Skip to main content
 

คุยกันเล่นๆ ในบางวันของชีวิต

ว่าเรามี "รัฐ" และ "รัฐบาล" ไปทำไม?

 

บางคนตอบทีเล่นทีจริง

แต่ค่อนข้างขมขื่น ว่า...

ไม่ได้อยากมี มัน "มี" มาแล้ว

และมัน "มี" ของมันเอง

 

ทำนองว่า... มีมาแต่ไหนแต่ไร

หรือ "ที่ไหนๆ" และ "ใครๆ" ก็มีกัน

 

อะไรทำนองนั้น...ประมาณนั้น !

 

"รัฐ" คือ อะไร? และมีความจำเป็นอย่างไร?

ฟังดูเป็นวิชาการ และขึงขัง "เป็นงานเป็นการยิ่ง"...

 

ลองค้นดูใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542

ก็พบความหมาย(หรือคำแปล?) ว่า...

รัฐ, รัฐ- [รัด, รัดถะ-] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุด

ของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร).

 

อ่านแล้ว "งง" ไหม?

กับการสื่อสารของเหล่าผู้รู้-ราชบัณฑิต!!

 

ช่างเถอะ..

ถึงจะงงๆ กับการสรุปให้สั้นที่สุด

(นี่แปลว่า "ชัดที่สุด" แน่หรือ?)

แต่ก็พบสิ่งน่าตื่นตา ว่า...

ในภาษาสันสกฤต "รัฐ" นั้นคือ "ราษฎร"

 

น่าสนใจไหมเล่า...

ที่คำว่า "ราษฎร" แปลว่า "รัฐ"

ซึ่งหมายถึง แคว้น บ้านเมือง และ ประเทศ

มาแต่ครั้งโบราณ ครั้งที่ใช้ภาษาสันสกฤตโน่น...

 

ก็แล้วใครกัน?

ที่ทำให้ความหมายดีๆ อย่างนี้เลือนไปเสีย...

 

...............

 

กลับมาที่วงสนทนาตอนต้น

ยังมีการคุยกัน "เล่นๆ" ว่า...

 

ถ้า "รัฐ" ซึ่งดูแล หรือบริหารโดย "รัฐบาล"

ไม่สามารถแม้แต่จะ ...

 

๑. จัดเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ประชาชน ปีละชุด 2 ชุด

๒. จัดหายารักษาโรค หรือการรักษาพยาบาล(ขั้นพื้นฐาน)ฟรี

๓. จัดหาที่อยู่อาศัย(เฉพาะคนที่ไม่สามารถจัดหาเองได้)อันมั่นคงถาวร

๔. จัดหาอาหารบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ยากไร้

และในยามประสบภัย(ให้อย่างเหมาะสมและทั่วถึง)

 

หรือ ถ้าให้ดีไปกว่านั้น

บางคนเสนอให้ลองเพิ่ม...

 

๕. จัดหาบำนาญให้กับทุกคนที่อายุเกิน ๖๐ ปี(ถึงไม่ใช่คนของรัฐก็เถอะ)

๖. จัดให้ผู้สูงอายุ(เกิน ๖๐ นั่นล่ะกระมัง)ได้เดินทางท่องเที่ยวฟรี สักปีละครั้ง

๗. จัดให้มีบริการด้านสาธารณสุข(เป็นพิเศษ)สำหรับคนชรา คนยากไร้

และผู้ประสบภัย

 

และ/หรือ

 

๘. จัดการศึกษาและให้โอกาสที่เท่าเทียมในทุกระดับ โดยไม่เร่งรัดหรือจำกัดเวลา

๙. เปิดโอกาสให้พัฒนาและใช้ศักยภาพ โดยการเสนอโครงการเพื่อรับทุน

มาทำงานแก้ปัญหาบางระดับ(ตามความเชื่อผู้ขอทุน)ว่าควรจะเป็นเช่นนั้นเช่นนี้

แทนที่รัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนจะผูกขาดไว้ทำเอง

๑๐. เปิดโอกาสและให้ช่องทาง สำหรับเข้าถึงทรัพยากร องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของรัฐ

 

ตลอดจน

 

๑๑. เปิดโอกาสและช่องทางให้แสดงศักยภาพ

๑๒. เปิดโอกาสและช่องทางให้เข้าถึงแหล่งทุน(นอกรัฐ) โดยมีรัฐเป็นผู้รับรองหรือค้ำประกัน

๑๓. เปิดโอกาสและช่องทางให้ประชาชนได้เข้าถึง(ใช้งาน)บุคลากรและเครื่องมือของภาครัฐ

๑๔. ส่งเสริมและสนับสนุนการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลสาธารณะระหว่างบุคคลและองค์กร ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ทางสังคม และประชาสังคม

 

ฯลฯ

 

บางคนยิ้มขื่นๆ บางคนหัวเราะเฝื่อนๆ

ขณะที่บางคนส่ายหน้า พลางว่า "ยากที่จะเป็นไปได้..."

 

โดยบางคนเหม่อลอยและงงงัน

กับจินตนาการที่ไม่เคยลองคิด

 

..................

 

ออกจะน่าประหลาด

ที่แม้วงคุยเล่นๆ เราก็แทบไม่มีจินตนาการ "ว่าด้วยรัฐ"

 

แถมไม่รู้เอาเลย

ว่ายังมีวงคุยจริงจังเรื่องนี้อยู่ที่ไหนบ้าง..

ที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึง?

 

นอกจากบนหอคอยงาช้าง ที่เรียกกันว่า "แวดวงวิชาการ"

 

...................

 

สิบกว่าข้อที่คุยกันในวงเล็กๆ

จะมีโอกาสแปรไปเป็น"นโยบาย" หรือ "แนวทางการพัฒนา"

"ของรัฐ" บ้างไหม?

 

มีโอกาสเป็น "นโยบายพรรคการเมือง" บ้างไหม?

มีโอกาสวางกรอบไว้ในกฎหมายลูก

หรือกฎหมายสูงสุด เช่น "รัฐธรรมนูญบ้างหรือไม่?

 

หรือมีโอกาสกำหนดอยู่ในกรอบโครงใหญ่ๆ ใดๆ อีกบ้าง?

 

...................

 

ยังเขียน(พิมพ์)ไม่ถึงไหน

 

ข่าวก็ส่งเสียงมาจากไกลๆ ว่า...

สภาผู้แทนราษฎรที่เปิดไปแล้วตั้งกะวันก่อนนี้

ได้ประธานสภาผู้แทนราษฎร(และว่าที่ประธานรัฐสภา)แล้ว

เป็นคนจากพรรคพลังประชาชน

อีกไม่นานก็จะมีนายกรัฐมนตรีมาจากพรรคพลังประชาชน

มีรัฐบาลมาจากพรรคพลังประชาชน

และมีอีกหลายๆ อย่างมาจาก "พรรคพลังประชาชน"

และภาคีร่วมบุฟเฟ่ต์

 

พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก ซึ่งเมื่อรวมกับอีก 5 พรรคแล้ว

ก็มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล

ด้วยความชอบธรรม ของการเมืองระบบตัวแทน

 

.................

 

ประเทศไทยเพิ่งผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.

และกำลังจะมี "รัฐบาล" เข้ามาบริหารประเทศ

 

เพื่อ "บริหาร-จัดการ" ให้ "รัฐไทย" ก้าวต่อไป

 

ซึ่งดูจะมีหมอกเมฆและม่านควันทึมทึบเป็นด่านแรก

ราวกับหนังตัวอย่างอันน่าตระหนก

จน "ท่านผู้ชม" ขวัญผวาก่อนที่หนังจริงจะเริ่มฉายเสียด้วยซ้ำ...

.................

 

จะอย่างไรก็แล้วแต่...

 

อยากฝากไปถึง "คุณทักษิณและคณะฯ" ด้วยว่า...

 

การเขียนบทและกำกับภาพยนต์

ว่าด้วย "รัฐไทย2551" เรื่องนี้...

เป็นจินตนาการเสียดเย้ย และประชดประเทียด

ระดับ "ตลกร้าย" ชนิด 5 ดาว โดยแท้...

 

เพราะย้อนหลังไปสองสามปี...

 

ถ้าวันนั้นใครบอกว่าคุณสมัครจะเป็นแคนดิเดตนายกฯ,

คุณยงยุทธจะเป็นประธานรัฐสภา,

คุณเฉลิมเป็นแคนดิเดตรัฐมนตรีว่าการมหาดไทย หรือยุติธรรม

 

และ...คุณเสนาะจะกลับไปร่วมงานกับคุณทักษิณ

หรือ คนของคุณทักษิณ

 

ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ

 

ถ้าไม่โดนโห่ฮา คนพูดก็น่าจะเป็นจำอวดตัวกลั่น

หรือไม่ก็กำลังแสดงสภาโจ้กอยู่แน่ๆ...

 

แต่แล้วคุณทักษิณก็เหนือชั้น

และทำได้อีกครั้ง...

 

ราวกับจะบอกเป็นนัยๆ ว่า

"เมื่อพวกเอ็งไม่เอาข้า... ก็เอาไอ้พวกนี้ไปอวดชาวโลกละกัน!!"

 

จินตนาการว่าด้วย "รัฐ" และ "รัฐบาล" ของท่านอดีตนายกฯ

ช่างร้ายกาจจน "เหลือจะทน" เอาเสียจริงๆ...

 

ไม่ใช่คุณทักษิณ

ใครจะทำได้อย่างนี้ หรือขนาดนี้

 

คิดฉากจบไม่ออก

ยอมรับว่า "เดาไม่ถูก-คาดไม่ได้" เอาจริงๆ

บล็อกของ พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ

พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
นางคำ เหล้าหวาน ถูกจับกุมเมื่อต้นเดือนเมษายน 2551ในข้อหาประมาณว่า.."ประมาท ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ ฯลฯ.."เหตุเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 254816 วัน หลังจากนางคำพบศพพระสุพจน์ สุวโจซึ่งถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2548
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
กว่า 7 เดือนมาแล้ว...ที่ความป่วยไข้มาเยือนอย่างหนักหนาสาหัสหลังจากที่ส่อแสดงความ "แปรปรวน" ของเหตุปัจจัยมาบ้างแล้วนับย้อนทวน ก็อาจเป็นเวลากว่า 1 ปีใครเคยมีประสบการณ์แห่งความเจ็บปวดทางกายมาบ้างคงพอเข้าใจได้ว่า..หากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดบาดเจ็บ กระทั่งทุพลภาพชั่วคราวจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และความลังเลสงสัยที่ไม่รู้-ไม่แน่ใจ ย่อมนำไปสู่เวทนา และตามมาด้วยการปรุงแต่ง กระทั่งจบลงที่ความทุกข์อันทนได้ยากแต่ถ้าใครสักคน...มีเหตุให้ต้องเจ็บปวดไปแทบทุกข้อกระดูกทุกเส้นเอ็น ทุกมัดกล้ามเนื้อและท้ายสุด…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  .............. ว่ากันว่า...โชคลาภวาสนาเป็นเรื่องชะตาลิขิต แต่ถึงอย่างนั้นในฐานะชาวพุทธ คงจะละเลยเรื่องเหตุปัจจัยและ "กรรม-วิบากกรรม" ไปไม่ได้ .............. จะอย่างไรก็แล้วแต่ถึงบัดนี้ คุณสมัคร สุนทรเวช ก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านขั้นตอนแบไทยๆ คือมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเรียบร้อยแล้วรอเพียงการเสนอรายชื่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโปรดเกล้าฯ และเสนอนโยบายรัฐบาลผ่านสภาฯ ... คำปรามาสของใครต่อใครก็จะกลายเป็นการดูหมิ่นและอาจนำไปสู่ระดับที่คุณสมัครถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทไปได้ในที่สุด สรุปความได้ ว่า "นายกรัฐมนตรี คนที่ 25" คือ นายสมัคร…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  คุยกันเล่นๆ ในบางวันของชีวิตว่าเรามี "รัฐ" และ "รัฐบาล" ไปทำไม? บางคนตอบทีเล่นทีจริงแต่ค่อนข้างขมขื่น ว่า...ไม่ได้อยากมี มัน "มี" มาแล้วและมัน "มี" ของมันเอง ทำนองว่า... มีมาแต่ไหนแต่ไรหรือ "ที่ไหนๆ" และ "ใครๆ" ก็มีกัน อะไรทำนองนั้น...ประมาณนั้น ! "รัฐ" คือ อะไร? และมีความจำเป็นอย่างไร?ฟังดูเป็นวิชาการ และขึงขัง "เป็นงานเป็นการยิ่ง"... ลองค้นดูใน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542 ก็พบความหมาย(หรือคำแปล?) ว่า...รัฐ, รัฐ- [รัด, รัดถะ-] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร). อ่านแล้ว "งง" ไหม?…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
  2 - 3 วันมานี้มีโอกาสอ่านบทความเชิงวิเคราะห์ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นเร็วๆ นี้ หลายต่อหลายชิ้น ที่เห็นพ้องกันว่า... สุดท้าย..พรรคแกนนำก็คงเป็น "พลังประชาชน"โดยมีพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็ก เข้าร่วมด้วยทั้งหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นพรรคการเมืองอีกฟาก... คอลัมนิสต์บางรายเชื่อว่านี่เป็นผลมาจาก "คณิตศาสตร์การเมือง" เกี่ยวกับจำนวน ส.ส.และความน่าจะเป็น ของชัยชนะจากการเลือกตั้ง และเลือกตั้งซ่อมตลอดจนสัดส่วน ของการแบ่งสรรตำแหน่งรัฐมนตรีที่พรรคพลังประชาชนสามารถตอบสนองได้ดีกว่าประชาธิปัตย์ แถมยังน่าจะมั่นคงกว่าเกี่ยวกับอนาคตของรัฐบาลผสม... บางคนบอกว่านี่เป็น…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
เคยซื้อหนังสือ "ฟ้าเดียวกัน" ราย 3 เดือนมาอ่านอยู่บ้าง ส่วนใหญ่ซื้อจาก "ลุงเสริฐ" ที่มักมีหนังสือทางเลือกมาขายแบกะดินตามงาน หรือตามกิจกรรม เคลื่อนไหว-รณรงค์ ต่างๆ อยู่เสมอก็ได้แต่ชื่นชมกับใครต่อใคร ว่าคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ช่างกล้าหาญและดูจะมากความสามารถเพราะประเด็นของ "ฟ้าเดียวกัน" แต่ละเล่ม เป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้ความสามารถในการ จัดการ-จัดทำ มากทีเดียว ต้องออกตัวไว้นิด ว่าไม่เคยอ่านเล่มไหนจบใน 3 เดือนเลยด้วยว่าเนื้อหามากมาย หนักหน่วง หลายประเด็นเกินสติปัญญาไปมาก... หลังๆ มาได้ข่าวอยู่ ว่าคุณธนาพล ซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"ดูเหมือนจะพร้อมๆ กับ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑.การเมืองของนักเลือกตั้งเร่าร้อนยิ่งขึ้นทุกขณะการแถลงข่าวของบุคคล กลุ่ม ก๊วน และพรรค ตลอดจน "อนาคตพรรคการเมือง"มีขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ราวกับตลาดนัดในอดีต ที่มีทั้งปาหี่ คนเล่นกล พ่อค้าเร่และแม่ค้า "เจ้าประจำ" คุ้นหน้าสถานที่พบปะระหว่าง "ผู้ซื้อ" กับ "ผู้ขาย" นั้นเรียกกันง่ายๆ ว่า "ตลาด" โดยมี "สินค้า" เป็นสื่อกลาง แลกเปลี่ยนความพึงใจระหว่างกัน...ในที่ชุมนุมเช่นนี้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง "คุณค่า" และ "มูลค่า"นอกจากจะมี "ความจริง" เป็นเครื่องเทียบเคียงแล้วดูเหมือนว่า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยสำหรับการตัดสิน หรือชี้วัดความพึงใจตลาดโดยทั่วไปมักเปิดเป็นประจำ…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
๑. หลวงพ่อปัญญาพระเดชพระคุณ พระพรหมมังคลาจารย์ หรือ “หลวงพ่อปัญญา” ของศิษยานุศิษย์ ละสังขาร หรือมรณภาพเสียแล้ว เมื่อเช้าวันที่ ๑๐ ตุลาคม ท่ามกลางความรู้สึกสูญเสียของผู้เกี่ยวข้องผู้เขียนไม่เคยมีโอกาสศึกษาธรรมะจากท่านโดยตรงไม่ว่าโดยการฟัง พูดคุย หรืออ่านหนังสืออีกทั้งยังไม่เคยได้รับใช้ใกล้ชิด หรือมีโอกาสได้จำพรรษาร่วมอารามกับท่านแม้สักพรรษาเดียวแต่ด้วยความที่เติบโตมาในจังหวัดบ้านเกิดของท่านบวชเรียนในวัดที่หลวงพ่อเคยชี้ให้ดูโคนต้นขนุนชราแล้วบอกว่า… ครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กเลี้ยงวัว เคยนั่งพักร่มขนุนต้นนี้บ่อยๆในคราวหนึ่ง เมื่อท่านแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนวัดเล็กๆ วัดนั้นหลวงพ่อปัญญา…
พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ
หลายองค์กรชาวพุทธออกมา “คัดค้าน”การประกวด การตัดสิน และการให้รางวัล ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งอย่างรุนแรง และต่อเนื่องกล่าวโทษถึงขั้นมุ่งร้าย และ/หรือ ทำลายพระพุทธศาสนาค่าที่ศิลปินผู้นั้นเขียนภาพ “ภิกษุสันดานกา”ในลักษณะอาการ ตำหนิ หรือติเตียน การกระทำสำหรับพฤติกรรมอันน่ารังเกียจอย่างที่ชาวโลกเห็นว่าผู้เป็น “สมณะ” ไม่ควรประพฤติแต่ในที่สุด กลุ่มบุคคล หรือองค์กร รวมทั้งหน่วยงานรัฐ เช่น สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้พบว่า…มีชาวพุทธจำนวนหนึ่งเช่นกันที่ไม่เห็นด้วย เอือมระอา หรือรังเกียจ “การแสดงออก” ของตน หรือของพวกตน และมีบ้าง ที่ถึงขั้นกล่าวว่าเป็นอาการ “ร้อนตัว” “วัวสันหลังหวะ” หรือ “กินปูนร้อนท้อง”…