๆในคราวหนึ่ง เมื่อท่านแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนวัดเล็กๆ วัดนั้นหลวงพ่อปัญญา…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
หลายองค์กรชาวพุทธออกมา “คัดค้าน”การประกวด การตัดสิน และการให้รางวัล ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งอย่างรุนแรง และต่อเนื่องกล่าวโทษถึงขั้นมุ่งร้าย และ/หรือ ทำลายพระพุทธศาสนาค่าที่ศิลปินผู้นั้นเขียนภาพ “ภิกษุสันดานกา”ในลักษณะอาการ ตำหนิ หรือติเตียน การกระทำสำหรับพฤติกรรมอันน่ารังเกียจอย่างที่ชาวโลกเห็นว่าผู้เป็น “สมณะ” ไม่ควรประพฤติแต่ในที่สุด กลุ่มบุคคล หรือองค์กร รวมทั้งหน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้พบว่า…มีชาวพุทธจำนวนหนึ่งเช่นกันที่ไม่เห็นด้วย เอือมระอา หรือรังเกียจ “การแสดงออก” ของตน หรือของพวกตน และมีบ้าง ที่ถึงขั้นกล่าวว่าเป็นอาการ “ร้อนตัว” “วัวสันหลังหวะ” หรือ “กินปูนร้อนท้อง”…