Skip to main content
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง  (ถ้าเทียบกับสยามก็ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475)  พวกเขาต้องพบกับปัญหาภัยทางธรรมชาติ อันนำไปสู่การเก็บเกี่ยวพืชผลไม่ตามเป้าหมาย อีกทั้งเศรษฐกิจไม่ดี จนต้องกู้หนี้ยืมสินเอาที่ดินไปจำนองกับธนาคารและถูกธนาคารยึดในที่สุด (อ่านดูแล้วคุ้นๆ ไหม ก็เหมือนกับกระดูกสันหลังของบ้านเรานั้นแหละ กลายเป็นวงจรอุบาทว์ไป)  เรื่องเริ่มต้นเมื่อตัวเอกของนวนิยายและหนังเรื่องนี้คือ ทอม โจด ลูกชายของตาเฒ่าโจดเดินทางกลับมาบ้านภายหลังจากที่ชดใช้กรรมในคุกเสียหลายปีข้อหาฆ่าคนตาย แต่แล้วก็มาพบกับความว่างเปล่าของบ้าน ที่ถูกกระหน่ำด้วยพายุทราย เขาได้ทราบข่าวว่าครอบครัวของตนถูกขับไล่ออกจากแผ่นดินที่ปู่ย่าตาของเขามาตั้งรกรากด้วยน้ำพักน้ำแรงจากธนาคารผู้แสนชั่วร้าย ในที่สุดโจดก็พบกับครอบครัวของเขาที่เป็นครอบครัวขยายคือประกอบด้วยสมาชิกกว่า 11 คน ก่อนที่พวกเขาทั้งหมดจะตัดสินใจเดินทางไปกับรถบรรทุกปุโรทั่งเพียงคันเดียวเพื่อเดินทางไปหาชีวิตใหม่ที่ดีกว่าที่แคลิฟอร์เนีย แต่แล้วทั้งหมดก็พบว่ามีอีกหลายพันหลายหมื่นครอบครัวที่พบชะตากรรมเดียวกับพวกเขาและกำลังเดินทางไปขุดทองที่แคลิฟอร์เนียเช่นกัน...
 
 
 
                                               
 
 
ยอดผู้กำกับของหนังขาวดำอันยิ่งใหญ่เรื่องนี้คือจอห์น ฟอร์ด  (1894-1973) เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายไอริชเพราะพ่อแม่เกิดที่ประเทศไอร์แลนด์ ผลงานของเขาที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบจะเป็นหนังคาวบอย(หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Western Film) อมตะและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ไม่ว่าเรื่อง Stagecoach (1939) The Searchers (1956) ที่จอห์น เวย์น ดาราเจ้าประจำของฟอร์ดเป็นคาวบอยตามหาหลานสาวที่ถูกลักพาตัวโดยอินเดียนแดง รวมไปถึง The Man Who Shot Liberty Valance (1962) ทั้งนี้ไม่นับ The Informer (1935) เกี่ยวกับขบถที่เกิดขึ้นในไอร์แลนด์เมื่อปี 1922 ที่สำคัญเขาเป็นผู้กำกับเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมถึง 4  ครั้ง !! (ในขณะที่ฮัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ซึ่งยิ่งใหญ่พอๆ กันไม่ได้สักรางวัลเลย เอาอะไรกันหนักกันหนากับมาตรฐานของตุ๊กตาทอง ?) ฟอร์ดถือว่าเป็นผู้กำกับที่มีอิทธิพลต่อผู้กำกับรุ่นหลังอย่างมากไม่ว่าอาคิระ คุโรซาวา, อิงมาร์ เบิร์กแมน, แซมเพกินพาห์ หรือแม้แต่ออร์สัน เวลส์ เจ้าของภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในโลกคือ Citizen Kane ก็ยอมรับว่าเขาก็เป็นหนึ่งในผู้มีอิทธิพลต่อตนเช่นกัน
 
 ผู้ที่ค่อนข้างมีอิทธิพลกับภาพยนตร์ของบทความนี้พอๆ กับฟอร์ดก็คือผู้อำนวยการผลิต มือทองอย่างดาร์รีล เอฟ ซานุก ผู้ตัดสินใจซื้อนวนิยาย Grapes of Wrath  ของจอห์น สไตน์เบ็ค เจ้าของรางวัลโนเบล ปี 1962 ด้วยจำนวนเงินถึงหนึ่งแสนเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่ามากมายมหาศาลในสมัยนั้น ผลพวงแห่งความคับแค้นได้รับการตีพิมพ์ในปี 1939 และได้รางวัลพูลิเซอร์ในปีถัดมา กระนั้นทันทีที่หนังสือลืมตาขึ้นมาดูโลกวรรณกรรม ทางการรีบสั่งแบนด้วยเหตุผลแสนไร้สาระคือภาษาหยาบเกินไปและมีตอนโป๊ปนอยู่ด้วย ตอนที่โป๊นั้นคือผู้หญิงเปลือยอกให้นมลูก แน่นอนว่ามันต้องมีเรื่องของการเมืองมาเกี่ยวข้องเป็นแน่  
 
ผู้แสดงของภาพยนตร์เรื่องนี้โดยมากทั้งมืออาชีพและไม่อาชีพสามารถแสดงได้ดีลดหลั่นกันไป สำหรับเฮนรี ฟอนดา บิดาของดาราดังยุคทศวรรษที่ 70 อย่างปีเตอร์และเจน ฟอนดา  ดาราผู้มากด้วยพรสวรรค์สามารถแปลงโฉมเป็นทอม ผู้ชายอารมณ์รุนแรงและหัวขบถได้อย่างถึงแก่นของวิญญาณ สไตน์เบ็คเจ้าของนวนิยายนี้ถึงกลับออกปากชมว่าฟอนดาทำให้เขา "เชื่อมั่นในประโยคที่ตัวเองเขียน" ผู้ที่มีบทบาทที่เด่นที่สุดในเรื่องอีกคนหนึ่งคือ แม่ของทอม (แสดงโดยเจน ดาร์เวลล์) ในฐานะเสาหลักของครอบครัวสามารถทำให้ผู้ชมเข้าใจถึงพลังแฝงของผู้หญิงต่อครอบครัวและเกิดความสะเทือนใจต่อชะตากรรมของชนชั้นรากหญ้าผ่านสายตาของแม่และเมียได้อย่างดี และเธอนี่แหละที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงหญิงสมบทยอดเยี่ยมไป สำหรับฟอนดานั้นน่าเสียดายที่ไม่ได้อะไรเลยแต่ก็นับว่า หนังเรื่องนี้เป็นใบเบิกทางจะทำให้เขาได้รับบทดัง ๆ อีกหลายเรื่องจนมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา แต่การที่ฟอร์ดที่ได้รางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากหนังเรื่องนี้ก็ไม่น่าประหลาดใจอะไรเพราะความอัจฉริยะของเขาในการนำตัวหนังสือมาเป็นภาพโลดแล่นบนแผ่นฟิล์มโดยได้รับคำชมจากเจ้าของนวนิยาย และแฟน ๆ โดยมีหลายครั้งที่ผู้กำกับจำนวนมากโดนก่นด่าจากคนเหล่านั้นเพราะไปปู้ยี่ปู้ยำวรรณกรรมที่แสนรักของตน กระนั้นฟอร์ดได้ซื่อสัตย์ต่อนวนิยายชนิดหน้าต่อหน้าเฉพาะในช่วงแรก ๆ แต่ในช่วงหลังเริ่มมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ของสไตน์เบ็คจงใจเขียนให้ตัวละครพบกับความหายนะของชีวิตแต่ของฟอร์ดจะให้คนเหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีกว่า อาจเพราะเหตุผลทางการตลาด นั่นคือไม่ต้องการทำร้ายจิตใจคนดูจนเกินไป และต้องการเอาใจทางการอยู่บ้าง เพราะพวกโจดได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากค่ายสงเคราะห์คนจนของรัฐบาล   
 
                     
                         
                                       
                                     ภาพจาก filmlinc.org
                                   
 
มีการผสมผสานระหว่างแนวคิดที่แตกต่างกันอย่างน่าประหลาดในหนังเรื่องนี้ ในขณะที่ฟอร์ดนิยมชมชอบพรรคเดโมแครต และหลายคนคิดว่าเขาเป็นพวกขวาจัดเพราะชอบคบค้าสมาคมกับนักแสดงหัวเอียงไปทางนั้นเช่นจอห์น เวยน์ หรือเจมส์ สจ๊วต  ส่วนสไตน์เบ็คได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์เช่นชื่อเรื่องเขาก็เอามาจากเพลงปลุกใจที่หยิบยืมคำมาจากทางศาสนา และชื่อ Joad ก็เพี้ยนมาจากคำว่า Job ในพระคัมภีร์ อีกเช่นกัน แต่ ผลพวงแห่งความคับแค้น ทั้งนวนิยายและภาพยนตร์ก็ถูกประนามว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่อของพวกซ้าย หรือพวกคอมมิวนิสต์ ด้วยการพรรณนาถึงความคับแค้นใจของชนรากหญ้าต่อปัญหาเรื่องปากและท้อง แถมถูกกระหน่ำโดยการกดขี่ข่มเห่งจากนายทุนและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ฉ้อฉล บ้าอำนาจ  สำหรับบ้านเรา นวนิยายได้รับการแปลโดยคุณ ณรงค์ จันทร์เรืองและมีชื่อตรงกับภาษาอังกฤษเป๊ะเลยนั่นคือ "ผลพวงแห่งความคับแค้น" ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับอารมณ์ของหนุ่มสาวในช่วงทศวรรษที่ 10-20 ที่ดื่มด่ำกับแนวคิดสังคมนิยม
 
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการจัดโดยสมาคมภาพยนตร์อเมริกันให้เป็นอันดับที่ 7 ใน 100 ภาพยนตร์อเมริกันยอดเยี่ยมในรอบ100 ปี ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ควรจะดูหนังเรื่องนี้บ่อย ๆ จะได้เข้าอกเข้าใจชาวบ้านบ้าง ไม่ใช่เอาแต่ใส่ใจกับกระเป๋าของนายทุน เหมือนรัฐบาลของประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น