Skip to main content

Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก http://www.merriam-webster.com/dictionary/debate

 

ดีเบตแปลว่า การถกเถียงกันระหว่างบุคคลโดยพวกเขาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับบางเรื่อง

 

สาขาวิชาของข้าพเจ้าได้รับเชิญให้ไปร่วมงานดีเบตหรืองานถกเถียงร่างรัฐธรรมนูญที่หอประชุมของวิทยาลัยแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ตอนแรกมีการร้องขอให้สถานที่จัดเป็นมหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า แต่ดูเหมือน กกต.จะไม่ยินยอมเท่าไรนัก อาจเพราะเกรงว่าจะมีการปลุกระดมนิสิตหัวรุนแรงมาชูป้ายก็ได้ โดยทางเพื่อนที่ทำงานพร้อมใจกันโหวตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมในนามของฝ่ายไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญเพียงผู้เดียว ไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าเก่งอยู่คนเดียว แต่บรรยากาศเช่นนี้ ย่อมทำให้คนแสดงการคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญอย่างเปิดเผยรู้สึกอึดอัดใจ เพราะมีกฎหมายมาตีกันไว้ อันเป็นการส่งเสริมบรรยากาศซึ่งภาษาฝรั่งเค้าเรียกว่า repressive คือกดๆ ไว้จากรัฐบาล อันสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการพรางตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตีของอีกฝ่ายที่ว่าไม่ยอมรับความคิดเห็นอันแตกต่าง

 

และก็เป็นจริงอย่างที่ข้าพเจ้าคาดเดาไว้ เพราะผู้จัดงานคือหน่วยราชการได้เปลี่ยนเป็นงานประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญแทนดีเบตแทน ภายใต้ชื่อว่า "เวทีแสดงความคิดเห็น" มีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกอบจ.มานั่งฟังด้วย บรรยากาศจึงเป็นทางการแบบไทยๆ ที่ไม่น่าจะยอมรับความเห็นอันแตกต่างกันหรือความคิดแปลกใหม่ได้เพราะมีโพยเตรียมไว้หมดแล้ว ดีที่ผู้ดำเนินรายการคนสวยช่วยจัดให้มีดีเบตเล็กๆ ระหว่างข้าพเจ้ากับปลัดจังหวัดผู้นั่งอยู่เคียงข้างโดยบังเอิญ  ซึ่งท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นแบบท่านมีชัยกับพี่ตู่ของอุดม แต้พานิชมาก เช่นเชียร์เรื่องรัฐธรรมนูญว่าจะให้สิทธิประชาชนเรื่องอะไรบ้างและก็โจมตีประชาชนไทยว่ายังไม่เหมาะสมกับประชาธิปไตยเหมือนกับคนอังกฤษ (เป็นการตอบโต้กับตัวอย่างที่ข้าพเจ้ายกถึงความยิ่งใหญ่ของรัฐสภาอังกฤษ) แถมยังโจมตีคณะราษฎรอีกต่างหาก ข้าพเจ้าอยากจะเถียงท่านมากกว่านี้ แต่ก็ต้องดึงๆ ตัวเอง หรือ self censor ไว้ เพราะไม่แน่ใจว่าบรรยากาศงานถูกออกแบบว่าจะไปทางไหนว่าไปถ้าดุเดือดกว่านั้นคนดูน่าจะพอรับได้เพราะโทรทัศน์ก็มีรายการแบบนี้บ่อยไป คิดเล่นๆ ว่าถ้างานนี้จัดโดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันหรือบุ๊ครีพับลิก น่าจะสนุกกว่านี้ แต่อาจด้วยทางจังหวัดซึ่งปกครองเขตที่ทางรัฐบาลเพ่งเล็งพิเศษว่ามีเสื้อแดงอยู่มากเกรงว่าจะมีคนมาป่วนหรือประท้วง แม้แต่การเปิดให้คนดูแสดงความคิดเห็นก็กลายเป็นการเขียนกระดาษคำถามส่งให้ผู้ดำเนินรายการอ่านแทน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคำถามที่ไม่ค่อยเข้าเป้าเท่าไร กระนั้นคำอ้างเช่นนี้ของผู้จัดงานอาจเป็นการเขียนเสือให้วัวกลัวก็ได้ เพราะข้าพเจ้าก็ไม่เห็นวี่แววของใครจะมาป่วนงาน บางทีมีคนมาป่วนงานบ้างก็ดีจะได้เป็นสีสันของประชาธิปไตยเหมือนการรณรงค์การออกจากสหภาพยุโรปหรือ Brexit ของอังกฤษ แต่ตามตรรกะของระบบราชการไทยซึ่งสมองแช่แข็งตั้งแต่ยุคสฤษดิ์แล้ว การถกเถียงกันคือการทะเลาะกันและนำไปสู่ความวุ่นวาย และจะนำพวกเขาไปสู่ความเดือดร้อนเพราะจะถูกหน่วยเหนือเล่นงานเช่นสั่งย้ายหรือไม่ให้ความดีความชอบดังเช่นผู้ว่าราชการจังหวัดที่กลัวแม้แต่ป้ายโฆษณากาแฟยี่ห้อหนึ่งจึงต้องอ้างเรื่องก่อม๊อบไว้ก่อน งานที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมเลยเป็นการประชาสัมพันธ์หรือโฆษณาชวนเชื่อดังว่า

 

ท้ายนี้ ข้าพเจ้าคิดว่างานที่พวกเสรีนิยมชื่นชอบอย่างดีเบตได้ถูกกลายร่างเป็นเฟอร์นิเจอร์สวยๆ ให้กับทางรัฐบาลได้อ้างกับต่างชาติเรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยได้เสมอ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองไทยยุคหลังรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคมตลอดไปไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านหรือไม่ก็ตาม นั่นคือการจัดเวทีนาฎกรรม (Drama) โดยรัฐเพื่อกล่อมประชาชนเสียมากกว่าจะอิงกับอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างแท้จริง เว้นแต่ว่าไทยจะเป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมอย่างแท้จริงไม่ว่าทางรูปแบบทางการเมืองหรือวัฒนธรรม ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าเมื่อไร

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที