Skip to main content

อยากให้ทุกคนดูตารางข้างล่างนี้ เมื่อวานฉันไปลุ้นผลการนับคะแนนและจดตัวเลขนี้มากับมือ

นี่เป็นผลการนับคะแนนของหน่วยการลงประชามติ ที่ 13-27 หน่วยนี้มีเฉพาะนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในมหาวิทยาลัยฯ เท่านั้น (สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่มีทะเบียนบ้านในมหาวิทยาลัย ต้องไปลงในหมู่ 7 บ้านท่าโพธิ์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง พิษณุโลก)

 

หน่วยที่

รับ รธน.

ไม่รับ รธน.

รับคำถามพ่วง

ไม่รับคำถามพ่วง

13

222

187

204

207

14

167

146

142

174

15

196

198

177

217

16

328

285

290

332

17

199

170

190

180

18

256

300

232

328

19

367

341

343

367

20

229

271

219

280

21

332

339

298

372

22

246

264

219

291

23

148

181

126

201

24

181

191

168

211

25

208

260

186

290

26

208

224

184

250

27

157

249

147

264

รวม

3444

3606

3125

3964

ร้อยละ

48.85

51.14

44.08

55.91

 

ได้ข่าวมาว่าทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียงโหวต “ไม่รับ” ร่างฯ ชนะ ฉันก็ดีใจ แต่ฉันไม่แปลกใจเพราะใครๆ ก็รู้ๆ ว่าบรรยากาศการเสวนาทางวิชาการของธรรมศาสตร์ บรรยากาศและมูฟเม้นท์ของจังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ และภูมิภาคอีสาน เหนือมันส่งเสริมให้เกิดการ "กาโว กาโว" กันอยู่แล้ว 

แต่ที่น่าปริ่มจนน้ำตาจะไหล คือ....

ท่ามกลางการไม่มีบรรยากาศและปัจจัยแบบธรรมศาสตร์ เชียงใหม่ ขอนแก่น หนำซ้ำยังอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่คนส่วนใหญ่ "รับร่างฯ" (คะแนนเสียงที่คนภาคกลางสวนใหญ่ เห็นชอบ 5,887,881 เสียง (69.46%) ไม่เห็นชอบ 2,588,765 เสียง (30.54%) และที่พิษณุโลกที่คนส่วนใหญ่เห็นชอบรับร่างฯ ประมาณร้อยละ 68) 

และ...ท่ามกลางความทุลักทุเลในการเถียงกับกรรมการประจำหน่วยในการไปดูผลประชามติ เพราะบางหน่วยเอาริบบิ้นมากั้นไม่ให้เข้าไป บางหน่วยฉันเข้าไปได้ แต่กรรมการบอกว่าไม่ให้เข้า บางหน่วยเข้าไปดูแล้วกรรมการบอกไม่ให้ถ่ายรูป หลายหน่วยกรรมการนับคะแนน โดยไม่โชว์บัตรให้เห็น ซึ่งฉันต้องท้วงติง  และหลายหน่วยนับคะแนนเสร็จ ก็ไม่ประกาศผลทันที (พอไปถามบอกว่า กำลังตรวจสอบ) (แต่ในที่นี้ฉันจะไม่ขยายความในประเด็นนี้)

หน่วยออกเสียงประชามติของนิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวร กลับโหวต “ไม่รับ” ร่างฯ และ "ไม่รับ"คำถามพ่วง

และหน่วยที่ชนะขาดอย่างเห็นได้ชัด คือหน่วยของสายสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์

ฉันกำลังมีความหวังกับคนรุ่นใหม่ ฉันเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และเชื่อว่าพวกเราทุกคนคงเห็นเช่นเดียวกัน

เพราะ....นี่คือกำลังใจให้เราทำงานต่อไป...

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
เหมือนประเทศทั้งหลาย ตลาดเสรีโลกาภิวัตน์ของการแปลงที่ดินเป็นสินค้า กำลังดุเดือดเลือดพล่านอยู่ในเวียดนาม ในขณะนี้ เห็นได้จากตลอดทศวรรษที่ผ่านมา มีความตึงเครียดและการประท้วงของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่สูงตอนกลางของประเทศ การประท้วงการ privatization ที่ดิน และการสร้างเขื่อนเซินลา เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่าน
เก๋ อัจฉริยา
หลังจากกลับมาถึงเมืองไทยได้หนึ่งสัปดาห์ เสียงโทรศัพท์ทางไกลจากที่ราบกลางหุบเขา แห่งเมืองมายโจว ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ก็ดังกรี๊งกร๊าง ขึ้นมา “...อาโล้…ถุกเลิมอ่า...ขันบ่าวล้า” (ฮัลโหล...”ถุกเลิม” (ชื่อภาษาเวียดของผู้เขียน) เหรอ สบายดีมั้ย) แล้วตามมาด้วยเสียงแ
เก๋ อัจฉริยา
พร้อมๆ ไปกับการพัฒนาการเมืองสู่ระบอบประชาธิปไตย การเปิดประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ การทะยอยสงบศึกกับชนกลุ่มน้อย การเปิดเสรีด้านแรงงานและเศรษฐกิจอาเซียน การลงทุนเมกาโปรเจคที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย (ที่เขาว่าขนาดของอุตสาหกรรมน่าจะใหญ่กว่ามาบตาพุด 10 – 15 เท่า) การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และอื่นๆ แรงงานชาวพม่
เก๋ อัจฉริยา
ใครว่าสาวบริการทางเพศนั้นไม่มีสิทธิ “เลือก” ลูกค้า ทว่าเป็นแค่ “วัตถุ” ที่รอให้ผู้ชายมาหยิบไป “เสพสม” ใครว่าสาวไม่มีทางเลือกในการทำให้ตัวเองปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บนความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ลูกค้าเหนือกว่า ทั้งโดยความเป็น “ชาย” และความเป็น “ผู้ซื้อ”
เก๋ อัจฉริยา
กาลครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้ว ณ เมืองหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่อยู่บนภาพตัวแทนของการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมไว้ได้มาก  เช่น ภาพอันวิจิตรอลังการของวัดวาอารามต่างๆ ที่มีถึง 37 แห่ง ภาพพระสงฆ์เดินเป็นแถวมารับบิณฑบาตรยาม
เก๋ อัจฉริยา
  วันหนึ่งในหน้าร้อน กลางปี 2556 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้