Skip to main content

 

ผมเติบโตมากับนวนิยายพลนิกร กิมหงวนและการ์ตูนโดราเอมอน ถึงแม้จะติดใจกับการ์ตูนเป็นตอนๆ จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปดูภาพยนต์โดราเอมอน ตอนโลกไดโนเสาร์ ยังคงชอบจนติดตามาถึงทุกวันนี้  นึกในใจว่าถ้าโนบิตะมีตัวตนอยู่จริงๆ อายุก็น่าปาไป 50 กว่าปีแล้ว มีลูกมีเต้ากับชิซูกะและเป็นผู้บริหารบริษัทขนาดกลาง (หรือนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือโดราเอมอนที่เครื่องยนต์เสีย ?) ต่อไปนี้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการ์ตูนโดราเอมอนที่เกิดจากการสังเกตของผมเอง


1.Nostalgia

หมายถึงการหวนระลึกถึงอดีตอันแสนหวานของญี่ปุ่นโดยเฉพาะปลายทศวรรษที่ 60 จนถึง  80  ถึงแม้โดราเอมอนจะอยู่เลยจนถึงปัจจุบันก็ตาม แต่ถ้าได้อ่านเล่มต้นๆ แล้วจะซาบซึ้งกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นยุคนั้นเลยทีเดียว ถึงแม้สังคมญี่ปุ่นจะไม่สงบสุขอย่างในการ์ตูนก็ตาม   มีภาพยนตร์ญี่ปุ่นมากมายที่นำเสนอภาพของญี่ปุ่นในยุคนั้นด้วยสภาพที่ตรงกันข้ามกับเรื่องดังกล่าว  การ์ตูนโดราเอมอนจึงคล้ายกับเรื่อง Always ซึ่งจัดได้ว่าเป็นภาพยนตร์แบบ Feel good nostalgia หรือการระลึกถึงความหลังด้วยความรู้สึกดี ๆ


2.Hippie

หมายถึงฮิปปี้ หรือพวกบุปผาชนที่ไว้ผมยาว ใส่เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ ชีวิตไม่สนกรอบระเบียบ วัยรุ่นญี่ปุ่นยุคนั้นคลั่งตะวันตกยิ่งกว่าปัจจุบันเสียอีก นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 ที่วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามายังญี่ปุ่น การ์ตูนมักจะนำเสนออย่างมีอารมณ์ขันถึงวัยรุ่นซึ่งมีอายุมากกว่าโนบิตะเช่นเป็นตัวประกอบเดินผ่านไปผ่านมา คนรุ่นนี้ในยุคเบบี้บูมของสังคมญี่ปุ่นปัจจุบันอายุน่าจะประมาณ 60  ปี ท่ามกลางสังคมญี่ปุ่นซึ่งเป็นสังคมชราภาพ (ageing society) 


3.bullying

หมายถึงการรังแกกันโดยเฉพาะไจแอนท์ ซึ่งเป็นขาประจำในการแกล้งเด็กคนอื่นที่ตัวเล็กกว่าโดยเฉพาะโนบิตะส่วนไจแอนท์มักจะถูกผู้อ่านมองว่าเป็นพวกอันธพาลหรือ rogue  แต่ในหลายครั้งเขากลับเป็นเด็กที่มีน้ำใจไม่น้อย  การ์ตูนก็ได้ทำให้การรังแกกันเป็นเรื่องน่าขบขันทั้งที่ความจริงทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยไม่ว่าในญี่ปุ่นหรือตะวันตกต้องฆ่าตัวตายหรือทำในสิ่งที่เลวร้ายอย่างที่ไม่มีใครคาดถึง


4.born loser

หมายถึงพวกขี้แพ้ หัวขี้เลื่อย อ่อนแอไม่เอาไหน ซึ่งโนบิตะมักจะมีนิสัยเช่นนี้อย่างคงเส้นคงวา แต่ก็มีหลายครั้งที่เขาพิสูจน์ว่าไม่ได้มีนิสัยเช่นนี้เสมอไป โดราเอมอนรู้ซึ้งดี  แต่ตามความเป็นจริงเด็กญี่ปุ่นอย่างเช่นโนบิตะจะมีที่ยืนเช่นนี้ในสังคมหรือไม่ 


5.competitive society

สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขันโดยเฉพาะการเรียนเพื่อจะได้เข้ามหาวิทยาลัยดีๆ  อย่างเช่นโนบิตะต้องถูกทางบ้านเคี่ยวเข็ญให้ต้องเรียนหนัก ในชีวิตจริงมีเด็กญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยไม่สามารถสอบเข้าที่เรียนดีๆ ไม่ได้ก็ตัดสินใจกระโดดตึกตาย ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่มีสถิติฆ่าตัวตายสูงมาก


6.wishful thinking

หมายถึงความฝันเฟื่อง  โนบิตะเป็นเด็กสันหลังยาวระดับ 5 ดาว (ภาษาอังกฤษน่าจะเรียกว่า a slob ได้อารมณ์กว่า a lazy boy) ที่มุ่งนอนฝันถึงเรื่องดีๆ โดราเอมอนจึงเป็นเพื่อนที่จะมาตอบสนองความฝันแบบนี้ได้อย่างดีพร้อมกับของวิเศษนานาชนิดทีพอช่วยให้โนบิตะเป็นคนดีขึ้นบ้างในบางตอน ผมคิดว่าด้วยญี่ปุ่นเป็นสังคมที่แข่งขันและแก่งแย่งกันเช่นนี้ จึงมีเด็กและไม่เด็กจำนวนมากที่ติดอยู่ใน Wishful Thinking จนไม่สามารถออกจากห้องเพื่อพบกับความเป็นจริงได้ เช่นมีคนไม่ยอมออกจากห้องนอนเป็นเดือนๆ ปีๆ  ดังศัพท์ที่เรียกว่า  Hikikomori


7.magic toys

หรือของวิเศษ ซึ่งการ์ตูนบอกว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์จากศตวรรษที่ 22 แต่ถ้าดูดีๆ แล้ว ของวิเศษที่มีอิทธิฤทธิ์แบบนี้ต่อให้เป็นในศตวรรษที่ 30 และเป็นถึงเทวดาจ้างก็ทำไม่ได้ เคยคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าใช้ของพวกนี้พร้อมๆ กันแล้วโลกและจักรวาลคงจะต้องพังพินาศเพราะผลกระทบที่ขัดแย้งกันเอง


8.grumbling mom

หมายถึงคุณแม่ขี้บ่น  คือคุณแม่ของโนบิตะนั้นเอง สำหรับญี่ปุ่นถึงแม้จะเป็นเสรีประชาธิปไตยแต่สิทธิของผู้หญิงค่อนข้างจะพัฒนาไปได้ช้า มีผู้นำทางสังคมและธุรกิจที่เป็นผู้หญิงไม่มากนัก และความคาดหวังของสังคมมักจะให้ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นแม่บ้านแม่เรือน สังเกตดูว่าในโดราเอมอนมักไม่ค่อยมีผู้บริหารเป็นผู้หญิง ปัจจุบัน สังคมญี่ปุ่นก็ยังคงสภาพเช่นนี้อีกเยอะ ผู้หญิงญี่ปุ่นที่ลาออกมาคลอดบุตรหรือไปเป็นแม่บ้านมักจะถูกปิดโอกาสทางอาชีพ จนนายชินโซะ อาเบะต้องเน้นนโนบายให้สิทธิแก่ผู้หญิงในการทำงานมากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นดังที่เรียกว่า นโยบาย Womenomics 

เคยสงสัยไหมว่าทำไมฟูจิโกะ ฟูจิโอะมักชอบให้ภรรยาผมสั้นและตัวสูงกว่าคุณสามีเสมอเลย


9.robot

โดราเอมอนเป็น robot หรือหุ่นยนต์ แต่ความจริงโดราเอมอนมีส่วนผสมของร่างกายที่ซับซ้อน มีความรู้สึกเจ็บปวดและอยากอาหาร ลักษณะคล้ายมนุษย์(หรือแมว) มากกว่า  ถ้ามีรูปร่างเป็นมนุษย์ ภาษาอังกฤษก็คงจะเป็น  Android หรือ humanoid    โดราเอมอนก็ยังมีสมองกล (Artificial intelligence) ที่เต็มไปด้วยความฉลาด (ซึ่งไม่มากนัก) อารมณ์ความรู้สึกที่ละเอียดละอ่อนยิ่งกว่ามนุษย์เสียด้วยซ้ำไป  โดราเอมอนจึงสอดคล้องกับคำพูดของใครก็จำไม่ได้เสียแล้วว่าหุ่นยนตร์เริ่มเหมือนมนุษย์มากขึ้น ในทางกลับกันมนุษย์เริ่มเหมือนหุ่นยนต์มากขึ้น


10.Fictional society

หรือสังคมในจินตนาการ เคยสังเกตไหมว่าเพื่อนบ้านหรือคนอื่น ๆ ที่เดินไปเดินมาในย่านที่โนบิตะอาศัยอยู่ไม่ตื่นเต้นเลยเวลาเจอโดราเอมอน ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นไม่รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์สำคัญในอนาคตที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ กำลังเดินเพ่นพ่านในกรุงโตเกียว โดราเอมอนจึงเป็น "ปิติ มานะ วีระ" เวอร์ชันญี่ปุ่นอย่างแท้จริง 

 

 

 

                                     

 

                                          (ภาพจาก  http://www.watchcartoononline.com)

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามองว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  สำหรับโวห์ลสเตเตอร์และสานุศิษย์ แม็ดนั้นทั้งไร้ศิลธรรมและไร้ประสิทธิภาพ ที่ไร้ศีลธรรมคือมันจะสร้างความเสียหายให้กับพลเรือน และที่ไร้ประสิทธิภาพคือ มันจะทำให้เกิดการยุติการสะสมระเบิดนิวเคลียร์ของทั้งคู่ ในทางกลับกัน โวห์ลสเตเตอ