Skip to main content

 

 ลุดวิก ฟาน เบโธเฟนมีซิมโฟนีทั้งหมด 9 บท ทั้งนี้ยังไม่นับหมายเลข 10 ที่ยังถกเถียงกันว่าเป็นของเขาจริงหรือไม่  แต่ละบทมีความโด่งดังและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง จนมีคนยกย่องว่าเหนือชั้นกว่าซิมโฟนีของคีตกวีคนอื่นแม้แต่โมซาร์ตซึ่งถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนถึง 41 บท  ที่สำคัญซิมโฟนีของเบโธเฟนดังเช่นหมายเลข 3 นั้นได้ชื่อว่าเป็นบันไดเปลี่ยนผ่านดนตรีของโลกจากยุคคลาสสิกไปสู่ยุคโรแมนติก  อย่างไรก็ดี ซิมโฟนีซึ่งมีความเด่นไม่เหมือนใครแม้ว่าจะได้รับการยกย่องไม่เท่ากับหมายเลข 5 หรือ 7 คือหมายเลข 6 ในฐานะ Program Music หรือดนตรีที่ต้องการสื่อถึงอะไรบ้างอย่างนอกเหนือจากความไพเราะของเพลง อันเป็นที่นิยมสำหรับคตีกวีในยุคแห่งโรแมนติกดังเช่น Symphonie fantastique ของเฮกเตอร์ แบริออส์ เพลง  Don Quixote ของริชาร์ด สเตราส์หรือซิมโฟนีหลายบทของกุสตาฟ มาห์เลอร์ กระนั้นในยุคก่อนหน้านี้ดังยุคบารอคก็มีอยู่เช่นเพลงของอันโตนีโอ วีวัลดี คีตกวียุคบาร็อคที่บรรยายถึงความงามของยุโรปผ่านสี่ฤดูกาล นั่นคือ Four Seasons

      ซิมฟีนีหมายเลข 6 Pastoral in F Major (Op. 68)  มีลักษณะสำคัญคือการบรรยายความงดงามของชนบทและธรรมชาติดังคำว่า Pastoral หมายถึงทุ่งหญ้าหรือชนบท  บทกวีแห่งท้องทุ่งนี้ยังตั้งอยู่บนการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์อันทำให้คนฟังแม้แต่ชาวบ้านธรรมดายังรู้สึกมีส่วนร่วมด้วยอย่างแนบแน่นเพราะสามารถประสบพบได้ในชีวิตประจำวันดังที่จะได้กล่าวต่อไป  ผู้ประพันธ์คือเบโธเฟนนั้นเป็นที่รู้กันว่ารักธรรมชาติ  เขาชอบเดินทางจากนครเวียนนาที่เขาพำนักอยู่เกือบตลอดชีวิตไปพักผ่อนที่ชนบท และเดินเล่นไปเรื่อยๆ จนเกิดความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเพลงที่กำลังแต่ง ว่ากันว่าครั้งหนึ่งเบโธเฟนเดินลัดทุ่งนาและร้องเพลงเสียงแหลมเล็กจนอีกาตกใจบินหนีไป

       เบโธเฟนแต่งซิมโฟนีหมายเลข 6 ไปพร้อมๆ กับหมายเลข 5 อันลือชื่อซึ่งทุกคนจะค้นหูกันดีกับกระบวนแรก แต่เมื่อเขานำหมายเลข 6  มาแสดงในกรุงเวียนนาในปี 1808 กลับได้รับการต้อนรับอย่างเย็นชาจากผู้ชมเพราะไม่ชอบสไตล์เพลงที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนเช่นนี้ อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมา บทเพลงนี้กลายเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก และถูกใช้ในโฆษณาโทรทัศน์ต่างๆ หรือภาพยนตร์เรื่องต่างๆ  ในหลายสิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่เรื่อง Fantasia (1940) ของค่ายภาพยนตร์วอลต์ ดิสนีย์

      ซิมโฟนีหมายเลย 6 มีทั้งสิ้น 5 กระบวน (Movement) ซึ่งแตกต่างจากซิมโฟนี ทั่วไปที่จะมีเพียง  4 กระบวน มีความยาวทั้งสิ้น 40 นาที แต่ละกระบวนมีประโยคบรรยายประกอบอันได้ใจความดังต่อไปนี้

       1.Allegro Ma Non troppo

       ความปิติฉับพลันต่อการได้มาเยือนท้องทุ่ง (Awakening of joyous feelings upon arrival in the country) เพลงๆ นี้จะเริ่มต้นด้วยจังหวะเร็วแสดงให้เห็นถึงความสุขของ คีตกวีที่ได้มาเยือนชนบท ได้แลเห็นทุ่งนาสีทองอันกว้างใหญ่พร้อมกับเนินเขาสีเขียวชะอุ่มอยู่ลับๆ พร้อมเมฆสีขาวปุยเป็นริ้วๆ อยู่บนท้องฟ้าที่แสงแดดสาดส่งลงมา

      2. Andante molto mosso

       ภาพริมธาร (Scene by Brook) เป็นจังหวะช้าๆ เนิบๆ ที่งดงาม ทำให้ผู้ฟังนึกถึงความงดงามของธรรมชาติข้างแม่น้ำสายเล็ก ๆ มีแสงแดดส่องทะลุกิ่งไม้ผ่านมากระทบกับพื้นน้ำเป็นประกาย ปลาน้อยใหญ่ว่ายวนไปมา

       3. Allegro attacca

      การเต้นรำที่แสนสนุกสนานของชาวนา (Happy gathering of country folk) เป็นจังหวะที่เร็วแสดงถึงชีวิตชาวนาเมื่อยามว่างจากการทำนาแล้วจึงมาร้องรำทำเพลงอย่างร่าเริงจนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

        4. Allegro

        ฟ้าผ่าและพายุ  (Thunder and Storm) ทันใดนั้นกลุ่มชาวนาก็แตกพลัดกระจัดกระจายเพราะพายุและฝนที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหันบนท้องฟ้าที่มืดดำ กระบวนนี้บรรยายถึงความหวาดกลัวของผู้แต่งในฐานะมนุษย์ตัวกระจ้อยร่อยที่มีต่อความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เพลงมีจังหวะเร็วและ รุนแรง ประดุจดังพายุไปพร้อมๆ กับเสียงกลองที่กระหน่ำเหมือนเสียงฟ้าผ่า

       5.Allegretto

      บทเพลงอันแสนยินดีและความกตัญญต่อน้ำพระทัยของพระเจ้าของคนเลี้ยงแกะหลังพายุได้พ้นผ่าน (Shepherd's song; cheerful and thankful feelings after the storm) เพลงกลับมาเร็วในระดับกลาง มีทำนองที่แจ่มใส อันแสดงให้เห็นว่าพายุได้พัดผ่านไปแล้ว แสงแดด และท้องฟ้าสีครามกลับมาอีกครั้งหนึ่งพร้อมกับเสียงเจื้อยแจ้วของนกบนต้นไม้ ประชันกับเสียงฮอร์นอันร่าเริงของคนเลี้ยงแกะเคียงข้างฝูงแกะที่ติดอยู่ในซอกเขายามพบกับพายุ

       เบโธเฟนเคยคิดจะฆ่าตัวตาย เพราะความทุกข์ทรมานจากอาการหูหนวกที่กำเริบหนัก แต่ไม่สำเร็จ ใครหลายคนมองว่าเพราะความกลัวตาย แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากเชื่อว่าเพราะความรักของเขาที่มีต่อเสียงเพลงตามคำสารภาพของเขาใน Heiligenstadt testament นอกจากนี้สุนทรียทัศน์ของโลกเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เบโธเฟนมีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคทั้งปวง  การท่องเที่ยวไปในชนบทได้ฉลภาพของทุ่งนาซึ่งผมคิดว่าเป็นงานศิลปะที่งดงามที่สุดชนิดหนึ่งของโลกได้ทำให้เบเฟนได้รู้ว่าสารัตถะของชีวิตแท้ที่จริงไม่ใช่วัตถุของมีค่าหรือชื่อเสียงเลย หากแต่เป็นความงดงามของธรรมชาติที่สะท้อนภาพเข้ามาสถิตในหัวใจของเขา

การเขียนเพลงบทนี้ท่ามกลางความเงียบงันจากหูซึ่งก่อปัญหาหนักขึ้นช่างมีความยิ่งใหญ่ไม่ต่างอะไรจากการเข้าฌาณจนเกิดภาวะยั่งรู้ต่อธรรมชาติของนักบวชหรือศาสดาในอดีตทั้งหลาย เพียงแต่เบโธเฟนได้กลั่นกรองมาเป็นบทเพลงอันแสนไพเราะเท่านั้นเอง

 

 

                 

 

                                 ภาพจาก http://cps-static.rovicorp.com

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด