ปรัชญาในฐานะอาวุธของการปฏิวัติ
หลุย อัลธูแซร์ (1968)
---------------------------------------------
วันที่เขียน : กุมภาพันธ์ 1968
ตีพิมพ์ครั้งแรก : L’Unita 1968
แปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก : โดย Andy Blunden ใน New Left Review 1971
แปลเป็นภาษาไทยครั้งแรก : โดย จักรพล ผลละออ 2017
-----------------------------------------
Q : ช่วยกล่าวถึงประวัติของตัวเองอย่างสั้นๆ และเหตุผลที่ทำให้คุณกลายมาเป็นนักปรัชญา Marxist ด้วย
A : ในปี 1948 ช่วงที่ผมอายุ 30 ตอนนั้นผมเป็นอาจารย์ด้านปรัชญาและได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (Communist Party of France) ปรัชญานั้นเป็นสิ่งน่าสนใจอย่างยิ่ง ผมพยายามจะทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญา ส่วนเรื่องการเมืองคือความชอบของผม ซึ่งผมพยายามที่จะเป็นนักต่อสู้ของลัทธิคอมมิวนิสต์
ความสนใจในงานปรัชญาของผมถูกกระตุ้นด้วยความคิดวัตถุนิยมและการหยิบใช้มันในเชิงวิพากษ์ : เพื่อให้ได้รับองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งจะช่วยต่อสู้กับความซับซ้อนและคลุมเครือของ ‘องค์ความรู้’ ในเชิง อุดมการณ์ ต่อสู้กับการประณามทางศีลธรรมบนพื้นฐานของมายาคติและคำโกหกซึ่งพบเจอได้ในระบบความคิดอันคลุมเครือ ความชื่นชอบในงานการเมืองของผมได้รับแรงบันดาลใจจากสัญชาติญาณของนักปฏิวัติปัญญาชน ความกล้าหาญ และลัทธิวีรชนของชนชั้นกรรมาชีพในการต่อสู้เพื่อลัทธิสังคมนิยม สงคราม การต่อสู้และการกดขี่คุมขังอันยาวนานนำพาให้ผมเดินเข้าไปสู่การติดต่อและทำความรู้จักกับคนงาน กรรมกร และชาวนา และนั่นทำให้ผมคุ้นเคยกับการเป็นนักต่อสู้ของลัทธิคอมมิวนิสต์
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะการเมืองคือปัจจัยตัดสินเด็ดขาดของทุกสิ่ง หากแต่ไม่ใช่การเมืองในความหมายทั่วๆไป ผมกำลังหมายถึงการเมืองของลัทธิ Marx-Lenin
ประการแรกผมจำเป็นจะต้องค้นหาและทำความเข้าใจกับมันซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างมากสำหรับปัญญาชน และเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 50 และ 60 ด้วยเหตุผลที่คุณคุ้นเคยอยู่แล้ว นั่นคือผลกระทบต่อเนื่องจากเรื่องศาสนาและพิธีกรรมซึ่งมีผลต่อวิกฤตของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล และเหนือสิ่งอื่นใดมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะปฏิเสธหรือต่อต้านการแพร่ขยายของอุดมการณ์ “มนุษย์นิยม” ร่วมสมัย และอุดมการณ์แบบกระฎุมพี ซึ่งโจมตีแนวคิด Marxism ในช่วงนั้นอย่างหนัก
ครั้งหนึ่งผมมีความเข้าใจอันดียิ่งต่อแนวคิดทางการเมืองในลัทธิ Marx-Lenin และผมเริ่มต้นที่จะหันไปชื่นชอบงานปรัชญาด้วย อย่างน้อยที่สุดผมก็เริ่มที่จะทำความเข้าใจต่องานปรัชญาอันยิ่งใหญ่ของ Marx Lenin และ Gramsci ที่ว่างานปรัชญานั้นคือองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการเมือง
ทุกสิ่งที่ผมได้เขียนนั้นในครั้งแรกเขียนด้วยตัวคนเดียว แต่หลังจากนั้นได้เขียนขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับสหายที่เยาว์วัยกว่า และสหายอื่นๆ ซึ่งได้ร่วมกันคิดทบทวนหลายครั้ง แม้ว่าจะยังมีสิ่งที่เป็น “นามธรรม” อยู่ในงานเขียนของพวกรา แต่โดยรวมแล้วในงานเขียนต่างๆก็มีคำถามที่เป็น “รูปธรรม” อยู่ด้วย
Q : คุณช่วยอธิบายขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับว่า : ทำไมโดยปกติแล้วมันจึงเป็นเรื่องยากเหลือเกินในการที่เราจะเป็นนักคอมมิวนิสต์ในทางปรัชญา?
A : เพื่อจะเป็นนักคอมมิวนิสต์ในทางปรัชญานั้นก่อนอื่นคุณจำเป็นจะต้องมีเพื่อนพ้องรวมทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในงานปรัชญาของ Marx-Lenin เสียก่อน ซึ่งก็คือ : วัตถุนิยมวิภาษวิธี
แน่นอนมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกลายเป็นนักปรัชญา Marxist-Leninist เหมือนๆกับว่ามันไม่ง่ายที่จะเป็น “ปัญญาชน” อื่นๆทั่วไป อาจารย์ผู้สอนปรัชญาทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นพวกกระฎุมพีน้อย และทุกครั้งที่พวกเขาอ้าปากพูดสิ่งใดออกมามันย่อมมีอุดมการณ์แบบกระฎุมพีน้อยแฝงออกมาด้วย และนี่เป็นกระบวนการและกลวิธีที่ดำเนินการไปแบบไม่มีที่สิ้นสุด
คุณทราบหรือเปล่าว่า Lenin ได้กล่าวถึง “ปัญญาชน” ไว้อย่างไร ปัจเจกชนบางส่วนนั้นมีแนวโน้ม (ในทางการเมือง) ที่จะ ประกาศว่าตัวเองเป็น “นักปฏิวัติ” และเป็นผู้กำล้าหาญคนหนึ่ง แต่ก็เช่นเดียวกับคนจำนวนมากโดยทั่วไป พวกเขายังคงหลงเหลือ “สิ่งที่ไม่อาจแก้ไขได้” คือ ความเป็นกระฎุมพีน้อยในอุดมการณ์ของเขา Gorky [Aleksei Maksimovich Peshkov หรือ Maxim Gorky นักเขียนชาวรัสเซีย - ผู้แปล] เองก็เป็นคนในกลุ่มนี้ สำหรับ Lenin ใครก็ตามที่ชื่นชมความสามารถของตัวเขาเองนั้นถือเป็นพวก “นักปฏิวัติกระฎุมพีน้อย” ทั้งสิ้น และเพื่อจะก้าวข้ามไปสู่การเป็น “นักอุดมการณ์ของชนชั้นกรรมาชีพ” (Lenin) “ปัญญาชนของชนชั้นกรรมาชีพ” (Gramsci) นั้นปัญญาชนจำเป็นจะต้องก่อตั้งความคิดการปฏิวัติแบบสูงสูดในความคิดของตนเองให้สำเร็จเสียก่อน [ต้องกำจัดความคิดหรืออุดมการณ์แบบกระฎุมพีให้หมด – ผู้แปล] ซึ่งกรณีนี้เองก็เป็นกรณีที่ถอดบทเรียนและศึกษาซ้ำกันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับความขัดแย้งภายนอกและภายในที่ไม่สิ้นสุด
ชนชั้นกรรมาชีพนั้นมี “สัญชาติญาณทางชนชั้น” ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถเดินไปสู่ “จุดยืนทางชนชั้น” ของชนชั้นกรรมาชีพได้ แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับปัญญาชนนั้นพวกเขามี “สัญชาติญาณทางชนชั้นแบบกระฎุมพีน้อย” ซึ่งเป็นปัญหาอย่างฉกาจฉกรรจ์ซึ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
จุดยืนทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่อง สัญชาติญาณทางชนชั้นของกรรมาชีพ มันเป็นเรื่องของจิตสำนึกและภาคปฏิบัติการซึ่งดำเนินการตามความจริงทางภววิสัยของการต่อสู้ทางชนชั้น สัญชาติญาณทางชนชั้นจึงเป็นอัตวิสัยและเป็นเรื่องปกติวิสัย จุดยืนทางชนชั้นนั้นเป็นภววิสัยและเรื่องของความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อจะเข้าไปถึงจุดยืนทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพ สัญชาติญาณทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพ มีความจำเป็นเพียงอย่างเดียวก็คือต้องได้รับการศึกษา ; สัญชาติญาณทางชนชั้นของพวกกระฎุมพีน้อย และของพวกปัญญาชนนั้นเป็นอะไรที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับความคิดในการปฏิวัติ การศึกษาและการปฏิวัตินี้ [ปฏิวัติความคิดแบบกระฎุมพี - ผู้แปล] จากการวิเคราะห์ที่ผ่านมาพบว่ามันจะถูกกำหนดจากการต่อสู้ทางชนชั้นของกรรมาชีพซึ่งดำเนินตามพื้นฐานกฎของทฤษฎีMarxist-Leninist
ดังที่ Communist Manifesto ได้กล่าวไว้ ความรู้ในทฤษฎีนี้จะช่วยให้ปัญญาชนสามารถก้าวข้ามเข้าไปสู่จุดยืนทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพได้อย่างแน่นอน
ทฤษฎี Marxist-Leninist นั้นประกอบด้วย วิทยาศาสตร์ (วัตถุนิยมประวัติศาสตร์) และ ปรัชญา (วัตถุนิยมวิภาษวิธี)
เพราะฉะนั้นปรัชญา Marxist-Leninist จึงเป็นหนึ่งในสองอาวุธทางทฤษฎีที่จะขาดเสียมิได้สำหรับการต่อสู้ทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพ นักต่อสู้ของลัทธิคอมมิวนิสต์จะต้องปฏิบัติตามและหยิบใช้กฎหลักของทฤษฎีนี้ : วิทยาศาสตร์และปรัชญา การปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพนั้นต้องการนักต่อสู้ซึ่งเป็นทั้งนักทฤษฎีวิทยาศาสตร์ (วัตถุนิยมประวัติศาสตร์) และนักปรัชญา (วัตถุนิยมวิภาษวิธี) สำหรับช่วยเหลือในการป้องกันและพัฒนาทฤษฎี
การก่อตัวของนักปรัชญาเหล่านี้ดำเนินการอยู่บนความยากลำบากสองประการ
ประการแรก – ความยากลำบากในทางการเมือง – นักปรัชญาผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้เข้าร่วมกับพรรคจะยังคงหลงเหลืออุดมการณ์และความคิดแบบกระฎุมพี ซึ่งเขาจำเป็นจะต้องปฏวัติความคิดตัวเองเพื่อจะได้ขยับไปสู่การยึดกุมจุดยืนแบบชนชั้นกรรมาชีพในทางปรัชญา
ซึ่งความยากลำบากในทางการเมืองนี้คือ “การกำหนดในวาระสุดท้าย”
ประการที่สอง – ความยากลำบากในทางปรัชญา – เรารู้กันว่าเราจะทำงานมุ่งตรงไปยังทิศทางไหน และจะต้องยึดกุมหลักการไหนเพื่อจะไปสู่การให้ความหมายของจุดยืนทางชนชั้นในทางปรัชญา หากแต่เราจำเป็นจะต้องพัฒนาปรัชญา Marxist เสียก่อนและถือเป็นเรื่องเร่งด่วนทั้งในทางทฤษฎีและในทางการเมืองที่จะต้องเร่งลงมือทำในทันที ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นงานที่กว้างและยากอย่างยิ่ง สำหรับหรับทฤษฎี Marxist นั้นงานปรัชญามักจะมีลักษณะล้าหลังและตามหลังวิทยาศาสตร์ทางประวัติศาสตร์อยู่เสมอ
ปัจจุบันในประเทศของเรา [ฝรั่งเศส 1968 – ผู้แปล] นี่คือความยากลำบากที่โดดเด่นที่สุดและมีอำนาจเหนืออยู่
Q : ถ้าอย่างนั้นแปลว่าในทฤษฎี Marxist นั้น คุณแยกปรัชญากับศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ออกจากกันใช่ไหม เพราะอย่างที่คุณรู้ข้อถกเถียงเรื่องความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน [หมายถึงในปี 1968 – ผู้แปล]
A : ผมเข้าใจถึงความสำคัญของคำถามนี้ แต่ผมคิดว่าการโต้เถียงในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เก่าไปเสียแล้ว
หรือหากจะพูดอย่างเป็นแบบแผนให้ถึงที่สุดแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่าในประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของชาว Marxist นั้นมีการกลืนกินหรือยกเลิกความแตกต่างดังกล่าวไปแล้ว ไม่ว่าจะในการหันเหของฝ่ายขวาหรือในฝ่ายซ้ายเอง กล่าวคือฝ่ายขวานั้นเบี่ยงเบนและไม่ใส่ต่อเรื่องปรัชญา มีเพียงเรื่องศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่พวกนี้ยึดถือ (ปฏิฐานนิยม) ในขณะที่ฝ่ายซ้ายนั้นเบี่ยงเบนเรื่องศาสตร์หรอวิทยาศาสตร์ และคงเหลือเพียงเรื่องปรัชญา (อัตวิสัย) แน่นอนว่ามันมีข้อยกเว้นบางประการต่อกรณีข้างต้น (กรณีของความผกผัน) แต่ทั้งหมดนั้นยังคง ‘ยืนยัน’ ถึงกฎที่ผมกล่าว
ผู้นำการเคลื่อนไหวของขบวนการกรรมาชีพที่ยิ่งใหญ่ตั้งแต่ยุคของ Marx และ Engel มาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนั้นต่างก็กล่าวเสมอว่า : การเบี่ยงเบนหรือการหันเหดังกล่าวนั้นคือผลลัพธ์ที่เกิดจากอิทธิพลและการครอบงำของอุดมการณ์แบบกระฎุมพีที่มีอำนาจเหนือแนวคิด Marxism ซึ่งในส่วนของพวกเขานั้นพวกเขาได้ปกป้องและยืนยันเรื่องความแตกต่าง (วิทยาศาสตร์ และ ปรัชญา) มาโดยตลอด ไม่เฉพาะแค่เหตุผลในทางทฤษฎีเท่านั้น แต่เพื่อเหตุผลสำคัญทางการเมืองด้วย ในกรณีนี้นั้นความคิดของ Lenin ในงานเขียนเรื่อง Materialism and Empirio-criticism และ ‘left-wing’ Communism ได้ให้เหตุผลที่เด่นชัดที่สุดเอาไว้
Q : คุณสามารถอธิบายหรือแสดงให้เห็นถึงความแต่งต่างหรือการแยะระหว่างวิทยาศาสตร์กับปรัชญาในทางทฤษฎี Marxist ได้หรือไม่
A : ผมจะขอตอบคำถามนี้ด้วยการเสนอข้อเสนอบางประการซึ่งมีลักษณะเป็นแบบแผนเฉพาะกาลสักนิด ดังนี้
1.การหลอมรวมทฤษฎี Marxist เข้ากับการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเป็นภาวะการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ทางชนชั้น หรือกล่าวให้ถึงที่สุดคือประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ (ผลลัพธ์แรก : การปฏิวัติสังคมนิยม)
2.ทฤษฎี Marxist (ทั้ง วิทยาศาสตร์ และ ปรัชญา) เป็นภาพแสดงตัวแทนของความคิดเรื่องการปฏิวัติซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ความรู้ของมนุษยชาติ
3.Marx ได้ก่อตั้งศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์แบบใหม่ : คือศาสตร์-วิทยาศาสตร์ของประวัติศาสตร์ ผมจะขออธิบายเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นดังนี้ วิทยาศาสตร์ที่ราคุ้นเคยกันนั้นตั้งอยู่บนพื้นที่สำคัญสองพื้นที่ ในยุคก่อน Marx ซึ่งถูกเปิดเผยขึ้นให้หลายเป็นองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั่นก็คือ พื้นที่ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ และพื้นที่ความรู้ด้านฟิสิกส์ ฐานแรกนั้นถูกก่อตั้งโดยชาวกรีก (Thales) ฐานที่สองถูกก่อตั้งโดย Galileo ส่วน Marx นั้นได้เปิดเผยฐานความรู้ที่สามขึ้นนั้นคือ : พื้นที่ความรู้ทางประวัติศาสตร์
4.การเปิดเผยฐานหรือพื้นที่ทางความรู้ใหม่นี้จะชักนำให้เกิดการปฏิวัติในทางปรัชญา และนี่คือกฏสำคัญ : ปรัชญาจะต้องเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์เสมอ
ปรัชญานั้นถือกำเนิดขึ้น (โดย Plato) ในการก่อตั้งและเปิดเผยพื้นที่ความรู้ทางคณิตศาสตร์ มันได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบอีกครั้ง (โดย Descartes) ในการก่อตั้งและเปิดเผยพืนที่ความรู้ด้านฟิสิกส์ และในวันนี้ปรัชญากำลังจะเริ่มต้นการปฏิวัติด้วยการเปิดเผยพื้นที่ความรู้ทางประวัติศาสตร์โดย Marx การปฏิวัติดังกล่าวนั้นมีชื่อเรียกว่า วัตถุนิยมวิภาษวิธี
การเปลี่ยนผ่านของปรัชญานั้นมักจะตอบสนองหรือผลสืบเนื่องจากการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้วมันจะเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์หรือภาวะการณ์ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมปรัชญาจึงล้าหลังกว่าวิทยาศาสตร์ในทฤษฎีของ Marxist แน่นอนว่ามันยังมีสาเหตุหรือองค์ประกอบอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่ในปัจจุบันนั้นสาเหตุนี้มีอำนาจและอิทธิพลมากที่สุด
5.ในระดับทั่วๆไปแล้ว มีเพียงนักต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้นที่ตระหนักหรือรับรู้ถึงขอบเขตการปฏิวัติในองค์ความรู้ที่ Marx ได้ค้นพบ ซึ่งปฏิบัติการทางการเมืองของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปก็เพราะองค์ความรู้ดังกล่าว
และขณะนี้เราได้มาถึงข้อครหาที่ร้ายแรงที่สุดทางทฟาฎีในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
โดยทั่วๆไป ปัญญาชน หรือในทางตรงกันข้าม แม้แต่กลุ่มผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ด้วย (ผู้ชำนาญการในวิทยาศาสตร์ และปรัชญา) ไม่สามารถตระหนักถึง และปฏิเสธที่จะตระหนักถึง องค์ความรู้ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนที่ Marx ได้ค้นพบขึ้นแต่พวกเขากลับกล่าวโทษและตั้งท่ารังเกียจใส่มัน อีกทั้งพวกเขายังบิดเบือนมันทุกคั้งที่พวกเขาถกเถียงหรือพูดถึงเรื่องนี้ ด้วยข้อยกเว้นเล็กๆบางประการ พวกเขายังคงทำให้มันเละเทะไปด้วย เศรษฐศาสตร์การเมือง สังคมวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม และอื่นๆ และอื่นๆอีกมามาย แม้กระทั่งในปัจจุบัน หนึ่งร้อยปีหลังการตีพิมพ์ว่าด้วยทุน (ถ้านับถึงปัจจุบันจะเป็นเวลา 150 ปี) ก็ยังคงมีพวกนักฟิสิกส์ที่ยึดแนวคิดของอริสโตเติลสร้างความเละเทะให้องค์ความรู้ของฟิสิกส์ แม้จะผ่านไปกว่า 50 ปีหลังยุคของกาลิเลโอ ทฤษฎีของพวกเขานั้นคืออุดมการณ์ที่ผิดยุคผิดสมัยซึ่งถูกนำมาทำให้ดูใหม่ด้วยเทคนิคทางคณิตศาสตร์สมัยใหม่
แต่ข้อครหาทางทฤษฎีนี้ก็ไม่ใช่เพียงแค่ข่อครหาทั้งหมด เพราะมันคือผลสะท้อนของอุดมการณ์ของความขัดแย้งทางชนชั้น : ซึ่งมันคืออุดมการณ์ของพวกกระฎุมพี วัฒนธรรมของกระฎุมพีซึ่งมีอำนาจนำนำด้วยการหยิบใช้และอาศัยการครอบงำทางวัฒนธรรม (Hegemony) โดยทั่วๆไป ปัญญาชน เช่น ปัญญาชนคอมมิวนิสต์หรือปัญญาชน Marxist นั้นถือเป็นกรณียกเว้นว่าพวกเขาไม่ถูกครอบงำทางทฤษฎีโดยอุดมการณ์ของพวกกระฎุมพี ด้วยข้อยกเว้นนี้ กรณีแบบเดียวกันก็เกิดขึ้นในวิทยาศาสตร์ของมนุษย์
6.สถานการณ์น่าอัปยศและข้อครหาเกิดขึ้นเช่นกันในทางปรัชญา ใครบ้างที่สามารถเข้าใจปรัชญาการปฏิวัติที่น่างงงวยซึ่งถูกสถาปนาขึ้นโดยการค้นพบของ Marx? มีเพียแต่ผู้นำและนักต่อสู้ของกรรมาชีพเท่านั้น โดยทั่วไป ในทางตรงกันข้าม ผู้เชี่ยวชาญในทางปรัชญาแทบไม่เคยจะถูกตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยในแบบเดียวกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขากล่าวถึง Marx พวกเขามักจะแสดงการต่อต้านอย่างสุดขั้ว โจมตี Marx ตำหนิและกล่าวโทษเขา ดูดกลืนและเอาเปรียบเขา จนกระทั่งพยายามลดทอนความคิดของ Marx
เช่นเดียวกับ Engel และ Lenin ที่พยายามป้องกันความคิดเรื่องวัตถุนิยมวิภาษวิธี ซึ่งถูกเก็บไว้ราวกับปรัชญาทั่วๆไปที่ไม่สลักสำคัญ ความอัปยศที่แท้จริงนั้นคือการที่นักปรัชญา Marxist ยอมก้มหัวให้กับโรคระบาดร้ายพวกนี้ ในนามของผู้ที่อ้างว่าต่อต้านการยึดติกตำรา และแน่นอนว่าในตอนนี้เหตุผลที่ทำให้เป็นเช่นนี้ก็ยังคงเป็นเหตุผลเดิม : นี่คือผลลัพธ์ของอุดมการณ์ความขัดแย้งทางชนชั้น นี่คือผลจากอุดมการณ์กระฎุมพี และวัฒนธรรมกระฎุมพี ซึ่งมีอำนาจนำเหนือสังคม
7.ภารกิจสำคัญในการเคลื่อนไหวของขบวนการคอมมิวนิสต์ในทางทฤษฎี
- ต้องตระหนักถึงและเข้าใจขอบเขตทฟาฎีการปฏิวัติของ Marx-Lenin ทั้งวิทยาศาสตร์แปรัชญา
- ต้องต่อสู้กับวิธีการมองโลกแบบกระฎุมพีและพวกกระฎุมพีน้อยซึ่งมักจะคุกคามและทำลายทฤษฎี Marxist อยู่ตลอดเวลา และยิ่งฝังรากลึกลงในทุกวัน รูปแบบโดยทั่วไปของวิธีการมองโลกแบบกระฎุมพีก็คือ : เศรษฐกิจนิยม (ปัจจุบันคือคตินิยมนักวิชาการ) และ ‘ส่วนเติมเต็มทางจิตวิญญาณ’ อุดมคติเรื่องคุณธรรมจริยธรรม (ปัจจุบันคือมนุษยนิยม) เศรษฐกิจนิยมและอุดมคติเรื่องคุณธรรมจริยธรรมนั้นได้ก่อสร้างการเป็นปรปักษ์ขึ้นในวิธีการมองโลกแบบกระฎุมพี นับตั้งแต่การถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกของพวกกระฎุมพี ในปัจจุบันนั้นมุมมองหรือวิธีการมองโลกแบบปรัชญาคือ : ปฎิธานนิยมใหม่ และเป็นส่วนประกอบทางจิตวิญญาณ อัตถิภาวนิยม-ปรากฏการณ์นิยมเชิงปัจเจก ซึ่งตัวแปรพิเศษสำหรับเรื่องนี้ที่มีอิทธิพลต่อศาสตร์ของมนุษย์ก็คือ : อุดมการณ์ที่เรียกว่า โครงสร้างนิยม
- ต้องยึดครองพื้นที่และสถาปนาอำนาจนำทางความรู้เหนือวิทยาศาสตร์ทางสังคม จะต้องเอาชนะและยึดครองพื้นที่ทางความรู้ด้านประวัติศาสตร์ของพวกแอบอ้างและพวกหลอกลวง
- ต้องพัฒนาศาสตร์และปรัชญาใหม่ๆอย่างไม่มีทางเลี่ยงด้วยความเข้มงวด และเชื่อมโยงมันเข้ากับความต้องการและการสร้างสรรค์ในระดับภาคปฏิบัติการของนักปฏิวัติ
ในทางทฤษฎีนั้นสถานการณ์แตกหักหรือจุดชี้ขาดจะเชื่อมโยงอยู่กับปัจจุบัน : ปรัชญาแบบ Marxist-Leninist
Q : คุณได้กล่าวถึงสองสิ่งที่ขัดแย้งกันหรือแกต่างกันอย่างชัดเจน 1.คือคุณกล่าวว่าโดยทั่วไปปรัชญาคือการเมือง และ 2.ปรัชญานั้นเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ คุณทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ของสองสิ่งนี้ยังไง
A : ผมจะขอตอบคำถามนี้ด้วยการเสนอข้อเสนอบางประการซึ่งมีลักษณะเป็นแบบแผนเฉพาะกาลอีกครั้ง ดังนี้
1.การเผชิญหน้ากันของจุดยืนทางชนชั้นหรือตำแหน่งแห่งที่ทางชนชั้นท่ามกลางการต่อสู้ทางชนชั้นนั้นเป็น ‘ภาพแสดงตัวแทน’ ของขอบเขตของภาคปฏิบัติการทางอุดมการณ์ (อุดมการณ์แบบศาสนา, ศีลธรรม, กฎหมาย, สุนทรีย์ศาสตร์) ผ่านโลกทัศน์ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นศัตรูกัน : ในวาระสุดท้ายทั้ง นักจิตนิยม-นักอุดมคติ (พวกกระฎุมพี) และ นักวัตถุนิยม (ชนชั้นกรรมาชีพ) รวมทั้งทุกคนโดยทั่วไปล้วนแล้วแต่มีโลกทัศน์โดยธรรมชาติ
2.โลกทัศน์นั้นเป็นภาพแสดงตัวแทนของขอบเขตทางทฤษฎี (วิทยาศาสตร์ + อุดมการณ์แบบทฤษฎีที่ถูกล้อมรอบด้วยวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์) โดยปรัชญา ซึ่งปรัชญาคือภาพแสดงตัวแทนของความขัดแย้งทางชนชั้นในทฤษฎี นั่นคือเหตุผลว่าทำไมปรัชญาจึงเป็นการต่อสู้ (‘Kampf’ กล่าวโดย Kant) และเป็นการต่อสู้ทางการเมืองไปโดยพื้นฐาน : เป็นการต่อสู้ทางชนชั้น ทุกคนไม่ใช่นักปรัชญาโดยธรรมชาติ แต่ทุกคนอาจจะกลายเป็นนักปรัชญาในวันหนึ่ง
3.ปรัชญานั้นดำรงอยู่เท่าๆกับที่ขอบเขตทางทฤษฎีนั้นดำรงอยู่ : และดำรงอยู่เท่าๆกับที่วิทยาศาสตร์ (ในlสำนึกที่ถูกต้อง) ดำรงอยู่ หากปราศจากวิทยาศาสตร์ก็จะไม่มีปรัชญามันจะมีแต่เพียงโลกทัศน์ เสาหลักหรือหมุดหมายในการต่อสู้และพื้นที่ของการต่อสู้จะต้องถูกแยกออกจากกัน เสาหลักที่สำคัญที่สุดของการต่อสู้ทางปรัชญานั้นคือการต่อสู้เพื่อครอบงำหรือครองความเป็นเจ้า (Hegemony) ระหว่างความโน้มเอียงใหญ่สองฟากของโลกทัศน์ (วัถุนิยม และ จิตนิยม) พื้นที่การต่อสู้หลักของความขัดแย้งอยู่ที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ : สำหรับตัวมันหรือสำหรับการต่อต้านมัน การต่อสู้ทางปรัชญาที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งนั้นจึงจะวางตัวอยู่บนชายแดนกึ่งกลางระหว่างวิทยาศาสตร์และอุดมการณ์ และนั่นคือพื้นที่ที่นักปรัชญาจิตนิยมจะหยิบใช้วิทยาศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับนักปรัชญาวัตถุนิยมซึ่งรับใช้วิทยาศาสตร์ การต่อสู้ทางปรัชญานั้นเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างโลกทัศน์ ในอดีตที่ผ่านมานั้นวัตถุนิยมถูกครอบงำโดยจิตนิยมเสมอมา
4.ศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นโดย Marx นั้น (หมายถึงประวัติศาสตร์-วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ – ผู้แปล) ได้เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทั้งหมดในพื้นที่ทางทฤาฎีไปโดยสิ้นเชิงเป็นครั้งแรกเลยทีเดียว มันเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้โลกทัศน์ที่ปรัชญาได้แสดงภาพตัวแทนออกมาในทฤษฎี; มันเปิดให้เราได้เรียนรู้และศึกษาปรัชญา มันยังทำให้เรารู้ถึงวิธีที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ (นักปฏิวัติที่ทำการต่อสู้ทางชนชั้นจะดำเนินการต่อสู้เคลื่อนไหวโดยคล้อยตามกับทฤษฎี Marxist) ที่ทำให้ปรัชญาต้องปฏิวัติตัวเองเป็นทวีคูณ กลไกวัตภุนิยม, อุดมคติ-จิตนิยมในประวัติศาสตร์ จะต้องกลายเป็น วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ สมดุลของพลังจะเปลี่ยนด้านแบบกลับหัวกลับหาง : ในตอนนี้วัตถุนิยมสามารถครองอำนาจนำเหนือจิตนิยมในปรัชญาได้ และถ้าหากว่าเงื่อนไขทางการเมืองสามารถถูกทำให้เป็นจริงได้มันจะสามารถนำพาการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อการครอบงำเหนือลกทัศน์ทั้งสองแบบได้
ปรัชญาแบบ Marxist-Leninist หรือ วัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั้น เป็นภาพแสดงตัวแทนของการต่อสู้ทางชนชั้นของชนชั้นกรรมาชีพในทางทฤษฎี ในการรวมตัวของทฤษฎี Marxist กับการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงาน (พูดอย่างจริงจังที่สุดคือการรวมตัวของทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ) ปรัชญาจะสิ้นสุดหน้าที่ลงอย่างที่ Marx ได้กล่าวไว้ “ปรัชญามีไว้เพื่ออธิบายโลก” และมันจะกลายไปเป็นอาวุธเมื่อเราเริ่มลงมือที่จะ “เปลี่ยนแปลงโลก” : นั่นก็คือการปฏิวัติ
Q : หรือว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้คุณเสนอว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติที่ในปัจจุบันนี้ทุกคนควรจะอ่านหนังสือ ‘ว่าด้วยทุน’ (The Capital-Das Kapital)
A : ใช่ มันเป็นเรื่องปกติธรรมชาติมากๆที่ทุกคนควรจะอ่านและศึกษาหนังสือ ‘ว่าด้วยทุน’
- เพื่อที่จะทำความเข้าใจมันอย่างจริงจัง ในทุกมิติและทุกขอบเขตของวิทยาศาสตร์และปรัชญารวมถึงผลพวงที่ตามมา และสิ่งที่นักต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพควรจะทำความเข้าใจอย่างจริงจังในทางปฏิบัติก็คือ : ลักษณะและคุณสมบัติของนักปฏิวัติในทฤษฎี Marxist
- เพื่อที่จะป้องกันทฤษฎี Marxist จากการตีความอันเบี่ยงเบนของพวกกระฎุมพีและพวกกระฎุมพีน้อยกล่าวคือการทบทวนงานเขียนในทฤษฎีของ Marxist ซึ่งถูกคุกคามอย่างร้ายแรงในปัจจุบัน : ประการแรกที่สำคัญก็คือการต่อต้านลัทธิเศรษฐกิจกำหนดและมนุษย์นิยมที่แทรกเข้ามาในทฤษฎี Marxist โดยพวกกระฎุมพี
- เพื่อพัฒนาทฤษฎี Marxist และสร้างมโนภาพทางิทยาศาสตร์อันจะขาดไปไม่ได้ในการวิเคราะห์ความขัดแย้งทางชนชั้นในปัจจุบัน ทั้งในประเทศของเราและที่อื่นๆทั่วโลก
มันเป็นเรื่องปกติอย่างมากที่เราจะอ่านและศึกษาหนังสือ ‘ว่าด้วยทุน’ ผมขอเสริมอีกนิดว่ามันมีความจำเป็นและเป็นเรื่องปกติที่จะอ่านและศึกษางานทั้งหลายของ Lenin ด้วย ทั้งเก่าและใหม่ เพราะมันจะมอบประสบการณ์ของการต่อสู้ทางชนชั้นของขบวนการแรงงานสากลให้เราได้เห็น มันเป็นเรื่องปกติเช่นกันที่เราจะต้องศึกษาภาคปฏิบัติการและการปฏิบัติการของขบวนการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพอย่างเป็นจริง ทั้งปัญหาและอุปสรรคที่พวกเขาพบเจอและการโตเถียงถกเถียงของพวกเขา : กล่าวคือต้องศึกษาเรื่องในอดีตของพวกเขาและเหนือไปกว่านั้นคือประวัติศาสตร์ทั้งหมดของพวกเขา
ในประเทศของเรา (ฝรั่งเศส) ผมเห็นว่าเรามีทรัพยากรและความพร้อมอย่างมากสำหรับนักปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในปัจจุบัน แต่พวกเขาจำเป็นจะต้องแสวงหาถึงทรัพยากรที่ว่าเหล่านั้น : กล่าวคือมีการขูดรีดเอารัดเอาเปรียบอย่างมาก นักปฏิวัติจะไม่สามารถ ‘ค้นพบ’ ได้เลยหากปราศจากการเชื่อมโยงตัวเองอย่างใกล้ชิดกับมวลชน และโดยปราศจากอาวุธทางทฤษฎีของ Marxist-Leninist อุดมการณ์แบบกระฎุมพีนั้นได้สร้างความคิดเรื่อง ‘สังคมอุตสาหกรรม’ ‘ทุนนิยมใหม่’ ‘ชนชั้นแรงงานใหม่’ ‘สังคมที่ร่ำรวย-มั่งคั่ง’ ‘การแปลกแยก’ และ บอกว่ามันเป็นของทุกคน (Tutti quanti – ตรงนี้เป็นภาษาอิตาเลี่ยนซึ่งผมไม่มั่นใจเท่าไหร่ว่าแปลความถูกไหม-ผู้แปล) ซึ่งมันต่อต้านความเป็นวิทยาศาสตร์และต่อต้าน Marxist : ความคิดเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับนักปฏิวัติ
และด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากจะขอเสนอข้อสังเกตุเพิ่มเติมของผม : ซึ่งเป็นข้อสังเกตุที่สำคัญอย่างมาก
เพื่อจะทำความเข้าใจว่าคนที่อ่านนั้นได้เข้าใจสิ่งที่อ่านและศึกษาจริงๆเกี่วกับงานทฤษฎี งานการเมืองและงานประวัติศาสตร์ที่ผมได้กล่าวมานั้น ผู้อ่านนั้นจำเป็นจะต้องมีประสบการณ์ตรงด้วยตนเองซึ่งถูกกำหนดด้วย 'ความจริง' ทั้งสองชุดอย่างทะลุปรุโปร่ง : คือความจริงทางด้านการปฏิบัติเชิงทฤษฎี (วิทยาศาสตร์, ปรัชญา) ในชีวิตจริง และความจริงของภาคปฏิบัติการของนักปฏิวัติชนชั้นกรรมาขีพในชีวิตจริง ในระดับที่มีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมวลชน ถ้าหากว่าทฤษฎีนี้เปิดทางให้เราได้เข้าใจกฎของประวัติศาสตร์ไม่เฉพาะแต่ปัญญาชน และไม่เฉพาะแต่กับนักทฤษฎี นั่นแปลว่ามวชลหรือกรรมาชีพนั่นเองที่เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติที่เราจะเรียนรู้หรือศึกษาด้วยทฤษฎี – แต่ในขณะเดียวกันและในสภาวะชี้ขาดก็เป็นเรื่องธรรมชาติเช่นกันหกว่าเราจะเรียนรู้และศึกษาจากมวลชนและชนชั้นกรรมาขีพ
Q : ทำไมคุณถึงให้ความสำคัญกับความเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นอยู่ตลอด ตลอดจนการที่คุณเข้มงวดแม้แต่กับการใช้คำศัพท์คำพูดต่างๆ
A : คำพูดอยู่วลีหนึ่งที่สรุปฟังก์ชั่นสำคัญของภาคปฏิบัตการทางปรัชญาเอาไว้ว่า : “เพื่อสร้างเส้นแบ่งสำหรับการแบ่งแยก” ระหว่างความคิดที่ถูก กับความคิดที่ผิด นี่เป็นคำพูดของ Lenin
แต่ในขณะเดียวกันนั้นคำพูดนี้เดียวกันนี้ก็สรุปลักษณะสำคัญของภาคปฏิบัติการโดยทั่วไปในทิศทางของภาคปฏิบัติการของการต่อสู้ทางชนชั้น : เพื่อสร้างเส้นแบ่งสำหรับการแบ่งแยก” ระหว่างชนชั้นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แบ่งแยกระหว่างชนชั้นที่เป็นมิตรกับเรา และชนชั้นที่เป็นศัตรู
เห็นไหมว่ามันเป็นคำพูดเดียวกัน ทฤษฎีก็สร้างเส้นแบ่งแยกระหว่างความคิดที่ถูก กับความคิดที่ผิด การเมืองก็สร้างเส้นแบ่งแยกระหว่างประชาชน (กรระมาชีพและพันธมิตรทางชนชั้น) กับพวกที่เป็นศัตรูของประชาชน
ปรัชญาซึ่งเป็นภาพแสดงแทนการต่อสู้ทางชนชั้นของผู้คนในทฤษฎีนั้น ในทางกลับกันก็ช่วยให้ผู้คนมองเห็นความแตกต่างในทฤษฎี และในความคิดทั้งหมด (การเมือง, ศีลธรรม, สุทรีย, ฯลฯ) ระหว่างความคิดที่ถูก และ ความคิดที่ผิด ซึ่งโดยหลักการนั้นความคิดที่ถูกคือความคิดที่รับใช้ประชาชนอยู่เสมอ ความคิดที่ผิดมักจะรับใช้ศัตรูของประชาชน
ทำไมนักปรัชญาถึงต้องต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงคำพูดหรือภาษา นั่นก็เพราะในความเป็นจริงการต่อสู้ทางชนชั้นนั้นถูกนำเสนอผ่านความคิด ซึ่งถุกนำเสนอผ่าน “คำพูด” หรือ “ภาษา” อีกทีหนึ่ง ในเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์และปรัชญา “คำพูด” หรือ “ภาษา” (ทั้งแนวคิด และ ประเภท) เป็นเครื่องมือของความรู้ แต่ในทางการต่อสู้ทางการเมือง อุดมการณ์ และปรัชญา “คำพูด” และ “ภาษา” นั้นเป็นทั้งอาวุธ, สร้างการระเบิด, ทำให้สงบ และเป็นกระทั่งยาพิษ ในบางครั้งบางคราวการต่อสู้ทางชนชั้นทั้งหมดสามารถถูกสรุปเอาไว้ในการต่อสู้ระหว่างคำพูดหนึ่งคำต่อคำพูดคำอื่นเท่านั้น ขณะที่บางคำก็ต่อสู้กับตัวเองราวกับศัตรู ในขณะที่คำอื่นๆเป็นที่ตั้งของความคลุมเครือ : นี่เป็นหมุดหมายในการตัดสินชี้ขาดแต่เปนการต่อสู้ที่ไม่มีความแน่นอน
ผมจะขอยกตัวอย่าง : การต่อสู้ของลัทธิคอมมิวนิสต์เพื่อโค่นล้มระบอบชนชั้นและเพื่อสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ที่ในวันหนึ่งผู้คนจะเป็นอิสระและเป็นพี่น้องกัน อย่างไรก็ตามพวก Classical Marxist ทั้งหมดได้ปฏิเสธที่จะกล่าวว่า Marxism คือ มนุษย์นิยม คำถามคือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? นั่นก็เพราะในทางปฏิบัติแล้ว หรือในความเป็นจริงคำว่า มนุษย์นิยม นั้นถูกใช้ประโยชน์โดยอุดมการณ์ซึ่งหยิบใช้คำนี้ในการต่อสู้เพื่อจะทำลายคำพูดและความจริงอื่นๆ และที่สำคัญที่สุดคือทำลายสิ่งสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพ : การต่อสู้และความขัดแย้งทางชนชั้น
ตัวอย่างถัดมา : นักปฏิวัติรับรู้ถึงเรื่องข้างต้น ในวาระสุดท้ายทุกสิ่งจะถูกกำหนดแต่ไม่ใช่ถูกกำหนดโดย กลยุทธทางเทคนิค, อาวุธ, ฯลฯ แต่ถูกกำหนดโดยนักต่อสู้ ภายใต้จิตสำนึกทางชนชั้นของพวกเขาด้วยการอุทิศตนความเสียสละและความกล้าหาญของนักต่อสู้ อย่างไรก็ตามนัก Marxist ปฏิเสธที่จะกล่าวว่า “มนุษย์” หรือ “คน” เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ เพราะอะไร? นั่นก็เพราะในทางปฏิบัติแล้วการพูดแบบนี้ถูกผูกโยงเข้ากับการใช้ประโยชน์จากคำโดยอุดมการณ์ของพวกกระฎุมพี ซึ่งจะทำลายหัวใจสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพคือ : กรรมาชีพคือผู้สร้างประวัติศาสตร์
ในเวลาเดียวกันนั้น ปรัชญา หรือแม้แต่งานเขียนอันยืดยาวที่เป็นนามธรรมนั้นต่างก็ต่อสู้แย่งชิงเหนือคำพูดและภาษา : ต่อสู้กับคำโกหก ต่อสู้กับความคลุมเครือ เพื่อความจริงที่ถูกต้อง มันต่อสู้อยู่เหนือ ‘ลำดับขั้นของความเห็น’
Lenin กล่าวว่า “มีเพียงคนสายตาสั้นท่านั้นที่สามารถพิจารณาข้อพิพาทหมู่และแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างลำดับขั้นของความเห็นที่ไม่ถูกกาละเทศะหรือมากเกินไปได้อย่างเข้มงวด ชะตากรรมของสังคมนิยมประชาธิปไตยรัสเซียนช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้วอาจจะขึ้นอยู่กับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับลำดับขั้นของความเห็นใด สักลำดับขั้นหนึ่งหรือในลำดับขั้นอื่นๆ” (What is to be done?)
การต่อสู้ทางปรัชญาเหนือคำพูดหรือภาษาคือส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมือง มีเพียงปรัชญาของ Marxist-Leninist เท่านั้นที่จะสามารถทำให้ความเป็นนามธรรม ความเข้มงวด และการทำงานทฤษฎีอย่างเป็นระบบให้สมบูรณ์ได้ในเงื่อนไขที่มันต่อสู้ในสองรูปแบบ หนึ่งคือภาษาที่ดูเป็น “วิชาการ” มากๆ (มโนทัศน์, ทฤษฎี, วิภาษวิธี, ภาวะแปลกแยก ฯลฯ) กับภาษาที่ง่ายต่อการเข้าถึง (คน, มวลชน, ประชาชน, การต่อสู้ทางชนชั้น ฯลฯ)
แปลและเรียบเรียงจาก philosophy as an revolutionary weapons, louis althusser (1918).