Skip to main content
1.Blade Runner (1982) 
 
สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้เราเหมือนกับหลงเข้าไปในโลกอีกใบหนึ่งมันเป็นโลกแห่งความมืดแบบหนังนีโอ ฟิล์มนัวร์ พร้อมกับศิลปะแบบผสมผสานเช่นภาพจากจอโฆษณาไฟฟ้าเป็นใบหน้าผู้หญิงในชุดแต่งกายญี่ปุ่นโบราณบนผนัง (อันแสดงให้เห็นว่าอิทธิพลทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังเข้ามาแทรกแซงสหรัฐฯอย่างมากมายในทศวรรษที่ 80 ) แต่ที่ขาดเสียไม่ได้คือเพลงประกอบของ Vangelis ที่นอกจากธีมหลักจะดูตื่นเต้นและลึกลับ บางช่วงของเพลงยังทำให้คนฟังรู้สึกเหมือนกับกำลังล่องลอยไปกับรถยนตร์ที่บินได้ เสียงซินทิไซเซอร์ที่จากเดิมค่อนข้างเนิบนาบค่อยๆ ทวีความเข้มขึ้นทำให้เรารู้สึกว่าเจ้าของมุมมองในภาพยนตร์ตอนนั้นกำลังพบบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่และสว่างไสว เช่นเดียวกับเพลงประกอบช่วงโรแมนติกที่ทำให้ภาพยนตร์ดูละเมียดละไมเพราะห้วงแห่งรักระหว่างพระเอกกับนางเอกซึ่งเป็นหุ่นยนต์ (ทำให้ผมนึกถึงเพลงของเขาอีกเพลงหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้คือ Tao of Love อันเป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีสากลกับดนตรีจีน ช่างงดงามเหลือเกิน) ผลงานของ Vangelis นั้นมีมากมายแต่สำหรับเพลงประกอบภาพยนตร์แล้วยังมีที่น่าสนใจเช่น Chariots of Fire (1981) Antarctica (1983) Conquest of Paradise(1992) จนมาถึง Alexander (2004) ของ Oliver Stone ที่ขาดทุนไม่มีดี
 
 
                                
 
                                      ภาพจาก wikimedia.org
 
 
 
 
2.The Killing Fields (1984) 
 
ภาพยนตร์ที่สร้างมาจากชีวิตจริงของสองผู้สื่อข่าวที่ทำข่าวในกรุงพนมเปญก่อนที่เขมรแดงจะยึดอำนาจจากนายพลลอน นอล คนแรกเป็นชาวออสเตรเลีย ส่วนคนที่สองเป็นชาวเขมรซึ่งทำหน้าที่เป็นล่าม และกลายเป็นกุญแจสำคัญในการสะท้อนภาพของความโหดร้ายของพวกเขมรแดงหลังยึดอำนาจได้ที่ทำให้ชาวกัมพูชาเสียชีวิตไปถึงสองล้านคน นอกจากเพลงร้องชื่อดังคือ Imagine ของJohn Lennon ซึ่งถูกบรรเลงตอนจบของเรื่องอันเป็นการต้องการว่ารัฐชาติกัมพูชาดังความฝันของพอล พตและชาวเขมรแดงที่ต้องการให้เป็นแบบลัทธิเหมาสุดขั้วก่อหายนะอย่างไร   เพลงประกอบซึ่งเปี่ยมด้วยพลัง สามารถสื่อความรุนแรงและอารมณ์สับสนตามพล็อตเรื่อง อันเป็นฝีมือของ Mike Oldfield เจ้าพ่อแห่งดนตรีแนว world music (หมายถึงเพลงบรรเลงที่ใช้เครื่องดนตรีของท้องถิ่นกับดนตรีสมัยใหม่ของฝรั่ง) ก็น่าชื่นชมอยู่ไม่น้อย น่าเสียดายว่าเขามีเพลงประกอบที่ทำแบบเต็มๆ และโด่งดังเพียงเรื่องเดียวคือเรื่องนี้ นอกนั้นเป็นภาพยนตร์ไม่ค่อยดังนัก เขายังมีเพียงส่วนร่วมในบางส่วนอย่างเช่นกับหนังผี Exorcist
 
     คิดว่าพวกเราคงสะดุดหูกับเสียงที่เหมือนกับแก้วถูกเคาะและเป่าถี่ๆ เป็นจังหวะชวนให้ท้องไส้ปั่นป่วนในฉากการพวกทหารรัฐบาลรวมถึงชาวต่างประเทศกำลังอพยพหนีกันจ้าละหวั่นและพวกเขมรแดงกำลังใกล้เข้ามา
 
 
                                           
                                              ภาพจาก www.theflicks.asia
                                 
 
 
3.Somewhere in Time (1980) 
 
หากท่านอยากได้เพลงไปเปิดตอนสวีทอยู่กับแฟนสองคน หรือว่ากำลังระลึกถึงความรักที่เคยมีมาในอดีต เราขอแนะนำเพลงประกอบซึ่งช่วยให้ภาพยนตร์ไซไฟโรแมนติกเรื่องนี้กลายเป็นหนังอมตะและประทับตรึงตราในหัวใจแฟนๆ (ที่อายุมากสมควร) จนถึงทุกวันนี้ หนังที่พระเอกย้อนเวลากลับไปหานางเอกเพียงแค่เคยเห็นแค่รูปถ่ายของหล่อนได้เพลงประกอบส่วนใหญ่มาจากนักประพันธ์เพลงสุดยอดคนหนึ่งของวงการคือ John Barry ผู้มีลักษณะเพลงที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองนั่นคือ อ่อนหวาน นุ่มนวลและพาฝัน เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับแรงเสริมจากเพลงของคีตกวีรัสเซียคือ Sergei Rachmaninov ที่ชื่อ Rhapsody on Theme of Paganini อันไม่น่าประหลาดว่าเพลงเหล่านี้จะช่วยทำให้ความรักของพระเอกและนางเอกดูมีพลังจนโศกนาฎกรรมตอนจบทำให้ใครหลายคนน้ำตาคลอ สำหรับจอห์นนั้นมีผลงานในภาพยนตร์ชื่อดังมากมายไม่ว่า Dr. No (1962) ซึ่งเป็นหนังตอนแรกของ James Bond ,The Lion in Winter (1968) Midnight Cowboy (1969), Body Heat (1981), Out of Africa (1985) Dances with Wolves (1990) ฯลฯ ทั้งสองเรื่องหลังนั้นมีฉากโดยมากในชนบทและจะมีการถ่ายจากมุมมองข้างบนโดยเฉพาะ Out of Africa เวลาเราฟังเพลงบรรเลงของจอห์นแล้วจะรู้สึกเหมือนกับล่องลอยไปกับเครื่องบินจนเห็นบรรดาฝูงสัตว์ทั้งหลายในทวีปแอฟริกาไปด้วย
 
 
                          
                                    ภาพจาก wikimedia.org
 
 
 
4.JFK(1991)
 
ภาพยนตร์ที่ค้นหาเบื้องหลังการลอบสังหารประธานาธิบดี John F.Kenndy โดย Oliever Stone คน ๆแรกที่เราควรให้เครดิตสำหรับความยิ่งใหญ่ของหนังเรื่องนี้คือ John Williams ในเรื่องของเพลงประกอบ (อย่าไปจำสับสนกับ John Williams อีกคนที่เป็นนักเล่นกีตาร์คลาสสิกนะครับ) ดนตรีของจอห์นช่วงที่น่าประทับคือการเปิดเรื่องที่มีภาพจากข่าวเก่า ๆพร้อมกับเสียงปราศรัยเพื่ออำลาจากตำแหน่งประธานาธิบดีของนายพล Dwight D. Eisenhower ก่อนจะมาถึงยุคที่เคนนาดีสืบตำแหน่งต่อ ดนตรีของจอห์นทำให้เราตระหนักว่ามีบางอย่างกำลังอึมครึม น่าตื่นเต้นรออยู่ พร้อมกับเสียงกลองที่รัวถี่ๆ ในตอนที่ภาพข่าวกับภาพจริงซ้ำซ้อนกันในตอนเคนนาดีกำลังนั่งรถไปรอบเมืองดัลลัสหรือเสียงกดเปียโนหนัก ๆ ก็ทำให้คนระทึกขวัญไปกับเบื้องหลังการลอบสังหารที่สุดจะจินตนาการ (หรือจะใช้ประกอบกับภาพข่าวของโดนัลด์ ทรัมป์กำลังสาบานตนเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมานี้ก็ได้) ผมรู้สึกว่าดนตรีของจอห์นจะเปี่ยมด้วยพลังจนราวกับเป็นตัวบรรยายอีกตัวสำหรับภาพยนตร์ เรียกรวม ๆว่าเป็นดนตรีเพื่อสื่อความลึกลับของ การสมรู้ร่วมคิดทางการเมืองหรือ Political Intrigue ส่งผลให้จอห์นได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนั้น เขามีผลงานทางดนตรีในภาพยนตร์ชื่อดังที่ผ่านหูผ่านตาเรามากมายโดยเฉพาะหนังทุกเรื่องของ Steven Spielberg ซึ่งถือได้ว่าเป็นคู่บุญกันเลย เช่น Jaws (1975) E.T. the Extra-Terrestrial (1982) Indiana Jones and the Temple of Doom (1984) Empire of the Sun (1987) Jurassic Park (1993) Saving Private Ryan (1998) ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีหนังดังๆ อีกมากมายที่ได้ทั้งรางวัลออสการ์และรางวัลแกรมมี่ บางเรื่องได้ทั้ง 2  รางวัลควบก็มี
 
                         
 
                                             
                                              ภาพจาก   wikimedia.org
 
 
5.The Last Emperor (1987)
 
ภาพยนตร์ของ Bernardo Bertolucciที่เอาสไตล์หนังของเขาก่อนหน้านี้ไม่ว่า Il Conformista (1970)และ Novecento (1976)มายำเป็นหนังที่แสดงถึงความตกต่ำของพระเจ้าปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน แต่หนังก็ได้แสดงให้เห็นถึงช่วงชีวิตของพระองค์ในแต่ละวัย ดนตรีจึงค่อนข้างหลากหลาย ดนตรีลักษณะเป็น world Music ผสมผสานกับเครื่องดนตรีโบราณของจีนก็มีหลายเพลง หรือเป็นเพลงบรรเลงพิณแบบจีนอย่างเดียวก็มี หนังเรื่องนี้มีคนแต่งเพลงประกอบสามคนได้แก่ นักแต่งชาวญี่ปุ่นคือ Ryuichi Sakamoto (ซึ่งต่อมาเขาก็ไปแต่งเพลงให้กับเบอร์โตลุชชี่อีกเรื่องคือ Little Buddha) David Byrne และ Cong Suได้รางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยมพร้อมกับอีกตุ๊กตาทองตัวอื่นๆ ที่ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดไปอย่างถล่มทลาย ธีมของเพลงมีดังต่อไปนี้ (แหล่งคือ Amazon.com)
 
 
1. First Coronation 
2. Open The Door 
3. Where Is Armo? 
4. Picking Up Brides 
5. The Last Emperor (Theme Variation 1) 
6. Rain (I Want A Divorce) 
7. The Baby (Was Born Dead) 
8. The Last Emperor (Theme Variation II) 
9. The Last Emperoror (Theme) 
10. Main Title Theme (The Last Emperor) - David Byrne 
11. Picking A Bride - David Byrne 
12. Bed - David Byrne 
13. Wind, Rain And Water - David Byrne 
14. Paper Emperor - David Byrne 
15. Lunch - Cong Su 
 
(สามเพลงหลังเป็นเพลงที่ถูกยืมมาใช้) 
 
16. Red Guard - The Red Guard Accordion Band 
17. The Emperor's Waltz - The Ball Orchestra Of Vienna 
18. The Red Guard Dance - The Girls Red Guard Dancers 
 
 
เพลงช่วงที่น่าจดจำนอกจากธีมหลักแล้วก็คือตอน Main Title Theme (The Last Emperor) ของ David Byrne ซึ่งเป็นตอนที่แนะนำชื่อของทีมงานในตอนเริ่มต้นพร้อมกับภาพประกอบอันสวยงามเตือนให้ผู้ชมรู้สึกว่าจะได้พบกับศิลปะและประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่และงดงามของจีน หรือตอนที่มีชื่อว่า Where Is Armo? ซึ่งเป็นตอนที่ขันทีแอบเอาอาโม่แม่นมที่ปูยีผูกพันตั้งแต่ยังอายุได้สองสามขวบไปไว้ที่อื่นและปูยีพยายามวิ่งตามไปแต่ไม่ทัน เพลงจะกระชั้น เปี่ยมไปด้วยอารมณ์แห่งความพลัดพรากและ Rain (I Want A Divorce) คือตอนที่นางสนมของปูยีขอหย่ากับพระองค์และเดินตากฝนออกไปจากสถานทูตญี่ปุ่นที่พวกเขาลี้ภัย นอกจากนี้ยังมีเพลงของการเต้นรำของพวกเรดการ์ด (The Red Guard Dance) ตอนที่ปูยีวิ่งไปตามขบวนของพวกเรดการ์ดเพื่อช่วยเหลืออดีตผู้คุมคุกซึ่งถูกความผันผวนทางการเมืองจนกลายเป็นเป้าหมายสำหรับการโจมตีของพวกเรดการ์ด จนถูกคนเหล่านั้นผลักออกไป และเขาก็ได้เห็นการเต้นรำของพวกเรดการ์ดเพื่อสดุดีท่านประธานเหมาอันแสนอลังการ ก่อนจะปิดท้ายด้วย The Last Emperor (Theme Variation II) ตอนที่ปูยีเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมพระราชวังของตนเองในฐานะคนจีนธรรมดาคนหนึ่ง  เพลงทั้งหมดโดยรวมถือว่าเข้มข้นและทรงพลังยิ่งนัก เหมาะสำหรับการเก็บสะสม
 
                                   
                            
   
                                             ภาพจาก   wikimedia.org
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
f n
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
n the future of disruptive world,if I am able to make the documentary film about Sergeant Major Chakaphan Thomma who committed the worst Mass shooting in Thai history , what will the t
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Puzzling that it may seem when Thai authority chose the day king Naresuan reputedly fought with Hongsawadee's viceroy on the elephants as the Army Day.This is because, on that glorious
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เห็นกระแสแปนิคเมื่อหลายวันก่อน ทำให้นึกได้ว่าชาวโลกมีการคาดหมายหรือหวาดกลัวมานานแล้วว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 เริ่มได้ตั้งแต่ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 มาหมาดๆ นั่นคือการกลายเป็นศัตรูระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียตซึ่งเคยเป็นพันธมิตรกันแบบหลวมๆ ในการต่อสู้กับฝ่ายอักษะ การสิ้นสุดของสงครามได้ทำให้ฝ่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นตำราเรียนมักบอกว่าหลังสิ้นสุดสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีประเทศที่ยังเป็นคอมมิวนิสต์เหลืออยู่เพียง 5 ประเทศคือจีน เวียดนาม ลาว คิวบาว และเกาหลีเหนือ (ตลกดีมีคนที
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาป็นวันครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีการเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐบาลจีนไปพร้อมกับการประท้วงของชาวฮ่องกงซึ่งมุ่งมั่นท้าทายรัฐบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
"...All right, Mr. DeMille, I'm ready for my close-up."
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากใครมาดูหนังเรื่อง Wild Strawberries แล้วเคยประทับใจกับหนังเรื่อง About Schmidt (2002) ที่ Jack Nicholson แสดงเป็นพ่อหม้ายชราที่ต้องเดินทางไปกับรถตู้ขนาดใหญ่เพื่อไปงานแต่งงานของลูกสาวและได้ค้นสัจธรรมอะไรบางอย่างของชีวิตมาก่อน ก็จะพบว่าทั้งสองเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Throne of Blood (1957) หรือ"บัลลังก์เลือด" เป็นภาพยนตร์ขาวดำของยอดผู้กำกับภาพยนตร์ญี่ปุ่นคืออาคิระ คุโรซาวา ที่ทางตะวันตกยกย่องมาก เกือบจะไม่แพ้ Seven Samurai หรือ Rashomon เลยก็ว่าได้ ลักษณะเด่นของมันก็คือการดัดแปลงมาจาก Macbeth
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เข้าใจว่าผลงานของ William Shakespeare ที่คนไทยรู้จักกันดีรองจากเรื่อง Romeo and Julius ก็คือวานิชเวนิส หรือ Merchant of Venice ด้วยเหตุที่ล้นเกล้ารัชกาลที่หกทรงแปลออกมาเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับเด็กนักเรียนได้อ่านกัน และประโยค ๆ หนึ่งกลายเป็นประโยคยอดฮิตที่ยกย่องดนตรีว่า &nbsp