Skip to main content
 
 
The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัติอันมีชื่อเดียวกันของนักเปียโนชาวโปแลนด์เชื้่อสายยิวนามว่าวลาดิสลอว์ สปีลแมนซึ่งสามารถเอาชีวิตรอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของพวกนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้ 
 
บทความนี้แปลและดัดแปลงจากข่าวมรณกรรมในนิตยสาร Independent วันที่ 14 สิงหาคม ปี 2000 เขียนโดยมาร์ติน แอนเดอร์สัน (ชื่อเฉพาะหลายคำโดยเฉพาะภาษาโปแลนด์ถูกแปลเป็นไทยให้ง่ายต่อการอออกเสียง)
 
 
เมื่อระเบิดจากการรุกรานของกองทัพนาซีได้ทำให้สถานีวิทยุโปแลนด์ต้องปิดตัวลงในวันที่ 23 กันยายน ปี 1939 ดนตรีในการถ่ายทอดสดครั้งสุดท้ายเป็นการแสดงของวลาดีสลอว์ สปีลแมนในเพลง Sharp minor Nocturne ของโชแปง และเมื่อการกระจายเสียงได้รับการรื้อฟื้นในปี 1945 ก็เป็นสปีลแมนอีกเช่นกันที่เป็นคนริเริ่ม พร้อมด้วยเพลง ๆ เดิมของโชแปง (เวลาก็เป็นเวลาเดียวกัน แต่ทรงพลังน้อยกว่า และสถานีวิทยุบีบีซีได้กลับมาเอาการ์ตูนมิคกีเมาส์มาคั่นรายการด้วย) สิ่งที่เกิดขึ้นกับสปีลแมนในช่วงเวลาสั้น ๆ ของสงครามนั้นเป็นตัวอย่างน่าสะพึงกลัวที่สุดตัวอย่างหนึ่งของชาวยิวภายใต้เงื้อมือของนาซี ดังปรากฏในหนังสือซึ่งถูกตีพิมพ์ในปีที่แล้วและเข้าสู่ระดับขายดีที่สุดระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องไม่น่าประหลาดใจที่ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นผลงานชิ้นเอกที่น่ากลัวและมีเสน่ห์ในเวลาเดียวกัน
 
 
 
                                 
                                  
 
 
                                     ภาพจาก Wikipedia.com
 
 
 
สปีลแมนได้เขียน The Death of a City หรือ "ความหายนะของนคร" (ชื่อเรื่องชื่อแรกในบันทึกความจำของเขา) ในปี 1945 เพื่อเป็นการรักษาแผลใจ ไม่มากก็น้อย เขาบันทึกความทรงจำของตนในกระดาษ และได้ทำให้มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา การกระทำเช่นนี้ได้ทำให้เห็นว่าเขาเป็นนักเขียนที่เป็นเอตทัคคะคนหนึ่ง ข้อเขียนของเขามีพลังในการบรรยายและต่อความเป็นมนุษย์อันปราศจากความน้อยเนื้อต่ำใจและการยกตน
 
ในช่วงการยึดครองของเยอรมัน 2  ปีแรก สปีลแมนยังคงเล่นเปียโนในบาร์และร้านกาแฟ ซึ่งยังคงเปิดกิจการหลังกำแพงของแหล่งเสื่อมโทรม ซึ่งปิดตัวเองจากส่วนอื่นๆ ของกรุงวอร์ซอในวันที่ 15 ธันวาคม ปี 1940 สปีลแมนได้บันทึกความเป็นไปของชีวิตด้วยความมีเกียรติและไร้อคติ เขาระลึกถึงตอนที่หน่วยเอสเอสได้ไล่พวกนักโทษออกจากอาคารดังนี้
 
"พวกเขา (ทหารเยอรมัน- ผู้แปล)ได้เปิดไฟจากหน้ารถ ทำให้พวกนักโทษต้องยืนอยู่ท่ามกลางลำแสง จากนั้นก็สตาร์ทเครื่อง คนเหล่านั้นก็ต้องวิ่งนำหน้าแสงไฟอันสว่างจ้า เราได้ยินเสียงกรีดร้องจากหน้าต่างของตึกและเสียงปืนจากรถ คนที่วิ่งอยู่หน้ารถล้มลงคนแล้วคนเล่า บางคนกระเด็นขึ้นไปเพราะแรงกระสุนหรือตีลังกาและกลิ้งเป็นวงกลม ราวกับว่าเส้นบางๆ ระหว่างชีวิตกับความตายคือการกระโดดอันแสนยากเย็น"
 
ครั้งแล้วครั้งเล่า ที่สปีลแมนได้มีโอกาสหลีกพ้นจากอุ้งมือของมัจจุราช จุดจบดูเหมือนจะมาถึงเมื่อเขาและครอบครัวได้รับคำสั่งให้ย้ายไปอยู่ที่อุมชลากสพลาท์ส ซึ่งซากศพจำนวนมากกำลังเน่าเฟะอยู่เรียงราย พวกเขาถูกต้อนให้ขึ้นไปบนรถไฟที่จะมุ่งหน้าไปสู่ห้องอบก๊าซพิษ ความทรงจำสุดท้ายของสปีลแมนเกี่ยวกับครอบครัวของเขาได้ถูกเน้นย้ำอย่างน่าสะเทือนใจดังนี้ 
 
"ณ จุด ๆ หนึ่ง เด็กชายคนหนึ่งเดินฝ่าฝูงชน มาทางพวกเรา พร้อมด้วยกล่องขนมหวาน ซึ่งผูกด้วยเชือกคล้องคอเขาอยู่ เขาขายขนมด้วยราคาแบบเสียสติ ถึงแม้เพียงสวรรค์จะรู้ว่าเขาจะเอาเงินเหล่านั้นไปทำอะไร เมื่อเอาเงินที่มีอยู่น้อยนิดมารวมกันแล้ว พวกเราก็ได้ซื้อครีมคาราเมลก้อนเดียวมา พ่อได้แบ่งมันออกเป็นหกส่วนด้วยมีดขนาดปากกา นั่นคืออาหารที่เราทานกันมื้อสุดท้าย"
 
แต่ในขณะที่สปีลแมนถูกต้อนเข้าไปในรถไฟ ตำรวจยิวคนหนึ่งก็คว้าคอเสื้อเขาไว้พร้อมกับห้อยตัวเขาร่องแร่งออกไปจากฝูงชน ไม่ยอมให้เขาอยู่ร่วมกับครอบครัวบนการเดินทางสายมรณะ (เขายังได้บรรยายอีกถึงฉากตอนที่เขาแยกจากครอบครัว นั่นคือ เขายืนอยู่ห่างจากครอบครัว เห็นแม่และพี่สาวน้องสาว กำลังถูกต้อนขึ้นรถไฟ พ่อของเขามองหาเขาอยู่ เมื่อพบเขา พ่อก็โบกมืออำลาอย่างเศร้าสร้อยและสิ้นหวัง- ผู้แปล) สปีลแมนยังคงหลีกเลี่ยงความตายอย่างหวุดหวิดไปได้เรื่อยๆ  ถึงแม้ตัวเองจะอด ๆ ยากๆ และเดียวดาย เขาซ่อนตัวอยู่ในมุมมืดของตึกว่าง ๆ ที่ถูกเพลิงไหม้หรือถูกทิ้งระเบิด สลับกับการช่วยเหลือจากเพื่อนชาวโปแลนด์ที่เสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อนำอาหารหรือที่กำบังมาให้เพราะการช่วยเหลือชาวยิวหมายถึงการนำคอตัวเองไปพาดบนเขียง
 
 
 
 
                                      
 
                                                      ภาพจาก www.slantmagazine.com
                                                    
 
จุดผกพันอันประหลาดที่สุด ในเรื่องราวแปลก ๆของ สปีลแมนก็มาถึง เมื่อ มีนายทหารเยอรมันมาพบตัวเขาและสปีลแมนได้แสดงให้เห็นถึงทักษะการเล่นเพลง C sharp minor Nocturne ของโชแปงกับเปียโนที่ถูกทิ้งไว้ นายทหารคนนั้นพาตัวเขาไปซ่อนและได้ให้อาหารรวมไปถึงผ้าห่มเพื่อความอบอุ่น 
 
 
มุมมองพิเศษประการหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังสือของสปีลแมนก็คือ การเขียนโดยปราศจากความคับข้องใจและความแค้น ซึ่งใครก็ตามที่เหมือนอยู่ในนรกขุมเช่นนี้ต้องไม่พลาดโอกาสในการระบายมันออกมา แม้แต่ประโยคอันหดหู่ที่พูดถึงความตายซึ่งมีกระจัดกระจายในหนังสือของเขาก็ไม่ได้แสดงบทบาทชัดเจนนัก อาจเพราะไม่มีอะไรจำเป็นเลย 
 
"เจ้าเด็กอายุ 10 ขวบ วิ่งอยู่บนฟุตบาต เขาหน้าซีดและตื่นตระหนกจนกระทั่งลืมถอดหมวกให้ตำรวจเยอรมันซึ่งเดินตรงมาหาเขา หมอนั่นหยุดและชักปืนรีโวเวอร์ออกมาโดยไม่พูดแม้แต่คำเดียว จ่อขมับเด็กและยิง เด็กน้อยผู้น่าสงสารล้มลงบนพื้นแขนแกว่งไปมาก่อนที่จะตัวแข็งทื่อและตาย ผมมองไปที่คนยิงซึ่งไม่มีลักษณะโหดร้ายหรือว่าแสดงอารมณ์โกรธแม้แต่น้อย เขาดูเป็นตำรวจท่าทางเรียบร้อยซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำวันซึ่งมีอยู่มากมาย แล้วก็ปล่อยมันไปจากความคิดอย่างรวดเร็วเพื่อภารกิจสำคัญอื่นที่กำลังรอเขาอยู่" 
 
 
 
 
                                
 
                                          ภาพจาก amazon.com
 
 
 
 
"ความหายนะของนคร" ถูกตีพิมพ์ในโปแลนด์ในปี 1946 แต่ในไม่ช้าก็ถูกระงับการพิมพ์โดยพรรคคอมมิวนิสต์ ดังที่วูล์ฟ เปียร์แมนได้ตั้งข้อสันนิฐานไว้ในบทส่งท้ายของ "The Pianist" ว่าเพราะมันสะท้อนความเป็นจริงอันเจ็บปวดมากจนเกินไปเกี่ยวกับการร่วมมือของคนเชื้อสายต่างๆ เช่นรัสเซีย โปแลนด์ ยูเครน ลัตเวียและแม้แต่ยิวกับพวกเยอรมันนาซี"
 
เป็นไปได้มากกว่านั้นที่ว่า บันทึกของสปีลแมนไม่สามารถถูกเผยแพร่ได้ เพราะชาวยิวแทบไม่ได้การต้อนรับอย่างอบอุ่นจากอาณาจักรของสตาลินมากกว่าของฮิตเลอร์ เมื่อสตาลินถึงแก่อสัญกรรมในเดือนมีนาคม ปี 1953 เขาได้ร่วมกับคนอื่นๆ สำหรับการเดินทางไปสู่เมืองใหม่ทางตะวันออกของพวกยิวและการอยู่รอดของเขาได้กลายเป็นค่ายกักกันแห่งที่ 2  ภายหลังค่ายคอมมิวนิสต์ล่มสลายพร้อมความพยายามของลูกชายของเขาได้ทำให้การตีพิมพ์สำเร็จได้ในที่สุด
 
สปีลแมนได้เริ่มฝึกหัดเป็นนักดนตรีครั้งแรก ณ โรงเรียนดนตรีโชแปงในกรุงวอร์ซอภายใต้การควบคุมของ โจเซฟ ซมิโดวิคซ์และ อเล็กซานเดอร์ มิชโลว์สกี ทั้งคู่เคยเป็นนักเรียนของฟรานซ์ ลิซท์ ในปี 1931 เขาได้สมัครไปเรียนที่โรงเรียนสอนศิลปะ หรือ Akademice der Kunste ในกรุงเบอร์ลิน เขาได้เรียนเปียโนกับ นักเปียโนชื่อดังที่สุดสองคนในยุคนั้น คือ อาร์เทอร์ ชเนเบลและลีโอนิด ครอยเซอร์ และเรียนการแต่งเพลงจาก ฟรานซ์ ชเรเกอร์ นักแต่งเพลงและอุปรากรชื่อดังเช่นเรื่อง Der ferne Klang  ในการกลับไปโปแลนด์ในปี 1933 เขาได้เป็นคู่หูที่ประสบความสำเร็จกับนักไวโอลิน บรอนิสลอว์ กิมเพล ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวง Piano Quintet (เครื่องดนตรี 5 ชิ้นคือ เปียโน เบส ไวโอลิน 2 ชิ้น และวิโอลา-ผู้แปล) แห่งกรุงวอร์ซอซึ่งการออกแสดงได้ทำมันให้กลายเป็นวงดนตรีระดับโลก สปีลแมนยังคงเล่นอยู่กับวงๆ นี้จนถึงปี 1986  
 
 
สปีลแมนถึงแก่กรรมในวันที่ 6 กรกฏาคม ปี 2000 
 
 
 
               
            
 
             สปีลแมนตัวจริงกำลังเล่นเปียโนอยู่
 
 
                                ภาพจาก  www.szpilman.net
 
 
 
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด