บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับการประกาศใช้มาตรา 44 ของคสช.ครบรอบ 17 วัน (ประกาศใช้วันที่ 1 เมษายน ปีนี้)
ในเดือนเมษายน ปี 1945 ฮิตเลอร์ได้ย้ายเข้าอยู่ในบังเกอร์ ซึ่งอยู่ใต้ตึกบัญชาการในกรุงเบอร์ลินลึกลงไปราว 50 ฟุต บังเกอร์ใต้ดินนี้มี 2 ชั้น ประกอบด้วยห้องเกือบ 30 ห้อง ฮิตเลอร์จะประชุมกับบรรดานายพลทุกวันพร้อมกับรับทราบรายงานการใกล้เข้ามาของกองทัพโซเวียตอันไม่หยุดยั้ง เขาออกคำสั่งที่ไร้สาระในการปกป้องกรุงเบอร์ลินด้วยกองทัพที่ถูกกวาดออกไปแล้วหรือกำลังล่าถอยอย่างเร่งรีบไปทางตะวันตกเพื่อยอมแพ้ต่อกองทัพอเมริกัน ในวันที่ 22 เมษายน ระหว่างการประชุมเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในบังเกอร์ ฮิตเลอร์กรีดร้องด่ากองทัพอย่างบ้าคลั่งและประณามผู้ที่ทอดทิ้งเขาว่าเป็นพวกทรยศขั้นร้ายแรง ฉ้อฉล สับปลับ และล้มเหลว ฮิตเลอร์อุทานว่า วาระสุดท้ายมาถึงแล้ว อาณาจักรไรซ์ของเขาคือความล้มเหลวและบัดนี้ไม่มีอะไรเหลืออยู่สำหรับเขานอกจากจะอยู่ในกรุงเบอร์ลินและสู้จนลมหายใจเฮือกสุดท้าย
บรรดาลูกน้องพยายามเกลี่ยกล่อมให้ฮิตเลอร์หลบหนีไปอยู่ที่ภูเขาแถวเบรชเตสกาเดน เพื่อบัญชาการกองทัพที่ยังเหลืออยู่ซึ่งจะทำให้อาณาจักรไรซ์ยังอยู่ต่อไปได้ ทว่าล้มเหลว ฮิตเลอร์บอกกับคนเหล่านั้นว่าการตัดสินใจของตนนั้นเป็นที่แน่นอนแล้ว เขาถึงกลับพยายามจะให้มีการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้ รัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อ โจเซฟ เกบเบิลส์ ก็ได้พาครอบครัวของตนซึ่งประกอบด้วยลูกเล็ก ๆ ถึง 6 คนเข้ามาอยู่กับฮิตเลอร์ในบังเกอร์ ฮิตเลอร์เริ่มต้นค้นเอกสารของตนเพื่อเลือกว่าชิ้นไหนจะต้องถูกเผาทำลาย
คนรอบข้างได้รับอนุญาตจากฮิตเลอร์ให้ไปจากบังเกอร์ได้ เกือบทั้งหมดทำตามและมุ่งหน้าไปทางใต้ซึ่งเป็นพื้นที่รอบเบรชเตสกาเดน โดยอาศัยขบวนรถบรรทุกและเครื่องบิน มีเพียงลูกน้องจำนวนหนึ่งที่ยังอยู่ในบังเกอร์ เช่นลูกน้องคนสนิทของฮิตเลอร์คือมาร์ติน บอร์มันน์ ครอบครัวของเกบเบิลส์ องครักษ์จากกองทัพและจากหน่วยเอสเอส เลขานุการ 2 คนของฮิตเลอร์ รวมไปถึงเพื่อนสาวคนสนิทของฮิตเลอร์คือเอวา บราวน์
วันที่ 23 เมษายน เพื่อนของฮิตเลอร์และรัฐมนตรีกระทรวงยุทธภัณฑ์ [ผลิตอาวุธ]คือ อัลเบิร์ต สเปียร์(1) ได้มาขอพบกับฮิตเลอร์เป็นครั้งสุดท้าย และได้แจ้งให้ท่านผู้นำทราบอย่างตรงไปตรงมาว่า เขาไม่ได้ทำตามคำสั่งของฮิตเลอร์ที่ให้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเยอรมัน นั้นคือยังคงรักษาโรงงานต่างๆ และอุตสาหกรรมสำหรับเยอรมันในช่วงหลังสงคราม ฮิตเลอร์รับฟังด้วยความเงียบงัน ไม่มีการแสดงออกใด ๆ ทำให้สเปียร์ประหลาดใจมาก ในช่วงบ่ายวันนั้น ฮิตเลอร์ได้รับโทรเลขจากเกอริงผู้ซึ่งไปถึงเขตปลอดภัยในเบรชเตสกาเดนเรียบร้อยแล้ว ดังนี้
ท่านผู้นำ
จากการตัดสินใจของท่านที่จะอยู่ในบังเกอร์ในกรุงเบอร์ลิน ท่านจะเห็นด้วยหรือไม่ว่าข้าพเจ้าจะรับช่วงต่อความเป็นผู้นำของอาณาจักรไรซ์ต่อจากท่านพร้อมด้วยอำนาจเต็มที่ในการสั่งการใด ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศในฐานะรองของท่าน ตามกฏหมายของท่านที่ออกเองเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ปี 1941 หากว่าไม่ได้คำตอบจากท่านหลังเวลา 10 นาฬิกาของคืนนี้ ข้าพเจ้าจะขอถือว่าท่านได้สูญเสียอำนาจในการสั่งการและจะถือกฏหมายของท่านฉบับนั้นเป็นหลักและจะทำการใด ๆ เพื่อผลประโยชน์อันสูงสุดของประเทศและประชาชนของเรา ท่านก็ทราบดีว่าข้าพเจ้ารู้สึกอย่างไรต่อท่านในเวลาอันเลวร้ายที่สุดของชีวิตข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถสรรหาคำใด ๆ มาอธิบายความคิดข้าพเจ้าได้ ขอให้พระเจ้าทรงปกป้องท่านและดลบันดาลใจให้ท่านเดินทางมาที่นี่ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
ยังภักดีอยู่เสมอ
แฮร์มันน์ เกอริง
ฮิตเลอร์เดือดดาลเป็นยิ่งนักและได้รับการแนะนำจากบอร์มันน์ให้ส่งโทรเลขกลับไปหาจอมพลเกอร์ริงเพื่อจะบอกว่า เกอริงได้ทำการทรยศอย่างร้ายแรง แม้ว่าโทษของเขาจะถึงตายแต่เนื่องจากได้รับใช้ฮิตเลอร์มาแสนนาน ถ้าเกอริงจะลาออกจากทุกตำแหน่งก็จะได้รับการยกเว้นโทษ บอร์มานน์ได้ออกคำสั่งให้กับพวกเอสเอสที่อยู่ใกล้เบรชเตสกาเดน เพื่อจับกุมเกอริงและลูกน้อง ก่อนรุ่งสางของวันที่ 25 เกอร์ริงถูกจับขังไว้ (2)
วันต่อมาคือวันที่ 26 เมษายน บรรดาปืนใหญ่ของกองทัพโซเวียตได้ทำการโจมตีตึกบัญชาการโดยตรงเหนือบังเกอร์ของฮิตเลอร์ ในเย็นวันนั้นเครื่องบินขนาดเล็กที่ขับโดยนักบินฝึกหัดหญิงนามว่าฮันนา ไรตซ์และผู้โดยสารคือนายพลประจำกองทัพอากาศคือริตเตอร์ ฟอน ไกร์มได้ร่อนลงถนนใกล้ ๆ บังเกอร์อย่างอาจหาญ โดยท่านนายพลได้รับบาดเจ็บที่เท้าจากการระดมยิงภาคพื้นดินของของกองทัพโซเวียต ภายในบังเกอร์นั้นเอง นายพลไกร์มได้รับการแต่งตั้งจากฮิตเลอร์ให้สืบทอดตำแหน่งแทนเกอริง นั้นคือได้เลื่อนขั้นเป็นจอมพลที่บัญชาการกองทัพอากาศของเยอรมัน ถึงแม้ฮิตเลอร์จะสามารถแจ้งให้ไกร์มทราบทางโทรเลขก็ได้ ทว่าท่านผู้นำต้องการให้เขามาพบด้วยตัวเองเพื่อรับทราบภารกิจนี้ แต่เนื่องจากเท้าที่บาดเจ็บ ไกร์มกลับต้องนอนซมเป็นเวลา 3 วันในบังเกอร์(3)
ในคืนวันที่ 27 เมษายน พวกโซเวียตได้ระดมทิ้งระเบิดลงตึกกองบัญชาการอย่างหนักหน่วงที่สุดเท่าที่เคยมีมาก และมีจำนวนมากที่โดนตัวตึกอย่างจัง ฮิตเลอร์ได้ส่งโทรเลขที่ไร้สาระไปยังจอมพลไคเทล ให้เข้ามาปลดปล่อยกรุงเบอร์ลินด้วยกองทัพ (ที่บัดนี้ไม่มีตัวตนอยู่อีกแล้ว) และแล้วฟางเส้นสุดท้ายก็มาถึงเมื่อวันที่ 28 ฮิตเลอร์ได้รับทราบจากกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อของเกบเบิลส์ว่า หน่วยข่าวของอังกฤษรายงานว่า ผู้บังคับบัญชาหน่วยเอสเอสคือไฮน์ริค ฮิมม์เลอร์ (4) ได้พยายามเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรและถึงกลับจะให้กองทัพเยอรมันยอมแพ้ต่อตะวันตกกับนายพลไอเซนฮาวร์
ตามคำของพยานที่อยู่ในบังเกอร์ ฮิตเลอร์ "โกรธจัดเหมือนคนบ้า" พร้อมด้วยอาการเดือดดาลที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน ฮิมม์เลอร์นั้นทำงานให้ฮิตเลอร์มาตั้งแต่เริ่มต้นจนได้ชื่อว่าเป็น "der treue Heinrich"(ไฮน์ริคผู้ซื่อสัตย์) ด้วยการรับคำสั่งในการเข่นฆ่าปรปักษ์อย่างโหดเหี้ยมเป็นเวลาหลายปีเพื่อท่านผู้นำซึ่งบัดนี้ได้ออกคำสั่งให้จับกุมเขาเสียแล้ว เพื่อการแก้แค้นโดยฉับพลัน ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้จับกุมลูกน้องคนสนิทของฮิมม์เลอร์ที่อยู่ในบังเกอร์คือพลโทเฮอร์มันน์ เฟเกไลน์ ประจำหน่วยเอสเอสผู้เป็นสามีของน้องสาวอีวา บราวน์ และนำเขาขึ้นไปยังสวนของตึกบัญชาการเพื่อยิงทิ้ง
(ฮิตเลอร์ในช่วงใกล้วาระสุดท้ายขณะแสดงความชื่นชมต่อทหารเด็กที่ช่วยปกป้องกรุงเบอร์ลินจากการรุกรานของกองทัพโซเวียตอย่างกล้าหาญ)
ภาพจาก www.pinterest.com
บัดนี้เมื่อถูกทอดทิ้งจากทั้งเกอริงและฮิมม์เลอร์ รวมไปถึงการรุกรานของกองทัพโซเวียตจนมาถึงกรุงเบอร์ลินแล้ว ฮิตเลอร์ได้เตรียมพร้อมสำหรับวาระสุดท้ายของตน เย็นวันที่ 28 เขาได้เขียนพินัยกรรมเป็นครั้งสุดท้ายและยังเขียนคำสั่งเสียทางการเมืองซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน เพื่อบรรยายความรู้สึกที่เขาเคยเขียนลงในหนังสือ "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" (Mein Kampf) ในช่วงระหว่างปี 1923-1924 เขามุ่งที่จะโยนความผิดไปให้ชาวยิวสำหรับทุกสิ่งรวมไปถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขายังได้อ้างอิงไปถึงการคุกคามของเขาต่อชาวยิวในปี 1939 พร้อม กับบอกเป็นนัย ๆ ถึงห้องรมควันพิษที่เกิดจากการคุกคามนั้นและ ...
"นอกจากนี้ข้าพเจ้าจะสร้างความกระจ่างว่าเวลานี้ไม่ใช่เพียงแค่ลูกหลานของเผ่าอารยันเป็นล้าน ๆ จะตายเพราะความอดอยาก ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่นับล้านจะทรมาณจากความตาย และไม่เพียงแค่ผู้หญิงและเด็กหลายแสนคนจะถูกเผาหรือตายจากระเบิดที่ทิ้งในเมือง โดยปราศจากอาชญากรที่จะรับโทษทัณฑ์นี้ แม้การฆ่าจะเป็นแบบมีอารยธรรมยิ่งกว่า"
ก่อนเที่ยงคืน ฮิตเลอร์แต่งงานกับเอวา บราวน์โดยมีพิธีแบบพลเรือนเพียงสั้น ๆ และก็มีการฉลองการแต่งงานนี้ในห้องของเขาเอง แชมเปญถูกนำมาแจกจ่าย ผู้ซึ่งอยู่ในบังเกอร์ก็รับฟังฮิตเลอร์รำพันถึงอดีตอันแสนหวาน ฮิตเลอร์สรุปว่าความตายจะช่วยปลดปล่อยเขาภายหลังที่ถูกทรยศโดยเพื่อนและผู้สนับสนุนเก่าแก่ บ่ายของวันที่ 29 เมษายน กองทัพโซเวียตได้คืบคลานห่างจากบังเกอร์ของฮิตเลอร์เพียงไมล์เดียว และคนในบังเกอร์ได้ทราบข่าวล่าสุดจากโลกภายนอกถึงความหายนะและความตายของมุสโสลินี ผู้ซึ่งถูกจับกุมตัว ยิงเป้าและถูกแขวนห้อยหัว ก่อนที่จะถูกทิ้งลงไปในท่อระบายน้ำโดยนักรบใต้ดินอิตาลี
ฮิตเลอร์บัดนี้เตรียมพร้อมแล้วสำหรับจุดจบโดยการทดลองยาพิษกับสุนัขตัวโปรดของเขาที่ชื่อบลอนดี เขายังมอบแคปซูลยาพิษให้กับเลขานุการหญิงของเขาและขอโทษว่าเขาไม่สามารถให้ของขวัญยามจากกันที่ดีกว่านี้ พวกเธอสามารถใช้มันได้หากพวกโซเวียตบุกเข้ามาในบังเกอร์ ประมาณ 2.30 น.ของเช้ามืดวันที่ 30 ฮิตเลอร์ได้ออกมาจากห้องมากล่าวคำอำลากับพวกลูกน้อง เขาจับมือกับคนเหล่านั้นด้วยคราบน้ำตาและความเงียบ เมื่อฮิตเลอร์จากไป ทุกคนก็ขบคิดถึงเหตุการณ์สำคัญที่พวกเขาเพิ่งประสบพบ ความตึงเครียดมหาศาลที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ได้จางหายไปเมื่อพวกเขารู้ว่าฮิตเลอร์ใกล้ถึงจุดจบแล้ว พวกเขาถอนหายใจและตามด้วยการแสดงความยินดีเช่นเต้นรำ
ตอนเที่ยง ฮิตเลอร์เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับสถานการณ์ของการสู้รบเป็นครั้งสุดท้ายและได้ทราบว่ากองทัพโซเวียตอยู่ห่างออกไปแค่ช่วงตึกเดียวเท่านั้น เวลาบ่าย 2 ฮิตเลอร์นั่งรับประทานอาหารซึ่งเป็นมังสวิรัตเป็นมื้อสุดท้าย คนขับรถของเขารับคำสั่งให้ไปหาน้ำมันมา 200 ลิตรมายังสวนของตึกบัญชาการ ฮิตเลอร์และภรรยาคือเอวาได้กล่าวคำอำลากับบอร์มันน์ เกบเบิลส์ นายพลเกรบส์ และเบิร์กดอร์ฟ รวมไปถึงทหารองครักษ์และบรรดาลูกน้องเป็นครั้งสุดท้าย และฮิตเลอร์กับภรรยาก็ได้เข้าไปในห้องส่วนตัวในขณะที่บอร์มันน์และเกบเบิลส์ยืนอยู่เงียบ ๆ ข้างนอก สักครู่พวกเขาก็ได้ยินเสียงปืนพกแต่ต้องรออีกสักพัก จนเมื่อเวลา 15.30 น.ทั้งคู่ก็ได้เข้าไปและพบศพของฮิตเลอร์นอนเหยียดอยู่บนโซฟาชุ่มไปด้วยเลือดที่เกิดจากรอยกระสุนบนขมับด้านขวาของเขา ส่วนเอวา บราวน์ตายจากการกินยาพิษ ในขณะที่เสียงปืนใหญ่จากโซเวียตดังมาตกใกล้ ๆ ศพของคนทั้ง 2 ก็ถูกนำขึ้นไปยังสวนของตึกบัญชาการ ถูกราดด้วยน้ำมันและเผาไฟ ส่วนบอร์มันน์ (5)และเกบเบิลส์ยืนอยู่ใกล้ๆ แล้วทำความเคารพครั้งสุดท้ายแบบนาซี 3 ชั่วโมงต่อมาศพก็ถูกราดซ้ำด้วยน้ำมันเพื่อเผาอีก ซากที่เหลือก็ถูกโกยลงในผ้าใบและถูกนำไปฝังไว้ในหลุมที่เกิดจากกระสุนปืนใหญ่ เมื่อท่านผู้นำได้จากไปแล้ว ทุกคนในบังเกอร์ก็หันมาสูบบุหรี่ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ฮิตเลอร์สั่งห้ามทำเวลาอยู่ต่อหน้า พวกเขายังร่วมกันวางแผนอันอาจหาญ(แต่ไร้ผล) ที่จะหลบหนีออกจากกรุงเบอร์ลินเพื่อหลบหนีจากการจับกุมของพวกแดง
วันต่อมาคือวันที่ 1 พฤษภาคม เกบเบิลส์และภรรยาก็ได้จัดการวางยาพิษลูกทั้ง 6 ของตนจนเสียชีวิตหมด จากนั้นพวกเขาก็ขึ้นไปยังสวนของตึกบัญชาการและขอร้องให้พวกเอสเอสยิงที่ท้ายทอยจนเสียชีวิตทั้งคู่ (6) และศพก็ถูกเผา ทว่าได้แค่บางส่วนเท่านั้นแถมยังไม่ทันได้ฝัง ซากที่ดำไหม้ของคนทั้งคู่ถูกค้นพบโดยทหารโซเวียตในวันต่อมา และถูกถ่ายเป็นภาพยนตร์ไว้ ซากศพของเกบเบิลส์จึงมักกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เห็นกันบ่อยครั้งแทนมรดกของอาณาจักรไรซ์ของฮิตเลอร์
(ข้างบนของบังเกอร์ฮิตเลอร์ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง)
....................................................................
หมายเหตุจากผู้แปล
(1) อัลเบิร์ต สเปียร์ต่อมาถูกจับขึ้นศาลนูเริมเบิร์กในฐานะอาชญากรสงครามและถูกพิพากษาให้ติดคุกสปานเดาในเยอรมันตะวันออกเป็นเวลา 20 ปี
(2) ฮิตเลอร์สั่งให้นายทหารเอสเอสยิงเกอริงทิ้งแต่โชคดีนายทหารคนนั้นไม่กระทำตาม เกอริงหนีไปมอบตัวกับฝ่ายสัมพันธมิตรและถูกจับขึ้นศาลนูเรมเบิร์กในฐานะอาชญากรสงครามได้รับการพิพากษาให้ประหารชีวิตโดยการแขวนคอ แต่เกอริงชิงฆ่าตัวตายโดยการกินยาพิษเสียก่อน
(3) จอมพลริตเตอร์ ฟอน ไกร์มต่อมาตกเป็นนักโทษของฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ทราบว่าสัมพันธมิตรอาจจะแลกเปลี่ยนนักโทษกับฝ่ายโซเวียตซึ่งใช้วิธีทรมาณนักโทษแบบทารุณเลยชิงฆ่าตัวตายเสียก่อน
(4) ฮิมม์เลอร์แอบปลอมตัวหนีออกไปจากกรุงเบอร์ลินแต่ถูกจับได้เลยชิงกินยาพิษฆ่าตัวตายเสียก่อนจะถูกสอบสวน แน่นอนว่าในอนาคตเขาต้องมีชะตากรรมเหมือนอาชญากรสงครามคนอื่น ๆ ที่ถูกจับแขวนคอ
(5) บอร์มันน์หนีออกจากบังเกอร์ในวันที่ 1 พฤษภาคม มีพยานบอกว่าเขาเสียชีวิตแล้วแต่ก็ยังมีรายงานและข่าวลือกันหนาหูว่าเขายังมีชีวิตอยู่ บางคนบอกว่าเขาแอบหนีไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่อเมริกาใต้
(6) บางแหล่งบอกว่าเกบเบิลส์เป็นคนลงมือเองนั้นคือใช้ปืนยิงภรรยาก่อนและยิงตัวตายตามอย่างเช่นในหนัง Der Untergang
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44 ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982) สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด