Skip to main content

อยากให้ทุกคนดูตารางข้างล่างนี้ เมื่อวานฉันไปลุ้นผลการนับคะแนนและจดตัวเลขนี้มากับมือ

นี่เป็นผลการนับคะแนนของหน่วยการลงประชามติ ที่ 13-27 หน่วยนี้มีเฉพาะนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในมหาวิทยาลัยฯ เท่านั้น (สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่มีทะเบียนบ้านในมหาวิทยาลัย ต้องไปลงในหมู่ 7 บ้านท่าโพธิ์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง พิษณุโลก)

 

หน่วยที่

รับ รธน.

ไม่รับ รธน.

รับคำถามพ่วง

ไม่รับคำถามพ่วง

13

222

187

204

207

14

167

146

142

174

15

196

198

177

217

16

328

285

290

332

17

199

170

190

180

18

256

300

232

328

19

367

341

343

367

20

229

271

219

280

21

332

339

298

372

22

246

264

219

291

23

148

181

126

201

24

181

191

168

211

25

208

260

186

290

26

208

224

184

250

27

157

249

147

264

รวม

3444

3606

3125

3964

ร้อยละ

48.85

51.14

44.08

55.91

 

ได้ข่าวมาว่าทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสียงโหวต “ไม่รับ” ร่างฯ ชนะ ฉันก็ดีใจ แต่ฉันไม่แปลกใจเพราะใครๆ ก็รู้ๆ ว่าบรรยากาศการเสวนาทางวิชาการของธรรมศาสตร์ บรรยากาศและมูฟเม้นท์ของจังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ และภูมิภาคอีสาน เหนือมันส่งเสริมให้เกิดการ "กาโว กาโว" กันอยู่แล้ว 

แต่ที่น่าปริ่มจนน้ำตาจะไหล คือ....

ท่ามกลางการไม่มีบรรยากาศและปัจจัยแบบธรรมศาสตร์ เชียงใหม่ ขอนแก่น หนำซ้ำยังอยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่คนส่วนใหญ่ "รับร่างฯ" (คะแนนเสียงที่คนภาคกลางสวนใหญ่ เห็นชอบ 5,887,881 เสียง (69.46%) ไม่เห็นชอบ 2,588,765 เสียง (30.54%) และที่พิษณุโลกที่คนส่วนใหญ่เห็นชอบรับร่างฯ ประมาณร้อยละ 68) 

และ...ท่ามกลางความทุลักทุเลในการเถียงกับกรรมการประจำหน่วยในการไปดูผลประชามติ เพราะบางหน่วยเอาริบบิ้นมากั้นไม่ให้เข้าไป บางหน่วยฉันเข้าไปได้ แต่กรรมการบอกว่าไม่ให้เข้า บางหน่วยเข้าไปดูแล้วกรรมการบอกไม่ให้ถ่ายรูป หลายหน่วยกรรมการนับคะแนน โดยไม่โชว์บัตรให้เห็น ซึ่งฉันต้องท้วงติง  และหลายหน่วยนับคะแนนเสร็จ ก็ไม่ประกาศผลทันที (พอไปถามบอกว่า กำลังตรวจสอบ) (แต่ในที่นี้ฉันจะไม่ขยายความในประเด็นนี้)

หน่วยออกเสียงประชามติของนิสิตในมหาวิทยาลัยนเรศวร กลับโหวต “ไม่รับ” ร่างฯ และ "ไม่รับ"คำถามพ่วง

และหน่วยที่ชนะขาดอย่างเห็นได้ชัด คือหน่วยของสายสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์

ฉันกำลังมีความหวังกับคนรุ่นใหม่ ฉันเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และเชื่อว่าพวกเราทุกคนคงเห็นเช่นเดียวกัน

เพราะ....นี่คือกำลังใจให้เราทำงานต่อไป...

บล็อกของ เก๋ อัจฉริยา

เก๋ อัจฉริยา
ครบปีแล้วสินะที่เราเดินตามก้นอาจารย์อานันท์ไปสำรวจซิดนี่ย์... เมื่อเอารูปเก่าๆ มาดู...ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า วันนั้น อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ ในวัย ๖๘ ปี นอกจากจะสอนหนังสือมาราธอน สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๙ ชม.
เก๋ อัจฉริยา
มอญในเมียนมาร์ ไม่ว่าจะอยู่ที่เมียนมาร์แลนด์หรือไทยแลนด์ ต่างก็ได้ชื่อว่า เป็น “คนอื่น” ในแผ่นดินที่ (เคย) เป็นของตัวเอง ถ้าเรามองภายใต้กระบวนทัศน์ที่แบบมองอะไรแบบ “เชิงเดี่ยว”  
เก๋ อัจฉริยา
แรงงานชาวเมียนม่าร์ (พม่า มอญ ทวาย อารกัน ฉาน กระเหรี่ยง ฯลฯ) ที่สมุทรสาคร แม้มียอดลงทะเบียนทั้งเก่าและใหม่ถึง 387,510 คน แต่จากการประมาณการของ NGOs ทั้งไทยและเมียนม่าร์ น่าจะมีประมาณ 600,000 – 700,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้ติดตามไม่น้อยกว่า 15,000 คน แต่เชื่อหรือไม่ว่า เด็กเหล่านี้เพียงร้อยละ 7.6 ที
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ไปนิเทศน์นิสิตที่ฝึกงานที่บ้านพักเด็กและครอบครัว แห่งหนึ่งของทางราชการ และได้พบกับเด็กชายชาวพม่า ๒ คนที่ถูกตำรวจจับและส่งให้บ้านพักเด็กแห่งนี้ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก เด็กคนแรกอายุประมาณ ๑๑-๑๒ ขวบ คนที่สองเป็นน้องอายุประมาณ ๗-๘ ขวบ
เก๋ อัจฉริยา
ในฐานะนักมานุษยวิทยาการท่องเที่ยว ผู้เขียนจะรู้สึกฟินฝุดๆ เมื่อพบว่าพื้นที่ท่องเที่ยวใดเปิดโอกาส เปิดที่ เปิดทางให้คนเล็กคนน้อยได้ทำมาหากิน และเปิดที่ เปิดทาง เปิดโอกาส ให้คนเล็กคนน้อยได้เที่ยวในราคาถูกแบบบ้านๆ เช่นกัน
เก๋ อัจฉริยา
บั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลายชั่วอายุคนแล้ว ไม่ใช่ของใหม่ แต่ที่น่าสนใจเพราะมันเพิ่งได้รับความสนใจเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง จำได้ว่าเมื่อตอนเป็นวัยรุ่น ผู้เขียนใช้ชีวิตไปๆ มาๆ ระหว่างกรุงเทพฯ – หนองคาย 3 ปี พ่อเล่าให้ฟังว่ามีบั้งไฟขึ้นกลางลำน้ำโขงตอนออกพรรษา แต่ไม่มีใครในบ้านสนใจไปดูแ
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อมีคนรู้ว่าผู้เขียนพานิสิตจำนวน 16 คนไปถ่ายทำสารคดีบั้งไฟพญานาค ส่วนใหญ่ต่างก็ถามว่า มา “พิสูจน์” บั้งไฟพญานาคหรือ?
เก๋ อัจฉริยา
เมื่อพูดถึงเจดีย์ไชทียู หรือที่คนไทยรู้จักในนามพระธาตุอินทร์แขวน ก็ขอให้ลืมเป็นการชั่วคราวเรื่องตำนานพระฤาษี และความศักดิ์สิทธิ์ แต่สิ่งที่อยากจะเล่าสู่กันฟังในวันนี้คือชีวิตของคนเล็กคนน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาสร้างการดำรงชีพในพื้นที่ท่องเที่ยว ณ ที่แห่งนี้
เก๋ อัจฉริยา
            เหตุเกิดเมื่อกลางปี 2008 นักมานุษยวิทยาสมัครเล่นนางหนึ่งได้ใช้เวลา 3 วันโดดเรียนไปเที่ยวที่ Sa Pa (ซาปา) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “hill” มากกว
เก๋ อัจฉริยา
ณ วัดเทพฯ มหาชัย สมุทรสาคร ในวันสงกรานต์ มีแรงงานพม่ามาทำกิจกรรมทางศาสนาไม่ต่ำกว่าหมื่นคน เมื่อดูจากผู้คนที่มาทำกิจกรรมฯ ที่วัดในวันนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า แรงงานพม่าที่มหาชัย มีเชื้อชาติพม่า-พม่า มีน้อยมาก ทว่าส่วนใหญ่เป็นมอญ-พม่า ทวาย-พม่า และอารกัน-พม่า (จากรัฐยะไข่) (ตามลำดับ) พวกเขา แม้อย