Skip to main content

นางคำ เหล้าหวาน ถูกจับกุมเมื่อต้นเดือนเมษายน 2551
ในข้อหาประมาณว่า..
"
ประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ฯลฯ.."

เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548

16 วัน หลังจากนางคำพบศพพระสุพจน์ สุวโจ

ซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2548


2
ปีเศษมาแล้ว...


ระหว่างนั้น หลายฝ่ายเชื่อว่าการเผาบ้านนางคำ

น่าจะมีเหตุมาจากการรู้เห็นการกระทำผิดของคนร้าย

หรือมีความพยายามจะกดดันให้นางคำออกไปเสียจากสวนเมตตาธรรม

หรือกดดันให้นางคำให้การเพื่อปรักปรำผู้ที่เจ้าหน้าที่ประสงค์จะจับกุม


เพราะผู้กำกับการตำรวจภูธรอำเภอฝาง
(ขณะนั้น)

ได้สั่งการให้สารวัตรสอบสวนมาพบผู้เขียนหลายครั้ง

พร้อมกับสำนวนกล่าวโทษผู้ต้องสงสัย

เพื่อให้ผู้เขียนลงชื่อเป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์

แล้วจะจับกุมบุคคลเหล่านั้นไปควบคุมตัว

เพื่อ "รีด" ข้อมูลเกี่ยวกับคดีพระสุพจน์


ผู้เขียนปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ

ในวิธีการสกปรกเช่นนี้ไปอย่างน้อย 2 คดี

หนึ่งในนั้นคือคดีนางคำเผาบ้านตัวเอง

ที่ว่ามาข้างต้น


เวลาผ่านมาเกือบ
3 ปี

ที่ นางคำ เหล้าหวาน ยังทำงานอยู่ในสวนเมตตาธรรม

สถานที่ซึ่ง พระสุพจน์ สุวโจ ถูกฆ่าอย่างอำมหิต

และชาวบ้านแถบนั้นแทบจะไม่กล้าเยี่ยมกรายเข้ามา

เพราะเกรงอาญาเถื่อน

จากผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่รัฐบางคน


กระทั่งเมื่อเดือน มกราคม
2551

นางคำ เหล้าหวาน ได้ตัดสินใจเริ่มต้นชีวิตคู่อีกครั้ง

และขออนุญาตออกไปก่อร่างสร้างตัว

สร้างกระท่อมเล็กๆ สำหรับครอบครัวใหม่

ไม่ไกลจากสวนเมตตาธรรมนัก


และแล้ว
...

วันหนึ่งในต้นเดือนเมษายน 2551

ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวนหนึ่ง

มาพบนางคำ และสามี

แจ้งว่าจะเชิญตัวไปสอบปากคำ โดยไม่ระบุข้อหา

ไม่มีการแสดงหมายศาล

ไม่มีการแจ้งว่าจะนำตัวไปควบคุม ในฐานะจำเลย


กระทั่งมืดค่ำ และสามีกับญาติพบว่าผิดสังเกต

จึงติดตามไปที่สถานีตำรวจ

จึงได้ทราบว่า นางคำ เหล้าหวาน

ได้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท

ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน ดังที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น

โดยไม่สามารถประกันตัวได้


เพราะเจ้าหน้าที่ระบุว่า

ต้องใช้หลักทรัพย์หรือเงินสดประมาณ 200,000 บาท

อันเป็นเรื่องเกินกำลัง ทั้งของสถานปฏิบัติธรรม

และของญาติ ทั้งฝ่ายนางคำและสามี


เมื่อผู้เขียนทราบข่าว
(ระหว่างที่รับกิจนิมนต์อยู่ที่กรุงเทพฯ)

จึงติดต่อกับกรรมการสิทธิมนุษยชน และทนายความ

เพราะเห็นว่ามีเงื่อนงำบางประการ ที่ผิดปกติวิสัย

เช่น ระหว่าง 2 ปีเศษ

ที่นางคำทำงานและพักอาศัยอยู่ในสวนเมตตาธรรม

เธอไม่เคยมีพฤติกรรมหลบหนี

หรืออันที่จริงเธอไม่รู้เสียด้วยซ้ำ ว่ามีคดีความค้างคาอยู่


ในช่วงเวลาดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ
.ฝาง

มารักษาการในสวนเมตตาธรรมอยู่เป็นระยะ

โดยคำสั่งของผู้กำกับการตำรวจภูธรฝาง อย่างเป็นทางการ

หากการจับกุมนางคำ เป็นไปดังที่ตำรวจระบุกับกรรมการสิทธิ์ฯ

ว่าเป็นเรื่อง "เคลียร์หมายศาลในคดีค้าง" ตามปกติจริง

ก่อนหน้านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รักษาการในสวนเมตตาธรรม

และรู้จัก นางคำ เหล้าหวาน

(ผู้จัดอาหารเลี้ยงตำรวจในหลายๆ มื้อ) เป็นอย่างดี

จะไม่เป็นการ "ละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่" ดอกหรือ?


หรือแม้แต่นายตำรวจระดับสูงแห่ง สภ
.ฝาง

ที่เข้าออกสวนเมตตาธรรม

หรือเป็นผู้สอบปากคำนางคำในคดีพระสุพจน์อยู่เอง

จะอ้างว่าไม่ทราบ

ไม่รู้ไม่เห็นหมายศาลในคดีนางคำเผาบ้านตัวเองได้ล่ะหรือ?


และที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ

เหตุใดการจับกุมตัวนางคำ เหล้าหวาน

จึงต้องมาเกิดขึ้น หลังจากคณะทนายฯ จากสภาทนายความ

มาพบและสอบปากคำนางคำเพิ่มเติมเพียงไม่ถึงสัปดาห์?


...............


ล่าสุด
...

อัยการได้สรุปสำนวน และสั่งฟ้อง นางคำ เหล้าหวาน

และศาลจังหวัดฝาง ได้ประทับรับฟ้องคดีนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยแจ้งว่า...

คำให้การของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(คุณสุนี ไชยรส)

และพระภิกษุแห่งสวนเมตตาธรรม

ตลอดจนเจ้าหน้าที่มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์

และเพื่อนคนงานของนางคำ..ที่ระบุตรงกัน

ว่า "คืนเกิดเหตุนางคำมิได้อยู่ในบ้านดังกล่าว

อีกทั้งยังไม่มีเหตุอันควรเชื่อ

ว่านางคำจะประมาท หรือเจตนา เป็นเหตุให้เพลิงไหม้ ฯลฯ"

ไม่สามารถหักล้างข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

จึงต้องสั่งฟ้อง กระทั่งศาลได้ประทับรับฟ้องดังที่ได้กล่าวแล้ว


...............


นางคำ เหล้าหวาน เป็นสตรีอายุสามสิบปีเศษ

มีเชื้อสายไทยใหญ่จากรัฐฉาน ประเทศพม่า

แม้ว่าจะเกิดในประเทศไทย แต่ก็มิได้มีสัญชาติไทย

ต้องใช้บัตรประจำตัวบุคคลในพื้นที่สูง หรือบัตรชนเผ่า

พักอาศัยอยู่ในกระท่อมเล็กๆ บนพื้นที่ของคริสตจักรกับสามี

โดยประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป

รายได้รวมกัน 2 คน ประมาณวันละไม่เกินสองร้อยบาทเศษ


บัดนี้เธอถูกฝากขังอยู่ในเรือนจำฝาง

จำนวนการฝากขังต่อเนื่อง 5 ครั้งเป็นเวลาเดือนเศษ

โดยไร้ความสามารถสามารถจะประกันตัวได้


คำถามที่น่าสนใจก็คือ
...


คดีอาญา หรือความอาญา เช่นคดีของนางคำ

สตรีผู้สิ้นไร้ไม้ตอก ที่บังเอิญไฟไหม้บ้าน

(หรือถูกลอบวางเพลิงโดยคนฆ่าพระสุพจน์)

และเจ้าของบ้านนั้นไม่ติดใจเอาความ 

หรือประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ 

จะมีประโยชน์โภชน์ผลใดๆ กับแผ่นดิน

หากจะต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล


และสุดท้าย

หากใช้กลวิธี หรือกโลบายทางกฎหมาย

พิจารณาจนทำให้สตรีนางนี้ต้องจำคุก?


ขณะที่คดีอื่นๆ ที่สำคัญยิ่งกว่า

และเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก

กลับถูกละเลย หรือปล่อยให้ขาดอายุความ

หรือถูกทำให้ "สำนวนอ่อน-ไม่พอฟ้อง"

อยู่อีกมากต่อมาก...


กระทั่งมีเสียงติฉินต่อๆ กันมา

ว่าทุกส่วนงานของกระบวนการยุติธรรม

ตั้งแต่ชั้นต้นจนระดับสูงสุด

สามารถ "ซื้อ" หรือ "สั่ง" ได้เสมอ

ขึ้นอยู่กับว่าคนๆ นั้น "รวย" หรือ "มีอำนาจ"

มากพอหรือไม่เท่านั้น


วันที่
30 มิถุนายน 2551 "คดีนางคำ" จะขึ้นศาลนัดแรก

โดยศาลสั่งตั้งทนายให้

(หลังจากที่ผู้เขียนร้องขอทนายจากสภาทนายความ

แต่ไม่มีใครให้ความสนใจช่วยเหลืออย่างจริงจัง..ดังที่ควรจะเป็น)

เชื่อว่าถึงวันนั้น นอกจากสมาชิก "สวนเมตตาธรรม"

คงไม่มีใครไปให้กำลังใจกันสักกี่คน

ด้านหนึ่งเพราะคนในพื้นที่หวาดกลัว

และอีกด้าน

ก็เพราะเธอเป็นเพียงสตรีชายขอบ เป็นคนเล็กคนน้อย

 

และ "ไม่ใช่คนไทย"

ตามมาตรฐานของรัฐชาติที่เธอถือกำเนิด


หากเจ้าหน้าที่ตำรวจ

หากอัยการ

และหากศาล


จะใส่ใจกับคดีการฆาตกรรม พระสุพจน์ สุวโจ

สักเพียงครึ่งหนึ่งของความขมีขมันที่จะเอานางคำเข้าคุก


โยมพ่อและโยมแม่ของพระสุพจน์ ก็คงจะคลายทุกข์โศก

เช่นเดียวกับผู้ร่วมชะตากรรม หรือผู้เสียหาย

จากความสามานย์ของกระบวนการยุติธรรมทุกที่และทุกคน

ที่นับวันจะสิ้นหวังจากกระบวนการอยุติธรรมเช่นที่เป็นอยู่


...............


ทุกท่านสามารถส่งไปรษณียบัตร

ไปขอบคุณความตั้งใจทำงานของอัยการจังหวัดฝาง

ได้ที่..สำนักงานอัยการจังหวัดฝาง อำเภอฝาง

จังหวัดเชียงใหม่ 50110


หรือให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ได้ที่...ผู้กำกับการตำรวจภูธรฝาง

สถานีตำรวจภูธรฝาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110


กรุณาอย่าส่งจดหมายหรือไปรษณียบัตรไปถึงนางคำที่เรือนจำฝาง

เพราะเธออ่านหรือเขียนตัวอักษร

หรือหนังสือของชาติใดๆ ไม่ได้...


แม้แต่วันที่พิมพ์มือรับทราบหมายศาลและข้อกล่าวหา

เธอก็ไม่เคยทราบ ว่าข้อความนั้นๆ ระบุไว้ว่าอย่างไร...


ขอบคุณกระบวนการยุติธรรมสามานย์

ที่สอนให้คนเล็กคนน้อยได้ตระหนัก

ว่าพวกเขามีแต่จะต้องพึ่งพาตนเอง

และร่วมมือระหว่างกันและกันเท่านั้น

จึงจะพ้นทุกข์ไปได้...

 

บล็อกของ พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ

พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
นางคำ เหล้าหวาน ถูกจับกุมเมื่อต้นเดือนเมษายน 2551ในข้อหาประมาณว่า.."ประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ฯลฯ.."เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 254816 วัน หลังจากนางคำพบศพพระสุพจน์ สุวโจซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2548
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
กว่า 7 เดือนมาแล้ว...ที่ความป่วยไข้มาเยือนอย่างหนักหนาสาหัสหลังจากที่ส่อแสดงความ "แปรปรวน" ของเหตุปัจจัยมาบ้างแล้วนับย้อนทวน ก็อาจเป็นเวลากว่า 1 ปีใครเคยมีประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดทางกายมาบ้างคงพอเข้าใจได้ว่า..หากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดบาดเจ็บ กระทั่งทุพลภาพชั่วคราวจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และความลังเลสงสัยที่ไม่รู้-ไม่แน่ใจ ย่อมนำไปสู่เวทนา และตามมาด้วยการปรุงแต่ง กระทั่งจบลงที่ความทุกข์อันทนได้ยากแต่ถ้าใครสักคน...มีเหตุให้ต้องเจ็บปวดไปแทบทุกข้อกระดูกทุกเส้นเอ็น ทุกมัดกล้ามเนื้อและท้ายสุด…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  .............. ว่ากันว่า...โชคลาภวาสนาเป็นเรื่องชะตาลิขิต แต่ถึงอย่างนั้นในฐานะชาวพุทธ คงจะละเลยเรื่องเหตุปัจจัยและ "กรรม-วิบากกรรม" ไปไม่ได้ .............. จะอย่างไรก็แล้วแต่ถึงบัดนี้ คุณสมัคร สุนทรเวช ก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านขั้นตอนแบไทยๆ คือมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเรียบร้อยแล้วรอเพียงการเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโปรดเกล้าฯ และเสนอนโยบายรัฐบาลผ่านสภาฯ ... คำปรามาสของใครต่อใครก็จะกลายเป็นการดูหมิ่นและอาจนำไปสู่ระดับที่คุณสมัครถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทไปได้ในที่สุด สรุปความได้ ว่า "นายกรัฐมนตรี คนที่ 25" คือ นายสมัคร…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  คุยกันเล่นๆ ในบางวันของชีวิตว่าเรามี "รัฐ" และ "รัฐบาล" ไปทำไม? บางคนตอบทีเล่นทีจริงแต่ค่อนข้างขมขื่น ว่า...ไม่ได้อยากมี มัน "มี" มาแล้วและมัน "มี" ของมันเอง ทำนองว่า... มีมาแต่ไหนแต่ไรหรือ "ที่ไหนๆ" และ "ใครๆ" ก็มีกัน อะไรทำนองนั้น...ประมาณนั้น ! "รัฐ" คือ อะไร? และมีความจำเป็นอย่างไร?ฟังดูเป็นวิชาการ และขึงขัง "เป็นงานเป็นการยิ่ง"... ลองค้นดูใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542 ก็พบความหมาย(หรือคำแปล?) ว่า...รัฐ, รัฐ- [รัด, รัดถะ-] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร). อ่านแล้ว "งง" ไหม?…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  2 - 3 วันมานี้มีโอกาสอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ หลายต่อหลายชิ้น ที่เห็นพ้องกันว่า... สุดท้าย..พรรคแกนนำก็คงเป็น "พลังประชาชน"โดยมีพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก เข้าร่วมด้วยทั้งหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นพรรคการเมืองอีกฟาก... คอลัมนิสต์บางรายเชื่อว่านี่เป็นผลมาจาก "คณิตศาสตร์การเมือง" เกี่ยวกับจำนวน ส.ส.และความน่าจะเป็น ของชัยชนะจากการเลือกตั้ง และเลือกตั้งซ่อมตลอดจนสัดส่วน ของการแบ่งสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่พรรคพลังประชาชนสามารถตอบสนองได้ดีกว่าประชาธิปัตย์ แถมยังน่าจะมั่นคงกว่าเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลผสม... บางคนบอกว่านี่เป็น…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
เคยซื้อหนังสือ "ฟ้าเดียวกัน" ราย 3 เดือนมาอ่านอยู่บ้าง ส่วนใหญ่ซื้อจาก "ลุงเสริฐ" ที่มักมีหนังสือทางเลือกมาขายแบกะดินตามงาน หรือตามกิจกรรม เคลื่อนไหว-รณรงค์ ต่างๆ อยู่เสมอก็ได้แต่ชื่นชมกับใครต่อใคร ว่าคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ช่างกล้าหาญและดูจะมากความสามารถเพราะประเด็นของ "ฟ้าเดียวกัน" แต่ละเล่ม เป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้ความสามารถในการ จัดการ-จัดทำ มากทีเดียว ต้องออกตัวไว้นิด ว่าไม่เคยอ่านเล่มไหนจบใน 3 เดือนเลยด้วยว่าเนื้อหามากมาย หนักหน่วง หลายประเด็นเกินสติปัญญาไปมาก... หลังๆ มาได้ข่าวอยู่ ว่าคุณธนาพล ซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ดูเหมือนจะพร้อมๆ กับ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑.การเมืองของนักเลือกตั้งเร่าร้อนยิ่งขึ้นทุกขณะการแถลงข่าวของบุคคล กลุ่ม ก๊วน และพรรค ตลอดจน "อนาคตพรรคการเมือง"มีขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ราวกับตลาดนัดในอดีต ที่มีทั้งปาหี่ คนเล่นกล พ่อค้าเร่และแม่ค้า "เจ้าประจำ" คุ้นหน้าสถานที่พบปะระหว่าง "ผู้ซื้อ" กับ "ผู้ขาย" นั้นเรียกกันง่ายๆ ว่า "ตลาด" โดยมี "สินค้า" เป็นสื่อกลาง แลกเปลี่ยนความพึงใจระหว่างกัน...ในที่ชุมนุมเช่นนี้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง "คุณค่า" และ "มูลค่า"นอกจากจะมี "ความจริง" เป็นเครื่องเทียบเคียงแล้วดูเหมือนว่า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยสำหรับการตัดสิน หรือชี้วัดความพึงใจตลาดโดยทั่วไปมักเปิดเป็นประจำ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑. หลวงพ่อปัญญาพระเดชพระคุณ พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ “หลวงพ่อปัญญา” ของศิษยานุศิษย์ ละสังขาร หรือมรณภาพเสียแล้ว เมื่อเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม ท่ามกลางความรู้สึกสูญเสียของผู้เกี่ยวข้องผู้เขียนไม่เคยมีโอกาสศึกษาธรรมะจากท่านโดยตรงไม่ว่าโดยการฟัง พูดคุย หรืออ่านหนังสืออีกทั้งยังไม่เคยได้รับใช้ใกล้ชิด หรือมีโอกาสได้จำพรรษาร่วมอารามกับท่านแม้สักพรรษาเดียวแต่ด้วยความที่เติบโตมาในจังหวัดบ้านเกิดของท่านบวชเรียนในวัดที่หลวงพ่อเคยชี้ให้ดูโคนต้นขนุนชราแล้วบอกว่า… ครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กเลี้ยงวัว เคยนั่งพักร่มขนุนต้นนี้บ่อยๆในคราวหนึ่ง เมื่อท่านแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนวัดเล็กๆ วัดนั้นหลวงพ่อปัญญา…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
หลายองค์กรชาวพุทธออกมา “คัดค้าน”การประกวด การตัดสิน และการให้รางวัล ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งอย่างรุนแรง และต่อเนื่องกล่าวโทษถึงขั้นมุ่งร้าย และ/หรือ ทำลายพระพุทธศาสนาค่าที่ศิลปินผู้นั้นเขียนภาพ “ภิกษุสันดานกา”ในลักษณะอาการ ตำหนิ หรือติเตียน การกระทำสำหรับพฤติกรรมอันน่ารังเกียจอย่างที่ชาวโลกเห็นว่าผู้เป็น “สมณะ” ไม่ควรประพฤติแต่ในที่สุด กลุ่มบุคคล หรือองค์กร รวมทั้งหน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้พบว่า…มีชาวพุทธจำนวนหนึ่งเช่นกันที่ไม่เห็นด้วย เอือมระอา หรือรังเกียจ “การแสดงออก” ของตน หรือของพวกตน และมีบ้าง ที่ถึงขั้นกล่าวว่าเป็นอาการ “ร้อนตัว” “วัวสันหลังหวะ” หรือ “กินปูนร้อนท้อง”…