Skip to main content
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาได้เพียงเรื่องเดียวนั่นคือ Fidelio
 
กระนั้นกว่าจะเข็น Fidelioออกมาได้ เบโธเฟนก็ต้องใช้พรแสวงในการศึกษาอย่างจริงจัง (ตามมุมมองของคนทั่วไป โมซาร์ทเก่งเพราะพรสวรรค์และเบโธเฟนเก่งเพราะพรแสวง ความจริงคนทั้งคู่ก็อาศัยพรทั้งสองประการนี้ไปพร้อมๆ กัน) เบโธเฟนลงทุนไปเรียนกับครูเพลงต่าง ๆ รวมไปถึง อันโตนีโอ ซาเลียรี นักแต่งอุปรากรที่สุดแสนโด่งดังในยุคของเขา ในส่วนของการร้องเพลง ช่วงปี 1800-1802  ซาเสียรีดีใจหายช่วยสอนแบบให้เปล่า เบโธเฟนจึงตอบแทนโดยการแต่งเพลงแบบ Variation รวมไปถึงอุทิศโซนาต้าสำหรับเปียโนและไวโอลินจำนวน 3 เพลงให้แก่ท่านอาจารย์ (เป็นที่น่าสนใจว่าถ้าซาเลียรีเป็นผู้ฆ่าโมซาร์ทเหมือนที่เล่าลือจริง เบโธเฟนซึ่งชื่นชอบโมซาร์ทก็ไม่น่าจะมาสนิทสนมกับครูเพลงท่านนี้เป็นอันขาด) 
 
ที่สำคัญ เบโธเฟนยังต้องอาศัยนักเขียนบทละคร นามว่าโจเซฟ ซอห์นไลท์เนอร์ซึ่งก็ดัดแปลงบทมาจากละครเรื่อง Leonore ของญอง นิโคลา บูลลีย์ ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และได้แรงบันดาลใจจากหญิงคนหนึ่งที่ปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อช่วยเหลือสามีจากคุกบาสตีย์ (คุกที่ขังนักโทษการเมืองในฝรั่งเศส) แต่ในอุปรากรของเบโธเฟนเป็นฉากในคุกใต้ดินสเปน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ที่ลีโอนอราปลอมเป็นชายหนุ่มที่ชื่อฟิเดลีโอมาช่วยสามีของเธอคือฟลอเรสตาน นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกคุมขังในคุกใต้ดินโดยดอน ปีซาร์โร หัวหน้าเรือนจำจอมอิทธิพล ฟิเดริโอทำงานเป็นลูกน้องของรอคโค พัศดีเฒ่า เช่นเดียวกับฮาคิโน คนเฝ้าประตูซึ่งลุ่มหลงลูกสาวของรอคโคคือมาร์เซลลิน แต่ฝ่ายหญิงไม่ยอมเล่นด้วยและกลับมาปฏิพัทธ์ต่อตัวฟิเดริโอ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการ เธอก็ต้องตกกระไดพลอยโจน เป็นคู่รักและว่าที่เจ้าบ่าวของมาร์เซลลินไปด้วย ดอน ปีซาโรได้รับทราบข่าวว่าดอน เฟอร์ดินันด์รัฐมนตรีจะมาตรวจคุกเพราะได้รับข่าวว่า ปีซาโร ทำตัวเป็นเผด็จการ เขาจึงคิดจะสังหารฟลอเรสตานเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง ในท้ายสุดแล้ว ฟิเดริโอจะสามารถช่วยสามีของตนได้หรือไม่ จึงน่าตื่นเต้นว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป
 
 
                                    
                                                ภาพจาก www.vienna-concert.com
 
(ลีโอนอราขณะเอาขนมปังให้แก่ฟลอเรสตานในคุกใต้ดิน ด้วยความมืด เขาไม่สามารถเห็นหล่อนอย่างชัดเจน แต่ด้วยความซาบซึ้งใจจึงร้องเพลงอวยพรหล่อน "Euch werde Lohn in bessern Welten" หรือ "ท่านจะได้รับรางวัลในสวรรค์" )
 
 
อุปรากรเรื่องนี้เดิมทีมีอยู่ 3  องค์ ภายใต้ชื่อเดิมคือ Leonore ถูกนำออกแสดงที่เทียเทอร์ อันเดอร์ ไวน์  ที่กรุงเวียนนา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 1805 แต่สิ่งที่ไม่น่าชื่นชมคือกรุงเวียนนาถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส เนื้อหาของอุปรากรที่มีเรื่องการเมืองเป็นฉากหลังของความรักและความเสียสละ ทำให้เพื่อนๆ ของเบโธเฟนกลัวว่า จะทำให้พวกนายทหารฝรั่งเศสที่มานั่งดูกันเป็นหมู่คณะเกิดความไม่พอใจ จึงกดดันให้เบโธเฟน ปรับเปลี่ยนเนื้อหาใหม่ ให้เหลือแค่ 2 องค์แถมยังต้องเขียนเพลงโหมโรงใหม่ ในปี 1806 และมาปรับเปลี่ยนเนื้อหาของอุปรากรกับจังหวะเพลงอีกครั้งในปี 1814 ท้ายสุดเขาต้องแต่งเพลงโหมโรงถึง 4 ครั้ง (Leonore Overture No. 1-3 และเพลงโหมโรง Fidelio)
 
 
สาเหตุอื่นที่ทำให้ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพราะนอกจากเบโธเฟนจะเป็นพวก Perfectionist คือชอบความสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับโยฮันเนส บาร์มส์แล้ว เขามีอาการผิดปกติทางหู (ไม่ใช่หนวกทีเดียว หากแต่ค่อย ๆ แย่ลงตามอายุขัยและมาหนวกสนิทก็เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน) ทำให้เบโธเฟนแต่งทำนองและจังหวะของการร้องในลักษณะที่ยากเย็นสำหรับการร้อง (เป็นปัญหาเดียวกับที่เขาพบในซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่ท่อนสุดท้ายมีเพลงประสานเสียงอันแสนโด่งดัง) เป็นที่น่าจดใจว่าในการแสดงอีกครั้งของอุปรากรเรื่องนี้ในปี 1814 ที่คาร์ทเนอร์เตอร์ เทียเตอร์ เด็กหนุ่มวัย 17 ปี นามว่า ฟรานซ์ ชูเบิร์ตถึงกลับยอมขายตำราเรียนเพื่อจะซื้อตั๋วเข้ามาชม ชูเบิร์ตชื่นชอบเบโธเฟนอย่างสุดซึ้ง ถึงขั้นแสดงเจตจำนงขอเป็นหนึ่งในบรรดาผู้แบกโลงของเบโธเฟนเพื่อไปฝังในพิธีศพ
 
 
                                       
                                            ภาพจาก www.commdiginews.com
                                
 
(รูปของกลุ่มนักโทษที่ตอบจบถูกปลดปล่อยจากคุกเพื่อพบกับลูกเมียและร้องประสานเสียง "Wer ein holdes Weib errungen" เพื่อยกย่องความกล้าหาญของลีโอนอรา)
 
 
Fidelio ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และเป็นที่โด่งดังจนถึงปัจจุบันถึงแม้จะมีผู้วิจารณ์ว่าอุปรากรของเขาดูเหมือนจะขาดความลุ่มลึกและความสำเร็จเกิดจากบารมีของเบโธเฟนเป็นสำคัญ ว่าง่ายๆ คือคนที่รักเบโธเฟนก็จะรักอุปรากรเรื่องนี้ไปด้วย มากกว่าจะตระหนักถึงพลังของอุปรากรที่มักจะถูกดนตรีประกอบข่ม แต่ Fidelio ได้นำเสนอความแรงกล้าของความรักและการเสียสละ ที่สำคัญมีแนวทางการเมืองอยู่ด้วยอย่างชัดเจน อันแสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนมีความสนใจในการเมือง (นอกจากนี้ยังจะดูได้จากการที่เขาเคยอุทิศซิมโฟนีหมายเลข 3 ให้กับนโปเลียน) สิ่งนี้ทำให้ เขาแตกต่างจากคีตกวีจำนวนมาก 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถือได้ว่า It's A Wonderful Life เป็นภาพยนตร์ที่อเมริกันชนแสนจะรักใคร่มากที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้นอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังชีวิตในยุคหลังมากมายหลายเรื่องแล้ว ภาพยนตร์ขาวดำเรื่องนี้ยังถูกนำมาฉายทางโทรทัศน์ในช่วงคริสต์มาสของทุกปีในอเมริกา คอหนังอเมริกันมักจะเอยชื่อหนังเรื่อง
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด