Skip to main content

Covid-19 และระบบทุนนิยมกำลังนำคนนับล้านไปสู่การอดตาย

Capitalism threatens mass starvation

By Oliver Brotherton

Translated By Jakkapon P.

 

ในช่วงเวลาอีกไม่กี่สัปดาห์ หรือในอีกไม่กี่เดือนที่จะมาถึงนี้ โลกทั้งใบจะต้องเผชิญหน้ากับ “ปัญหาทุกภิขภัยหลากรูปแบบเหมือนที่ไบเบิลเคยกล่าวถึง” นี่เป็นคำกล่าวของ David Beasley กรรมการบริหารของโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ (UN World Food Program - WFP) ด้วยปัญหาที่เราพบทั้งสงคราม, ความยากจน และในตอนนี้ถูกซ้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก การคาดเดาที่กล่าวมานี้ย่อมแสดงให้เห็นว่ากำลังจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน และนั่นหมายถึงการที่ผู้คนหลายล้านทั่วโลกจะต้องถูกบีบบังคับให้เผชิญหน้ากับความอดอยากและความหิวโหยอย่างที่สุดในปีนี้

รายงานชิ้นใหม่ของ WFP นั้นรายงานอย่างชัดเจน รายงานชิ้นนี้ยืนยันว่าพวกเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคมระดับโลก มันจะเป็นวิกฤตที่ยิ่งใหญ่ระดับเดียวกันกับวิกฤตที่เราเคยพบหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ระบอบจักรวรรดินิยมนั้นขับดันให้เกิดสงครามในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทั้งยังนำไปสู่การก่อวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ส่งผลสืบเนื่องให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในหลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่นเดียวกันนั้นในประเทศแอฟริกัน อย่างเช่น ซูดาน และ เอธิโอเปีย นั้นก็กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาของความตกต่ำทางเศรษฐกิจและความไม่มั่นคงทางสังคม พร้อมกันนั้นในประเทศอย่าง เคนยา, อูกันดา และแทนซาเนียนั้นก็ต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ขยายของตั๊กแตนปาทังก้าที่กำลังคุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรกว่า 25 ล้านคน ทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้ WFP นั้นรายงานว่า ผู้คนกว่า 821 ล้านคนทั่วโลกกำลังอยู่ภายใต้สภาวะ “อดอยากเรื้อรัง” และมีผู้คนกว่า 135 ล้านคนที่กำลังจะเข้าสู่สภาวะขาดแคลนอาหาร

ยิ่งไปกว่านั้น ภายในความโกลาหลของสงครามและเศรษฐกิจตลอดจนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 รายงานของ WFP ยังได้เสนอว่าจำนวนของประชากรที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาขาดแคลนอาหารและความอดอยากนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในช่วงเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า (กล่าวคือจำนวนคนที่ไม่มีอาหารกินจะเพิ่มขึ้นเป็น 2560 ล้านคนทั่วโลก) อันเป็นผลสืบเนื่องจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจและด้านสาธารณสุขของการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 นั่นฟังดูน่าตกใจใช่ไหม หากแต่มีเรื่องที่อาจจะน่าตกใจยิ่งกว่านั่นคือ การประเมิณของสหประชาชาตินั้นมองว่าใกรณีที่เลวร้ายที่สุด นั่นคือปัญหาความอดอยากและการขาดแคลนอาหารนี้จะแพร่กระจายไปในประเทศกว่า 35 ประเทศทั่วโลกในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง นั่นหมายถึงว่าในแต่ละวันจะมีผู้คนนับพันๆคนที่ต้องเสียชีวิตลงเพราะความอดอยากและขาดอาหาร อย่างไรก็ตาม WFP นั้นยืนยันว่า “ความอันตรายที่แท้จริง” ในวิกฤตที่กำลังจะมาถึงนี้คืออัตราการตายที่เกิดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจะมีตัวเลขผู้เสียชีวิตที่สูงกว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดเสียอีก การแพร่ระบาดของไวรัสนี้ทำให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศลดต่ำลงและนั่นส่งผลกระทบต่อประเทศอย่าง เฮติ, เนปาล และโซมาเลีย อันเป็นประเทศที่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากประเทศร่ำรวย ขณะเดียวกันการพังทลายของธุรกิจท่องเที่ยวก็กลายเป็นปัจจัยซ้ำเติมให้วิกฤตเศรษฐกิจที่เป็นอยู่เลวร้ายลงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอย่างเอธิโอเปีย ที่รายได้จากภาคการท่องเที่ยวนั้นคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ประเทศที่เรากล่าวมานี้ล้วนเป็นประเทศที่มีการกดขี่ขูดรีดชนชั้นแรงงานอย่างหนักที่สุดทั้งการขูดรีดจากชนชั้นปกครองภายในประเทศและการกดขี่ขูดรีดจากประเทศจักรวรรดินิยม และควายหายนะทางเศณษบกิจที่กำลังจะมาถึงซึ่งถูกจุดไฟขึ้นด้วยการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 นั้นย่อมส่งผลกระทบถึงบรรดาชนชั้นปกครองเหล่านี้เพียงเล็กน้อย เพราะถึงที่สุดบรรดาชนชั้นปกครองย่อมจะพยายามปกป้องผลประโยชน์ของตนเองด้วยการผลักภาระทั้งหลายไปให้แก่ชนชั้นแรงงาน

 

รายงานของ WFP นี้ได้แสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าวิกฤติระดับโลกที่กำลังจะมาถึงนี้เป็นสิ่งที่ก่อตัวขึ้นมานานแล้วก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของ Covid-19 ปัญหาความอดอยาก, ความยากจน และความขัดแย้งนั้นเป็นสิ่งที่แพร่กระจายอยู่นานแล้ว โดยเฉพาะในภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลาง และแรงกดดันที่คาดไม่ถึงของมาตรการปิดเมือง (lockdown) นั้นเป็นเพียการเติมน้ำมันเข้าสู่กองไฟเท่านั้น ด้วยสภาวะที่ทำให้คนหลายพันคนคิดอยากจะตายด้วยไวรัสเพราะความสิ้นหวัง และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ตลอดจนสภาวะที่ก่อให้เกิดคนว่างงานจำนวนมาก การแพร่ระบาดของโรคนั้นเป็นเพียงตัวเร่งปฏิกิริยาของกระบวนการทางสังคมและเศรษฐกิจที่กำลังตกต่ำให้เคลื่อนเร็วขึ้นเท่านั้นเอง การเข้ากระหน่ำซ้ำเติมพร้อมกันของปัญหาความยากจน, เศรษฐกิจตกต่ำ, ความไม่มั่นคงทางสังคม และมาตรการปิดเมืองนั้นจะทำให้ระบบเศณษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักลง พร้อมทั้งเมื่อควบรวมภาวะแทรกซ้อนอย่างราคาน้ำมันโลกที่ต่ำลงเข้าไปนั่นหมายความว่าประเทศยากจนทั้งหลายกำลังจะต้องต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดในเศรษฐกิจ

หากทว่าวิกฤตที่เรากล่าวมานี้ไม่ใช่สิ่งที่ไม่อาจหลีกหนีได้ มันเป็นผลลัพธ์ทางตรงของระบบทุนนิยม ที่มุ่งหน้าแสวงหาแต่กำไรเพียงอย่างเดียว ชนชั้นนายทุนนั้นไม่มีความสามารถเพียงพอจะหาทางออกให้แก่ปัญหาที่เกิดขึ้น งานวิจัยชิ้นล่าสุดบอกว่าอัตราการผลิตอาหารระดับโลกในปัจจุบันนั้นมีกำลังการผลิตมากเพียงพอจะผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรจำนวน 10,000 ล้านคนได้ นั่นแปลว่ามันมากเพียงพอจะหล่อเลี้ยงประชากรโลกไปได้ถึง 30 ปีด้วยกำลังการผลิตที่เป็นอยู่ หากทว่าก็ยังมีคนอีกหลายล้านคนที่ต้องเผชิญปัญหาความอดอยากอยู่ในปัจจุบัน นี่คือข้อเท็จจริงอันน่ารังเกียจของระบบทุนนิยมที่ให้คุณค่ากับการแสวงหากำไรมากกว่าการแก้ปัญหาความอดอยากยากจน

ในโลกที่วิกฤ๖ด้านมนุษยธรรมกำลังขยายตัวนี้ เป็นที่ชัดเจนอย่างยิ่งว่าเราต้องการระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนและการกระจายทรัพยากรโลกอย่างมีเหตุมีผลเป็นที่สุด การจ่ายเงินบริจาคให้แก่ WFP เพื่อแก้ปัญหาความอดอยากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเสมือนการนำพลาสเตอร์ปิดแผลชิ้นเล็กไปแปะเพื่อรักษาบาดแผลเหวอะหวะขนาดใหญ่ และแน่นอนว่ามันไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ มีการคาดการว่าในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง จะมีผู้คนกว่า 300,000 คนที่ต้องอดอยากจนตายในทุกๆวัน นี่ไม่ใช่สัญญาณของระบบเศณษฐกิจที่ดีเลย อันที่จริงแล้วในวิกฤตที่กำลังจะมาถึงนั้น ระบบทุนนิยมอาจจะไม่ได้สนใจตัวเลขของคนตายเหล่านี้ด้วยซ้ำ เมื่อมันต้องเผชิญหน้ากับความตกต่ำทางเศรษฐกิจ (คล้ายกับที่หมอบางคนกล่าวว่า “การมีคนฆ่าตัวตายในวิกฤติ Covid-19 นั้นน้อยกว่าช่วงเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และไม่เหนือไปกว่าความคาดหมาย” – ผู้แปล) ในวิกฤตระลอกใหม่ที่จะมาถึงนี้จะมีผู้คนหลายล้านที่ต้องตายด้วยผลกระทบทางเศณษฐกิจอันเนื่องมาจากแพร่ระบาดของ Covid-19 และวิกฤตที่หยั่งรากลึกของระบบทุนนิยม

ตัวเลขทางสถิติที่ปรากฎในรายงานของ WFP นั้นเป็นเสมือนการประนามสาปแช่งระบบทุนนิยม ที่ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารของมนุษยชาติได้ การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 นั้นอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพสำหรับผู้คนที่โชคร้ายหลายล้านคนทั่วโลก ในขณะที่บรรดาชนชั้นปกครองนั้นมีเกราะกำบังจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นชนชั้นแรงงานคือผู้ที่ต้องแบกรับผลกระทบอันหนักหน่วงจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ในขณะที่บรรดาชนชั้นปกครองเก็บเกี่ยวเอาผลประโยชน์ไป ในกรณีของภาวะขาดแคลนอาหารและทุพภิกขภัยนี้เป็นกรณีที่ชัดเจนที่สุด บรรดานายทุนนั้นคิดแต่จะแสวงหาผผลประโยชน์เพื่อตอบสนองแก่ชนชั้นตนเอง อันเป็นการรักษาผลประโยชน์ ทรัพย์สิน และความเป็นอภิสิทธืชนของตนเองไว้มากกว่าจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบเพื่อตอบสนองความต้องการของชนชั้นแรงงาน มีแต่เพียงระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนเท่านั้นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาความอดอยากยากจนและทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นได้

 

ระบบทุนนิยมนั้นไม่อาจจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ มีแต่เพียงกระบวนของระบบสังคมนิยมเท่านั้นที่สามารถจะขจัดปัญหาและความป่าเถื่อนที่กำลังจมาถึงนี้ได้