Skip to main content

๑. หลวงพ่อปัญญา

พระเดชพระคุณ พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ “หลวงพ่อปัญญา” ของศิษยานุศิษย์
ละสังขาร หรือมรณภาพเสียแล้ว เมื่อเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม ท่ามกลางความรู้สึกสูญเสีย
ของผู้เกี่ยวข้อง

ผู้เขียนไม่เคยมีโอกาสศึกษาธรรมะจากท่านโดยตรง
ไม่ว่าโดยการฟัง พูดคุย หรืออ่านหนังสือ
อีกทั้งยังไม่เคยได้รับใช้ใกล้ชิด หรือมีโอกาสได้จำพรรษาร่วมอารามกับท่าน
แม้สักพรรษาเดียว

แต่ด้วยความที่เติบโตมาในจังหวัดบ้านเกิดของท่าน
บวชเรียนในวัดที่หลวงพ่อเคยชี้ให้ดูโคนต้นขนุนชรา
แล้วบอกว่า… ครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กเลี้ยงวัว เคยนั่งพักร่มขนุนต้นนี้บ่อยๆ
ในคราวหนึ่ง เมื่อท่านแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนวัดเล็กๆ วัดนั้น
หลวงพ่อปัญญา เป็นคนภาคใต้ และคงไม่น่าเกลียดอะไรนัก
หากจะบอกว่า นับตั้งแต่รุ่นหนุ่ม จนถึงปูนชรา
ท่านก็ยังคงความเป็น “คนใต้” หรือ “นักเลงปักษ์ใต้” ชนิดของแท้และดั้งเดิมเอาไว้เสมอ

คำว่า “นักเลงปักษ์ใต้” นี้มิได้หมายถึงอันธพาล ชนิดตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก
แต่หมายรวมเอาความเป็น “คนจริง” “คนตรง” “พูดและทำตรงไปตรงมา”
อย่างรักษาเกียรติ และโอ่อ่าเปิดเผย ยากที่จะก้มหัวให้กับใคร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความไม่ถูกต้อง หรือคนไม่ถูกต้อง
วาจาขวานผ่าซาก ของหลวงพ่อนั้นอาจลดลงไปตามวัย
แต่เนื้อหาใจความที่ “ผ่าซาก” นั้น เชื่อว่าหลายคนที่ติดตามชีวิตและผลงานคงเข้าใจได้
ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงผู้นำ พูดถึงบ้านเมือง หรือกระทั่งเมื่อพูดถึงการพระศาสนาและคณะสงฆ์
นอกจากความตรงและแรงแล้ว ในความเป็นนักเลงนั้นเอง
เมื่อมาศึกษาและปฏิบัติธรรม ท่านก็พกเอาความมีน้ำใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มาด้วยอย่างเต็มเปี่ยม

ดังการที่หลวงพ่อผลักดันให้อาจารย์เจ้าอาวาสวัดที่ผู้เขียนบวช
ได้มีสมณศักดิ์เป็นพระครู ทั้งที่ท่านผู้เฒ่าไม่มีคุณวุฒิตามการศึกษาคณะสงฆ์
หรือเป็นพระนักก่อสร้าง ดังที่ทางราชการชอบนับจำนวนอาคารเป็นผลงาน
กระทั่งคณะสงฆ์ไทยมีพระครูส้วม พระครูโบสถ์ พระครูวิหาร กันคราวละหลายๆ ท่าน

หลวงพ่อบอกกับผู้เขียนว่า
“ท่านกลั่นท่านเป็นพระแบบเก่า ชอบสร้างคน ส่งเสริมการศึกษา มัวส่งเสริมคนอื่นจนตัวไม่ได้เรียน…”
สมณศักดิ์ที่ท่านพระครูผู้เฒ่าได้รับก่อนมรณภาพไม่นาน จึงเป็น “พัฒนภารพิจิตร”
“พิจิตร” หรือ “วิจิตร” ตรงการส่งเสริมการศึกษา สร้างมหาเปรียญ และนักธรรมไว้นับพันๆ รูป
ซึ่งบัดนี้เป็นครูบาอาจารย์ เป็นเจ้าคณะปกครอง เป็นฆราวาสข้าราชการ อยู่ที่นี่ที่นั่น นับไม่ถ้วน

คุณูปการของหลวงพ่อปัญญานั้นมีมากมายมหาศาลนัก
เมื่อท่านมรณภาพลง
คงมีใครต่อใครที่ได้รับอานิสงส์จากความเป็น “หลวงพ่อปัญญา”
กล่าวถึงกันไปอีกนาน

ไม่ว่าจะเป็นชาวสวนโมกข์ ชาววัดอุโมงค์ ชาววัดชลประทานฯ
หรือศิษยานุศิษย์ ทั้งฝ่ายคฤหัสถ์และบรรพชิต

การกล่าวถึงการจากไปสำหรับพระภิกษุ “ผู้ยิ่งใหญ่ในทางธรรม”
คงไม่ใช่เรื่องของการโหยหารำพันพิลาป หากแต่ควรถือเอาเป็นโอกาส
ที่จะเรียนรู้ ศึกษา เพื่อสานต่อ หรือเดินตามรอยท่าน
อันจะเป็นกุศล ทั้งต่อผู้ยังอยู่ และผู้ที่จากไปแล้ว…

หากมีคนติดตามศึกษาชีวิตและผลงานของท่าน
ด้วยความตั้งอกตั้งใจ อย่างมีฉันทะ และกุศลเจตนาแล้ว
“หลวงพ่อปัญญา” คงจะร่วมยินดีกับความตั้งใจเช่นนั้นไม่ใช่น้อย

๒. พระพม่า

มีหลายคนสอบถามผู้เขียนอยู่เสมอ
เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ของพระภิกษุ หรือคณะสงฆ์ในพม่า
คำถามออกจะแตกต่างกันไปตามแต่ภูมิรู้และภูมิธรรม
ตลอดจนประสบการณ์ในทางการเมือง
ที่เกิดจากการเรียนรู้ฝึกฝน และสติปัญญาความสามารถ

คำถามหลักๆ คงไม่พ้นไปจากเรื่องความเหมาะสมกับสมณสารูป
และความจำเป็นที่ต้องลงมือกระทำ
ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ชาวพุทธไทยจะสงสัยในเรื่องเช่นนี้
ค่าที่ว่า สำหรับวัฒนธรรมไทยๆ ในยุคร้อยปีเศษที่ผ่านมา
“พระภิกษุสามเณร” ดูจะมีหน้าที่อย่างพราหมณ์เป็นด้านหลัก
กล่าวคือ พระไทย หากมิใช่พัฒนาตนจนกลายเป็นนักวิชาการ เป็นผู้ชำนาญการด้านศาสนา
ก็จะไต่เต้า เข้ารับใช้รัฐในฐานะข้าราชการฝ่ายสงฆ์ กลายเป็นขุนนางมียศศักดิ์อัครฐาน
หรือไม่ ก็ค่อยๆ แก่กล้าในทางประกอบพิธีกรรม ตั้งแต่ที่เป็นกิจของสงฆ์(แบบไทยๆ)
ไปจนถึงระดับหมอผี มีอวิชชาเป็นเจ้าเรือนอย่างเต็มตัว

สังคมไทยยุคหลังสังคมสยามคุ้นชินกับพระเช่นนี้
มากกว่าจะคุ้นเคยกับ “ภิกขุ” ใน “สังฆะ” ของพระอริยเจ้า
ดังเช่นที่เคยมีมาในครั้งพุทธกาล…

นี่ยังไม่นับรวมเอาความวิปริตผิดธรรมของฝ่ายคฤหัสถ์ หรือฝ่ายผู้ครองเรือนเอง
ที่ยากจะกล่าวได้เต็มปาก ว่าตนเป็น อุบาสก-อุบาสิกา อยู่หรือไม่
ตั้งแต่ผู้ลากมากดียันไพร่บ้านพลเมืองนั่นแล

ก็คนไทยเป็นชาวพุทธกันอย่างนี้
แล้วจะเข้าใจ “พระพม่า-ชาวพุทธพม่า” กันได้อย่างไร?

“พระพม่า” ซึ่งยังมีผู้ท่องจำพระไตรปิฎกได้ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
“ชาวพุทธพม่า” ซึ่งยังมีศรัทธาแก่กล้า ที่จะนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน
และยังพยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะสร้างเหตุปัจจัยเพื่อนิพพานอยู่ทุกขณะจิต ฯลฯ

เอากันง่ายๆ แค่การ “ถอดรองเท้า” เข้าวัด เข้าวิหารลานเจดีย์
หนุ่มสาวเฒ่าแก่ของไทยก็แทบจะลืมเลือนไปเสียหมดแล้ว
จะพึงหวังให้ชาวพุทธไทยออกมาเดินขบวนเป็นโล่ห์มนุษย์คุ้มครองพระ
เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อประกาศคว่ำบาตรรัฐ ฯลฯ
เล่นกันถึงเลือดถึงเนื้อขนาดนั้นจะเกิดขึ้นได้ล่ะหรือ? จะกล้ากันล่ะหรือ?

อย่าว่าแต่คนวัดคนวาเลย คนชั้นกลางคอขาวเข่าเกลี้ยงทั้งหลายนั่นล่ะ
แค่ “คิดด้วยหลักพุทธธรรม” จะเคยบ้างไหมก็ไม่รู้
วีรกรรมความอาจหาญของ “ชาวพุทธพม่า” นั้น
เหลือวิสัย หรือเกินพรมแดนความรู้ “ชาวพุทธไทยๆ” ไปมากนัก
ผู้เขียนเองครั้งที่ยังศรัทธาจะเชิญชวนคนหนุ่มสาวเข้ามาหาธรรม
และพยายามนำเสนอ “การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย”
มีโอกาสได้พูดคุยกับพระและหนุ่มสาวพม่าอยู่บ้าง
ระลึกคราวใดก็ต้องยกย่องคนเหล่านั้นอยู่เสมอ
หากปัจจุบันหมดไฟ เลิกชวนใครต่อใครทวนกระแสเสียแล้ว…

“หลวงพ่อปัญญา” กับ “พระพม่า” เกี่ยวข้องกันบ้างไหม? และอย่างไร?
ก็อาจจะบอกว่า ความวีระอาจหาญในทางธรรม หรือมโนธรรมสำนึกแบบ “พระพม่า” นั้น
เทียบเคียงในบ้านเรา ก็พอมีบ้างในคราว “หลวงพ่อปัญญา” ในคราว “ท่านอาจารย์พุทธทาส” โน่น

ปัจจุบันพุทธบริษัทชาวไทยเป็นอย่างไรก็พอจะรู้ๆ กันอยู่
จะต้องเอามาประจานกันให้แสลงปากทำไม...

บล็อกของ พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ

พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
นางคำ เหล้าหวาน ถูกจับกุมเมื่อต้นเดือนเมษายน 2551ในข้อหาประมาณว่า.."ประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ฯลฯ.."เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 254816 วัน หลังจากนางคำพบศพพระสุพจน์ สุวโจซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2548
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
กว่า 7 เดือนมาแล้ว...ที่ความป่วยไข้มาเยือนอย่างหนักหนาสาหัสหลังจากที่ส่อแสดงความ "แปรปรวน" ของเหตุปัจจัยมาบ้างแล้วนับย้อนทวน ก็อาจเป็นเวลากว่า 1 ปีใครเคยมีประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดทางกายมาบ้างคงพอเข้าใจได้ว่า..หากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดบาดเจ็บ กระทั่งทุพลภาพชั่วคราวจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และความลังเลสงสัยที่ไม่รู้-ไม่แน่ใจ ย่อมนำไปสู่เวทนา และตามมาด้วยการปรุงแต่ง กระทั่งจบลงที่ความทุกข์อันทนได้ยากแต่ถ้าใครสักคน...มีเหตุให้ต้องเจ็บปวดไปแทบทุกข้อกระดูกทุกเส้นเอ็น ทุกมัดกล้ามเนื้อและท้ายสุด…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  .............. ว่ากันว่า...โชคลาภวาสนาเป็นเรื่องชะตาลิขิต แต่ถึงอย่างนั้นในฐานะชาวพุทธ คงจะละเลยเรื่องเหตุปัจจัยและ "กรรม-วิบากกรรม" ไปไม่ได้ .............. จะอย่างไรก็แล้วแต่ถึงบัดนี้ คุณสมัคร สุนทรเวช ก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านขั้นตอนแบไทยๆ คือมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเรียบร้อยแล้วรอเพียงการเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโปรดเกล้าฯ และเสนอนโยบายรัฐบาลผ่านสภาฯ ... คำปรามาสของใครต่อใครก็จะกลายเป็นการดูหมิ่นและอาจนำไปสู่ระดับที่คุณสมัครถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทไปได้ในที่สุด สรุปความได้ ว่า "นายกรัฐมนตรี คนที่ 25" คือ นายสมัคร…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  คุยกันเล่นๆ ในบางวันของชีวิตว่าเรามี "รัฐ" และ "รัฐบาล" ไปทำไม? บางคนตอบทีเล่นทีจริงแต่ค่อนข้างขมขื่น ว่า...ไม่ได้อยากมี มัน "มี" มาแล้วและมัน "มี" ของมันเอง ทำนองว่า... มีมาแต่ไหนแต่ไรหรือ "ที่ไหนๆ" และ "ใครๆ" ก็มีกัน อะไรทำนองนั้น...ประมาณนั้น ! "รัฐ" คือ อะไร? และมีความจำเป็นอย่างไร?ฟังดูเป็นวิชาการ และขึงขัง "เป็นงานเป็นการยิ่ง"... ลองค้นดูใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542 ก็พบความหมาย(หรือคำแปล?) ว่า...รัฐ, รัฐ- [รัด, รัดถะ-] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร). อ่านแล้ว "งง" ไหม?…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  2 - 3 วันมานี้มีโอกาสอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ หลายต่อหลายชิ้น ที่เห็นพ้องกันว่า... สุดท้าย..พรรคแกนนำก็คงเป็น "พลังประชาชน"โดยมีพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก เข้าร่วมด้วยทั้งหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นพรรคการเมืองอีกฟาก... คอลัมนิสต์บางรายเชื่อว่านี่เป็นผลมาจาก "คณิตศาสตร์การเมือง" เกี่ยวกับจำนวน ส.ส.และความน่าจะเป็น ของชัยชนะจากการเลือกตั้ง และเลือกตั้งซ่อมตลอดจนสัดส่วน ของการแบ่งสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่พรรคพลังประชาชนสามารถตอบสนองได้ดีกว่าประชาธิปัตย์ แถมยังน่าจะมั่นคงกว่าเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลผสม... บางคนบอกว่านี่เป็น…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
เคยซื้อหนังสือ "ฟ้าเดียวกัน" ราย 3 เดือนมาอ่านอยู่บ้าง ส่วนใหญ่ซื้อจาก "ลุงเสริฐ" ที่มักมีหนังสือทางเลือกมาขายแบกะดินตามงาน หรือตามกิจกรรม เคลื่อนไหว-รณรงค์ ต่างๆ อยู่เสมอก็ได้แต่ชื่นชมกับใครต่อใคร ว่าคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ช่างกล้าหาญและดูจะมากความสามารถเพราะประเด็นของ "ฟ้าเดียวกัน" แต่ละเล่ม เป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้ความสามารถในการ จัดการ-จัดทำ มากทีเดียว ต้องออกตัวไว้นิด ว่าไม่เคยอ่านเล่มไหนจบใน 3 เดือนเลยด้วยว่าเนื้อหามากมาย หนักหน่วง หลายประเด็นเกินสติปัญญาไปมาก... หลังๆ มาได้ข่าวอยู่ ว่าคุณธนาพล ซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ดูเหมือนจะพร้อมๆ กับ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑.การเมืองของนักเลือกตั้งเร่าร้อนยิ่งขึ้นทุกขณะการแถลงข่าวของบุคคล กลุ่ม ก๊วน และพรรค ตลอดจน "อนาคตพรรคการเมือง"มีขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ราวกับตลาดนัดในอดีต ที่มีทั้งปาหี่ คนเล่นกล พ่อค้าเร่และแม่ค้า "เจ้าประจำ" คุ้นหน้าสถานที่พบปะระหว่าง "ผู้ซื้อ" กับ "ผู้ขาย" นั้นเรียกกันง่ายๆ ว่า "ตลาด" โดยมี "สินค้า" เป็นสื่อกลาง แลกเปลี่ยนความพึงใจระหว่างกัน...ในที่ชุมนุมเช่นนี้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง "คุณค่า" และ "มูลค่า"นอกจากจะมี "ความจริง" เป็นเครื่องเทียบเคียงแล้วดูเหมือนว่า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยสำหรับการตัดสิน หรือชี้วัดความพึงใจตลาดโดยทั่วไปมักเปิดเป็นประจำ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑. หลวงพ่อปัญญาพระเดชพระคุณ พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ “หลวงพ่อปัญญา” ของศิษยานุศิษย์ ละสังขาร หรือมรณภาพเสียแล้ว เมื่อเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม ท่ามกลางความรู้สึกสูญเสียของผู้เกี่ยวข้องผู้เขียนไม่เคยมีโอกาสศึกษาธรรมะจากท่านโดยตรงไม่ว่าโดยการฟัง พูดคุย หรืออ่านหนังสืออีกทั้งยังไม่เคยได้รับใช้ใกล้ชิด หรือมีโอกาสได้จำพรรษาร่วมอารามกับท่านแม้สักพรรษาเดียวแต่ด้วยความที่เติบโตมาในจังหวัดบ้านเกิดของท่านบวชเรียนในวัดที่หลวงพ่อเคยชี้ให้ดูโคนต้นขนุนชราแล้วบอกว่า… ครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กเลี้ยงวัว เคยนั่งพักร่มขนุนต้นนี้บ่อยๆในคราวหนึ่ง เมื่อท่านแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนวัดเล็กๆ วัดนั้นหลวงพ่อปัญญา…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
หลายองค์กรชาวพุทธออกมา “คัดค้าน”การประกวด การตัดสิน และการให้รางวัล ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งอย่างรุนแรง และต่อเนื่องกล่าวโทษถึงขั้นมุ่งร้าย และ/หรือ ทำลายพระพุทธศาสนาค่าที่ศิลปินผู้นั้นเขียนภาพ “ภิกษุสันดานกา”ในลักษณะอาการ ตำหนิ หรือติเตียน การกระทำสำหรับพฤติกรรมอันน่ารังเกียจอย่างที่ชาวโลกเห็นว่าผู้เป็น “สมณะ” ไม่ควรประพฤติแต่ในที่สุด กลุ่มบุคคล หรือองค์กร รวมทั้งหน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้พบว่า…มีชาวพุทธจำนวนหนึ่งเช่นกันที่ไม่เห็นด้วย เอือมระอา หรือรังเกียจ “การแสดงออก” ของตน หรือของพวกตน และมีบ้าง ที่ถึงขั้นกล่าวว่าเป็นอาการ “ร้อนตัว” “วัวสันหลังหวะ” หรือ “กินปูนร้อนท้อง”…