มาร์กซิสม์ 101 - ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธี
(Marxism 101 - What is Dialectical Materialism)
Rob Sewell (2002)
---------------------------------------------
แปลเป็นภาษาไทย : โดย จักรพล ผลละออ
Translated to Thai by : Jakkapon Phonlaor
---------------------------------------------
บทนำ (Introduction)
มาร์กซิสต์ หรือ วิทยาศาสตร์สังคมนิยม คือชื่อเรียกของความคิดที่สร้างขึ้นโดยคาร์ล มาร์กซ์ (1818 - 1883) และ ฟรีดิช เองเกลส์ (1820 - 1895) โดยความคิดดังกล่าวนั้นได้สร้างรากฐานทางทฤษฎีสำหรับการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานเพื่อบรรลุการสร้างรูปแบบทางสังคมใหม่ที่ดียิ่งขึ้น - นั่นคือสังคมนิยม
งานศึกษาของลัทธิมาร์กซิสต์นั้นวางอยู่บนหัวข้อสำคัญสามประการที่สอดคล้องต่อเนื่องกันนั่นคือ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ทางสังคม และเศรษฐศาสตร์ - วัตถุนิยมวิภาษวิธี วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์ ซึ่งทั้งสามนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันในนาม “องค์ประกอบสำคัญสามประการของลัทธิมาร์กซิสต์” ดังเช่นที่เลนินได้เขียนไว้
บทความต่อเนื่องในการศึกษาสังคมนิยมนี้เริ่มต้นขึ้นเพื่อสนับสนุนการศึกษาลัทธิมาร์กซิสต์ โดยผู้จัดทำตั้งใจว่ามันจะเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาความคิดในลัทธิมาร์กซิสต์ ด้วยการจัดเตรียมบทความเบื้องต้นสำหรับหัวข้อสำคัญต่างๆที่มีระดับภาษาและเนื้อหาที่เหมาะสมซึ่งผู้จัดทำคาดหวังว่ามันจะช่วยพัฒนาความกระหายใคร่รู้และความสนใจให้กับผู่อ่านที่จะศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติม และในบทความยาวชิ้นแรกสำหรับการศึกษาสังคมนิยมนี้เราได้เลือกที่จะนำเสนอเรื่อง “วัตถุนิยมวิภาษวิธี” ขึ้นมาก่อน ส่วน “องค์ประกอบสำคัญ” อื่นๆจะถูกนำเสนอต่อไปในอนาคต บทความคู่มือการศึกษานี้เหมาะสำหรับการศึกษาคนเดียวหรือจะใช้เป็นงานพื้นฐานสำหรับกลุ่มศึกษาก็ได้เช่นกัน
ในส่วนต้นของงานเรื่องวัตถุนิยมวิภาษวิธีนี้ทางกองบรรณาธิการได้เผยแพร่บทความพื้นฐานเบื้องต้นของ Rob Sewell เป็นอันดับแรกเพราะมันเป็นบทความที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้น เพราะมันไม่มีการบิดเบือนเนื้อความในงานปรัชญาของมาร์กซ์ เองเกลส์ เลนิน ทรอสกี้ เพลคาร์นอฟ หรือคนอื่นๆเลย อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องโชคร้ายที่มาร์กซ์และเองเกลส์นั้นไม่ได้เขียนงานที่ครอบคลุมเรื่องวัตถุนิยมวิภาษวิธีไว้ แม้ว่าพวกเขาตั้งใจจะเขียนมันขึ้นก็ตาม และในวาระสุดท้ายของชีวิต เองเกลส์ได้ทิ้งงานต้นฉบับจำวนมากเอาไว้ อันเป็นงานที่เขาตั้งใจว่าจะรวบรวมขึ้นเป็นโครงร่างของการอธิบายเรื่องวัตถุนิยมวิภาษวิธี หรือกฎของพลวัตรทางธรรมชาติ สังคมมนุษย์ และความคิดของมนุษย์ ซึ่งต่อมางานเหล่านี้ได้ถูกตีพิมพ์ในชื่อ วิภาษวิธีของธรรมชาติ อย่างไรก็ตามในงานที่ไมสำเร็จนี้ มาร์กซ์และเองเกลส์ก็ได้ทิ้งข้อมูลสำคัญในการเข้าใจถึงระเบียบวิธีการแบบมาร์กซิสต์ซึ่งมีความเป็นวิทยาศาสตร์เอาไว้แล้ว
ผู้จัดทำคาดหวังว่านักอ่านหรือผู้ที่สนใจศึกษาจะไม่ย่อท้อหรือยอมแพ้ต่อความยากลำบากในการทำความเข้าใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมในงานชิ้นนี้ซึ่งอาจจะปรากฎออกมาบ้างในบางครั้ง การเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างย่อมจะยากลำบากเสมอแต่ความพยายามที่ไม่ย่อท้อนั้นย่อมต้องได้รับผลรางวัลตอบแทน ลัทธฺมาร์กซิสต์นั้นเป็นศาสตร์ที่มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะทางของตัวเอง และด้วยเหตุนั้นเองมันอาจจะทำให้ผู้อ่านต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเริ่มต้นศึกษา
ทฤษฎีของลัทธิมาร์กซิสต์นั้นให้ความคิดที่ครอบคลุมแก่คนงาน มันจึงเป็นหน้าที่สำคัญของคนงานและปัญญาชนที่จะต้องยึดกุมและทำความเข้าใจทฤษฎีของมาร์กซ์ และเองเกลส์ให้กระจ่างถ่องแท้ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าความเข้าใจต่อทฤษฎีนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจะทำให้ชนชั้นแรงงานมีชัยชนะ
บทความยาวต่อเนื่องนี้ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยตามนี้
ทำไมเราจึงต้องการปรัชญา?
(Do we need a philosophy?)
ข้อจำกัดของระบบตรรกะทั่วไป
(The Limits of Formal logic)
วัตถุนิยม และ จิตนิยม
(Materialism versus Idealism)
วิภาษวิธี และ อภิปรัชญา
(Dialectics and Metaphysics)
กฎของการเปลี่ยนปริมาณไปสู่คุณภาพ
(The law of quantity into quality)
ผลรวมของความเป็นขั้วตรงข้าม
(The Unity of Opposites)
การปฏิเสธของการปฏิเสธ
(The Negation of Negation)
เฮเกล และ มาร์กซ์
(Hegel and Marx)
บนเริ่มต้นสำหรับวัตถุนิยมวิภาษวิธี โดย ทรอสกี้
(The ABC of Materialist Dialectics, by Trotsky)
จาก ‘ลุดวิก ฟอยเออร์บัคและจุดจบของปรัชญาคลาสสิค’ โดย เองเกลส์
(From 'Ludwig Feuerbach and the End of Classical Philosophy', by Engels)
สามส่วนประกอบสำคัญของลัทธิมาร์กซิสต์ (สรุปความ) โดย เลนิน
(The Three Sources and Components parts of Marxism (extract), by Lenin)
จากงานเขียนที่รวบรวมไว้ของเลนิน
- Volume 38, p359 : ว่าด้วยคำถามของวิภาษวิธี
- Volume 38, pp 221 - 222 ส่วนสรุปของวิภาษวิธี
(Lenin's Collected Works:
- VOLUME 38, p359: On the Question of Dialectics
- VOLUME 38, pp 221 - 222 Summary of Dialectics)
คำถามว่าด้วยวัตถุนิยมวิภาษวิธี :หนังสือแนะนำเพิ่มเติม
(Questions on Dialectical Materialism: Suggested Reading List)
ผู้จัดทำนั้นตระหนักดีว่ามันมีอุปสรรคที่สำคัญยิ่งซึ่งขัดขวางไม่ให้ชนชั้นแรงงานสามารถเข้าถึงทฤษฎีเหล่านี้ด้ นั่นคือการทำงาน ภายใต้ระบบทุนนิยมแรงงานถูกบีบบังคับให้ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดวัน พวกเขาอาจจะไม่ได้รับการศึกษาที่ดีเพียงพอหรือไม่รู้สึกว่าจำเป็นจะต้องศึกษาทฤษฎีเหล่านี้และด้วยเหตุนั้นจึงทำให้ชนชั้นแรงงานขาดแรงจูงใจและความสนใจในการอ่าน และพวกเขายังจะต้องประสบปัญหาในการทำความเข้าใจต่อความคิดที่ยากขึ้นเรื่อยๆในทฤษฎีและความคิดที่ซับซ้อนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเริ่มต้น แต่กระนั้นมาร์กซ์และเองเกลส์ก็ได้ทิ้งข้อวามสำคัญเอาไว้ให้แก่ชนชั้นแรงงาน และคำกล่าวนี้ไม่ใช่คำที่พูดขึ้นเพื่อพวกปัญญาชนที่ “ฉลาดเฉลียว” นั่นคือ “ทุกๆการเริ่มต้นนั้นยากลำบากเสมอ” และไม่สำคัญว่าเรากำลังจะพูดถึงศาสตร์หรือวิชาความรู้อะไรอยู่ก็ตาม
และเมื่อเราสามารถยึดกุมความคิดทฤษฎีแบบมาร์ซิสต์ไว้ได้แล้ว มันจะช่วยเปิดมุมมองใหม่ให้แก่เราทั้งในทางการเมือง มุมมองเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น และทุกๆมุมมองอื่นๆของชีวิต
กองบรรณาธิการ
ตุลาคม 2002
---
ทำไมเราจึงต้องการปรัชญา? (Do we need a philosophy?)
วิทยาศาสตร์สังคมนิยม หรือ มาร์กซิสต์ นั้นประกอบขึ้นจากสามเสาหลักคือ วัตถุนิยมวิภาษวิธี วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์ ในบทความยาวนี้เป็นบทแนะนำเบื้องต้นเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับหลักวัตถุนิยมวิภาษวิธี อันเป็นระเบียบวิธีการคิดของนักมาร์กซิสต์
สำหรับผู้อ่านซึ่งไม่คุ้นเคยกับงานปรัชญามาร์กซิสต์ ท่านอาจจะรู้สึกว่าวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นดูเป็นเรื่องคลุมเครือที่ยากต่อการทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้อ่านที่เตรียมตัวและพร้อมจะใช้เวลาไปกับการศึกษาทฤษฎีและมุมมองทางปรัชญาแบบมาร์กซิสต์แล้วพวกเขาจะค้นพบมุมมองหรือมโนทัศน์แบบการปฏิวัติที่จะทำให้พวกเขาเข้าถึงความเข้าใจที่แท้จริงท่ามกลางเรื่องราวต่างๆในโลกที่เราอาศัยอยู่ ความเข้าใจในเรื่องวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำความเข้าใจทฤษฎีมาร์กซิสต์ วัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นคือปรัชญามาร์กซิสต์ซึ่งจะทำให้เรามีมโนทัศน์ในการมองโลกที่ครอบคลุมและเป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็นรากฐานทางปรัชญาและกระบวนการคิดที่ก่อให้เกิดทฤษฎีมาร์กซิสต์
ตามที่เองเกลส์ได้กล่าวไว้ วัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นคือ “เครื่องมือในการทำงานที่ดีสุดและเป็นอาวุธที่แหลมคมที่สุดของเรา” และเช่นเดียวกับสำหรับเราแล้ววัตถุนิยมวิภาษวิธีเป็นคู่มือนำทางในการปฏิบัติการหรือการทำกิจกรรมขับเคลื่อนภายในขบวนการชนชั้นแรงงาน มันเป็นเสมือนแผนที่หรือเข็มทิศนำทาง ที่จะทำให้เราทราบถึงตำแหน่งแห่งที่ของเราท่ามกลางเหตุการณ์ทางสังคมอันสับสนอลหม่าน และทำให้เราเข้าใจถึงกระบวนการพื้นฐานที่ทำให้เกิดการก่อร่างทางสังคมในโลกของเรา
และไม่ว่าเราจะชอบมันหรือไม่ จะโดยที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว มนุษย์ทุกคนก็ล้วนแล้วแต่มีปรัชญาของตัวเอง ปรัชญานั้นอาจจะเรียกได้ง่ายๆว่ามันคือวิธีการหรือมุมมองที่เราใช้มองโลก ในโลกทุนนิยมนั้นหากปราศจากปรัชญาแบบวิทยาศาสตร์ของเราแล้ว (ปรัชญามาร์กซิสต์) เราย่อมจะรับเอาปรัชญากระแสหลักของชนชั้นปกครองและอคติในสังคมที่เราอาศัยอยู่มาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน “ทุกสิ่งจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้” นี่คือความคิดร่วมพื้นฐาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความพยายามต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอันกลายเป็นความคิดที่ถูกยอมรับอย่างมากในสังคม (ทำให้คนจำนวนมากเชื่อว่าพวกเขาเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้ หรือโครงสร้างสังคมไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงไปให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ได้ - ผู้แปล) นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวอื่นๆในทำนองเดียวกันอีกเช่น “มันไม่มีสิ่งใหม่ภายใต้อาทิตย์ดวงเดียวกัน” และ “ประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอยเสมอ” ซึ่งสะท้อนให้เห็นมุมมองแบบอนุรักษ์นิยมเช่นกัน
ดังเช่นการปรากฎตัวของพวกกระฎุมพีที่เข้าร่วมการปฏิวัติโค่นล้มสังคมศักดินาและท้าทายความคิดอนุรักษ์นิยมเรื่องคณาธิปไตยชนชั้นสูงในระบบศักดินา ก็เหมือนกันกับการต่อสู้ของชนชั้นแรงงาน ที่ต่อสู้เพื่อสังคมใหม่ และท้าทายต่อมโนทัศน์กระแสหลักของบรรดาผู้กดขี่ขูดรีด หรือก็คือ ชนชั้นนายทุน แน่นอนว่าที่ผ่านมาชนชั้นปกครองนั้นได้ควบคุมและผูกขาดสื่อสาธารณะ นักข่าวสื่อสารมวลชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย และสถาบันทางศาสนา มาโดยตลอด ซึ่งทำให้องค์กรเหล่านี้ได้ผลิตคำอธิบายในการสนับสนุนระบบการขูดรีดที่เป็นอยู่ตลอดมาว่าเป็น “เรื่องปรกติธรรมดาของสังคม” (เช่น เราจะเชื่อเรื่อง “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” “อ่อนแอก็แพ้ไป” ที่ทำให้รู้สึกว่าการพ่ายแพ้ในระบบทุนนิยมนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของสังคม - ผู้แปล) เครื่องมือในการปราบปรามของรัฐที่ประกอบด้วย “กองกำลังติดอาวุธ” นั้นไม่เพียงพอต่อการรักษาระบอบทุนนิยมเอาไว้ได้ ดังนั้นการใช้ความคิดกระแสหลักและศีลธรรมแบบกระฎุมพีจึงเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลร่วมในการปกป้องผลประโยชน์ของบรรดาชนชั้นปกครองเอาไว้ และหากไม่มีอุดมการณ์ที่ทรงพลังนี้คอยหนุนเสริมแล้วระบบทุนนิยมย่อมจะไม่สามารถดำรงอยู่มาได้จนถึงปัจจุบันนี้แน่
“ไม่ว่าทางหนึ่งทางใดก็ตาม” เลนินกล่าว “ศาสตร์ที่เป็นทางการและศาสตร์ของเสรีนิยมย่อมจะปกป้องระบบทาสที่ได้รับค่าจ้าง ... ความคิดหรือศาสตร์ที่กล่าวว่าจะสร้างความเป็นธรรมในสังคมที่ใช้ระบบทาสค่าจ้างนี้เป็นความคิดอันโง่เง่าไร้เดียงสา เช่นเดียวกับการคาดหวังความเป็นธรรมจากนายทุนที่จะขึ้นค่าจ้างแรงงานโดยไม่เพิ่มกำไรในการผลิตตาม”
อุดมการณ์ของพวกกระฎุมพีนั้นได้ดำเนินสงครามต่อสู้กับอุดมการณ์มาร์กซิสต์อย่างไม่ย่อท้อ เพราะพวกเขาต่างมองว่าอุดมการณ์มาร์กซิสต์คือสิ่งที่อันตรายที่สุดต่อระบบทุนนิยม บรรดานักเขียนและนักวิชาการของชนชั้นกระฏุมพีต่างก็ผลิตงานเขียนออกมาอย่างต่อเนื่องด้วยความพยายามที่จะบิดเบือนและดิสเครดิตความคิดแบบมาร์กซิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการทำลายวิภาษวิธี ซึ่งเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การทำลายกำแพงเบอร์ลิน มันได้เกิดความคิดและลัทธิต่อต้านมาร์กซิสต์ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ต่อต้านการปฏิวัติ ขึ้นอย่างแพร่หลายและรุนแรง เช่นคำกล่าวว่า “มาร์กซิสต์ตายไปแล้ว” ที่พวกเขานำมากล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่ากันราวกับเป็นสวดทางศาสนา แต่ชาวมาร์กซิสต์นั้นปฏิเสธที่จะยอมนอนลงและสยบยอมต่อบรรดาคำสอนของพวกพ่อมดแม่มดเหล่านี้! มาร์กซิสต์ได้แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงที่ปราศจากความตระหนักของชนชั้นแรงงานที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม
บรรดาผู้สนับสนุนระบบทุนนิยมซึ่งทำงานร่มกับแนวร่วมของพวกเขาที่แฝงตัวอยู่ในขบวนการแรงงาน ได้กล่าวยืนยันอยู่เสมอว่าระบบทุนนิยมของพวกเขานั้นเป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นรูปแบบทางสังคมถาวรของมนุษยชาติ แต่ในอีกทางหนึ่งนั้นวิภาษวิธีบอกว่าไม่มีสิ่งใดที่จะคงทนถาวรทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลงและพังทลายลงไปตามกาลเวลา และดังนั้นมันจึงมีการกล่าวว่าปรัชญาปฏิวัตินั้นทำให้เกิดการคุกคามต่อระบบทุนนิยมและดังนั้นบรรดานักมาร์กซิสต์ย่อมจะปฏิเสธทุกสิ่งที่เป็นทุนนิยม (หรือโทษทุนนิยมตลอดเวลา - ผู้แปล) คำกล่าวประเภทนี้สะท้อนให้เห็นถึงปฏิบัติการของกลุ่มต่อต้านมาร์กซิสต์ที่พยายามกวนน้ำให้ขุ่น แต่ขั้นตอนการอธิบายซึ่งเดินไปตามความเป็นวิทยาศาสตร์และความรู้นั้นก็ช่วยยืนยันว่าวิภาษวิธีของมาร์กซิสต์คือสิ่งที่ถูกต้อง สำหรับคนนับล้านแล้วการเพิ่มขึ้นของวิกฤตในระบบทุนนิยมนั้นช่วยแสดงให้พวกเขาเห็นว่ามาร์กซิสต์คือสิ่งที่ถูกต้อง สภาพการณ์และเงื่อนไขที่เป็นอยู่บีบบังคับให้ชนชั้นแรงงานต้องมาหาทางออกจากความอับจนนี้ พวกเขามองหา “บทเรียนในชีวิต” เลนินกล่าว ในปัจจุบันนี้เราอาจจะหยิบคำกล่าวอันมีชื่อเสียงในแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์มากล่าวได้อีกครั้งนั่นคือ“ปิศาจตนหนึ่งกำลังหลอกหลอนผู้คนในยุโรป ปิศาจตนนั้นมีชื่อว่าคอมมิวนิสต์”
ในการต่อสู้เพื่อจะปลดแอกชนชั้นแรงงาน ลัทธิมาร์กซิสต์จำเป็นจะต้องทำการต่อส้อย่างไม่ย่อท้อต่อระบบทุนนิยมและอุดมการณ์ของมัน ซึ่งปกป้องและให้คำอธิบายระบบของการขูดรีดเอาไว้ว่าเป็น “เศรษฐกิจแบบตลาด” แต่นักมาร์กซิสต์จะต้องไปไกลกว่านั้น เราได้จัดตั้งชนชั้นแรงงานให้พวกเขามี “มโนทัศน์อันสำคัญที่ปราศจากความงมงาย การเป็นปฏิกิริยา หรือปกป้องพวกกระฎุมพีผู้กดขี่ขูดรีด” นี่เป็นเสมือนการเปิดเผยความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เป็นจริงซึ่งดำรงอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมและช่วยติดอาวุธให้แก่ชนชั้นแรงงานพร้อมทั้งความเข้าใจในวิธีการที่จะนำพาชนชั้นแรงงานไปสู่การปลดแอกตนเองได้ ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นถูกอธิบายไว้โดยนักมาร์กซิสต์ชาวรัสเซียนามว่า เพลคาร์นอฟ เขากล่าวว่าวัตถุนิยมวิภาษวอธีนั้นไม่ใช่แค่เพียงมโนทัศน์ในการมองโลก แต่มันเป็น “ปรัชญาแห่งการปฏิบัติ”
ข้อจำกัดของระบบตรรกะทั่วไป (The Limits of Formal logic)
มนุษย์ทุกคนต่างก็พยายามที่จะคิดอย่างมีเหตุมีผล ระบบตรรกะ (มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงคำพูดหรือเหตุผล) คือศาสตร์ของกฎแห่งการคิด ไม่ว่าเราจะคิดอะไร ไม่ว่าเราจะสื่อสารมันออกมาในภาษาอะไร มันย่อมจะตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของความเป็นเหตุเป็นผล ข้อเรียกร้องดังกล่าวนั้นก่อให้เกิดกฎของความคิด ซึ่งกลายเป็นกฎระเบียบของระบบตรรกะ ซึ่งถูกพัฒนาและก่อตั้งขึ้นเมื่อสองพันกว่าปีก่อนโดยนักปรัชญาชาวกรีกชื่อ อริสโตเติล (384-322 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งกลายเป็นระบบคิดพื้นฐานสำหรับการศึกษามาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน อริสโตเติได้จัดหมวดหมู่ของกนะบวนการในการที่เราจะใช้เหตุผลอย่างถูกต้องและกระบวนการที่ทำให้คำบากเล่าขยับไปสู่การรวมตัวเป็นคำตัดสิน และนั่นนำไปสู่ข้อสรุปที่อริสโตเติลได้ร่างขึ้น เขาได้วางกฎรากฐานของระบบตรรกะไว้สามประการ กฎของความเหมือนกัน (A = A) กฎของความขัดแย้งกัน (A ไม่สามารถเป็น A ได้และไม่ใช่ A) และกฎของพื้นที่ตรงกลาง (A เป็นทั้ง A และไม่ใช่ A มันไม่มีทางเลือกอื่นตรงกลาง)
ระบบตรรกะโดยทั่วไปนี้คงอยู่มากว่าสองพันปีและกลายเป็นรากฐานสำคัญของการทดลองและเป็นรากฐานสำคัญของคามก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาการของระบบคณิตศาสตร์ก็วางอยู่บนรากฐานทางตรรกะเชนนี้ด้วย คุณไม่สามารถจะสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆได้โดยปราศจากตรรกะเช่นนี้ หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง ไม่ใช่สาม ตรรกะทั่วไปนี้ดูเหมือนจะกลายเป็นระบบคิดพื้นฐานและตอบสนองต่อการกระทำต่างๆในทุกๆวัน แต่ - และนี่เป็นเรื่องแย้งที่สำคัญมาก - ระบบตรรกะแบบดังกล่าวมีข้อจำกัดในตัวเองอยู่ เมื่อเรานำมันมาใช้กับกระบวนหรือเหตุการณ์ที่ซับซ้อน ระบบตรรกะทั่วไปจะกลายเป็นกระบวนการที่ไม่เพียงพอต่อการคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง และการต่อสู้กัน ระบบตรรกะทั่วไปนั้นเชื่อว่าสิ่งต่างๆคงที่และไม่มีการเคลื่อนไหว แน่นอนว่านี่ไม่ใช่การพูดเพื่อจะปฏิเสธประโยชน์อื่นๆของระบบตรรกะทั่วไปในชีวิตประจำวันทั้งหมด แต่กลับกันเลยเราพยายามจะชี้ให้เห็นว่าระบบตรรกะแบบดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดของตัวเองอยู่
“วิภาษวิธีนั้นไม่ใช่ทั้งนวนิยายหรือเรื่องเพ้อฝัน “ ลีออน ทรอสกี้ได้เขียนไว้ “แต่มันคือศาสตร์ของระบบความคิดของเราตราบเท่าที่มันไม่มีข้อจำกัดต่อเรื่องปัญหารายวันในชีวิต แต่มันเป็นความพยายามที่จะไปถึงการทำความเข้าใจสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้นและสร้างแนวทางในการปฏิบัติออกมา วิภาษวิธีและระบบตรรกะทั่วไปจึงแบกความสัมพันธ์เอาไว้ในลักษณะที่คล้ายกับเรื่อง มากกว่า และ น้อยกว่า ในทางคณิตศาสตร์”
ด้วยพัฒนาการของศาสตร์สมัยใหม่ การจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต (ของ Linnaeus) จึงวางอยู่บนระบบตรรกะทั่วไป ที่แบ่งแยกสิ่งมีชีวิตต่างๆออกเป็นหมวดหมู่ตามสปีชีส์ ซึ่งทำให้เกิดการกระโจนก้าวหน้าขนานใหญ่ในวงการชีววิทยา อย่างไรก็ตามนี่เป็นระบบที่เจ้มงวดและตายตัว ด้วยการจัดหมวดหมู่ที่เข้มงวดนี้ทำให้มันถูกเปิดเผยข้อจำกัดของมันเมื่อเวลาผ่านได้ ซึ่งชาร์ล ดาร์วินส์ ได้แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดนี้ในการเสนอว่ามันมีความเป็นไปได้ที่สัตว์ในสปีชีส์หนึ่งจะวิวัฒนาการข้ามไปสู่อีกสปีชีส์หนึ่งได้ ดังนั้นระบบการแบ่งสปีชีส์สัตว์แบบเดิมจึงต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อเปิดรับความเข้าใจที่มีต่อความจริงใหม่นี้
นี่เป็นผลมาจากการที่ระบบการแบ่งแยกเดิมนั้นไม่สามารถรับมือต่อความขัดแย้งได้จึงทำให้มันต้องล่มสลายลง ในขณะที่วิภาษวิธี - ตรรกะแห่งการเปลี่ยนแปลง - ได้อธิบายไว้ว่ามันไม่มีรูปแบบการแบ่งแยกที่สมบูรณ์หรือตายตัวทั้งในธรรมชาติและในสังคม เองเกลส์นั้นได้เสนอเอาไว้โดยยกกรณีของตุ่นปากเป็ดขึ้นมาแล้วบอกว่านี่เป็นรูปแบบของการวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง และถามในเชิงติดตลกว่าเราควรจะจัดวางตุ่นปากเป็ดไว้ในสัตว์ประเภทไหนถึงจะถูกต้องตรงตามหลักการแบ่งแยกสัตว์แบบดั้งเดิม
มีเพียงแต่วิภาษวิธีเท่านั้นที่จะสามารถอธิบายกฎของการวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงได้ วิภาษวิธีไม่เคยมองว่าโลกเป็นสิ่งซับซ้อนที่ถูกสร้างมาอย่างตายตัวหากแต่มองว่ามันเต็มไปด้วยกระบวนการและพลวัตอันซับซ้อน ซึ่งะจต้องผ่านกระบวนการของการกำเนิดใหม่และการสูญสิ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับเฮเกลแล้วระบบตรรกะแบบเก่านั้นไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากเกมส์ของเด็กๆซึ่งพยายามสร้างภาพจากชิ้นจิ๊กซอว์ “มันเป็นข้อบกพร่องพื้นฐานของความคิดที่หยาบคาย” ทรอสกี้ได้เขียนไว้ “การปฏิเสธในความเป็นจริงที่ว่ามันเติมเต็มเนื้อหาตัวเองด้วยความจริงที่ไม่เคลื่อนไหวซึ่งเกี่ยวโยงกับความเคลื่อนไหวภายนอก”
ก่อนที่เราจะขยับไปสู่กฎหลักของเรื่องวัตถุนิยมวิภาษวิธี ผมอยากจะขอนำเสนอต้นกำเนิดที่มาของวัตถุนิยมเสียก่อนในตอนถัดไป
วัตถุนิยม และ จิตนิยม (Materialism versus idealism)
“ปรัชญาของมาร์กซิสต์คือปรัชญาวัตถุนิยม” เลนินได้เขียนเอาไว้เช่นนั้น ปรัชญาทั่วไปแล้วโดยตัวมันเองจะสังกัดอยู่กับสองกลุ่มอุดมการณ์ปรัชญาใหญ่คือ วัตถุนิยมละจิตนิยม ก่อนที่เราจะเริ่มต้นอภิปรายกันจำเป็นจะต้องอธิบายถึงคำเหล่านี้เสียก่อน ทุกวันนี้ความเข้าใจต่อคำอธิบายของทั้งสองคำนี้ค่อนข้างผิดเพี้ยนไปมากซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เราจะพบได้ในชีวิตประจำวัน ความผิดเพี้ยนที่ว่านั้นกล่าวคือความเข้าใจว่าวัตถุนิยมนั้นหมายถึงความปรารถนาในวัตถุ ความโลภ และความฉ้อโกง (อธิบายให้กระชับคือ มันถูกอธิบายภายใต้มุมมองเรื่องศีลธรรมแบบปัจจุบันของโลกทุนนิยม) ขณะที่จิตนิยมนั้นหมายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณ อุดมคติอันสูงส่ง และคุณธรรมอันสูงส่ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก!
ปรัชญาวัตถุนิยมนั้นคือปรัชญาที่อธิบายว่าโลกนั้นมีเพียงโลกเดียวคือโลกแห่งวัตถุที่ดำรงอยู่จริง มันไม่มีโลกหลังความตายอย่างนรกหรือสวรรค์ จักรวาลทั้งหมดต่างดำรงอยู่มาด้วยตัวมันเองตั้งแต่ต้น มันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากผู้มีพลังเหนือธรรมชาติแต่อย่างใด ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการที่ดำเนินไปอย่างคงที่ การดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งธรรมชาติ และวิวัฒนาการขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำที่ปรากฏขึ้นมาบนโลกตั้งแต่เมื่อ 3.6 พันล้านปีก่อน และด้วยการวิวัฒนาการของชีวิต ในห้วงจังหวะหนึ่งนั้นก็ทำให้เกิดสัตว์ที่มีระบบประสาท และในที่สุดก็ทำให้เกิดมนุษย์ซึ่งมีสมองขนาดใหญ่ และด้วยการปรากฏของมนุษย์นี้เองที่พัฒนาต่อมาทำให้มนุษย์มีความคิดและมีจิตสำนึก สมองของมนุษย์โดยตัวมันเองนั้นสามารถที่จะสร้างความคิดหรือไอเดียโดยทั่วๆไปขึ้นได้ กล่าวคือ ความคิดนั่นเอง และดัวยเหตุนั้นมันจึงกลายเป็นสภาวะวัตถุ ที่มีการดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ และกลายเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่โดยเป็นอิสระจากความคิดและการดำรงอยู่ของมนุษย์
สำหรับนักวัตถุนิยมแล้วมันไม่มีความตระหนักหรือจิตสำนึกที่ดำรงอยู่โดยแยกตัวเป็นอิสระจากสมองของมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ความคิดที่ดำรงอยู่โดยปราศจากร่างกายนั้นคือเรื่องไร้สาระ วัตถุไม่ใช่ผลผลิตที่เกิดจากความคิด แต่ความคิดนั้นคือผลผลิตสูงสุดของวัตถุ ความคิดหรือมโนคตินั้นไม่เป็นอะไรมากไปกว่าภาพสะท้อนของโลกทางวัตถุอันเป็นอิสระที่รายล้อมตัวเราอยู่ “ความคิดและมโนคติต่างถือกำเนิดจากประสบการณ์และถูกสะท้อนถึงความเป็นจริงที่ถูกต้องหรือบิดเบี้ยว” เองเกลส์ได้เขียนไว้เช่นนี้ หรือหากจะใช้ข้อเขียนของมาร์กซ์ที่เขียนไว้ว่า “ชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยจิตสำนึก แต่จิตสำนึกนั้นถูกกำหนดจากชีวิต”
มาร์กซิสต์ไม่ได้ปฏิเสธว่า ความคิด จิตสำนึก จิตใจ เจตจำนง ความรู้สึกนึกคิดนั้นเป็นเรื่องจริง สิ่งที่นักวัตถุนิยมปฏิเสธนั้นคือ “ความคิด” ที่ดำรงอยู่โดยตัดขาดจากร่างกายหรือวัตถุ เพราะความคิดไม่สามารถแยกขาดจากร่างกายได้ ความคิดคือผลผลิตของสมองอันเป็นอวัยวะแห่งการคิด
แน่นอนว่าการกล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจิตสำนึกของเรานั้นเป็นเพียงกระจกสะท้อนธรรมชาติอันไร้ชีวิตชีวา การดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นย่อมจะสัมพันธ์อยู่กับสิ่งรอบข้าง พวกเขาตระหนักถึงที่อยู่รอบตัวและตอบสนองต่อมันโดยสอดคล้องกัน และในทางกลับกันสิ่งแวดล้อมก็จะตอบสนองกลับมาเช่นกัน
ในอีกทางหนึ่งปรัชญาจิตนิยมนั้นเสนอว่าโลกวัตถุนั้นไม่ได้มีการดำรงอยู่จริง หากแต่มันเป็นภาพสะท้อนของโลกทางความคิด จิตนิยมนั้นมีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันหากทว่าทั้งหมดนั้นยืนพื้นอยู่บนเรื่องเดียวกันคือการยืนยันว่าความคิดคือสิ่งเริ่มต้นและเป็นวัตถุ สำหรับนักจิตนิยมแล้วความคิดนั้นแยกตนเป็นอิสระจากวัตถุและจากธรรมชาติ นี่เป็นความคิดของเฮเกลในคอนเซปเรื่องความคิดสัมบูรณ์หรือสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นพระเจ้า ปรัชญาจิตนิยมนั้นได้เปิดหนทางไปสู่การปกป้องหรือสนับสนุนความคิดเรื่องศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ความคิดเช่นนี้จะเป็นสิ่งที่ผิดพลาดแต่มันยังเป็นความคิดอนุรักษ์นิยมอย่างสุดขั้วอีกด้วย ซึ่งจำเรามาสู่ข้อสรุปอันแสนตลกร้ายคือนักวัตถุนิยมย่อมจะไม่สามารถทำความเข้าใจถึงเรื่อง “เหนือธรรมชาติ” ในโลกใบนี้ได้ แต่ทว่าวัตถุนิยมนั้นเข้าใจถึงความจริงที่ว่าการดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นไม่ใช่ดำรงอยู่เพียงเพื่อเฝ้ามองความเป็นไปของโลก หากแต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนความเป็นไปนั้นได้ และในทางเดียวกันนั้นคือการเปลี่ยนแปลงตัวของมนุษย์เองด้วย
มโนทัศน์ในการมองโลกของนักจิตนิยมเติบโตมาจากการแบ่งแยกแรงงานในระบบแบ่งงานกันทำระหว่างแรงงานเชิงกายภาพ และแรงงานเชิงปัญญา การแบ่งแยกแรงงานนี้สร้างความก้าวหน้าอย่างมหาศาลราวกับเป็นการปลดปล่อยกำลังส่วนหนึ่งของสังคมให้เป็นอิสระจากการใช้แรงงานเชิงกายภาพและปล่อยให้พวกเขาได้มีเวลาในการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี อย่างไรก็ตามการตัดขาดจากการใช้กำลังแรงงานเชิงกายภาพนั้นก็มีบางสิ่งหล่นหายไป คนจำนวนหนึ่งรับเอาเรื่องนามธรรมมาเป็นความคิดหรืออุดมคติของพวกเขา และเมื่อบบรรดานักคิดแยกเอาความคิดของพวกเขาออกจากโลกที่เป็นจริงพวกเขาก็จะยิ่งขยับเข้าไปสู่การใช้คำอธิบายหรือความคิดบบนามธรรมมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นเรื่อง “ความคิดบริสุทธ์สัมบูรณ์” และมักจะจบลงท้ายด้วยการเป็นความคิดแบบแฟนตาซีเหนือธรรมชาติ ในปัจจุบันนี้จักรวาลวิทยานั้นถูกครอบงำไว้ด้วยความคิดเรื่องคณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรมอันซับซ้อน ซึ่งนำไปสู่ความคิดหรือความเข้าใจในทฤษฎีที่ผิดพลาด เช่นทฤษฎีบิ๊กแบงค์ ทฤษฎีการเริ่มต้นของเวลา ทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน ฯลฯ ทุกทฤษฎีที่ตัดขาดจากการปฏิบัจิการที่เป็นจริงนั้นมักจะนำไปสู่การเข้าใกล้ความคิดแบบจิตนิยม
ความคิดแบบวัตถุนิยมนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึงยุคกรีกโบราณ ซึ่งมีนักปรัชญาอย่าง Anaxagoras (500 - 428 ปีก่อนคริสต์กาล) และ Democritus (460 - c.370 ปีก่อนคริสต์กาล) แต่ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรกรีกโบราณ มโนทัศน์ที่มีเหตุมีผลนี้ก็หล่นหายไปตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ จนกระทั่งได้กลับาอีกครั้งในช่วงการรื้อฟื้นทางความคิดหลังการล่มสลายของระบบศาสนจักรในยุคกลาง ซึ่งทำให้เกิดการฟื้นฟูการศึกษาปรัชญาและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 17 นั้นประเทศอังกฤษคือเป็นบ้านหรือฐานหลักของปรัชญาวัตถุนิยมสมัยใหม่ มาร์กซ์ได้เขียนเอาไว้ว่า “รากเหง้าทางความคิดของปรัชญาวัตถุนิยมในอังกฤษนั้นมาจากเบคอน” (หมายถึง ผรานซิส เบคอน - Francis Bacon นะครับไม่ใช่ เบคอนหมูรมควัน - ผู้แปล) ปรัชญาวัตถุนิยมของฟรานซิส เบคอน (1561-1626) ถูกทำให้เป็นระบบและพัฒนาต่อโดยโทมัส ฮอบส์ (1588-1679) และถูกพัฒนาต่อโดยจอห์น ล็อค (1632-1704) ซึ่งนำไปสู่ความคิดที่ว่ามันมีความเป็นไปได้ที่บรรดาความคิดทั้งหลายนั้นจะถูกควบคุมและกำหนดจากวัตถุ มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ความก้าวหน้าทางปรัชญานี้เกิดขึ้นใกล้เคียงกับการกำเนิดขึ้นของชนชั้นกระฎุมพีและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ โดยเฉพาะด้านกลศาสตร์ ดาราศาสตร์ และการแพทย์ บรรดานักคิดผู้ยิ่งใหญ่เหล่านี้ได้ทำให้เกิดสำนักคิดวัตถุนิยมที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 18 พร้อมนักคิดที่มีชื่อเสียงอย่าง René Descartes (1596 - 1650)
และด้วยปรัชญาแบบวัตถุนิยมและเหตุผลนิยมนี้เองที่เป็นแรงผลักดันหลักให้เกิดลัทธการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 บรรดานักคิดในการปฏิวัตินี้ตระหนักถึงความจริงที่ว่าอำนาจในการปกครองนั้นไม่ได้มีที่มาจากภายนอก (หรือสิ่งเหนือธรรมชาติเช่นพระเจ้า หรือบุญญาธิการ - ผู้แปล) ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกตั้งแต่ศาสนาจนถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาต จากสังคมจนถึงสถาบันทางการเมืองนั้นล้วนจะต้องอยู่ภายใต้การตั้งคำถามและการวิพากษ์วิจารณ์ ความเป็นเหตุเป็นผลนั้นกลายเป็นตัวชี้วัดของทุกสิ่งทุกอย่าง
ปรัชญาวัตถุนิยมนั้นถูกปกป้องไว้ด้วยนักปรัชญาปฏิวัติชื่อ Holbach (1723-1789) และ Helvetius “จักรวาลนั้นเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ที่รวบรวมเอาทุกสิ่งอย่างบรรจุไว้ภายใน และในทุกแห่งหนซึ่งจะแสดงให้เราเห็นผ่านการเคลื่อนไหวของวัตถุเท่านั้น” Holbach กล่าว “และมันแสดงให้เห็นถึงห่วงโซ่อันมากมายและต่อเนื่องที่เป็นต้นเหตุแห่งการกระทำต่างๆ บางเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ แต่บางสิ่งก็เป็นเรื่องที่เรายังไม่รับรู้ เพราะสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นเพียงผลสืบเนื่องที่เกิดต่อๆมาจากต้นเหตุที่แท้จริง”
ปรัชญาเหตุผลนิยมนั้นเป็นภาพสะท้อนการต่อสู้ของบรรดากระฎุมพีที่พยายามต่อต้านโบสถ์หรือสถาบันทางศาสนา พวกขุนนางชนชั้นสูง และระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ มันแสดงให้เห็นถึงการโจมตีอย่างรุนแรงที่พุ่งเป้าไปสู่ระเบียบของสังคมเดิม และในท้ายที่สุดอาณาจักรของเหตุผลก็กลายไปเป็นอาณาจักรทางความคิดของพวกกระฎุมพี ทรัพย์สินและเรื่องกรรสิทธิ์ของกระฎุมพีกลายเป็นเรื่องสิทธฺโดยธรรมชาติของมนุษย์ นักปฏิวัติวัตถุนิยมนั้นได้กรุยทางไปสู่การสร้างสังคมกระฎุมพีและการครอบงำสังคมด้วยระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล “เวลาเปลี่ยน พฤติกรรมเปลี่ยน ปรัชญาก็เปลี่ยน” Denis Diderot (1713-1784) ได้กล่าวไว้
ปรัชญาวัตถุนิยมใหม่ หรือความก้าวหน้าในการปฏิวัตินั้นแม้ว่าจะทำงานอย่างเข้มงวดหรือดูคล้ายกลไก แต่ปรัชญาใหม่นี้ได้โจมตีโบสถ์และสถาบันทางศาสนารวมถึงปฏิเสธความคิดเรื่องการตระหนักเรื่องจิตวิญญาณภายในตัวเองและยึดกุมใจความสำคัญว่ามนุษย์นั้นเป็นเพียงร่างเนื้อที่มีการดำรงอยู่เชิงวัตถุไม่ต่างจากสัตว์อื่นๆและการดำรงอยู่เชิงความคิด มนุษย์นั้นได้รับการยกย่องว่ามีความซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อนในการทำงานมากกว่าสัตว์อื่นๆ ดังที่ La Mettrie (1709-1751) ได้เขียนเอาไว้ในงานของเขาว่า “มนุษย์ทั้งหลายนั้นคือเครื่องจักรที่ถูกประกอบสร้างขึ้นด้วยความรู้สึกและความทรงจำ”
สำหรับนักวัตถุนิยมฝรั่งเศสนั้นต้นกำเนิดของความรู้ - การค้นพบรูปธรรมของความจริง - นั้นวางอยู่บนการกระทำของธรรมชาติที่กระทำต่อความรับรู้ของเรา โลกและที่อยู่ของมนุษย์นั้นวางอยู่ภายในระบบสุริยะจักวาลซึ่งธรรมชาติได้ดำรงอยู่อย่างคงที่โดยตัวมันเอง สำหรับพวกเขาแล้วมันเป็นโลกของเครื่องจักรที่ทุกสิ่งทุกอย่างมีระบบตรรกะการทำงานที่คงที่ และแรงกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวนั้นมาจากภายนอก และกระบวนการทั้งหมดนั้นในขณะที่ปรัชญาวัตถุนิยมกลายเป็นลัทธิกลไกที่ล้มเหลวในการทำความเข้าใจความเป็นจริงที่มีชีวิตของโลก มันย่อมไม่สามารถจะเข้าใจหรือมองจักรวาลในฐานะกระบวนการที่มีการเคลื่อนไหวได้ จุดอ่อนนี้นำไปสู่ความล้มเหลวในการแบ่งแยกระหว่างโลกทางวัตถุและโลกทางความคิด และในท้ายที่สุดจะนำไปสู่การขยับเข้าใกล้ความเป็นจิตนิยม
มีกลุ่มความคิดอื่นๆในการอธิบายอยู่อีกเช่น ผู้ที่ยึดความคิดของ Monist ก็จะมองว่าจักรวาลนั้นเป็นระบบที่ไม่ได้เป็นทั้งวัตถุหรือจิตวิญญาณเพียงรูปแบบเดียว Spinoza นั้นเป็นคนแรกที่นำเสนออย่างเป็นระบบว่าจักรวาลนั้นคือระบบในรูปแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยวัตถุตั้งแต่ต้นจนกระทั่งจบกระบวนการของมัน.
วิภาษวิธี และ อภิปรัชญา (Dialectics and Metaphysics)
วิธีทางหรือมโนทัศน์ที่ใช้ในการมองโลกของมาร์กซิสต์นั้นไม่ใช่การมองแบบวัตถุนิยมเพียงอย่างเดียว แต่ยังปรกอบด้วยการมองอย่างวิภาษด้วย ซึ่งในแง่นี้วิภาษวิธีอาจจะดูเหมือนสิ่งที่ยากต่อความเข้าใจแต่นี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก เพราะวิธีการแบบวิภาษวิธีนั้นอาจจะสรุปได้อย่างง่ายๆว่ามันคือกระบวนการที่พยายามจะทำความเข้าใจต่อโลกให้กระจ่างยิ่งขึ้น เองเกลส์ได้เขียนถึงวิภาษวิธีไว้ในหนังสือเรื่อง Anti-Duhring ว่า “วิภาษวิธีไม่ใช่อะไรอื่นเลยนอกจากกฎโดยทั่วไปของการพลวัตการเคลื่อนไหวและพัฒนาการของธรรมชาติ สังคมมนุษย์ และความคิด” หรือกล่าวให้กระชับขึ้นวิภาษวิธีก็คือตรรกะศาสตร์ของพลวัต
มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างกระจ่างชัดเจนว่าเราไม่ได้อาศัยอยู่ในโลกที่แข็งทื่อไม่มีการเคลื่อนไหว ทุกๆสิ่งในธรรมชาติรอบตัวเรานั้นต่างก็อยู่ในสถานะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างคงที่ “พลวัต การเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นวิถีการดำรงอยู่ของวัตถุ” เองเกลส์ได้เขียนเอาไว้ “วัตถุต้องดำรงอยู่พร้อมกับพลวัต และมันไม่อาจดำรงอยู่ได้โดยไม่มีพลวัต” โลกของเรานั้นเคลื่อนที่ด้วยการหมุนรอบตัวเอง และหมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งผลของมันแสดงออกมาให้เห็นในการเปลี่ยนแปลงเวลาระหว่างกลางวันและกลางคืน และฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดปี หรือมนุษย์เราเองนั้นก็เกิด เติบโต แก่ตัว และตายลงในที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีพลวัตความเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
“เมื่อเราพิจารณาและพยายามสะท้อนถึงธรรมชาติในระดับมหภาพหรือในประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษยชาติหรือกิจกรรมทางปัญญาของเรา สิ่งแรกที่เราจะพบคือภาพสายสัมพันธ์อันยุ่งเหยิงไม่มีที่สิ้นสุดของความสัมพันธ์ และการตอบโต้ การเปลี่ยนรูป และการผนวกรวมกัน ซึ่งไม่อาจจะระบุได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ที่ไหนแต่สิ่งที่แน่นอนคือทุกสิ่งต่างก็เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง มีสถานะดำรงอยู่ และแตกสลายไป” เองเกลส์เขียนไว้ “ในขั้นแรกเราได้เห็นภาพดังกล่าวอันเป็นภาพรวมทั้งหมด ที่ประกอบด้วยส่วนของปัจเจกอยู่ในเบื้องหลัง เราได้ทำการสังเกตความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลง ความเชื่อมโยงและที่มากกว่านั้นคือสังเกตถึงสิ่งที่เคลื่อนไหว รวมตัวกัน และเชื่อมโยงกัน นี่อาจจะดูเหมือนเป็นวิธีการโบราณและไร้เดียงสา แต่ทว่ามุมมองต่อโลกที่ถูกต้องที่สุดก็คือปรัชญากรีกโบราณเช่นกัน ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวกรีดชื่อ Heraclitus “ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีการลื่นไหล มันมีการเปลี่ยนแปลงที่คงที่อยู่ตลอด ซึ่งทำให้มันเคลื่อนไหสู่การดำรงอยู่และการแตกดับไปตลอดเวลา”
ชาวกรีกนั้นเป็นผู้เริ่มต้นปรัชญาปฏิวัติ เป็นผู้ค้นพบและพัฒนาความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ Anaximander นั้นเขียนแผนที่โลกขึ้นและเขียนหนังสือว่าด้วยจักรวาลวิทยาที่หลงเหลือมาเพียงแค่ไม่กี่เล่ม เครื่องจักรกลไกของ Antikythera ซึ่งหลงเหลืออยู่ในรูปของเครื่องจักรในหอดูดาว แต่ภายใต้ระบบสังคมทาสของยุคกรีกนั้นความก้าวหน้าเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการผลิตและถูกใช้เป็นเพียงของเล่นสร้างความบันเทิงให้กับชนชั้นสูงเท่านั้น ความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์ธรรมชาตินั้นเริ่มต้นอย่างจริงจังในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 วิธีการใหม่ในการค้นคว้านั้นได้แบ่งธรรมชาติออกเป็นส่วนๆ ทำให้เกิดการแบ่งแยกวัตถุและกระบวนการ ในขณะที่กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดชุดข้อมูลจำนวนมหาศาล วัตถุก็ถูกนำมาวิเคราะห์และแยกออกจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง อันทำให้เกิดรูปแบบทางความคิดที่เลื่อนลอย คับแคบ และตายตัว ซึ่งกลายไปเป็นปรัชญาแบบประจักษ์นิยม (Empiricism ) “ข้อเท็จจริง” กลายมาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
“สำหรับบรรดานักอภิปรัชญาแล้วภาพสะท้อนทางความคิดและจิตใจของพวกเขาถูกแยกออกจากสิ่งอื่นๆ มันจะถูกนำมาวิเคราะห์และพิจารณาโดยตัดขาดออกจากสิ่งอื่นๆ เป็นสิ่งที่จะต้องถูกนำมาค้นคว้าและพิจารณาอย่างเข้มงวด” เองเกลส์เขียนไว้เช่นนี้ “พวกเขาคิดและมองสิ่งต่างๆโดยแยกขาดออกจากกันและไม่เชื่อว่ามันจะสามารถเกี่ยวโยงกันได้ สิ่งที่พวกเขาสื่อสารกันนั้นมีเพียงแค่คำว่า ‘ใช่ และ ไม่ใช่’ อะไรก็ตามที่นอกเหนือไปจากนี้ถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย สำหรับเขาแล้วสิ่งต่างๆนั้นมีสถานะทั้งดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ สิ่งๆต่างนั้นไม่สามารถจะดำรงอยู่โดยเป็นตัวของมันเองพร้อมกับเป็นสิ่งอื่นได้ในเวลาเดียวกัน
“ในครั้งแรกที่เห็นนั้นวิถีการคิดเช่นนี้ย่อมจะดูน่าสนใจในสายตาของเรา เพราะมันดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่เรียกกันว่าความคิดร่วมพื้นฐาน ส่วนในรูปแบบวิถีการคิดของอภิปรัชญานั้น ซึ่งอ้างเหตุผลได้และมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะส่วนประกอบอันหลากหลายของธรรมชาติของวัตถุอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งในไม่ช้าจะขยับไปสู่การเป็นเรื่องนามธรรม และพบข้อจำกัด และในท้ายที่สุดก็จะหายไปในความขัดแย้งที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ และในญาณวิทยาหรือกระบวนการคิดของปัจเจคนั้นมันจึงหลงลืมการเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับความเป็นจริง และเมื่อคิดถึงการดำรงอยู่มันก็จะหลงลืมจุดเริ่มต้นและจุดจบของการดำรงอยู่ หรือกล่าวคือวิธีคิดแบบอภิปรัชญานั้นหลงลืมเรื่องพลวัตการเคลื่อนไหว”
เองเกลส์ได้อธิบายเพิ่มเติมต่อไปว่าในชีวิตประจำวันนั้นเราสามารถรู้ได้ว่าสัตว์ที่เราพบเห็นนั้นเป็นหรือตาย แต่หากเราพิจารณาอย่างละเอียดจะพบว่าเราถูกบีบบังคับให้ยอมรับว่านี่ไม่ใช่คำถามที่ไม่อ้อมค้อม ในทางตรงกันข้าม มันถูกทำให้กลายเป็นคำถามที่ซับซ้อน จนกระทั่งมันมีการโต้เถียงอย่างบ้าคลั่งว่าด้วยการพูดถึงว่าชีวิตเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ ในทางเดียวกันนั้น ก็มีการพูดกันว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะพูดว่าความตายได้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังที่ศาสตร์ด้านสรีรวิทยาได้แสกงให้เห็นว่าความตายนั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทันทีทันใด แต่เป็นกระบวนการที่ยืดเยื้อ ดังคำกล่าวของนักปรัชญาชาวกรีกนาม Heraclitus “สิ่งที่พวกเรามีร่วมกันและเหมือนกันก็คือเรามีชีวิตอยู่และตายลง เรานอนหลับและตื่นขึ้น เราเด็กและเราแก่ เมื่อเวลาและสถานที่เปลี่ยนเราก็กลายเป็นสิ่งอื่น เรานั้นทั้งได้ก้าวไปและไม่ได้ก้าวไปในกระแสเวลาเดียวกัน”
ไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะปรากฏออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทุกๆสปีชีส์ และทุกๆมุมมองที่มีต่อองค์ประกอบของชีวิต คือทุกๆช่วงเวลาของสิ่งเดิมและไม่ใช่สิ่งเดิม มันพัฒนาขึ้นโดยการปรับตัวของวัตถุพร้อมๆกับการละทิ้งสิ่งไม่พึงประสงค์อื่นๆไป และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องที่ทำให้เซลล์บางส่วนตายไป ในขณะที่บางส่วนได้กำเนิดใหม่ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านไปร่างกายของสิ่งมีวิตได้เกิดการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่หัวจรดเท้า ด้วยเหตุนี้ และด้วยเหตุนี้เอกลักษณืขององค์ประกอบต่างๆในร่างกายจึงเป็นทั้งสิ่งที่เป็นตัวมันเองและเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากตัวมันเอง
ปรากฎการณ์ดังกล่าวนั้นไม่สามารถอธิบายได้โดยวิธีคิดแบบอภิปรัชญาอันเลื่อนลอยและระบบตรรกะโดยทั่วไป มุมมองทั้งสองนั้นไม่สามารถที่จะอธิบายสิ่งที่ขัดแย้งกันได้ และความเป็นจริงที่ขัดแย้งกันนี้ก็ไม่ถูกอธิบายได้ด้วยความคิดหรือเหตุผลร่วมโดยทั่วไปด้วย ในทางตรงข้ามกันวิภาษวิธีนั้นสามารถอธิบายสิ่งดังกล่าวได้ด้วยการอธิบายสิ่งที่ครอบคลุมเรื่องการเชื่อมโยง การพัฒนาและพลวัตตามที่เองเกลส์ได้กล่าวไว้ว่า “ธรรมชาติคือเครื่องพิสูจน์วิภาษวิธี”
ในหนังสือเรื่อง Dialectics of Nature นั้นเองเกลส์ได้เขียนอธิบายถึงกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ดังนี้
“วัตถุเคลื่อนไหวอยู่ในวัฎจักรที่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งต้องใช้ช่วงเวลาอันยาวนานในแต่ละรอบของการโคจรในวัฎจักรที่ทำให้เราอาจจะมองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนไหวนี้ได้ภายในในหนึ่งปี ภายในวัฎจักรดังกล่าวและในช่วงเวลาที่การพัฒนาเดินหน้าไปสูงสุด ในช่วงเวลาที่เรียกว่าช่วงเวลาขององค์ประกอบทางชีวิตนั้นจะไปถึงสิ่งที่เรียกว่า ความตระหนักในตนเอง มันเป็นพื้นที่เล็กๆเพียงช่วงนาทีที่จะผ่านเข้ามาในประวัติศาสตร์ของชีวิต ท่ามกลางวัฎจักรของการดำรงอยู่ของวัตถุไม่ว่ามันจะเป็นดวงอาทิตย์หรือสสารในอวกาศ จะเป็นสัตว์แบบเฉพาะเจาะจงหรือสปีชีส์ของสัตว์ จะเป็นสสารที่รวมตัวกันหรือแยกตัวเดี่ยวๆต่างก็เท่าเทียมกันอยู่ในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ในวัฎจักรที่ไม่มีสิ่งใดดำรงอยู่อย่างเป็นนิรันดรยกเว้นแต่กระบวนการของการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามวัฎจักรดังกล่าวอาจจะดำเนินไปจนสิ้นสุดได้ มีดาวฤกษ์และดาวเคราะห์จำนวนมากที่เกิดขึ้นใหม่และแตกสลายลง ซึ่งจำเป็นจะต้องรอคอยเวลาให้ผ่านไป ในดาวเคราะห์บางดวงอาจจะปรากฎสภาพพื้นผิวที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิต ที่จะพัฒนาสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาขึ้นมาที่จะเสาะหาพื้นที่สำหรับการดำรงชีวิต และแม้ว่านี่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาสั้นๆแต่ก็สามารถทำให้เรามันใจได้ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นยังคงดำเนินต่อไปเช่นเดิม “
และด้วยปรัชญาฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 ที่ทำให้เกิดปรัชญาเยอรมันใหม่อันลึกซึ้งขึ้นผ่านความคิดของอิมมานูเอล ค้านท์ ได้ถูกพัฒนาต่อให้ดียิ่งขึ้นโดยเฮเกล นัปรัชญาผู้ชื่นชมการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างมาก และแม้ว่าเฮเกลจะเป็นนักจิตนิยมแต่เขาก็นับว่าเป็นชายผู้รอบรู้คนหนึ่งในยุคนั้น คุณูปการสำคัญของเขาคือการนำเอาหลักวิภาษวิธีกลับมาอีกครั้ง
“การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เพียงความจริงที่ว่าสิ่งของปริมาณหนึ่งเปลี่ยนไปสู่อีกปริมาณหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงจากระดับคุณภาพไปสู่อีกระดับคุณภาพหนึ่งด้วย” เฮเกลเขียนไว้เช่นนี้ “การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบหลังนั้นหมายถึงการหยุดชะงัก ที่จะมอบมุมมองใหม่ทางปรากฎการณ์ และคุณภาพที่แตกต่างจากสิ่งก่อนหน้า ดังเช่นการที่น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเมื่อมันถูกลดอุณหภูมิลง ในโลกของปรากฎการณ์ทางจริยธรรม มันมีการเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ และความแตกต่างของคุณภาพนั้นสามารถหาได้จากความแตกต่างเชิงปริมาณด้วย”
งานเขียนของเฮเกลนั้นเต็มไปด้วยการอ้างถึงและการยกตัวอย่างถึงวิภาษวิธี โชคไม่ดีนักที่เฮเกลไม่ได้เป็นเพียงแต่นักจิตนิยมเท่านั้น แต่งานเขียนของเขายังเต็มไปด้วยข้อเขียนที่ลึกลับเป็นนามธรรมอย่างที่สุดจะจินตนาการได้ อันทำให้งานเขียนของเขานั้นยากต่อการทำความเข้าใจอย่างยิ่ง เลนินได้เขียนถึงงานของเฮเกลเอาไว้ในระหว่างที่เขาถูกเนรเทศในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่า “ผมกำลังพยายามจะอ่านงานของเฮเกลอย่างเป็นวัตถุนิยม งานของเฮเกลนั้นเป็นวัตถุนิยมที่วางรากฐานอยู่ในหัวของเขา (ตามที่เองเกลส์เขียน) หรือกล่าวก็คือ ผมได้ละทิ้งส่วนข้อเขียนที่ว่าด้วยพระเจ้า ความสัมบูรณ์บริสุทธ์ และความคิดบริสุทธิ์ ฯลฯ ไปทั้งหมด”
มาร์กซ์และเองเกลส์ในวัยหนุ่มนั้นต่างก็เป็นผู้ศึกษางานของเฮเกล พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายจากเฮเกล พวกเขาได้เปิดมุมมองใหม่ต่อโลกผ่านมุมมองแบบวิภาษวิธี และด้วยวิภาษวิธีของเฮเกลนี้เองที่ช่วยปลดปล่อยประวัติศาสตร์ออกจากอภิปรัชญา สำหรับวิภาษวิธีแล้วมันไม่มีอะไรที่เป็นสิ่งสุดท้าย ไม่มีสิ่งสัมบูรณ์ และไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มันเป็นสิ่งที่เผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของทุกสิ่งทุกอย่าง อย่างไรก็ตามเฮเกลนั้นถูกจำกัดเอาไว้ด้วยองค์ความรู้ของเขาเอง จากองค์ความรู้ในช่วงอายุของเขา และจากความจริงที่ว่าเขาเป็นนักจิตนิยม เขาถือว่าความคิดภายในหัวนั้นไม่ได้เป็นอะไรที่มากกว่าหรือน้อยกว่าภาพนามธรรมของวัตถุและกระบวนการที่เกิดขึ้น แต่เป็นภาพความเป็นจริงของ “ความคิดสัมบูรณ์” ที่มีอยู่อย่างนิรันดร จิตนิยมของเฮเกลเปลี่ยนความจริงให้เข้าไปอยู่ในหัวและความคิด
ถึงกระนั้นเฮเกลเองก็ได้วางเค้าโครงรากฐานของระบบอันสำคัญก็คือกฎของการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ (วิภาษวิธี) ดังที่เราได้กล่าวเอาไว้ในตอนต้น.
กฎของการเปลี่ยนจากปริมาณไปสู่คุณภาพ (The law of quantity into quality)
“เราสามารถกล่าวได้ว่ามันไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดในธรรมชาติ และนี่เป็นความคิดสามัญที่ว่าสิ่งต่างๆในธรรมชาติย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป” เฮเกลเขียนไว้ “แต่ในขณะเดียวกันนั้นมันก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันเช่นกันในธรรมชาตินั่นคือการเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ ยกตัวอย่างเช่น การกลายเป็นน้ำแข็งของน้ำ การเปลี่ยนสถานะนี้ไม่ได้เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปหากแต่ว่าเปลี่ยนแปลงไปในแทบจะทันที เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงจุดเยือกแข็งที่พอดิบพอดีน้ำจะกลายไปเป็นน้ำแข็ง กล่าวได้ว่า ปริมาณก็คือตัวเลขของระดับอุณหภูมิ - ที่เปลี่ยนแปลงไปสู่คุณภาพ - การเปลี่ยนแปลงของวัตถุในธรรมชาติ”
นี่คือหัวใจสำคัญในการทำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลง วิวัฒนการและการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ดำรงอยู่และดำเนินการไปอย่างเป็นเส้นตรงที่ราบเรียบ มาร์กซ์ได้เปรียบเทียบวิวัฒนาการทางสังคมกับการขุดโพรงใต้ดินของตัวตุ่น ที่ไม่สามารถจะมองเห็นได้จากผิวดินแต่มันยังคงอยู่อย่างมั่นคงและบ่อนทำลายระเบียบของสังคมเดิมจากใต้ดินนั้น และในที่สุดก็โผล่ขึ้นมาสู่แสงสว่างเหนือพื้นดิน แม้ว่าดาร์วินจะเชื่อว่าทฤษฎีเรื่องวิวัฒนาการของเขานั้นเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งแน่นอนว่าดาร์วินนั้นผิดพลาดไป ในปัจจุบันนี้ทฤษฎีใหม่ๆได้เข้ามามีอิทธิพลในการอธิบายถึงเรื่องการวิวัฒนาการอย่างก้าวกระโดด Stephen J. Gould และ Niles Eldredge ได้ตั้งชื่อให้กับทฤษฎีวิภาษวิธีวิวัฒนาการของพวกเขาว่า “ตัวคั่นจุดสมดุล” พวกเขาอธิบายว่ามันมีช่วงเวลาของการวิวัฒนาการที่สิ่งมีชีวิตไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลย และในฉับพลันนั้นเองกลับมีสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ปรากฏขึ้นมา หรืออธิบายในอีกแบบหนึ่งได้ว่า ความแตกต่างเชิงปริมาณนั้นได้ให้กำเนิดความเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ อันนำไปสู่การกำเนิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ การกำหนดและพัฒนาลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งต่างๆนั้นเกิดจากการแตกหักท่ามกลางความต่อเนื่อง การก้าวกระโดในการพัฒนา มหันตภัย และการปฏิวัติ
การปรากฏขึ้นของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวท่ามกลางมหาสมุทรของโลกเมื่อ 3.6 พันล้านปีก่อนถือเป็นการพัฒนาเชิงคุณภาพอย่างก้าวกระโดดของวัตถุ ปรากฏการณ์ “การระเบิดทางชีวภาพในยุคแคมเบรียน” เมื่อประมาณ 600 ล้านปีก่อนเป็นปรากฎการณ์ที่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีความซับซ้อนได้ปรากฏขึ้นอย่างมากมายถือว่าเป็นการก้าวกระโดดเชิงคุณภาพในการวิวัฒนาการ และในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิกประมาณ 400 ถึง 500 ล้านปีก่อน ปลาที่มีกระดูกสันหลังชนิดแรกได้ปรากฏขึ้นมา การปฏิวัติรูปแบบของสิ่งมีชีวิตนี้ได้ปรากฏออกมาอย่างโดดเด่นผ่านสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (ซึ่งอาศัยอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ) ผ่านสัตว์เลื้อยคลาน และในท้ายที่สุดก็ได้พัฒนามาสู่การเป็นสัตว์เลือดอุ่น นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และการปฏิวัติอย่างก้าวกระโดดนั้นก็มาถึงจุดสูงสุดในการกำเนิดของมนุษย์ สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการคิด การวิวัฒนาการนั้นเป็นกระบวนการที่ยาวนานอันเต็มไปด้วยการสะสมการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกของสิ่งมีชีวิตที่ส่งผลให้เกิดการก้าวกระโดดที่ทำให้เกิดการพัฒนาเชิงคุณภาพที่สูงขึ้น
เช่นเดียวกับแรงดันใต้พื้นดินที่สะสมตัวอยู่และจะปรากฏขึ้นมาบนแผ่นดินเป็นครั้งคราวในรูปแบบของแผ่นดินไหวนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของจิตสำนึกของชนชั้นแรงงานย่อมจะนำไปสู่การระเบิดออกของการต่อสู้ทางชนชั้น การนัดหยุดงานในโรงงานนั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิดจาก “ปัจจัยภายนอก” แต่เกิดจากการสะสมของความเปลี่ยนแปลงภายในโรงงานที่ท้ายที่สุดนั้นนำไปสู่การนัดหยุดงานของแรงงาน “สาเหตุ” ของการหยุดงานนั้นอาจจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยหรือเหตุบังเอิญเล็กๆ แต่มันจะกลายเป็น “ฟางเส้นสุดท้าย” หรือหากจจะกล่าวในอีกทางหนึ่งก็คือ มันได้กลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้ปริมาณกลายไปเป็นคุณภาพ
ในปัจจุบันนี้เรื่องราวของชัยชนะในการเลือกตั้งของฝ่ายซ้ายในสหภาพแรงงานอังกฤษเป็นผลผลิตของการสะสมความไม่พอใจในตัวสหภาพแรงงาน ช่วงเวลายี่สิบปีอันขมขื่นของชนชั้นแรงงานได้แสดงออกมาให้เห็นในการเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้นำของสหภาพแรงงาน มีเพียงผู้ที่เข้าใจหลักปรัชญามาร์กซิสต์เท่านั้นที่จะสามารถคาดการณ์เรื่องเหล่านี้ได้ การเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกของแรงงานในสหภาพแรงงานนี้ย่อมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในพรรคแรงงานและในสถานการณ์หนึ่งมันย่อมนำไปสู่การล่มลงของกลุ่มพลังปีกขวาภายใต้การนำของโทนี่ แบลร์ กลุ่มซ้ายจัดของขบวนการแรงงานได้ผลิตงานเขียนออกมาอย่างต่อเนื่องว่าพรรคแรงงานนั้นเป็นอะไรที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ พวกเขานั้นไม่สามารถที่จะคิดอย่างวิภาษวิธีได้และมีทัศนะแบบประจักษ์นิยมที่ทำให้พวกเขามองเห็นแต่เพียงเปลือกนอกของความเป็นจริงทั้งหมด พวกเขาล้มเหลวในการแยกแยะระหว่างสิ่งที่ปรากฏตรงหน้ากับความจริงทั้งหมด - ระหว่างสิ่งที่ปรากฏออกมาอย่างชัดเจนและกระบวนการที่ซ่อนตัวอยู่ ความเชื่อมโยง และกฎซึ่งรองรับข้อเท็จจริงจากการสังเกต หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งได้ว่า พวกเขานั้นไม่สามรถมองเห็นถึงกระบวนการต่างๆที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้า “ลัทธิของแบลร์กำลังครอบงำพรรคแรงงาน!” พวกเขาร้องตะโกนด้วยความสิ้นหวัง พวกเขาตกอยู่ภายใต้มนต์สะกดของระบบตรรกะทั่วไปและไม่เข้าใจถึงกระบวนการซึ่งกำลังทำงานเพื่อบ่อนทำลายลัทธิของแบลร์อยู่ในทุกๆวัน เหมือนเช่นที่พวกเขาเคยเขียนถึงพวกฝ่ายขวาในอดีต ปัจจุบันพวกเขาก็เขียนถึงแบลร์ บนรากฐานของเหตุการณ์และแรงกดดันจากขบวนการสหภาพแรงงานที่กำลังขยับไปสู่ความเป็นซ้าย พรรคแรงงานซึ่งมีฐานเสียงผูกอยู่กับสหภาพแรงงานนั้น ย่อมจะหันเหไปสู่ทิศทางเดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
มาร์กซ์ได้เน้นย้ำอยู่เสมอว่าวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องก้าวจากองค์ความรู้ผ่านปรากฎการณ์ไปสู่การค้นพบความจริง ธรรมชาติ และกฎ ที่อยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ งานว่าด้วยทุนของมาร์กซ์นั้นได้ให้ตัวอย่างของกระบวนการนี้เอาไว้อย่างละเอียด “วิธีคิดของพวกนักเศรษฐศาสตร์สามานย์” มาร์กซ์เขียนถึงเองเกลส์ “ได้รับมาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามันมีเพียงรูปแบบโดยฉับพลันในความสัมพันธ์ที่ปรากฏขึ้นซึ่งสะท้อนให้เห็นในสมอง และไม่ใช่ในการเชื่อมโยงภายใน”
ในทางเดียวกันอาจกล่าวได้ว่าบรรดาผู้ที่เขียนถึงสหภาพโซเวียตว่าเป็น “รัฐทุนนิยม” ลัทธิสตาลินนั้นไม่เคยมีอะไรที่เกี่ยวพันกับลัทธิสังคมนิยม ระบอบขแงสตาลินเป็นเพียงระบบการปกครองที่กดขี่ที่ชนชั้นแรงงานนั้นมีสิทธิ์เสียงน้อยยิ่งกว่าประเทศในฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามแทนที่พวกเขาเหล่านั้นจะวิเคราะห์สหภาพโซเวียตอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ พวกเขากลับสรุปเอาอย่างง่ายๆว่าสหภาพโซเวียตเป็นรัฐทุนนิยม ดังเช่นที่ทรอสกี้ได้อภิปรายเอาไว้ว่าบรรดานักทฤษฎีของรัฐทุนนิยมนั้นต่างก็มองสหภาพโซเวียตด้วยกรอบคิดแบบตรรกะทั่วไปของระบบทุนนิยม ซึ่งมีเพียงการเลือกว่าใช่หรือไม่ใช่ ขาวหรือดำ สหภาพโซเวียตอาจจะเป็นทั้งรัฐสังคมนิยมที่ดีที่สุดดังที่สตาลินอ้างหรืออาจจะเป็นรัฐทุนนิยม การคิดแบบนี้เป็นเรื่องที่ทำตามแนวคิดรูปแบบนิยม พวกเขาไม่เคยเข้าใจถึงความเป็นไปได้ในการเสื่อมสภาพของรัฐของชนชั้นแรงงานและกลายไปเป็นระบบที่กฎของชนชั้นกรรมาชีพได้เสื่อมถอยลง ดังเช่นที่ทรอสกี้ได้อธิบาย มันเป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าการปฏิวัติ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวในประเทศล้าหลัง ย่อมจะต้องผ่านขั้นตอนของการเสื่อมสภาพ อย่างไรก็ตามในระหว่างที่แผนเศรษฐกิจแห่งชาติ (Nationalised planned economy) ยังคงอยู่ทุกสิ่งยังไม่ได้พังทลายลง กลุ่มข้าราชการยังคงไม่ใช่กลุ่มชนชั้นปกครองใหม่ มีเพียงการปฏิวัติทางการเมืองใหม่ที่จะสามารถทำลายระบบราชการและสถาปนาระบบประชาธิปไตยของคนงานและรัฐโซเวียตขึ้นมาใหม่ได้
ผู้สนับสนุนระบอบทุนนิยมโดยรัฐนั้นผูกตัวเองเป็นเสมือนน็อตอันแน่นหนาในการสนับสนุนการปฏิปักษ์ปฏิวัติ ในอัฟกานิสถานพวกเขาสนับสนุนกลุ่มปฏิกิริยามูจาฮีดีนในฐานะ “นักรบอิสระ” เพื่อต่อต้าน “จักรวรรดินิยม” รัสเซีย และจากการล่มสลายของสภาพโซเวียตและการถอยหลังกลับไปสู่การเป็นรัฐทุนนิยมในปี 1991 พวกเขายังคงเป็นกลางในการเผชิญหน้ากับการปฏิปักษ์ปฏิวัติที่แท้จริงของนายทุน.
ผลรวมของความเป็นอริ (The Unity of Opposities)
“ความขัดแย้งนั้นคือต้นตอของความเคลื่อนไหวและชีวิตทั้งหมด และตราบเท่าที่มันมีความขัดแย้งอยู่ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมจะมีความเคลื่อนไหว อำนาจ และผลกระทบ” (เฮเกล) “กล่าวโดยสรุป” ข้อเขียนของเลนิน “วิภาษวิธีนั้นอาจจะถูกนิยามได้ว่าเป็นหลักคำสอนว่าด้วยผลรวมของความเป็นอริกัน ซึ่งก่อรูปขึ้นเป็นธรรมชาติของวิภาษวิธี...”
โลกที่เราอาศัยอยู่ในทุกวันนี้นั้นคือลักษณะของความเป็นผลรวมของความขัดแย้งหรือผลรวมของความเป็นอริกัน เช่น ความเย็น กับ ความร้อน, แสงสว่าง กับ ความมืด, นายทุน กับ แรงงาน, การกำเนิด กับ ความจาย, ความร่ำรวย กับ ความยากจน, ด้านบวก กับ ด้านลบ, เขตเจริญรุ่งเรือง กับ เขตสลัม, ความคิด กับ การดำรงอยู่, ความสิ้นสุด กับ ความไม่สิ้นสุด, การขับไล่ กับ การดึงดูด, ฝ่ายซ้าย กับ ฝ่ายขวา, สิ่งที่สูงกว่า กับ สิ่งที่ต่ำกว่า, วิวัฒนาการ กับ การปฏิวัติ, โอกาส กับ สิ่งที่เป็นจริง, การขาย กับ การซื้อ ฯลฯ
ความเป็นจริงที่ว่าความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็นขั้วตรงข้ามกันอย่างชัดเจนนี้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ทั้งหมดนี้ถูกยกย่องว่าเป็นความคิดที่โด่งดังในเรื่องความแย้งกันเอง ความขัดแย้งกันเองดังกล่าวคือการยอมรับว่าความขัดแย้งทั้งสอง หรือความเป็นอริกันทั้งสอง อาจจะพูดพิจารณาว่าเป็นจริงทั้งคู่ นี่คือภาพสะท้อนในความคิดเรื่องผลรวมของความเป็นอริในโลกวัตถุที่เป็นจริง
การเคลื่อนไหว พื้นที่และเวลา ไม่ใช่สิ่งอื่นสิ่งใดเลยนอกเสียจากวิถีการดำรงอยู่ของวัตถุ ความเคลื่อนไหวนั้นก็ดังที่เราได้อธิบายไปแล้วว่ามันคือความขัดแย้งและความเป็นอริที่ดำรงอยู่ ซึ่งอาจจะดำรงอยู่ในที่หนึ่งพร้อมๆกับอีกที่หนึ่งได้ในเวลาเดียวกัน นี่คือผลรวมของความเป็นอริกัน “การเคลื่อนไหวนั้นหมายถึงมันได้ดำรงอยู่ในสถานที่นี้และไม่ได้ดำรงอยู่ในสถานที่เดียวกันนี้ มันเป็นความต่อเนื่องอันไม่ขาดสายในเชิงพื้นที่และเวลา และนี่คือเงื่อนไขแรกที่ทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปได้” (เฮเกล)
เพื่อจะทำความเข้าใจต่อบางสิ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องปกติที่จำเป็นจะต้องมองหาความขัดแย้งภายในของสิ่งที่เราจะทำความเข้าใจ ภายใต้สภาพการณ์ที่แน่นอนความเป็นสากลก็คือความเป็นปัจเจก และความเป็นปัจเจกคือความเป็นสากล ที่วัตถุหรือสิ่งต่างๆได้กลายไปเป็นคู่ขัดแย้ง ต้นเหตุสามารถเปลี่ยนไปเป็นผลสืบเนื่อง และผลสืบเนื่องก็สามารถจะกลายไปเป็นสาเหตุได้ นั่นเป็นเพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นต่างก็ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันในห่วงโซ่ที่ไม่มีที่สิ้นสุดในการพัฒนาของวัตถุ
“ด้านลบนั้นคือสิ่งที่เท่าเทียมกันกับด้านบวก” เฮเกลประกาศไว้ และความคิดวิภาษวิธีก็คือ “การทำความเข้าใจต่อความขัดแย้งและความเป็นอริกันภายใต้ขอบเขตผลรวมนี้” อันที่จริงเฮเกลยังอธิบายเพิ่มเติมเอาไว้ดังนี้
“ความขัดแย้งนั้นคือต้นตอของความเคลื่อนไหวทั้งหมด และตราบเท่าที่มันยังมีความขัดแย้งอยู่ก็จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงเคลื่อนไหวและมีแรงกระตุ้นรวมถึงกิจกรรม ... การที่บางสิ่งเคลื่อนไหวนั้นไม่เป็นเพราะมันดำรงอยู่ในจุดนี้ในช่วงเวลาหนึ่งแล้วจึงขยับไปสู่จุดอื่น แต่เป็นเพราะมันดำรงอยู่ในจุดนี้ในช่วงเวลา และขณะเดียวกันก็ไม่ได้ดำรงอยู่ในจุดเดียวกัน และนั่นหมายถึงว่าสิ่งที่เคลื่อนไหวนั้นได้ดำรงอยู่และไม่ดำรงอยู่ในจุดเดียวกัน เราจำเป็นต้องยอมรับถึงหลักวิภาษวิธีเก่าของความขัดแย้งที่พิสูจน์ถึงความเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่ตามมาคือการไม่เคลื่อนไหว แต่ที่มากกว่านั้นคือการดำรงอยู่ของความเคลื่อนไหวนั้นก็ดำรงอยู่พร้อมความขัดแย้งในตัวมันเองด้วย” ด้วยเหตุนี้สำหรับเฮเกลแล้ว วัตถุบางอย่างจะดำรงอยู่ตราบเท่าที่มันมีความขัดแย้งซึ่งทำให้มันมีความเคลื่อนไหวในตัวเอง
นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกที่เป็นนักสสารนิยมนั้นคือคนกลุ่มแรกที่สร้างความก้าวหน้าในทฤษฎีปฏิวัติด้วยการเสนอว่าโลกนั้นประกอบขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่าอะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบขนาดเล็กที่สุดของวัตถุ คำว่า Atomos ในภาษากรีกนั้นหมายถึงสิ่งที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ซึ่งต่อมาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 จึงพิสูจน์ได้ว่าทุกอย่างนั้นประกอบขึ้นด้วยอะตอมแม้ว่าจะมีการค้นพบอนุภาคพื้นฐานที่เล็กกว่าอะตอมในภายหลังก็ตาม ในทุกๆอะตอมจะมีนิวเคลียสอยู่ที่จุดศูนย์กลางและประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยรอบๆที่เรียกว่าโปรตรอน และนิวตรอน และอนุภาคที่หมุนวนอยู่รอบอะตอมก็คืออิเล็กตรอน ทุกๆโปรตรอนนั้นจะบรรจุประจุไฟฟ้าขั้วบวกเอาไว้ และด้วยเหตุนั้นมันจึงมีลักษณะผลักดันประจุอื่นๆออกจากตัวมันตลอดเวลาหากทว่ามันก็ยังคงอยู่รวมกันภายในอะตอม นี่แสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งที่ดำรงอยู่นั้นต่างก็วางตัวอยู่บนรากฐานของความขัดแย้งและการต่อต้านกันและมีความเคลื่อนไหวในตัวเองซึ่งมาจาก “แรงกระตุ้นและกิจกรรม”
สำหรับมนุษย์แล้วระดับน้ำตาลในเลือดนั้นถือเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าหากว่าระดับน้ำตาลสูงเกินไปก็จะเข้าใกล้อาการโคม่า หรือถ้าต่ำเกินไปก็หมายความว่าคนๆนั้นพึ่งจะอดอาหารมา ระดับน้ำตาลที่ปลอดภัยนั้นถูกควบคุมด้วยอัตราน้ำตาลที่ถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดจากการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต อัตราการสะสมไกลโคเจน ไขมันและโปรตีนที่ถูกแปรรูปไปเป็นน้ำตาล และอัตราที่ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้หรือขับออก ถ้าหากระดับน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น อัตราการย่อยสลายและการใช้งานน้ำตาลย่อมจะต้องสูงขึ้นจากการปล่อยอินซูลินเพิ่มขึ้นจากตับอ่อน ถ้าหากมันเกิดความผิดพลาด น้ำตาลจำนวนมากก็จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดหรือคนจะหิวมากขึ้นและบริโภคมากขึ้น ในแง่นี้นี่คือการควบคุมตัวเองของพลังที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน ของผลสะท้อนทั้งด้านบวกและด้านลบ อันจะทำให้ระดับสารเคมีในเลือดถูกควบคุมเอาไว้ในระดับปลอดภัย
เลนินได้อธิบายถึงเรื่องความเคลื่อนไหวภายในตัวเองนี้เอาไว้ในช่วงที่เขาพูดว่า “วิภาษวิธีคือการสอนที่แสดงให้เห็นว่าความเป็นอรินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และมันดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างไร และภายใต้เงื่อนไขอะไรที่ทำให้มันดำรงอยู่ร่วมกัน หรือกลายไปเป็นสิ่งอื่น เหตุใดที่จิตใจของมนุษย์จึงควรเข้าใจความเป็นอรินี้ในฐานะที่ไม่ใช่ความตาย หรือความแข็งทื่อเข้มงวด แต่เป็นสิ่งที่ชีวิต โดยมีปัจจัยเงื่อนไข มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ และกลายไปเป็นสิ่งอื่นได้”
เลนินยังได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของความขัดแย้งในฐานะที่เป็นพลังงานขับเคลื่อนการพัฒนาการ
“นี่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่ว่าในสังคมใดๆก็ตามการแย่งชิงที่เกิดจากความขัดแย้งของสมาชิกในสังคมด้วยการแบ่งชิงของผู้อื่น นั่นคือชีวิตทางสังคมนั้นประกอบไปด้วยความขัดแย้งและในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ได้เผยให้เห็นการต่อสู้ระหว่างประเทศและสังคม รวมทั้งการต่อสู้ภายในประเทศและสังคม และนอกเหนือจากนี้ยังมีการหมุน้วียนสับเปลี่ยนกันของช่วงเวลาในการปฏิวัติและการต่อต้านการปฏิวัติ สงครามและสันติภาพ ความเฉื่อยชาและการพัฒนาอย่างรวดเร็วหรือความเสื่อมโทรมถดถอย” (เลนิน)
เรื่องนี้อาจจะถูกอธิบายให้ง่ายขึ้นได้ด้วยเรื่องความขัดแย้งทางชนชั้น ระบบทุนนิยมนั้นต้องการทั้งชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงาน การต่อสู้เพื่อแย่งชิงมูลค่าส่วนเกินจากการผลิตที่สร้างขึ้นจากชนชั้นแรงงานซึ่งถูกขูดรีดเอาไปโดยชนชั้นนายทุนนั้นนำไปสู่การต่อสู้และความขัดแย้งที่ไม่อาจจะประนีประนอมกันได้ซึ่งในที่สุดแล้วมันจะกลายไปเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการโค่นล้มระบบทุนนิยมในที่สุด และการยุติความขัดแย้งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยผ่านการยกเลิกระบบชนชั้นลง.
การปฏิเสธของการปฏิเสธ (The Negation of the Negation)
รูปแบบของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ดำเนินไปเป็นเส้นตรงที่เดินไปข้างหน้าเสมอไป แต่เป็นลักษณะของการปฏิสัมพันธ์และปฏิกิริยาที่ซับซ้อน การถดถอยนี้ในทางกลับกันถือเป็นการแก้ไขปัญหาในระดับต่อไปของการพัฒนา
กฎการปฏิเสธของการปฏิเสธอธิบายถึงการทำซ้ำในระดับสูงของคุณลักษณะและคุณสมบัติของระดับที่ต่ำกว่าและแสดงให้เห็นชัดถึงลักษณะของสิ่งที่ผ่านมา อันมีความขัดแย้งที่คงที่ระหว่างรูปแบบกับเนื้อหา และระหว่างเนื้อหากับรูปแบบ ซึ่งผลของการต่อสู้นั้นจะแสดงออกมาในรูปแบบของการทำลายรูปแบบเก่าแก่และการเปลี่ยนเนื้อหา
กระบวนการดังกล่าวนี้สามารถจำลองได้เป็นภาพขดเกลียวที่ความเคลื่อนไหวนั้นจะวนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของมัน แต่ในระดับที่สูงขึ้นนั้นกระบวนการทางประวัติจะบรรลุถึงระดับที่สูงขึ้นก็ด้วยผ่านความขัดแย้ง ที่สิ่งที่เป็นอยู่ก่อนหน้าถูกปฏิเสธ แต่นี่ไม่ได้หมายถึงการกำจัดทั้งหมดลง มันไม่ใช่การรื้อทำลายสิ่งเก่าลงทั้งหมดและเข้ามาแทนที่ของสิ่งใหม่
“กระบวนการยึดครองของทุนนิยมนั้นเกิดจากกระบวนการผลิตของทุนนิยมและด้วยเหตุนั้นก็คือระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของทุนนิยมจึงเป็นการปฏิเสธแรกของกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของปัจเจกที่วางรากฐานอยู่บนเรื่องที่ว่าไม่มีใครถือครองแรงงาน แต่การผลิตในระบบทุนนิยมก่อให้เกิดกระบวนการตามธรรมชาติที่ปฏิเสธตัวมันเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระบวนการที่ว่านี้คือการปฏิเสธของการปฏิเสธ” มาร์กซ์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ในหนังสือว่าด้วยทุน เล่มหนึ่ง
เองเกลส์ได้พูดถึงเรื่องการยกตัวอย่างจำนวนมากเพื่อจะแสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธของการปฏิเสธในหนังสือเรื่อง Anti-Duhring ของเขา “ถ้าหากว่าเราเก็บเกี่ยวและได้รับเมล็ดข้าวบาร์เล่ย์มา เมล็ดข้าวจำนวนนับล้านนี้ก็จะถูกนำไปบดเป็นแป้ง นำไปต้ม หรือหมักและถูกบริโภค แต่หากว่าเมล็ดข้าวเหล่านี้ได้พบกับปัจจัยที่พอเหมาะสำหรับตัวมัน ถ้าหากมันได้อยู่ในพื้นดินที่มีสภาพเหมาะสม ในอุณหภูมิและความชื้นที่พอเหมาะ เมล็ดข้าวก็จะงอกขึ้นและการดำรงอยู่ของเมล็ดข้าวก็จะจบลง นี่คือการลบล้างและปฏิเสธซึ่งถูกแทนที่ด้วยการปรากฏของพืชที่เกิดจากเมล็ดข้าว นี่คือการปฏิเสธเมล็ดพันธุ์ แต่อะไรคือกระบวนการในชีวิตโดยปกติของเมล็ดพันธุ์ มันเติบโต ออกดอก ปฏิสนธิ และในท้ายที่สุดก็สร้างผลผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ และในไม่ช้าเมื่อมันเจริญเติบโตเต็มที่ลำต้นของมันก็จะตายลงซึ่งถือเป็นการปฏิเสธภายในตัวมันเอง และในผลสุดท้ายของการปฏิเสธของการปฏิเสธนี้สิ่งที่เราจะได้รับก็คือเมล็ดข้าวบาร์เลย์ แต่ไม่ใช่เพียงเมล็ดเดียวเหมือนเดิม แต่จะทวีจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม
ข้าวบาร์เลย์นั้นมีวัฎจักรชีวิตที่ดำรงอยู่แบบการวนกลับไปที่จุดเริ่มต้น แต่ในระดับที่สูงขึ้นเมล็ดพันธุ์หนึ่งเมล็ดจะสร้างผลผลิตออกมาจำนวนมาก และเมื่อเวลาผ่านไปพืชเหล่านี้ก็ได้พัฒนาทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งได้แสดงออกในรุ่นต่อๆมาซึ่งจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น
เองเกลส์ได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมโดยยกกรณีโลกของสิ่งมีชีวิตจำพวกแมลงขึ้นมา “ผีเสื้อ ถือเป็นกรณีตัวอย่าง พวกมันถือกำเนิดออกจากไข่ อันถือเป็นการปฏิเสธการดำรงอยู่ของไข่ พวกมันดำรงชีวิตผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนกระทั่งเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ พวกมันจะจับคู่กัน เกิดการผสมพันธุ์และตายลงโดยที่ตัวเมียจะให้กำเนิดไข่จำนวนมาก”.
เฮเกล และ มาร์กซ์ (Hegel and Marx)
เฮเกลปัญญาชนผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งส่องแสงสว่างทางปัญหาให้กับองค์ความรู้ใหม่มากมาย ซึ่งถือเป็นคุณูปการสำคัญที่มาร์กซ์ได้กล่าวถึงอยู่บ่อยๆ “ความลึกลับ (จิตนิยม) ที่ผูกมัดวิภาษวิธีเอาไว้ในมือของเฮเกลนั้นทำให้เขาถูกกีดกันออกจากการเป็นบุคคลแรกที่จะนำหลักวิภาษวิธีมาใช้งานอย่างครอบคลุมและมีลักษรธที่มีจิตสำนึก” มาร์กซ์กล่าว ไม่เพียงแต่ระบบปรัชญาของเฮเกลนั้นจะมีข้อบกพร่องและความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งมันประสบกับความขัดแย้งภายในที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ มโนทัศน์เรื่องประวัติศาสตร์ของเฮเกลนั้นมีแต่เพียงมุมมองเรื่องวิวัฒนาการเพียงมิติเดียว ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุดหรือถาวร อย่างไรก็ตามระบบปรัชญาของเขาก็ได้พยายามเคลมว่ามันเป็นความจริงสูงสุดหรือความจริงสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความคิดเรื่องวิภาษวิธี ในขณะที่เฮเกลพยายามรักษาสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในเยอรมนี วิภาษวธีก็โอบรับเอาการปฏิวัติเอาไว้ สำหรับเฮเกลแล้วสิ่งที่เป็นจริงนั้นคือสิ่งที่มีเหตุมีผล แต่หากเราใช้วิภาษวิธีแบบเฮเกลเลี่ยนแล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริงนั้นจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุไม่มีผล ทุกสิ่งที่ดำรงอยู่สมควรจะต้องแตกดับลง และนี่คือความหมายเรื่องการปฏิวัติในปรัชญาของเฮเกล
การจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวนี้เราจำเป็นจะต้องย้อนกลับไปหาปรัชญาวัตถุนิยม แต่ไม่ใช่ปรั๙ญาแบบวัตถุนิยมกลไกดั้งเดิม แต่เป็นปรัชญาวัตถุนิยมที่ผสานไปด้วยทฤษฎีและหลักการที่ใหม่และก้าวหน้าขึ้น “ปรัชญาวัตถุนิยมนั้นเบ่งบานขึ้นมาอีกครั้งด้วยการเข้าครองพื้นที่ของปรัชญาจิตนิยม สิ่งสำคัญที่สุดในการเข้ายึดครองนี้คือการยึดครองหลักวิภาษวิธี การตรวจสอบปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในการพัฒนาการ ในจุดเริ่มต้น และในการล่มสลาย และอัจฉริยะบุคคลผู้นำเสนอแนวทางใหม่นี้ก็คือ คาร์ล มาร์กซ์” เพลคาร์นอฟได้เขียนไว้ และด้วยพัฒนาการของการปฏิวัติในยุโรประหว่างปี 1830-1831 นั้นก็ทำให้สำนักเฮเกลเลี่ยนแบ่งแยกออกเป็นสามสายคือ ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และกลุ่มตรงกลาง
นักคิดเฮเกลเลี่ยนฝ่ายซ้ายที่โดดเด่นที่สุดนั้นคือลุดวิก ฟอยเออร์บาค ผู้ท้าทายแนวคิดศาสนาโดยเฉพาะแนวคิดออร์โธดอกซ์ดั้งเดิมและนำเอาแนวคิดวัตถุนิยมเข้าไปใช้ “ธรรมชาตินั้นไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่อยู่ในการมีปฏิวัมพันธ์ร่วม ทุกๆสิ่งนั้นเป็นทั้งเหตุและผล ทุกๆสิ่งในธรรมชาตินั้นล้วนส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ...” ข้อเขียนโดยฟอยเออร์บาค ซึ่งกลายเพิ่มเติมว่ามันไม่มีพื้นที่สำหรับพระเจ้า “ศาสนาคริสต์นั้นได้แยกเอาจิต และวิญญาณของมนุษย์ออกจากร่างกายและทำให้มันแยกขาดออกจากกัน และนำไปผูกอยู่กับพระเจ้าของเขา” และแม้ว่างานของฟอยเออร์บาคจะพบกับข้อจำกัด แต่มาร์กซ์และเองเกลส์ก็ได้รับเอาความก้าวหน้านี้ไปพัฒนาต่ออย่างกระตือรือร้น
“แต่ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น” เองเกลส์เขียน “การปฏิวัติในปี 1848 ก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ปรัชญาต้องเลือกข้างอย่างไม่เป็นทางการดังเช่นที่ฟอยเออร์บาคเคยถูกผลักดันมาในอดีต” นี่คือสิ่งที่หลงเหลือมาสู่มาร์กซ์และเองเกลส์ในการนำเอาหลักวิภาษวิธีไปใช่กับวัตถุนิยมใหม่อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และสร้างหลักการวัตถุนิยมวิภาษวิธีขึ้น และสำหรับพวกเขาแล้วปรัชญาใหม่นี้ไม่ใช่เพียงปรัชญาที่เป็นนามธรรม แต่เป็นปรัชญาที่เชื่อมโยงโดยตรงต่อการปฏิบัติ
“วิภาษวิธีนั้นลดตัวเองไปเป็นเพียงศาสตร์ของกฎในการเคลื่อนไหวโดยทั่วไป ทั้งในโลกภายนอกและในความคิดของมนุษย์ ซึ่งเป็นลักษณะของกฎสองรูปแบบที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในลักษณะของการแสดงออกตราบเท่าที่จิตของมนุษย์สามารถตระหนักถึงจิตสำนึกของตัวเองในขณะที่ธรรมชาตินั้นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน กฎเหล่านี้ได้ยืนยันว่าตัวมันเองนั้นไม่มีจิตสำนึกในรูปแบบของปัจจัยภายนอกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในใจกลางของเหตุการณ์บังเอิญที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด” (เองเกลส์)
ทั้งมาร์กซ์และเองเกลส์ได้ทิ้งงานเขียนที่คลุมเครือเกี่ยวกับหลักวิภาษวิธีเอาไว้ มาร์กซ์นั้นหมกมุ่นอยู่กับการเขียนหนังสือว่าด้วยทุน ขณะที่เองเกลส์นั้นก็ตั้งใจว่าจะเขียนหนังสือสักเล่มแต่มันถูกแทนที่ด้วยความต้องการจะสานต่องานว่าด้วยทุนให้จบหลังจากที่มาร์กซ์เสียชีวิต แม้กระนั้นเองเกลส์ก็ยังคงเขียนถึงเรื่องเหล่านี้เอาไว้อย่างกว้างๆ โดยเฉพาะในงานเรื่อง Anti-Duhring และ the Dialectics of Nature ซึ่งเลนินได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า “ถ้าหากมาร์กซ์ไม่ได้ซ่อน “ตรรกะ” ของเขาเอาไว้เบื้องหลัง (ในจดหมายว่าด้วยทุน) เขาก็ต้องทิ้งตรรกะของทุนนิยมเอาไว้ และนี่ควรจะเป็นสิ่งที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด ในหนังสือว่าด้วยทุน มาร์กซ์ได้นำตรรกะไปใช่เพียงรูปแบบเดียวนั่นคือระบบตรรกะแบบวิภาษวิธีและทฤษฎีองค์ความรู้ของวัตถุนิยม ซึ่งเฮเกลเป็นผู้ทำให้มันมีค่าขึ้นมาและมาร์กซ์เป็นผู้นำมาพัฒนาต่อเพิ่มเติม”
ในปัจจุบันนี้มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนไม่มากนักซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่ตระหนักถึงเรื่องวิภาษวิธีซึ่งทำให้พวกเขามองเห็นปัญหาในพื้นที่ศึกษาเฉพาะของพวกเขา ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และวัตถุนิยมวิภาษวิธีนี้ถูกถกเถียงและพูดถึงอย่างมากในหนังสือของ Alan Woods และ Ted Grant พวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เองเกลส์ได้เสนอว่าธรรมชาตินั้นคือวิภาษวิธีโดยแท้จริง ซึ่งแตกต่างจาก Stephen J. Gould กับ Niles Eldredge, Richard Levins กับ Richard Lewonti ผู้ถือว่าตัวเองเป็นนักวัตถุนิยมวิภาษวิธี ซึ่งได้เขียนถึงการประยุกต์ใช้หลักวิภาษวิธีในพื้นที่ของชีววิทยาในหนังสือเรื่อง The Dialectical Biologist ของพวกเขา
“อะไรคือสิ่งที่กำหนดลักษณะของโลกเชิงวิภาษในทุกๆมุมมอง ดังเช่นที่เราอธิบายไปแล้วว่ามันคือความคงที่ในการเคลื่อนไหว ความคงที่นี้กลายไปเป็นตัวแปร เหตุกลายไปเป็นผล และระบบได้พัฒนาและทำลายปัจจัยที่ให้กำเนิดตัวมันขึ้น แม้แต่สสารหรือธาติที่ดูเหมือนจะมีสถานะมั่นคงอยู่ในพลวัตรที่สมดุลของพลังก็สามารถจะกลายไปเป็นความไม่สมดุลได้ในฉับพลันเช่นกัน แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวนั้นไม่มีข้อจำกัดและไม่มีรูปแบบเดียวตายตัว สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาขึ้นและมีความแตกต่างกัน และจากนั้นมันก็ตายลงและสูญสลายไป สปีชีส์ต่างๆถือกำเนิดขึ้นและในไม่ช้ามันย่อมจะสูญพันธุ์ไป แม้แต่ในโลกพื้นฐานทางกายภาพหรือโลกทางฟิสิกส์เองก็ทราบดีว่ามันไม่มีรูปแบบตายตัวของการเคลื่อนไหว กระทั่งการหมุนรอบตัวเองของโลกก็ยังช้าลงในเวลาของธรณีวิทยา พัฒนาการของระบบผ่านเวลานั้นดูเหมือนจะเป็นผลพวงของพลังที่คัดค้านกัน และการเคลื่อนไหวที่คัดค้านกัน”
“การปรากฏขึ้นของพลังที่คัดค้านกันทำให้เกิดการโต้เถียงและความยากลำบากขึ้น ซึ่งส่วนมากเกิดในกลุ่มสายกลาง มโนทัศน์เรื่องความคิดเชิงวิภาษวิธี หลักเกณฑ์ของความขัดแย้ง สำหรับบางกลุ่มความขัดแย้งนั้นเป็นเพียงแค่กฎเกณฑ์ทางญาณวิทยาเท่านั้น นี่อธิบายว่าเราสามารถเข้าถึงการเข้าใจต่อโลกผ่านประวัติศาสตร์ของการแย้งเชิงทฤษฎีได้อย่างไร นั่นคือใรความขัดแย้งที่มีต่อผู้อื่น และในความขัดแย้งในปรากฏการ์ที่สำรวจ ซึ่งนำไปสู่มุมมองใหม่ต่อธรรมชาติ ทฤษฎีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ของ Kuhn (1962) มีร่องรอยอันต่อเนื่องของเรื่องความขัดแย้งและการหาข้อยุติ อันนำไปสู่ความขัดแย้งใหม่ และสำหรับกลุ่มอื่นๆความขัดแย้งนั้นกลายเป็นอภิปรัชญาขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์ แต่สำหรับเรา ความขัดแย้งนั้นไม่ใช่เพียงญาณวิทยาหรือเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง แต่ยังหมายถึงอภิปรัชญาในความหมายที่กว้างขวางด้วย ความขัดแย้งระหว่างพลังต่างๆถือเป็นเรื่องปกติในธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ในสถาบันทางสังคมของมนุษย์เท่านั้น คตินิยมที่มีต่อวิภาษวิธีนี้สะท้อนกลับไปถึงเองเกลส์ (1880) ผู้เขียนหนังสือ the Dialectics of Nature ซึ่งสำหรับผมแล้วไม่มีข้อโต้แย้งใดๆในการสถาปนากฎของวิภาษวิธีธรรมชาติ”
นักมาร์กซิสต์นั้นประกาศและตอกย้ำอยู่ตลอดเวลาถึงความเป็นเอกภาพและการรวมกันของทฤษฎีและการปฏิบัติ “ปรัชญานั้นทำเพียงแต่อธิบายโลกในหลากหลายวิธี แต่สิ่งสำคัญที่แท้จริงคือปรัชญาต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลก” มาร์กซ์กล่าวเอาไว้ในงานเรื่อง thesis on Feuerbach ของเขา “ถ้าหากข้อเท็จจริงนั้นคือสิ่งที่เป็นนามธรรมแล้ว มันย่อมจะไม่ใช่ความจริง” เองเกลส์ประกาศไว้ ข้อเท็จจริงนั้นจะต้องเป็นรูปธรรม เราควรจะต้องมองและพิจารณาวัตถุตามลักษณะที่มันดำรงอยู่อย่างจริงจังด้วยมุมมองเพื่อจะเข้าใจการพัฒนาการที่ขัดแย้งกันในพื้นฐาน นี่เป็นข้อสรุปที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม นักมาร์กซิสต์นั้นแตกต่างจากพวกนักสังคมนิยมอุดมคติที่มองสังคมนิยมว่าเป็นไอเดียอันประเสริฐเลิศหล้าน่ามหัศจรรย์ นักมาร์กซิสต์นั้นมองว่าพัฒนาการของสังคมนิยมคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งของระบบทุนนิยม สังคมทุนนิยมนั้นได้สร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับระบบสังคมที่ไร้ชนชั้นเอาไว้ด้วยการพัฒนาและปลดปล่อยกำลังการผลิตในระดับสูงและการแบ่งงานกันทำ ซึ่งก่อให้เกิดชนชั้นแรงงานซึ่งย่อมจะเดินหน้าไปสู่การเผชิญหน้าในความขัดแย้งกับระบบทุนนิยม และด้วยพื้นฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมาชนชั้นแรงงานย่อมจะเติบเต็มจิตสำนึกทางชนชั้นของตัวเองจากการตระหนักถึงตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมของตนเองอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังเช่นคำที่มาร์กซ์ได้กล่าวเอาไว้ว่าชนชั้นแรงงานจะเปลี่ยนแปลงจากการเป็น “ชนชั้นโดยตัวมันเอง” (Class in-itself) ไปสู่การเป็น “ชนชั้นเพื่อตัวมันเอง” (Class for-itself)
วิภาษวิธีนั้นวางรากฐานตัวเองอยู่บนปรัชญาแบบเหตุวิสัยนิยม (Determinism) แต่ขณะเดียวกันนั้นมันก็ไม่ได้มีอะไรที่เชื่อมโยงหรือมีลักษณะร่วมกับกลุ่มโชคชะตานิยม (Fatalism) ซึ่งปฏิเสธการมีอยู่ของอุบัติเหตุในธรรมชาติ สังคมและความคิด เหตุวิสัยนิยมวิภาษวิธีนั้นยืนยันถึงการผสานกันของอุบัติเหตุและสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และอธิบายว่าสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้นั้นแสดงตัวเองออกมาในรูปของอุบัติเหตุ ทุกๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นล้วนแล้วแต่มีสาเหตุ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หรืออุบัติเหตุเองก็เช่นกัน และถ้าหากว่ามันไม่มีกฎที่ว่าด้วยสาเหตุของสิ่งต่างๆในธรรมชาติแล้วทุกสิ่งทุกอย่างย่อมจะตกอยู่ในสถานะของความโกลากลอย่างที่สุด มันจะกลายเป็นตำแหน่งที่เป็นไปไม่ได้ที่ไม่มีสิ่งใดจะดำรงอยู่ได้ ดังนั้นสิ่งต่างๆที่ดำรงอยู่จึงเกี่ยวพันและเชื่อมโยงอยู่กับสิ่งอื่นๆที่ดำรงอยู่เช่นกัน ในห่วงโซ่ของสาเหตุและผลที่ตามมาอันไม่มีที่สิ้นสุด เหจตุการณืเฉพาะในบางกรณีนั้นจำเป็นจะต้องมีโอกาสหรือลักษณะที่เป็นอุบัติเหตุอยู่เสมอ แต่การปรากฏของมันนั้นมีที่มาจากความจำเป็นที่หยั่งลึกลงไปอันไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ อันที่จริงสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้แสดงตนเองผ่านความต่อเนื่องของอุบัติเหตุอยู่ตลอด ไม่ต้องสงสัยเลยว่าอุบัติเหตุนั้นมีที่ทางของตัวเองแต่สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำก็คือการค้นหาให้พบว่าอะไรคือสาเหตุเบื้องหลังที่เป็นความจำเป็นอันไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
จากมุมมองแบบการสำรวจเพียงผิวเผินนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นย่อมจะดูเหมือนเป็นสิ่งบังเอิญ เป็นอุบัติเหตุ หรือเป็นสิ่งที่เกิดจากโอกาส ซึ่งสภาวการณ์แบบนี้ย่อมจะเกิดขึ้นเสมอเมื่อเราขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ภายในการเปลี่ยนนั้น “ในทุกๆที่เกิดเหตุการณ์อันเป็นอุบัติเหตุขึ้นมันย่อมถูกควบคุมเอาไว้ด้วยปัจจัยภายใน ด้วยกฎที่หลบซ่อนอยู่ และมีแต่จะต้องค้นพบกฎเหล่านี้เท่านั้น” เองเกลส์ได้เน้นย้ำเอาไว้ในงานเรื่อง Ludwig Feuerbach
ในธรรมชาติ กระบวนการวิวัฒนาการนั้นดำเนินไปบนเส้นทางที่แน่นอน และไม่ว่าผลของมันจะปรากฏออกมาในรูปแบบไหน ปรากฏออกมาอย่างไร มันล้วนแล้วแต่ขึ้นตรงกับสภาพการณ์ที่คาดไม่ถึง ตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตใดๆก็ตามที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนั้นมันย่อมจะต้องพึ่งพาอาศัยสภาพการณ์และปัจจัยรอบข้างที่กำหนดไม่ได้ เช่น การมีแหล่งน้ำ องค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน ระยะห่างของโลกจากดวงอาทิตย์ สภาพชั้นบรรยากาศ ฯลฯ “มันเป็นเรื่องธรรมชาติของวัตถุที่จะต้องก้าวหน้าไปสู่การพัฒนาการดำรงอยู่ของความคิด” เองเกลส์เขียนไว้ “ดังนั้นมันย่อมจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในห้วงเวลาใดก็ตามที่ปัจจัยสำหรับสิ่งนี้ (ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องมีลักษณะเหมือนกันในทุกสถานที่ ทุกห้วงเวลา) ได้เกิดขึ้น”
นักประวัติศาสตร์ที่พิจารณาประวัติศาสตร์เพียงผิวเผินจึงบันทึกเอาไว้ว่า “สาเหตุ” ที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นเกิดขึ้นมาจากการลอบสังหารมงกุฎราชกุมารที่เมืองซาราเจโว แต่สำหรับนักมาร์กซิสต์แล้วสงครามโลกครั้งที่หนึ่งคืออุบัติการณ์ทางประวัติศาสตร์ ในแง่ที่ว่าเหตุการณ์การลอบสังหารนี้คือตัวเร่งปฏิกิริยาหรือข้ออ้างของความขัดแย้งระดับโลกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อันเกิดจากความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของประเทศจักรวรรดินิยม ถ้าหากว่าการลอบสังหารนั้นล้มเหลว หรือต่อให้มงกุฎราชกุมารไม่เคยเกิดขึ้นมาก็ตาม สงครามก็จะยังเกิดขึ้นอยู่ดี ด้วยข้ออ้างทางการฑูตหรือข้ออ้างอื่นๆในการประกาศสงคราม มันเพียงแต่จำเป็นจะต้องแสดงตัวเองออกมาในรูปแบบของ “อุบัติเหตุ” ที่แตกต่างออกไปเท่านั้นเอง
ในคำกล่าวของเฮเกลนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่เพราะมันจำเป็นจะต้องดำรงอยู่ แต่ในทางเดียวกันนั้นทุกสิ่งที่ดำรงอยู่ก็ย่อมจะต้องมีวาระแห่งการดับสูญลง หรือเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นสิ่งอื่น ด้วยเหตุนี้ “ความจำเป็น” ในการดำรงอยู่ในพื้นที่และช่วงเวลาหนึ่งย่อมจะเปลี่ยนไปเป็น “ความไม่จำเป็น” ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก่อให้เกิดความเป็นขั้วตรงข้ามกันหรือความเป็นอริกันซึ่งมุ่งหมายจะเอาชนะและลบล้างขั้วตรงข้าม นี่คือความเป็นจริงของสิ่งมีชีวิตที่ดำรงอยู่ เช่นเดียวกับความเป็นจริงของสังคมและธรรมชาติโดยทั่วไป
สังคมมนุษย์ในรูปแบบต่างๆนั้นดำรงอยู่เพราะมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ในห้วงเวลาหนึ่งที่มันดำรงอยู่ “ไม่มีระเบียบทางสังคมใดที่พังทลายลงก่อนที่กำลังการผลิตซึ่งอยู่ในระบบสังคมนั้นจะได้รับการพัฒนาหรือปลดปล่อยกำลังการผลิต และความสัมพันธ์ทางการผลิตที่สูงขึ้นย่อมจะไม่ปรากฎออกมาจนกว่าปัจจัยด้านวัตถุของมันในสังคมเก่าจะถึงสภาวะสุกงอม ด้วยเหตุนี้มนุษยชาติจึงทำได้เพียงแก้ไขปัญหาที่พวกเขาพบเฉพาะหน้าเท่านั้น และนับตั้งแต่ที่เราเริ่มพิจารณาวัตถุอย่างละเอียดเราจะพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมันเกิดขึ้นเมื่อเงื่อนไขทางวัตถุที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาได้ดำรงอยู่แล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดคือดำรงอยู่ในกระบวนการก่อร่างแล้ว” (มาร์กซ์)
สังคมทาส ในช่วงเวลาที่มันดำรงอยู่นั้นก็ได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่ก้าวกระโดดออกมาจากสังคมป่าเถื่อนหรือสังคมบุพกาล มันถือเป็นขั้นตอนที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ในกระบวนการของการพัฒนากำลังการผลิต พัฒนาวัฒนธรรม และสังคมมนุษย์
สังคมทุนนิยมเองก็คล้ายกัน มันกำเนิดขึ้นมาจากความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการพยายามพัฒนาความก้าวหน้าในสังคมมนุษย์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสังคมบุพกาล สังคมทาส สังคมศักดินา หรือสังคมนิยม ต่างก็แสดงถึงความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และความก้าวหน้าของระบบสังคมมนุษย์ และการปรากฏขึ้นของแต่ละสังคมนั้นก็เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภายในตัวสังคมเอง และเมื่อถึงเวลามันก็จะล่มสลายลงอันเนื่องมาจากการถือกำเนิดของกลุ่มพลังทางสังคมใหม่จากร่างเนื้อของสังคมเก่า ซึ่งในปัจจุบันนี้มันแสดงออกมาในรูปแบบของชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่ ระบบกรรมสิทธิ์ในการถือครองวิถีการผลิต และแนวคิดรัฐชาติ อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของระบบสังคมทุนนิยม ซึ่งจุดกำเนิดของมันนั้นถือเป็นความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ แต่ปัจจุบันนั้นระบบทุนนิยมทำเพียงแค่รับใช้พวกนายทุนที่อ้วนพี และพยายามบ่อนทำลายกำลังการผลิตและบ่อนทำลายผลพวงจากพัฒนาการในหลายศตวรรษที่ผ่านมาของสังคมมนุษย์ลง
ระบบทุนนิยมนั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าตัวมันเป็นระบบสังคมที่เสื่อมสลาย ซึ่งจำเป็นจะต้องถูกโค่นล้มลงโดยขั้วตรงข้ามของมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นคือ สังคมนิยม ถ้าหากอารยธรรมของมนุษยชาติจะอยู่รอดต่อไปได้มันย่อมจะเกิดจากกำหนดของลัทธิมาร์กซิสต์ไม่ใช่เกิดจากโชคชะตา มนุษย์ทั้งหลายต่างเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมา การเปลี่ยนผ่านทางสังคมจึงจะต้องเกิดจากมนุษย์ทั้งหลายที่มีความตระหนักและความมุ่งมั่นอันแรงกล้าในการจะปลดแอกตนเอง การต่อสู้ทางชนชั้นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า การจะประสบความสำเร็จนี้อาจจะมีปัจจัยหลายประการ การลุกฮือ มวลชนของชนชั้นที่ก้าวหน้าและไปไกลกว่าระบบสังคมเก่า การอ่อนกำลังลงของพวกปฏิกิริยา แต่ในท้ายที่สุดแล้วผลลัพธ์นั้นจะถูกกำหนดและชี้ขาดจาก ฝั่งไหนที่มีเจตจำนงที่แข็งแกร่งกว่ากัน มีการจัดตั้งที่ดีกว่า และมีความสามารถและลักษณะการนำที่ดีกว่ากัน
ชัยชนะของสังคมนิยมนั้นย่อมจะนำสังคมมนุษย์ไปสู่สังคมใหม่ที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ หรือจะพูดให้ชัดเจนยิ่งกว่านั้นชัยชนะของสังคมนิยมจะเป็นการทำลายสิ่งตกค้างดึกดำบรรพ์ทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติและเริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่แท้จริง
อย่างไรก็ตามในอีกทางหนึ่งแล้วสังคมนิยมได้ย้อนกลับไปหาสิ่งที่มีมาก่อนการกำเนิดของระบบสังคมมนุษย์นั่นคือ - สังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล - แต่เป็นการพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วยองค์ความรู้ที่สะสมมานับพันปีผ่านสังคมชนชั้น การปฏิเสธระบบสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาลของสังคมชนชั้นนั้นจะถูกปฏิเสธด้วยสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจที่อุดมสมบูรณ์นั้นจะถูกทำให้เป็นไปได้จริงด้วยการวางแผนใช้งานกลไกของอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นจากระบบทุนนิยมในระดับโลก และนี่จะเป็นการปฏิเสธและยุติการแบ่งแย่งคนงานที่ซ้ำซ้อน ระหว่างแรงงานกายภาพและแรงงานสมอง ระหว่างเมืองและชนบท และยุติการต่อสู้ทางชนชั้นที่ป่าเถื่อนและไม่จำเป็น และท้ายที่สุดคือมันจะเปิดทางให้มนุษยชาติสามารถผลิตทรัพยากรเพื่อเอาชนะธรรมชาติได้ ซึ่งอาจจะอธิบายสั้นๆผ่านข้อเขียนอันโด่งดังของเองเกลส์ได้ว่า “มันคือการก้าวกระโดดของมนุษย์ออกจากขอบเขตที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มาสู่ดินแดนแห่งเสรีภาพ”.
บนเริ่มต้นสำหรับวัตถุนิยมวิภาษวิธี โดย ทรอสกี้ (The ABC of Materialist Dialectics, by Trotsky)
วิภาษวิธีนั้นไม่ใช่ทั้งเรื่องเล่าปรัมปราหรือเรื่องเพ้อฝัน หากแต่มันคือวิทยาศาสตร์ของรูปแบบของระบบคิดของเราตราบเท่าที่มันไม่ได้ถูกกำหนดหรือจำกัดจากชีวิตประจำวันของเรา แต่มันพยายามจะไปถึงการทำความเข้าใจระบบความเป็นไปที่ซับซ้อนและพยายามร่างเค้าโครงของระบบดังกล่าวออกมา วิภาษวิธีและระบบตรรกะทั่วไปนั้นแบกเอาความสัมพันธ์ต่อกันและกันเอาไว้เสมือนความสัมพันธ์แบบสูงและต่ำทางคณิตศาสตร์
ในบทความนี้ผมพยายามที่จะร่างเค้าโครงของปมปัญหาสำคัญออกมาอย่างกระชับที่สุดดังนี้ ระบบตรรกะตามอย่างของอริสโตเติลนั้นคือการอ้างเหตุผลโดยเริ่มต้นที่ประพจน์ที่ว่า A เท่ากับ A ข้อสมมุติฐานดังกล่าวนี้ถูกยึดเอาไว้เป็นเสมือนความเป็นจริงขั้นมูลฐานสำหรับปฏิบัติการโดยทั่วไปของมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงนั้น A ไม่ได้เท่ากับ A เสมอไป
และมันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะพิสูจน์คำกล่าวนี้เพราะหากเราพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เราก็จะพบว่าสิ่งต่างๆนั้นแตกต่างจากกันอย่างชัดเจน
แต่ในทางหนึ่งมันก็อาจจะถูกคัดค้านได้ ดังนั้นเราจึงจะขอยกตัวอย่างโดยใช้กรณีของน้ำตาลปริมาณ 100 กรัม
ข้อคัดค้านในเรื่องขนาดหรือสถานะของมันก็จะไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป เพราะในความเป็นจริงนั้นน้ำตาล 100 กรัมกองหนึ่ง ย่อมจะไม่เท่ากับน้ำตาล 100 กรัมอีกกองหนึ่ง มันมีส่วนต่างในระดับย่อยในหลักทศนิยมอยู่เสมอ
หากแต่มันก็อาจจะถูกคัดค้านได้อีกเช่นกันว่า น้ำตาล 100 กรัมกองหนึ่งย่อมจะเท่ากับตัวมันเอง และต่อให้คำกล่าวที่ว่านี้จะเป็นจริงก็ตาม แต่สสารต่างๆย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะผ่านรูปแบบของขนาด น้ำหนัก สี ฯลฯ ดังนั้นมันจึงไม่สามารถจะเท่ากับตัวมันเองได้
พวกนักปรัชญาโซฟิสต์ย่อมจะตอบโต้กลับมาว่าน้ำตาล 100 กรัมนี้เท่ากับตัวมันเอง “ในห้วงเวลาหนึ่ง” หากเรายึดคำกล่าวนี้แล้วมันจะมีปัญหาตามมาอีกมากนอกเหนือไปจากเรื่องความคลุมเครือของ “สัจพจน์” ที่ว่านี้แล้วมันยังจะทำให้เราไม่สามารถยอมรับการวิพากษ์ทางทฤษฎีได้อีก คำถามสำคัญคือเราจะยอมรับข้ออ้างเรื่อง “ห้วงเวลาหนึ่ง” นี้ได้อย่างไร ในเมื่อช่วงเวลาเพียงเสี้ยวหนึ่งในห้วงเวลาเท่านั้นอาจจะเพียงแค่ 1/1,000,000 วินาทีเท่านั้นหรือน้อยกว่านั้นที่น้ำตาล 100 กรัมที่เรากล่าวนี้จะอยู่ในสถานะที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
หรือถ้าหากว่า “ห้วงเวลาหนึ่ง” ที่ว่านี้เป็นเพียงนามธรรมในทางคณิตศาสตร์ที่อาจจะแปลได้ว่ามันคือห้วงเวลาที่เป็นศูนย์แล้ว แต่สรรพสิ่งต่างๆนั้นล้วนดำรงอยู่ในห้วงเวลาทั้งสิ้นและดำรงอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้งภายใต้ระบบเวลา และด้วยเหตุนี้เวลาจึงเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการดำรงอยู่
ดังนั้นสัจพจน์ที่ว่า A เท่ากับ A หรืออย่างน้อยที่สุดแล้วคือ A เท่ากับตัวมันเองภายในช่วงเวลาหนึ่งนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่เป็นจริง หรือในอีกทางหนึ่งก็คือมันไม่ได้ดำรงอยู่
โดยทั่วไปหากเรามองประพจน์หรือสัจพจน์เหล่านี้แล้วเราอาจจะคิดว่ามันเป็นเพียงเรื่องไร้สาระหากแต่ในความเป็นจริงแล้วมันกลับเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้ขาดเลยด้วยซ้ำ อันเนื่องมาจากสัจพจน์ที่ว่า A เท่ากับ A นี้ในทางหนึ่งคือจุดเริ่มต้นของการทดลองอันเป็นที่มาขององค์ความรู้ทั้งหมดของเรา และในอีกทางหนึ่งนั้นมันก็เป็นจุดเริ่มต้นของความผิดพลาดทั้งหมดของเราเช่นกัน
การจะหยิบใช้สัจพจน์ที่ว่า A เท่ากับ A โดยไม่มีข้อผิดพลาดนั้นคือการใช้มันภายใต้ข้อจำกัดที่แน่นอน เมื่อมันเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณเพียงเล็กน้อยนั้น เราอาจจะสรุปเอาได้อย่างง่ายว่า A นั้นเท่ากับ A ดังที่เราจะเห็นได้จากการซื้อขายน้ำตาลระหว่างคนขายกับคนซื้อเป็นตัวอย่าง
ในทำนองเดียวกันนี้เราอาจจะพิจารณาถึงอุณหภูมิของแสงอาทิตย์ด้วย หากว่าในวันหนึ่งเราต้องซื้อพลังงานจากแสงแดดใช้ แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณที่มากกว่าข้อจำกัดนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพด้วย เมื่อเราละลายน้ำตาล 100 กรัมลงในน้ำหรือน้ำมันมันจะสิ้นสุดความเป็นน้ำตาล 100 กรัมอยู่ การจะกำหนดกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพนี้คือประเด็นสำคัญอย่างยิ่งและเป็นสิ่งที่ยากยิ่งโดยเฉพาะในทางสังคมศาสตร์
แรงงานทุกคนย่อมรู้ดีว่ามันเป็นเรื่องยากมากที่จะผลิตสิ้นค้าสองชิ้นที่เหมือนกันอย่างสมบูรณ์ออกมา ในการเททองเหลืองเข้าสู่เบ้าหลอม มันย่อมจะเกิดความผิดพลาดบางอย่างระหว่างกระบวนการผลิตนี้ และนี่คือการข้ามไปเหนือข้อจำกัดที่แน่นอน อย่างไรก็ตามพวกเขายังสามารถยอมรับมันได้ (ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าความทนรับได้) จากการสำรวจนั้นเราพบว่าพวกเขาจะยอมรับความแตกต่างเล็กน้อยของผลผลิตได้ (คิดว่า A เท่ากับ A เมื่อความผิดพลาดน้อย) เมื่อความทนรับได้ที่ว่านี้มีอำนาจสูงกว่า แต่หากเมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาไม่สามารถทนรับความผิดพลาดได้มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพและผลผลิตดังกล่าวก็จะกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ไปทันที
ความคิดทางวิทยาศาสตร์ของเรานี้เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในปฏิบัติการโดยทั่วไปหรือในทางเทคนิคของเรา สำหรับแนวคิดที่ว่าการดำรงอยู่ของ “ความทนรับได้” นั้นไม่ได้เกิดหรือถูกก่อตั้งมาจากระบบตรรกะโดยทั่วไปอันกำเนิดมาจากสัจพจน์ที่ว่า A เท่ากับ A หากแต่เกิดมากจากความคิดแบบวิภาษวิธีที่มาจากความคิดที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หรือกล่าวคือ “สามัญสำนึก” นั้นกำเนิดและถูกกำหนดลักษณะขึ้นโดยระบบที่มีอำนาจเหนือ “ความทนรับได้”
ความคิดสามานย์ดังกล่าวนั้นทำงานอย่างเป็นระบบผ่านแนวคิดแบบ ทุนนิยม ศีลธรรม เสรีภาพ ฯลฯ ในฐานะที่มันเป็นนามธรรมอันตายตัว และสมอ้างว่าทุนนิยมนั้นเท่ากับทุนนิยม ศีลธรรมเท่ากับศีลธรรม ฯลฯ แต่ความคิดแบบวิภาษวิธีนั้นมองว่าทุกสิ่งอย่าง ทุกปรากฏการณ์นั้นเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องกัน
ข้อบกพร่องขั้นพื้นฐานของแนวคิดสามานย์เหล่านี้คือมันพยายามจะแทรกตัวเองเข้าไปในความเป็นจริงแล้วอธิบายว่าความเป็นจริงนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหวได้ แต่ความคิดแบบวิภาษวิธีนั้นได้มอบแนวคิดผ่านวิธีการพิจารณาอย่างใกล้ชิด การแก้ไข และเนื้อหาที่มีชีวิตชีวาและยืดหยุ่น ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าปรากฏการณ์ต่างๆที่เราเห็นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาจากขอบเขตของการกำหนดหากแต่เกิดมาจากความสัมพันธ์ในห่วงโซ่แห่งการเปลี่ยนแปลง เช่นทุนนิยมไม่ได้เกิดขึ้นมาจากตัวทุนนิยมเองแต่มันเกิดมาจากสถานการณ์อันต่อเนื่องในการพัฒนา
ความคิดแบบวิภาษวิธีนั้นสัมพันธ์กับแนวคิดสามานย์ในความหมายเดียวกับความคิดที่ว่าภาพเคลื่อนไหวนั้นสัมพันธ์กับภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้แยกตัวเองออกจากภาพถ่ายอย่างเด็ดขาดหากแต่มันคือการรวมเอาภาพถ่ายที่ต่อเนื่องเอาไว้เป็นชุดเดียวกันตามกฎของการเคลื่อนไหว วิภาษวิธีนั้นไม่ได้ปฏิเสธการให้เหตุผล หากแต่มันสอนให้เรารู้จักประยุกต์ใช้การให้เหตุผลไปในทิศทางเพื่อการเข้าถึงความเข้าใจความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ระบบตรรกะของเฮเกลนั้นได้สถาปนากฎของความคิดต่างๆขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ การพัฒนาผ่านความขัดแย้ง ความขัดแย้งของเนื้อหาและรูปแบบ การหยุดชะงักของความต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงจากความเป็นไปได้ไปสู่สิ่งที่หลักเลี่ยงไม่ได้ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นองค์ความรู้ขั้นพื้นฐานสำหรับความคิดทางทฤษฎีสำหรับการพัฒนาและศึกษาต่อ
ต้องขอบคุณการปฏิวัติฝรั่งเศสที่เป็นแรงกระตุ้นให้เฮเกลเขียนเรื่องเหล่านี้ขึ้นก่อนมาร์กซ์และดาร์วิน เฮเกลนั้นได้ประมาณการณ์ถึงความเคลื่อนไหวทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ หากแต่มันก็เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้นและมันได้รับอิทธิพลจากความเป็นนักจิตนิยมของเฮเกลผสมเข้าไปด้วยที่ทำให้เฮเกลนั้นทำงานกับเงามืดทางอุดมการณ์ราวกับว่ามันเป็นความเป็นจริงสูงสุด ซึ่งต่อมามาร์กซ์ได้แสดงให้เห็นว่าเงามืดทางอุดมการณ์นั้นไม่ได้สะท้อนให้เห็นสิ่งใดเลยนอกจากความเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางวัตถุ
เราเอ่ยถึงวัตถุนิยมวิภาษวิธีขึ้นมาเมื่อมันหยั่งรากลงและทำให้เราเห็นว่ามันไม่ทั้งสวรรค์เบื้องบนและไม่มีกระทั่ง “เจตจำนงเสรี” ภายในจิตใจของเรา สิ่งเดียวที่มีอยู่จริงคือรูปธรรมทางวัตถุในธรรมชาติ จิตสำนึกนั้นกำเนิดออกมาจากการไม่มีจิตสำนึก จิตวิทยานั้นกำเนิดมาจากสรีรวิทยา โลกวัตถุนั้นกำเนิดมาจากโลกอวัตถุ
ในทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงนี้มันเกิดการเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพเสมอ ความคิดเรื่องวิภาษวิธีของเรานั้นเป็นเพียงรูปแบบความคิดเดียวที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ ในระบบความคิดนี้มันไม่มีพื้นที่สำหรับพระเจ้า ปิศาจ หรือจิตวิญญาณอมตะ ใดๆทั้งสิ้น ความคิดแบบวิภาษวิธีนั้นเติบโตมาจากวิภาษวิธีธรรมชาติ และด้วยเหตุนี้มันจึงผูกตัวเองอยู่กับเรื่องของวัตถุอย่างแยกออกจากกันไม่ได้
มาร์กซ์นั้นแตกต่างจากดาร์วินตรงที่เขาเป็นผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญของวิภาษวิธีอย่างจริงจัง มาร์กซ์ได้ค้นพบการจัดแบ่งหมวดหมู่รูปแบบทางสังคมในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ผ่านรูปแบบของการพัฒนากำลังการผลิตและโครงสร้างความสัมพันธ์ของผู้ถือครองปัจจัยการผลิต การแบ่งแยกแบบมาร์กซิสต์นี้ได้เข้าแทนที่แนวคิดสามานย์ในการอธิบายพัฒนาการทางสังคมและยังทรงอิทธิพลต่อมาจนถึงปัจจุบัน และมีเพียงการใช้รูปแบบความคิดแบบวัตถุนิยมวิภาษวิธีนี้เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถเข้าถึงแนวคิดเรื่องรัฐของชนชั้นกรรมาชีพและห้วงเวลาที่มันจะมาถึงได้
ดังที่เขียนมาทั้งหมดนี้จะเห็นว่าสิ่งที่ผมเขียนมาแทบจะไม่มีข้อความที่เข้าข่ายเป็น “อภิปรัชญา” หรือ “ปรัชญาเลื่อนลอย” เลย ระบบตรรกะแบบวิภาษวิธีนั้นแสดงให้เห็นถึงกฎของการเคลื่อนไหวควบคู่ไปกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์ การคัดค้านแนวคิดวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นในทางหนึ่งจึงแสดงออกถึงความเป็นกระฎุมพีน้อยอนุรักษ์นิยม พยายามใฝ่หาความคิดแบบซ้ำเดิม....และใฝ่ฝันถึงความหวังในโลกหลังความตายเท่านั้น.
สามส่วนประกอบสำคัญของลัทธิมาร์กซิสต์ (สรุปความ) โดย เลนิน (The Three Sources and Components parts of Marxism (extract), by Lenin)
ปรัชญามาร์กซิสต์นั้นคือปรัชญาวัตถุนิยม ตลอดห้วงเวลาทางประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของยุโรปและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 18 ในฝรั่งเศสนั้นคือห้วงเวลาชี้ขาดในสงครามต่อต้านเศษซากของระบบศักดินาที่หลงเหลือมาจากยุคกลาง และในห้วงเวลานี้เองที่ปรัชญาวัตถุนิยมนั้นได้พิสูจน์ตนเองว่าเป็นปรัชญาเดียวที่มีความคงเส้นคงวา และเป็นปรัชญาเดียวที่สามารถทำให้คนเข้าถึงวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้ และเป็นปรัชญาที่เป็นศัตรูกับเรื่องเหนือธรรมชาติทั้งปวง ฯลฯ บรรดาศัตรูของระบบประชาธิปไตยนั้นได้พยายามที่จะ ‘โค่นล้ม’ บ่อนทำลาย และ บิดเบือนปรัชญาวัตถุนิยม และพยายามจะปกป้องปรัชญาแบบจิตนิยมจำนวนมากเอาไว้ หรือกล่าวก็คือ พวกเขาพยายามจะปกป้องและสนับสนุนศาสนานั่นเอง
มาร์กซ์และเองเกลส์นั้นได้พยายามปกป้องหลักการปรัชญาวัตถุนิยมในลักษณะที่แน่นอนอยู่ตลอดเวลา และได้อธิบายถึงความผิดพลาดที่เกิดจากการบิดเบือนปรัชญาวัตถุนิยมในทุกวันอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า มุมมองของพวกเขานั้นได้ถูกอธิบายเอาไว้อย่างละเอียดและลึกซึ้งผ่านงานเขียนของเองเกลส์ เช่น Ludwig Feuerbach และ Anti-Duhring หรือในงาน Communists Manifesto ซึ่งถือเป็นงานพื้นฐานสำหรับชนชั้นแรงงานที่มีจิตสำนึกทางชนชั้น
อย่างไรก็ตามมาร์กซ์นั้นไม่ได้หยุดตัวเองเอาไว้ภายใต้กรอบของปรัชญาวัตถุนิยมในศตวรรษที่ 18 เท่านั้นหากแต่เขาได้พัฒนาหลักของปรัชญาชนิดนี้ต่อให้ก้าวหน้าขึ้น เขาพัฒนามันต่อด้วยการนำผลสำฤทธิ์ของปรัชญาคลาสสิคเยอรมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานทางปรัชญาของเฮเกล มาผสมผสานกับความคิดแบบวัตถุนิยมของฟอยเออร์บาค และหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ก็คือวิภาษวิธี
ในขณะที่มาร์กซ์ได้พัฒนาปรัชญาวัตถุนิยมอย่างลึกซึ้งเขาก็ได้นำมันมาสู่ข้อสรุปสำคัญ นั่นคือเขาได้ขยายเอาหลักการความเข้าใจต่อธรรมชาตินั้นมาใช้กับการทำความเข้าใจสังคมมนุษย์ด้วย อันก่อให้เกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่าวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จครั้งใหญ่ของมาร์กซ์ในการยึดกุมความคิดแบบวิทยาศาสตร์
ความโกลาหลและความไม่มีเหตุผล ซึ่งได้ครอบงำการพิเคราะห์ประวัติศาสตร์และการเมืองตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันนั้น ได้ถูกแทนที่ด้วยวิธีการมองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระเบียบทางสังคมหนึ่งนั้นดำรงอยู่อย่างไร และระเบียบทางสังคมใหม่ได้พัฒนาขึ้นอย่างไร ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นจากการพัฒนาและการเติบโตของกำลังการผลิต – และแสดงให้เห็นว่าระบบทุนนิยมนั้นเติบโตขึ้นมาจากระบบไพร่ติดที่ดินอย่างไร
ในทางเดียวกันนั้นความเข้าใจต่อมนุษย์ก็ได้สะท้อนความเข้าใจต่อธรรมชาติ (กล่าวคือการพัฒนาทางวัตถุ) ซึ่งดำรงอยู่อย่างอิสระจากมนุษย์ เช่นเดียวกับความรู้ความเข้าใจทางสังคมของมนุษย์ (กล่าวคือ มุมมองต่างๆทางปรัชญา การเมือง ศาสนา ฯลฯ ของมนุษย์) ได้สะท้อนถึงระเบียบทางเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ สถาบันทางการเมืองนั้นคือโครงสร้างส่วนบนที่วางรากฐานอยู่บนฐานเศรษฐกิจ เราจะเห็นได้จาก ตัวอย่างในประเทศยุโรปสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยรูปแบบทางการเมืองที่หลากหลายแต่ทั้งหมดนั้นต่างก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชนชั้นกระฎุมพีมีอำนาจปกครองเหนือชนชั้นกรรมาชีพ
ปรัชญาของมาร์กซ์นั้นสมบูรณ์อยู่ภายในตัวมันเอง มันคือปรัชญาที่ตระเตรียมเครื่องมืออันทรงพลังทางความรู้ไว้ให้กับมนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชนชั้นกรรมาชีพ.
จากงานเขียนที่ถูกรวบรวมไว้ของเลนิน
Volume 38, p359 : ว่าด้วยคำถามต่อวิภาษวิธี
(Lenin's Collected Works
Volume 38, p359:
On the Question of Dialectics)
การแบ่งแยกสิ่งที่เป็นเชิงเดี่ยวออกและทำความเข้าใจต่อสภาวะความเป็นขั้วตรงข้ามภายในสิ่งดังกล่าวนั้นคือแก่นแท้ (หนึ่งใน ‘หลักการสำคัญ’ หนึ่งในกฎเกณฑ์ หรือหากมันไม่ใช่กฎเกณฑ์มันก็เป็นสิ่งที่เป็นเชิง ลักษณะ หรือคุณสมบัติ) ของวิภาษวิธี
ความถูกต้องของมุมมองว่าด้วยเนื้อหาของวิภาษวิธีดังกล่าวนี้จะต้องถูกทดสอบด้วยประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ มุมมองของวิภาษวิธีนี้ (ตัวอย่าง เพลคานอฟ) มักจะไม่ค่อยได้รับความสนใจนัก การพยายามกำหนดลักษณะของความเป็นขั้วตรงข้ามนั้นมักจะถูกยอมรับในฐานะผลสรุปรวมของกลุ่มตัวอย่าง (“ กลุ่มตัวอย่างเช่นเมล็ดพันธุ์” “กลุ่มตัวอย่างเช่นสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล” เช่นเดียวกับความคิดของเองเกลส์ หากแต่มันคือ “ความสนใจของการทำให้แพร่หลาย...”) และไม่ได้ถูกยอมรับในฐานะกฎของการทำความเข้าใจ (และในฐานะกฎของโลกที่เป็นรูปธรรม)
ในทางคณิตศาสตร์ : + และ – นั้นแตกต่างกันแต่อยู่ร่วมกัน
ในทางกลศาสตร์ : การกระทำ และ ปฏิกิริยา
ในทางวิทยาศาสตร์ : ขั้วบวกและขั้วลบ
ในทางเคมี : การรวมและการแยกสลายของอะตอม
ในทางสังคมศาสตร์ : การต่อสู้ทางชนชั้น
การกำหนดลักษณะของความเป็นขั้วตรงข้าม (หรือกล่าวให้ถูกต้องกว่านั้น บางทีอาจจะต้องกล่าวว่ามันคือ “ผลรวม” – กระนั้นความแตกต่างทางความหมายระหว่างคำว่าความเป็นขั้วตรงข้ามและผลรวมนั้นก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในตอนนี้เพราะอย่างไรก็ตามทั้งสองคำนั้นสามารถนำมาใช้ได้ไม่ต่างกัน) คือการยอมรับ (การค้นพบ) ความเป็นขั้วตรงข้าม ลักษณะพิเศษที่มีร่วมกัน และแนวโน้มของการต่อต้านในทุกๆปรากฏการณ์และกระบวนการทางธรรมชาติ (เช่น ความคิด และ สังคม) เงื่อนไขสำหรับองค์ความรู้ในทุกๆกระบวนการของโลกในลักษณะของ “การเคลื่อนไหวโดยตัวมันเอง” ในกระบวนการพัฒนาโดยตัวมันเอง ในชีวิตที่เป็นจริง นั้นคือองค์ความรู้ในฐานะที่มันเป็นผลรวมของความเป็นคู่ตรงข้ามหรือความขัดแย้ง การพัฒนานั้นคือ “การต่อสู้” ของสิ่งที่เป็นขั้วตรงข้ามกัน ประเด็นพื้นฐานสองประการ (หรือความเป็นไปได้สองประการ? หรือความเด่นชัดทางประวัติศาสตร์สองประการ?) ของมุมมองต่อการพัฒนา (วิวัฒนาการ) คือ พัฒนาการนั้นคือการเพิ่มและการลด เสมือนการทำซ้ำ และการพัฒนานั้นคือผลรวมของความเป็นขั้วตรงข้ามกัน
ในมุมมองทางความคิดแรกต่อความเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวในตัวเอง แรงผลักดันของมัน แหล่งที่มาของมัน แรงกระตุ้นของมัน ยังคงถูกเก็บเอาไว้มุมมืด (หรือไม่ก็ถูกสรุกเอาว่ามันมาจากปัจจัยภายนอกเช่น – พระเจ้า, ความเป็นอัตวิสัย ฯลฯ) และในมุมมองที่สองนั้นความสนใจหลักได้มุ่งไปที่องค์ความรู้ของแหล่งที่มาของความเคลื่อนไหว “ในตัวเอง”
มุมมองทางความคิดแรกนั้นขาดความมีชีวิตชีวา ซีดเซียวและแห้งแล้ง ขณะที่ความคิดที่สองนั้นมีชีวิตชีวา มุมมองความคิดที่สองนั้นโดยตัวมันเองได้เติมเต็มกุญแจสำหรับเรื่อง “การเคลื่อนไหวภายในตัวเอง” ของทุกสิ่งที่ดำรงอยู่ และโดยตัวมันเองนั้นได้เติมเต็มกุญแจสำหรับ “การก้าวกระโดด” สำหรับ “การหยุดชะงักในความต่อเนื่อง” สำหรับ “การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นขั้วตรงข้ามกัน” และไปสู่การทำลายสิ่งเก่าและการกำเนิดของสิ่งใหม่
ผลรวม (ความซ้ำซ้อน, ลักษณะเฉพาะ, การกระทำที่เสมอกัน) ของความเป็นขั้วตรงข้ามกันนี้คือ เงื่อนไข, ลักษณะชั่วคราว, ความเฉพาะกาล และ ความสัมพันธ์กัน การต่อสู้กันของความเป็นขั้วตรงข้ามนั้นเป็นเรื่องที่แน่นอน เช่นเดียวกับที่การพัฒนาและความเคลื่อนไหวนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน
หมายเหตุ: คามแตกต่างระหว่างอัตวิสัย (วิมตินิยม, การหลอกลวง ฯลฯ) กับวิภาษวิธี ในแง่นี้คือใน (วัตถุวิสัย) ของวิภาษวิธีความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์และความแน่นอนนั่นคือความสัมพันธ์ภายในตัวมันเอง สำหรับวัตถุวิสัยของวิภาษวิธีนั้นมันคือความแน่นอนที่อยู่ภายในความสัมพันธ์ แต่สำหรับวิมตินิยมหรืออัตวิสัยนั้น ความสัมพันธ์ก็คือความสัมพันธ์เพียงอย่างเดียวและไม่มีความแน่นอน
ในงานเรื่องว่าด้วยทุน มาร์กซ์ได้เริ่มต้นการเขียนวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ง่ายที่สุด อันเป็นเรื่องพื้นฐานและธรรมดาสามัญที่สุดและเป็นเรื่องทั่วไปและเรื่องที่พบได้ในชีวิตประจำวันภายใต้สังคม (โภคภัณฑ์) กระฎุมพี กล่าวคือ การแลกเปลี่ยนสินค้า ในแง่นี้มันคือปรากฏการณ์ที่ง่ายดาย (ใน “เซลล์” ของสังคมกระฎุมพีนี้) การวิเคราะห์นี้ได้เผยให้เห็นความขัดแย้งทั้งหมด (หรือหน่ออ่อนของความขัดแย้ง) ในสังคมสมัยใหม่ การแสดงออกในภายหลังนั้นทำให้เราเห็นว่าพัฒนาการ (ทั้งการเติบโตและการเคลื่อนไหว) ของความขัดแย้งนี้และสังคมนี้อยู่ในผลสรุปรวมของส่วนที่เป็นปัจเจกของมัน ทั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดจบ
และมันย่อมจะเป็นดังนี้กระบวนการการแสดงออก (หรือการศึกษา) วิภาษวิธีโดยทั่วไป (สำหรับมาร์กซ์วิภาษวิธีของสังคมกระฎุมพีนั้นเป็นส่วนเฉพาะเจาจงหนึ่งของวิภาษวิธีทั้งหมด) และเพื่อจะเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ง่ายที่สุด เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด เป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุด ฯลฯ ไม่ว่าจะด้วยประพจน์ใดๆนั้นคือการเริ่มต้นด้วย : ใบไม้เป็นสีเขียว จอห์นคือมนุษย์ ฟิโดคือสุนัข และนี่เองเราได้เข้าถึงวิภาษวิธี (แบบที่เฮเกลกล่าวถึง) แล้ว ปัจเจกคือสิ่งสากล
และด้วยเหตุนั้น ความเป็นขั้วตรงข้ามนั้น (ปัจเจกได้ต่อต้านต่อความเป็นสากล) เป็นอย่างเดียวกัน ปัจเจกจะดำรงอยู่ได้ก็เมื่อได้เชื่อมโยงตัวเองไปสู่ความเป็นสากล ส่วนความเป็นสากลจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยผ่านปัจเจกและดำรงอยู่ภายในปัจเจก ปัจเจกทั้งหมดนั้น (ไม่ว่าจะในทางใดก็ตาม) คือความเป็นสากล และความเป็นสากลทั้งหมดนั้นคือ (ชิ้นส่วน, หรือแง่มุม, หรือแก่นสำคัญของ) ปัจเจกความเป็นสากลทั้งหมดนั้นเกือบจะครอบคลุมปัจเจกทั้งหมด ปัจเจกทั้งหมดก็ได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลจนเกือบสมบูรณ์ ฯลฯ ปัจเจกทั้งหมดล้วนแล้วแต่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านกระบวนการเปลี่ยนผ่านนับพันของปัจเจกรูปแบบอื่นๆ (สิ่งอื่น, ปรากฏการณ์, กระบวนการ ฯลฯ) ณ จุดนี้เราได้ทราบถึงองค์ประกอบ, ต้นตอ, แนวคิดของความสำคัญ, ของการเชื่อมโยงเชิงวัตถุในธรรมชาติ ฯลฯ และเราได้ทราบถึงความจำเป็นและสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปรากฏการณ์และแก่นแท้ และเมื่อเราพูดว่า จอห์นคือมนุษย์ ฟิโดคือสุนัข นี่คือใบไม้ ฯลฯ เราะเลยคุณสมบัติบางอย่างและไม่นับรวมว่ามันเป็นเรื่องความจำเป็น เราได้แยกเอาแก่นแท้ออกมาจากการแสดงตัว และทำให้สิ่งหนึ่งเป็นขั้วตรงข้ามหรือขัดแย้งกับสิ่งอื่น
ดังนั้นไม่ว่าจะในประพจน์ใดๆก็ตามเราสามารถ (และควรจะ) ทำการเปิดเผยให้เห็นถึง “หัวใจ” (“เซลล์”) ของหน่ออ่อนขององค์ประกอบทุกอย่างของวิภาษวิธี และด้วยเหตุนั้นต้องแสดงให้เห็นว่าวิภาษวิธีนั้นคือสมบัติขององค์ความรู้โดยทั่วไปของมนุษยชาติ
และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้แสดงให้เราเห็น (และนี่เป็นอีกครั้งที่มันควรจะแสดงให้เห็นในกรณีง่ายๆ) รูปธรรมของธรรมชาติที่มีคุณภาพเดียวกัน การเปลี่ยนจากปัจเจกไปสู่ความเป็นสากล การเปลี่ยนจากความจำเป็นไปสู่สิ่งที่ไม่อาจจะหลีกลี่ยงได้ การเปลี่ยนผ่าน การปรับเปลี่ยน และการเชื่อมโยงของความเป็นขั้วตรงข้าม วิภาษวิธีนั้นเป็นทฤษฎีขององค์ความรู้ของ (เฮเกล และ) มาร์กซิสต์ ของ “มุมมอง” ของวัตถุ (มันไม่ใช่แค่ “มุมมอง” แต่เป็นแก่นแท้ของวัตถุ)
องค์ความรู้นั้นถูกแสดงออกมาในรูปแบบของเนื้อหาอันต่อเนื่องในวงล้อมของทั้งเฮเกล และญาณวิทยาสมัยใหม่ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ การผสมผสานและความขัดแย้งกันของลัทธิผู้นิยมเฮเกล
“วงล้อม” ในทางปรัชญา : [มันคือลำดับเหตุการณ์ของบุคคล-ธรรมชาติ? แน่นอนว่าไม่ใช่]
ยุคโบราณ : จากเดโมคลีตัสถึงเพลโต และ วิภาษวิธีของเฮราคลีตัส
ยุคเรเนสซองส์ : เรอเน เดการ์ต กับ ปิแอร์ กาสเซนดี (หรือสปิโนซ่า?)
ยุคใหม่ : ฮอลบาค กับ เฮเกล (เบิ๊ร์กลี่, ฮูม, ค้านท์)
เฮเกล – ฟอยเออร์บาค – มาร์กซ์
วิภาษวิธีนั้นเป็นเสมือนสิ่งที่มีชีวิต มันมีองค์ความรู้ที่มีหลากหลายด้าน (และแน่นอนว่าจำนวนของด้านต่างๆนั้นก็เพิ่มจำนวนอยู่ตลอดเวลา) อันมีจำนวนเป็นอนันต์ที่ต่างก็พยายามเข้าใกล้หรือค้นหาความเป็นจริง (ด้วยระบบทางปรัชญาที่เติบโตไปสู่การขยับออกจากเฉดหรือด้านต่างๆ) ในตอนนี้เราได้รับเนื้อหาจำนวนมากมายมหาศาลเมื่อนำไปเทียบกับอภิปรัชญาแบบวัตถุนิยม ความโชคร้ายขั้นพื้นฐานเดียวก็คือความไม่สามารถจะนำหลักวิภาษวิธีไปใช้กับทฤษฎี กับกระบวนการและการพัฒนาองค์ความรู้ได้
ปรัชญาจิตนิยมนั้นมีแต่ความไม่สมเหตุสมผลจากจุดยืนแบบธรรมชาติ จุดยืนแบบปกติ หรือจุดยืนแบบวัตถุนิยม และจากจุดยืนแบบวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นปรัชญาแบบจิตนิยมคือสิ่งที่มีเพียงด้านเดียว เป็นเรื่องเกินจริง เป็นการพัฒนาการ (การลอยตัว, เพ้อฝัน) ของคุณสมบัติ, มุมมอง, แง่มุมขององค์ความรู้ให้กลายไปสู่การแยกตัวเองออกจากวัตถุ จากธรรมชาติอย่างสัมบูรณ์ จิตนิยมนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระและศาสนา หากแต่ปรัชญาจิตนิยมนั้นคือ (“กล่าวเสริม” และ “กล่าวอย่างถูกต้องที่สุด”) เส้นทางที่จะเดินหน้าไปสู่การปกปิดทางศาสนาผ่านเฉดขององค์ความรู้อันซับซ้อน (วิภาษวิธี) ของมนุษย์.
องค์ความรู้ของมนุษย์นั้นไม่ได้ (หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ได้เดินตามกัน) เป็นเส้นตรง หากแต่เป็นเส้นโค้งที่เป็นเสมือวงกลมของเรื่องราวอันไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนประกอบต่างๆของเส้นโค้งนี้ต่างก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นอิสระ เป็นเส้นตรง ซึ่ง (ถ้าหากว่าใครสักคนมองเห็นป่าโดยไม่คิดว่ามันคือต้นไม้ที่มาประกอบรวมกัน) มันจะนำไปสู่การปกปิดทางศาสนา (ที่มันจะถูกผลิตซ้ำโดยชนชั้นปกครองซึ่งใช้ประโยชน์จากมัน) อันเป็นรากฐานทางญาณวิทยาของจิตนิยม และแน่นอนว่าการปกปิดทางศาสนาความเชื่อนั้น (= ปรัชญาจิตนิยม) ก็มีรากฐานทางญาณวิทยา มันไม่ได้ลอยอยู่โดดๆโดยไร้รากฐาน หากแต่มันเป็นเสมือนดอกไม้ที่เป็นหมัน หากแต่ดอกไม้ที่เป็นหมันนั้นก็ได้กำเนิดมาจากต้นไม้ที่มีชีวิตและดำรงชีวิตอยู่.
***อรรถาธิบายเพิ่มเติมจากผู้แปล – ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้ดำเนินไปโดยเป็นเส้นตรงอันโดดเดี่ยวหากแต่เป็นวัฏจักรหรือเส้นโค้งที่เชื่อมร้อยต่อกัน ดังนั้นในทางหนึ่งเส้นโค้งในวัฏจักรนี้จึงอาจจะถูกจับแยกออกมาพิจารณาในฐานะของเส้นตรง ที่แยกขาดออกจากสิ่งอื่นๆได้ (ปรัชญาแบบจิตนิยม) ปัญหาก็คือเมื่อแยกเอาเส้นตรงเหล่านี้ออกมาพิจารณาโดดมันจะทำให้เราพบปัญหาที่ว่ามันไม่สามารถตอบคำถามอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ ตัวอย่างเช่น หากเราพิจารณาโดยแยกเอาเฉพาะประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคโบราณมาถึงปัจจุบัน เราก็จะไม่สามารถตอบได้ว่าโลกนี้กำเนิดมาอย่างไรและนั่นทำให้เกิดการอธิบายแบบจิตนิยมอันนำไปสู่การสร้างเรื่องเหนือธรรมชาติขึ้นมาเป็นคำตอบ (เช่นที่บทความแปลใช้คำว่า “การปกปิดทางศาสนา” นั่นเอง)****
จากงานเขียนที่ถูกรวบรวมไว้ของเลนิน
Volume 38, p221-222 : ส่วนสรุปว่าด้วยวิภาษวิธี
(VOLUME 38, pp 221 - 222
Summary of Dialectics
by Lenin)
1) การกำหนดแนวคิดต่างๆนั้นเกิดขึ้นนอกตัวมันเอง [สิ่งต่างๆโดยตัวมันเองนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของตัวมันเองและพัฒนาการภายในตัวมันเอง]
2) ความเป็นขั้วตรงข้ามกันหรือความขัดแย้งนั้นเป็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆโดยตัวมันเอง (ความเป็นอื่นของตัวมันเอง) กำลังและกระแสที่เป็นขั้วตรงข้ามกันในแต่ละปรากฏการณ์
3) มันคือการรวมกันของการวิเคราะห์และการสังเคราะห์
เห็นได้ชัดว่านี่คือองค์ประกอบสำคัญของวิภาษวิธี
ซึ่งเราอาจจะนำเสนอบรรดาองค์ประกอบเหล่านี้อย่างละเอียดมากขึ้นได้ดังนี้
1) เป้าประสงค์ของการพิเคราะห์พิจารณา (ไม่ใช่ตัวอย่าง, ไม่ใช่การผิดแผก, แต่เป็นวัตถุ-ใน-ตัวมันเอง)
2) ความสัมพันธ์อันหลากหลายต่างๆนาๆของวัตถุหนึ่งกับสิ่งอื่น
3) พัฒนาการของวัตถุ (ปรากฏการณ์) การเคลื่อนไหวของวัตถุ ชีวิตของวัตถุโดยตัวมันเอง
4) แนวโน้มของความเป็นขั้วตรงข้ามภายในวัตถุ
5) วัตถุ (ปรากฏการณ์) คือผลรวมของความเป็นขั้วตรงข้าม
6) การต่อสู้, การคลี่คลายเนื้อหาตามลำดับของความเป็นขั้วตรงข้าม การต่อสู้ ความขัดแย้ง ฯลฯ
7) การรวมกันของการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ – การแตกหักของการแยกแยะเรื่องราวและการสรุปรวบรัด
8) ความสัมพันธ์ของวัตถุ (ปรากฏการณ์ ฯลฯ) ไม่เพียงแต่ซับซ้อน หากแต่ยังเชื่อมโยงต่อกันเป็นความสากล วัตถุต่างๆย่อมจะเชื่อมโยงกับวัตถุอื่นๆเสมอ
9) ไม่เฉพาะแต่ผลรวมของความเป็นขั้วตรงข้ามเท่านั้น แต่ทุกๆการเปลี่ยนผ่านของการกำหนด, คุณภาพ, คุณสมบัติ, ความมั่งคั่งไปสู่สิ่งอื่น [เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่เป็นขั้วตรงข้ามกัน?]
10) กระบวนการค้นพบอันไม่มีที่สิ้นสุดของด้านใหม่, ความสัมพันธ์ใหม่ ฯลฯ
11) กระบวนการอันลึกลับที่ไม่มีที่สิ้นสุดขององค์ความรู้ของมนุษย์ที่มีต่อวัตถุ ต่อปรากฏการณ์ ต่อกระบวนการ ฯลฯ จากปรากฏการณ์ไปสู่ความเป็นแก่นแท้
12) จากการดำรงอยู่ร่วมกันไปสู่การทำให้เกิด และจากรูปแบบหนึ่งของการเชื่อมโยงและการพึ่งพาอาศัยกันไปสู่การเป็นสิ่งอื่นที่แยกจากกัน
13) การทำซ้ำ ณ จุดสูงของคุณลักษณะ, สรรพคุณที่แน่นอน ฯลฯ ในระดับที่ต่ำกว่า และ
14) สิ่งที่ปรากฏขึ้นจะหันกลับไปสู่สิ่งเก่า (การปฏิเสธของการปฏิเสธ)
15) การต่อสู้ของเนื้อหาด้วยรูปแบบและความตรงกันข้าม การยกเลิกรูปแบบ และการเปลี่ยนผ่านเนื้อหา
16) กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากปริมาณไปสู่คุณภาพ
กล่าวโดยสรุป วัตถุนิยมวิภาษวิธีสามารถจะนิยามได้ว่าเป็นกฎเกณฑ์ว่าด้วยการรวมกันของความเป็นขั้วตรงข้าม นี่คือแก่นแท้ของวิภาษวิธีหากแต่มันยังคงต้องการการพัฒนาและการอธิบาย.
คำถามว่าด้วยวัตถุนิยมวิภาษวิธี
(Questions on Dialectical Materialism)
1) ทำไมชนชั้นกรรมาชีพจึงต้องการปรัชญา?
2) “สามัญสำนึก” นั้นถือเป็นปรัชญาหรือไม่?
3) วัตถุนิยมคืออะไร?
4) จิตนิยมคืออะไร?
5) ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินเขียนไว้ถูกต้องหรือไม่?
6) อะไรคือสิ่งที่มีความหมายในอภิปรัชญา?
7) คุณได้นิยามวิภาษวิธีไว้ว่าอย่างไร?
8) อะไรคือข้อผิดพลาดของปรัชญาวัตถุนิยมแบบเก่า?
9) อะไรคือระบบตรรกะทั่วไป?
10) น้ำตาล 100 กรัมนั้นเท่ากับน้ำตาลอีก 100 กรัมหรือไม่?
11) เหตุใดชนชั้นแรงงานจึงยอมรับได้กับการโจมตีขนานใหญ่ที่มีต่อชีวิตของพวกเขา แต่กลับยอมรับไม่ได้กับเรื่องเล็กน้อยอื่นๆ?
12) ประวัติศาสตร์นั้นมีการซ้ำรอยเดิมหรือไม่?
13) สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นเกิดจากเหตุลอบสังหารมงกุฎราชกุมารในซาราเยโวจริงหรือ? และสิ่งที่เรียกว่าอุบัติเหตุนั้นมีบทบาทอย่างไรในประวัติศาสตร์?
14) คุณสามารถอยู่ในสถานที่หนึ่งพร้อมๆกับในอีกสถานที่หนึ่งได้หรือไม่?
15) คุณูปการสำคัญที่เฮเกลมีต่อปรัชญาคืออะไร?
16) คุณูปการสำคัญที่มาร์กซ์และเองเกลส์ด้สร้างไว้ให้ปรัชญาคืออะไร?
17) เหตุใดจึงมีคำกล่าวที่ว่าธรรมชาติคือข้อพิสูจน์หลักวิภาษวิธี
18) หลักวัตถุนิยมวิภาษวิธีนั้นมีความสำคัญอย่างไรในการทำความเข้าใจต่ออนาคต?
19) จักรวาลได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อไหร่?
20) เพราะเหตุใดมาร์กซิสต์จึงเป็นตัวกำหนด?
แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติม
(Suggested Reading List)
1.The Poverty of Philosophy, Marx
2.Economic and Philosophical Manuscripts, Marx
3.Ludwig Feuerbach and the end of classical German Philosophy, Engels
4.The German Ideology (Student edition), Marx and Engels
5.Anti-Duhring, Engels
6.Dialectics of Nature, Engels
7.Socialism Utopian and Scientific Engels
8.Materialism and Empirio-Criticism (Collected Works, vol 17), Lenin
9.Philosophical Notebooks (Collected Works, volume 38), Lenin
10.On Marx and Engels, Lenin
11.The Three Sources and Component Parts of Marxism, Lenin
12.Introduction to the Logic of Marxism, Novack
13.Reason in Revolt, Woods and Grant
14.The Fundamental Problems of Marxism, Plekhanov
15.The Development of the Monist View of History, Plekhanov
16.In Defence of Marxism, Trotsky
17.Radio, Science, Technology and Society, Trotsky
- จบปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธี -