Skip to main content
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน (ซึ่งหลายคนกลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงเหมือนเขา)และอาศัยอยู่ในเยอรมันตลอดชีวิต ส่วน เบโธเฟนและบราห์มล้วนเป็นโสดและอาศัยอยู่ในกรุงเวียนนา ออสเตรียตราบจนเสียชีวิต
 
แต่ในที่นี้เราจะมาพูดถึงบราห์ม ซึ่งมีชื่อเต็มว่า  Johannes Brahms เจ้าของเพลง Hungarian Dances และ Piano Concerto ทั้ง 2 บทอันโด่งดัง 
 
 
                                                       
                                         
                                                                      ภาพจาก  ไทยวิกพีเดีย
 
โยฮันเนส บราห์ม เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1833 ที่เมืองฮัมบรูก บิดาเป็นนักดนตรีเล่นเครื่องดับเบิลเบสฝีมือธรรมดาๆ คนหนึ่ง มันจึงกลายเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก ที่เขาหัดเล่นนั่นเอง แต่ปรากฏว่าบราห์มีแววรุ่งไปกับเครื่องดนตรีอื่นคือเปียโน ซึ่งฝีมือของเขาก็ได้รับการพัฒนาจากครูชื่อว่าเอดูอาร์ด มาร์กเซนผู้สอนดนตรีตามรูปแบบของบาคให้ และบราห์มได้อุทิศเปียโนคอนแชร์โต้หมายเลข 2 ให้แก่ครูคนนี้ในภายหลัง ว่ากันว่าในวัยเด็ก ดช.บราห์มไปรับจ้าง เล่นเปียโนในแหล่งอโคจรเช่นบาร์และซ่องโสเภณีอันเป็นปฐมสาเหตุที่ทำให้เขามองอิสตรีในด้านไม่ดีและครองตนเป็นโสดไปตลอดชีวิต (แต่ก็มีนักประวัติศาสตร์ดนตรีบางคนไม่เห็นด้วยกับข้อมูลๆ นี้) นอกจากนี้บราห์มยังหัดเล่นเชลโล่ แต่ว่าครูที่สอนดันขโมยเครื่องดนตรีชิ้นนี้ของเขาหนีไปทำให้บราห์มไม่มีโอกาสที่จะคุ้นเคยกับเชลโล่เท่าไรนัก
 
บราห์มในยามหนุ่มไม่ได้รุ่งโรจน์แบบโมซาร์ทหรือเบโธเฟน เขาเปิดการแสดงไม่มากนักและลงมือประพันธ์เพลงมากมายแต่คนก็ยังไม่ค่อยให้ความสนใจอยู่ดี จนกระทั่งเขาได้ออกตระเวนเปิดการแสดงร่วมกับเอดูอาร์ด เรเมนยี  ในระหว่างนั้นเขาได้พบกับโจเซฟ โยอาคิม สุดยอดนักไวโอลินของยุ คผู้ที่จะเป็นเพื่อนสนิทของเขาไปตลอดชีวิต และฟรานซ์ ลิซต์ นักเปียโนผู้เก่งกาจ บราห์มจึงได้เป็นที่รู้จักของสาธารณชน
 
ที่สำคัญพอๆ กัน บราห์มยังได้พบกับ 2 สามีภรรยาคือโรเบิร์ต และคลาร่า ชูมันน์ โรเบิร์ตประทับใจนักดนตรีหนุ่มผู้นี้มากถึงกลับเขียนชมในนิตยสารดนตรีชั้นนำ ว่าเขาเป็น “เจ้าอินทรีย์หนุ่ม” แต่อาจหารู้ไม่ว่า เจ้าอินทรีย์หนุ่มนี้ได้แอบมาสร้างตำนานความรักกับภรรยาของตนคือ คลาร่าผู้อายุมากกว่าบราห์มถึง 14 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ โรเบิร์ตได้เสียชีวิตเพราะเป็นบ้าด้วยโรคซิฟิลิสขึ้นสมองในปี 1856 หลังจากพยายามโดดน้ำเพื่อฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ   และลูกจำนวนถึง 4 ใน 8 คนของคลาร่าก็เสียชีวิตลง เธอจึงพึ่งพิงทางด้านจิตใจกับบราห์มอย่างมากจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต ทั้งคู่ยังแลกเปลี่ยนการวิจารณ์ดนตรีของกันและกัน บางคนเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างเขาและเธอนั้นเป็นแบบ Platonic Friendship หรือเป็นมิตรภาพที่ไม่เรื่องทางเพศเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ประการใด
 
บราห์มตัดสินใจตั้งรกรากที่กรุงเวียนนาในปี 1862 เพื่อที่จะได้อุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการประพันธ์เพลงเพียงอย่างเดียว งานที่มีชื่อเสียงช่วงหลังจากนั้นได้แก่ German Requiem ซึ่งถูกแสดงครั้งแรก ปี 1869 เพลงสวดศพนี้มีลักษณะเด่นคือเป็นภาษาเยอรมันในขณะที่เพลงสวดของคีตกวีคนอื่นมักเป็นภาษาละติน มันได้สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่างมาก มีผู้วิจารณ์ว่างานชิ้นนี้ไม่ได้มีลักษณะไปทางศาสนาหรือแม้แต่ทางโลก หากแต่เป็น การพูดถึงความตาย โดย บราห์มตีความอย่างอิสระจากพระคัมภีร์ไบเบิลที่แปลโดยมาร์ติน ลูเธอร์  เพื่อสื่อความหมายจากความคิดของตัวเขาเอง รวมไปถึงงานออร์เคสตร้า ที่ชื่อว่า Variations on a Theme by Haydn (1873)  Violin Concerto (1878) ซึ่งเขาอุทิศให้กับ โจอาคิม และผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดชิ้นหนึ่งของ บราห์มคือ Double concerto ซึ่งมีเครื่องดนตรีหลักคือ ไวโอลินและเชลโล่ (ตามภาพข้างล่าง) 
 
 
                                    
 
                                          ซีดีเพลงของบราห์มที่ผมเคยสะสม   (ภาพจาก  www.allmusic.com)
 
 
บราห์มเชิดชูบูชาเบโธเฟนมาก เขาถือตัวเองว่าเป็นผู้รับมรดกของความเป็นอัจฉริยะทางดนตรีทางเบโธเฟน ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าอิทธิพลของเบโธเฟนจะมีอยู่มากมายในงานของเขา รวมไปถึงอุปนิสัยบางประการที่เหมือนกันของทั้งคู่เช่นการเดินเล่น บราห์มจะชอบเดินเล่นในป่าใกล้นครเวียนนาและจะพกลูกกวาดเพื่อให้เด็กเล็กๆ หากพบเข้า นิสัยของบราห์มยังใจร้อน ขี้บ่นและชอบมองโลกในแง่ร้าย เหมือนเบโธเฟน อันจะกลายเป็นนิสัยที่ทำให้คนรอบข้างเอือมระอาแต่พวกเขาก็ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดไป นอกจากนี้เขายังเป็นผู้รักความสมบูรณ์แบบอย่างที่เขาเรียกกันว่า Perfectionist อย่างหาใครเปรียบไม่ได้ นั่นคือหากเขาเขียนเพลงบทๆ หนึ่งเสร็จแล้ว แต่ว่าเห็นว่าไม่ได้เรื่องก็จะทำลายทันที ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ว่าผลงานชิ้นแรกของเขาคืออะไร เพราะไม่มีหลักฐาน และเขาต้องใช้เวลากว่า 21 ปีในการเขียนซิมโฟนีหมายเลข 1 เสร็จสมบูรณ์ 
 
อย่างไรก็ตามถือได้ว่าบราห์มโชคร้ายที่ถูกจัดให้เป็นอริกับคีตกวีชื่อดังอีกคนของยุคคือริชาร์ด แว็คเนอร์ซึ่งก็ถือว่าตัวเองเป็นทายาทของเบโธเฟนอีกเช่นกัน ที่สำคัญคีตกวีซึ่งถือว่าตนเป็นสาวกของแว็คเนอร์ต่างก็ดูถูกบราห์มอย่างเช่นฮูโก โวล์ฟ เห็นว่าบราห์มนั้นเป็น "ของโบราณจากยุคดึกดำบรรพ์"  ส่วนปีเตอร์ ไชคอฟสกีประณามเขาว่าเป็น "ไอ้งั่งที่ไร้พรสวรรค์"  นอกจากนี้ในช่วงที่ซิมโฟนีหมายเลข 3 ของบราห์มซึ่งถูกเขียนในปี  1883 และถูกนำออกแสดงครั้งแรกในปีเดียวกันโดยวงเวียนนาฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตร้า ภายใต้การนำของฮันส์ ริชเตอร์ สาวกของแว็คเนอร์ได้พยายามก่อกวนการแสดงจนเกือบจะนำไปสู่การปะทะกับสาวกของบราห์ม
 
 
                              
 
บราห์มเป็นเพื่อนที่ดีกับโยฮันน์ สเตราส์ จูเนียร์ เจ้าพ่อเพลงวอลซ์ชื่อดังของออสเตรีย เมื่อลูกเลี้ยงของสเตราส์ไปขอลายเซนต์ของบราห์ม คีตกวีของเราก็เขียนท่อนแรกของโน้ตเพลงบลูดานูบซึ่งเป็นเพลงชื่อดังของสเตราส์และเขียนกำกับด้วยว่า "น่าเสียดายยิ่ง ไม่ได้เขียนโดยบราห์ม" อันเป็นการยกย่องสเตราส์  (ภาพจาก wikimedia.org)
                       
                 
อาจเพราะเคยเกิดเรื่องน่าเศร้าคือเมื่อเขาเปิดแสดงเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 เป็นครั้งที่ 2 ที่เมือง ไลป์ซิกของเยอรมัน ในปี 1859 ปรากฏว่าได้รับเสียงโห่จากคนดูที่แสดงท่าทางเบื่อหน่ายงานของเขาอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เขาต้องรอถึง 22 ปีกว่าจะผลิตเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 2 โดยมีฮันส์ ฟอน บือโลว์ เป็นวาทยากรซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าชนิดเปรียบเทียบกันไม่ได้ และเป็นเปียโนคอนแชร์โตบทนี้เองที่ผมฟังเป็นเพลงแรกของบราห์มตอนช่วงกำลังเรียนปริญญาโทเมื่อเกือบ 2 ทศวรรษก่อน และมันได้แนบสนิทกับอารมณ์และจินตนาการของผมขณะขี่จักรยานเล่นในชนบทยามบ่ายที่มีแสงแดดสาดส่องผ่านต้นไม้ลงมา กระบวนที่ 3  ช่างอบอุ่นแต่แฝงด้วยความเศร้าสร้อย ทั้งนี้ยังต้องพูดถึงไวโอลินโซนาตาหมายเลข 1 (1889) ซึ่งขึ้นต้นอย่างงดงามและเปี่ยมด้วยอารมณ์ เหมาะกับเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์โรแมนติกดีๆ สักเรื่อง
 
ปี 1890 บราห์มประกาศล้างมือจากการประพันธ์เพลง แต่แล้วก็มีนักดนตรีผู้หนึ่งสามารถเกลี้ยกล่อมให้เขากลับสู่วงการได้ แต่เพียง 7 ปีหลังจากนั้นเขาก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่ 3 เมษายน สิริรวมอายุได้ 64 ปี 11เดือนภายหลังจากที่คลาร่าหญิงผู้เป็นที่รักได้จากโลกนี้ไป
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที