Skip to main content
 
 
บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/ 
 
 
เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้ถึงแม้จะเป็นที่รู้จักกันน้อยที่สุดในบรรดาซิมโฟนีอันยิ่งใหญ่ของเบโธเฟนไม่ว่า หมายเลข 3 5 6 และ 9  แต่นับได้ว่าเป็นซิมโฟนีที่ล้ำค่าและอลังการไม่แพ้กันเลย เบโธเฟนเริ่มเขียนงานชิ้นนี้ในปี 1811 ขณะที่ตนไปรักษาสุขภาพที่เมืองเตปลิซ ซึ่งเป็นเมืองบ่อน้ำแร่ (สปา) ออกนำแสดงเป็นครั้งแรกในกรุงเวียนนา ปี 1812 ในคอนเสิร์ตเพื่อหาเงินไปช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสมรภูมิฮาเนาอันเป็นการสู้รบระหว่างกองทัพผสมออสเตรียและแคว้นบาวาเรียนกับกองทัพของพระเจ้านโปเลียน ซิมโฟนีชิ้นนี้ยังถูกนำเสนอพร้อมกับผลงานชิ้นเลิศคือ Wellington’s Victory แถมคีตกวีเอกของเราลงทุนไปกำกับเอง ได้ผลลัพธ์คือคนฟังให้การต้อนรับอย่างดี 
 
ซิมโฟนีบทนี้มีทั้งหมด 4 กระบวน ความยาวประมาณ 33 นาที 44 วินาที วัดจากการบรรเลงของวงเบอร์ลิน ฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตร้า โดยเฮอร์เบิร์ต ฟอน คารายาน  บันทึกเสียงในปี 1962
 
1.Poco sostenuto - Vivace 
2.Allegretto 
3.Presto 
4. Allegro con brio 
 
 
 
 
                                       
                      
                                       
                                        ภาพจาก www.allmusic.com
 
 
บทความของคุณเบอร์นาร์ด
 
การแสดงในงานคริสต์มาสเพื่อการกุศลของโรงพยาบาลเซนต์มาร์กที่ถูกจัดขึ้นในปี 1816 และการแสดงเพื่อช่วยเหลือแม่หม่ายและเด็กกำพร้าจากสงคราม ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวียนนาในปีต่อมาเป็นโอกาสถึง 2 ครั้งที่เบโธเฟนจะได้นำการบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 7 นับว่าเป็นหนึ่งในโอกาสของการออกนำวงด้วยตัวเองที่นับวันยิ่งไม่ค่อยมีนัก
 
ซิมโฟนีหมายเลข 7 ในช่วงเวลาไม่ถึง 6 ปีภายหลังจากการถูกนำออกแสดงครั้งแรกกลับได้รับการตอบสนองที่ไม่ค่อยดีนักเช่นเมย์นาร์ด โซโลมอนด์นักเขียนชีวประวัติของเบโธเฟนได้เขียนไว้ว่า "คนปรบมือกันเปาะแปะ แถมกระบวน Allegretto ที่ทรงคุณค่าไม่ได้รับการร้องขอให้เล่นอีกครั้งตามธรรมเนียม ซึ่งบรรดาเพื่อนๆ ของเบโธเฟนก็แก้ต่างอย่างข้างๆ คู ๆ  ว่า เพราะคนนั่งกันอย่างแออัดทำให้ยกแขนขึ้นมาปรบมืออย่างไม่สะดวกนัก”
 
ความชื่นชมคลั่งไคล้ของชาวเวียนนาที่มีต่อเบโธเฟนในช่วงเวลานั้นได้ลดฮวบฮาบไปอย่างน่าตกใจ อย่างไรก็ตามพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์ของเบโธเฟนก็ไม่ได้ลดไปด้วย ตามความจริง เขากำลังค้นหาหนทางใหม่ในช่วงที่ตัวเองกำลังพบกับความวุ่นวายในชีวิตคืออาการหูหนวกและการขอมีสิทธิ์เลี้ยงดูหลาน ซิมโฟนีหมายเลข 7 อยู่ในช่วงท้าย ๆ ที่ผลงานของเขาเป็นการเชิดชูบูชาบุคคลดังที่เรารู้จักกันดีในซิมโฟนีหมายเลข 3 และหมายเลข 5 
 
และโซโลมอนยังอ้างถึงความรู้สึกสั้น ๆ เกี่ยวกับซิมโฟนีหมายเลข 7 ของผู้ซึ่งติดตามงานของเบโธเฟนในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ กันดังนี้
 
เบลิออซเรียกเพลงนี้เป็น "ระบำรูปวงกลมของชาวนา" (Ronde des Paysans) โดยเฉพาะในกระบวนแรก  วาคเนอร์เรียกเพลงนี้ว่า “เป็นเพลงเต้นรำที่สุดยอด” เลนซ์เห็นว่าเป็น "ซิมโฟนีหมายเลข 6 บทที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบตรงการเต้นระบำของชาวนาในงานแต่งงาน" 
 
โนห์ลเห็นว่าซิมโฟนีชิ้นนี้เป็นงานเทศกาลของพวกอัศวินและงานเต้นรำใส่หน้ากากที่เมามันด้วยความสนุกสนานและไวน์ และ เบกเกอร์เรียกว่าเป็น Bacchic orgy (งานร่าเริงแบบเทพเจ้าบัคคุสหรือเทพแห่งไวน์ตามความเชื่อของชาวโรมัน) และเออร์เนส นิวแมนเห็นว่ามันเป็นการพุ่งทะยานของพลังแห่งเทพไดโอนีซุส หรือการเสพสุขทางจิตวิญญาณ 
 
 
 
 
 
                                              
 
                                                          ภาพจาก  www.awesomestories.com
 
 
ท่วงทำนองที่สนุกสนานที่มีอยู่ทั่วซิมโฟนีได้ทำให้นักเขียนทั้งหลายคิดว่าไม่ว่ามันจะแสดงออกอย่างไร เพลงซึ่งเป็นบทเริ่มต้นที่ยาวที่สุดได้แสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนได้พาคนฟังเข้าไปมีอารมณ์ร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อความสนุกสนานที่กำลังจะเริ่มขึ้น บทนำนั้นได้ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก 2 อารมณ์ อารมณ์แรกคือการนำไปสู่ธีมเอเมเจอร์ด้วยขลุ่ยและอารมณ์ที่ 2  มันได้เลื่อนไหลจากโน้ตตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่งแต่เบโธเฟนได้เข้าขัดจังหวะการเลื่อนไหลเช่นนี้ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพและทำให้ธีมของมันกลับมาเหมือนเดิม ผู้ฟังจึงตั้งใจฟังอย่างแทบไม่หายใจ 
 
ทันที่ขลุ่ยเริ่มต้นบรรเลงตามจังหวะของกระบวนแรก การเต้นรำก็เริ่มขึ้นและดำเนินไปเช่นนั้นเรื่อย ๆ ครั้ง วาทยกรผู้โด่งดังคือบรูโน วอลเทอร์ได้ออกความเห็นในช่วงซ้อมว่า เขากำกับซิมโฟนีหมายเลข 7 มามากมายหลายครั้ง แต่ไม่เคยสามารถทำให้จังหวะมันถูกต้องตลอดไปได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะจังหวะของมันนั้นประณีตพอๆ กับความเร่าร้อน 
 
ในกระบวนที่ 2 คือ Allegretto อาจจะช้ากว่ากระบวนอื่น แต่ด้วยมาตรฐานของกระบวนที่ช้าทั่วไปนั้น มันไม่ใช่เลย กระบวนที่ 2 ประกอบด้วยรูปแบบของ dactylic ที่มั่นคง (ยาว ช้า ช้า) ในเอเมเจอร์ที่แสนจะงดงาม ซึ่งทวีความเข้มข้นขึ้นสอดประสานกับการซ้ำจังหวะของแต่ละครั้ง นี่เป็นกระบวนซึ่งผู้ชมมักจะร้องขอให้เล่นซ้ำมากที่สุด ธีมของมันไม่มีอะไรมากและเรามักจะรับรู้ถึงตัวโน้ตที่ถูกบรรเลงซ้ำ ๆ แต่เบโธเฟนประสบความสำเร็จในการทำให้ตัวโน้ตเกิดความเป็นเอกภาพพร้อมไปกับการเปลี่ยนท่วงท่า ทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งใจ 
 
ผม (คุณเบอร์นาร์ด) ได้ฟังจังหวะ Scherzo (ในกระบวนที่ 3 คือ Presto) ในหนังสารคดีมานับครั้งไม่ถ้วน ที่บ่อยที่สุดคือดนตรีประกอบสารคดีศิลปะยุคโรแมนติก นี่คือการเต้นรำที่บ้าคลั่งที่สุด และมักจะสลับด้วยส่วนที่ขัดแย้งที่สุดคือจังหวะ Trio ซึ่งมีแรงขับเคลื่อนน้อยกว่า แต่เมื่อถึงตอนจบ ทรีโอแม้จะปรากฏตัวอย่างสั้น ๆ ได้ทำให้ดนตรีมีลักษณะแหกจารีตอย่างที่คนฟังคาดไม่ถึง นี่คือตัวอย่างหนึ่งในบรรดาดนตรีของเบโธเฟนที่มักจะทะลุนอกกรอบ
 
บางคนคิดว่าเบโธเฟนต้องเมาอย่างแน่นอนเมื่อเขียนกระบวนสุดท้ายหรือไม่ก็ทำให้เกิดภาพว่าใครสักคนกำลังเมา มีหลายจุดที่ทำให้ชวนจินตนาการถึงฉากคนหลายคนกำลังทะเลาะกันถึงเรื่องที่ไม่มีใครเข้าใจ ผลที่ได้เป็นเรื่องตลกนั่นคือการกลับไปกลับมาตลอดกาลระหว่างความวุ่นวายและดุลยภาพ 
 
 
สำหรับผู้เขียน (อรรถสิทธิ์) คิดว่าคงจะเหมือนกับที่เลนซ์บอก หากซิมโฟนีหมายเลข 6 คือการที่ชายผู้เดินทางในชนบท ได้พบกับความงดงามของธรรมชาติ ได้เผชิญกับพายุฝนและความงดงามอันเดิมที่กลับมาอีกครั้งภายหลังจากพายุผ่านไป ซิมโฟนีหมายเลข 7 คือยามเย็นที่ชายคนนั้น (ก็คือเบโธเฟนนั้นเอง) ได้เดินทางมาพบกับบ้านที่กำลังจัดงานแต่งงานที่บรรดาแขกเต้นรำกันสนุกสนาน ใครคนหนึ่งออกมาเชิญเขาให้ไปเต้นรำด้วย....
 
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องความแค้นของผีตายทั้งกลม This (real) horror short story is partly inspired by the ghost tale told by the popular YouTuber like Ajarn Yod. Or it is in fact from the amateurish storytellers participating in Ghost Radio or The Shock more or less.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
My Moment with the Romanov It is based on some historical facts and persons , but it is still fictitious anyways.   Chapter 1 St.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This is the second play I have written in my entire life. Now I hope some of my styles of language , cheekily imitating the Elizabethan writer I didn't mention the name here before : William Shakespeare, won't disturb you much.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายเรื่องนี้ถูกเขียนประมาณ ปี 2005 หรือ 2006  ผู้เขียนเองก็จำไม่ค่อยได้ ตัวเอกหรือผู้บรรยายเป็นคนไทยแต่ไปสอนวรรณคดีที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเบอร์ลินในเยอรมันช่วงที่นาซีกำลังเรืองอำนาจ อนึ่งไม่ได้มีการตรวจสอบภาษาไทยเท่าไรนัก จึงต้อขออภัยหากมีความผิดพลาดทางภาษาเกิดขึ้น&nbs
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(newly compiled and edited)  This is the first play I have ever written in my entire life.It is a sublime story about ghost, inspired by The Shock , the popular radio program of horror story telling from fan clubs via telephone.  I am also truly impressed wi
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคม เกาหลีเหนือได้จัดพิธีเดินสวนสนามของกองทัพเพื่อฉลองครบรอบการก่อตั้งพรรคแรงงานหรือ Worker's Party ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดของเกาหลีเหนือ (ความจริงยัง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ทรัมป์ได้สร้างความฮือฮาให้กับคนไทยเพราะเผลอไปเรียก Thailand เป็น Thighland หรือดินแดนแห่ง "ต้นขา" โดยคนไทยทั่วไปไม่ซีเรียส เห็นว่าเป็นเรื่องสนุกสนานไป เพราะรู้มานาน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ช่วงนี้หลายประเทศได้ทำการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือเมื่อ 75 ปีที่แล้ว (ปี พ.ศ.1945 หรือ พ.ศ.2488) ประเทศที่ได้รับชัยชนะอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาและพันธมิต