Skip to main content
ถึงแม้เบโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) จะได้ชื่อว่าเป็น คีตกวีที่แสนเก่งกาจคนหนึ่งในยุคคลาสสิกและโรแมนติก แต่ศิลปะแขนงหนึ่งที่เขาไม่สู้จะถนัดนักคือการเขียนอุปรากร เหมือนกับ โมซาร์ท คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ หรือ โจอากีโน รอสซีนี  ดังนั้นช่วงชีวิต 50 กว่าปีของเบโธเฟนจึงสามารถสร้างอุปรากรออกมาได้เพียงเรื่องเดียวนั่นคือ Fidelio
 
กระนั้นกว่าจะเข็น Fidelioออกมาได้ เบโธเฟนก็ต้องใช้พรแสวงในการศึกษาอย่างจริงจัง (ตามมุมมองของคนทั่วไป โมซาร์ทเก่งเพราะพรสวรรค์และเบโธเฟนเก่งเพราะพรแสวง ความจริงคนทั้งคู่ก็อาศัยพรทั้งสองประการนี้ไปพร้อมๆ กัน) เบโธเฟนลงทุนไปเรียนกับครูเพลงต่าง ๆ รวมไปถึง อันโตนีโอ ซาเลียรี นักแต่งอุปรากรที่สุดแสนโด่งดังในยุคของเขา ในส่วนของการร้องเพลง ช่วงปี 1800-1802  ซาเสียรีดีใจหายช่วยสอนแบบให้เปล่า เบโธเฟนจึงตอบแทนโดยการแต่งเพลงแบบ Variation รวมไปถึงอุทิศโซนาต้าสำหรับเปียโนและไวโอลินจำนวน 3 เพลงให้แก่ท่านอาจารย์ (เป็นที่น่าสนใจว่าถ้าซาเลียรีเป็นผู้ฆ่าโมซาร์ทเหมือนที่เล่าลือจริง เบโธเฟนซึ่งชื่นชอบโมซาร์ทก็ไม่น่าจะมาสนิทสนมกับครูเพลงท่านนี้เป็นอันขาด) 
 
ที่สำคัญ เบโธเฟนยังต้องอาศัยนักเขียนบทละคร นามว่าโจเซฟ ซอห์นไลท์เนอร์ซึ่งก็ดัดแปลงบทมาจากละครเรื่อง Leonore ของญอง นิโคลา บูลลีย์ ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และได้แรงบันดาลใจจากหญิงคนหนึ่งที่ปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อช่วยเหลือสามีจากคุกบาสตีย์ (คุกที่ขังนักโทษการเมืองในฝรั่งเศส) แต่ในอุปรากรของเบโธเฟนเป็นฉากในคุกใต้ดินสเปน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ที่ลีโอนอราปลอมเป็นชายหนุ่มที่ชื่อฟิเดลีโอมาช่วยสามีของเธอคือฟลอเรสตาน นักหนังสือพิมพ์ที่ถูกคุมขังในคุกใต้ดินโดยดอน ปีซาร์โร หัวหน้าเรือนจำจอมอิทธิพล ฟิเดริโอทำงานเป็นลูกน้องของรอคโค พัศดีเฒ่า เช่นเดียวกับฮาคิโน คนเฝ้าประตูซึ่งลุ่มหลงลูกสาวของรอคโคคือมาร์เซลลิน แต่ฝ่ายหญิงไม่ยอมเล่นด้วยและกลับมาปฏิพัทธ์ต่อตัวฟิเดริโอ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการ เธอก็ต้องตกกระไดพลอยโจน เป็นคู่รักและว่าที่เจ้าบ่าวของมาร์เซลลินไปด้วย ดอน ปีซาโรได้รับทราบข่าวว่าดอน เฟอร์ดินันด์รัฐมนตรีจะมาตรวจคุกเพราะได้รับข่าวว่า ปีซาโร ทำตัวเป็นเผด็จการ เขาจึงคิดจะสังหารฟลอเรสตานเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง ในท้ายสุดแล้ว ฟิเดริโอจะสามารถช่วยสามีของตนได้หรือไม่ จึงน่าตื่นเต้นว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป
 
 
                                    
                                                ภาพจาก www.vienna-concert.com
 
(ลีโอนอราขณะเอาขนมปังให้แก่ฟลอเรสตานในคุกใต้ดิน ด้วยความมืด เขาไม่สามารถเห็นหล่อนอย่างชัดเจน แต่ด้วยความซาบซึ้งใจจึงร้องเพลงอวยพรหล่อน "Euch werde Lohn in bessern Welten" หรือ "ท่านจะได้รับรางวัลในสวรรค์" )
 
 
อุปรากรเรื่องนี้เดิมทีมีอยู่ 3  องค์ ภายใต้ชื่อเดิมคือ Leonore ถูกนำออกแสดงที่เทียเทอร์ อันเดอร์ ไวน์  ที่กรุงเวียนนา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 1805 แต่สิ่งที่ไม่น่าชื่นชมคือกรุงเวียนนาถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศส เนื้อหาของอุปรากรที่มีเรื่องการเมืองเป็นฉากหลังของความรักและความเสียสละ ทำให้เพื่อนๆ ของเบโธเฟนกลัวว่า จะทำให้พวกนายทหารฝรั่งเศสที่มานั่งดูกันเป็นหมู่คณะเกิดความไม่พอใจ จึงกดดันให้เบโธเฟน ปรับเปลี่ยนเนื้อหาใหม่ ให้เหลือแค่ 2 องค์แถมยังต้องเขียนเพลงโหมโรงใหม่ ในปี 1806 และมาปรับเปลี่ยนเนื้อหาของอุปรากรกับจังหวะเพลงอีกครั้งในปี 1814 ท้ายสุดเขาต้องแต่งเพลงโหมโรงถึง 4 ครั้ง (Leonore Overture No. 1-3 และเพลงโหมโรง Fidelio)
 
 
สาเหตุอื่นที่ทำให้ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเพราะนอกจากเบโธเฟนจะเป็นพวก Perfectionist คือชอบความสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับโยฮันเนส บาร์มส์แล้ว เขามีอาการผิดปกติทางหู (ไม่ใช่หนวกทีเดียว หากแต่ค่อย ๆ แย่ลงตามอายุขัยและมาหนวกสนิทก็เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน) ทำให้เบโธเฟนแต่งทำนองและจังหวะของการร้องในลักษณะที่ยากเย็นสำหรับการร้อง (เป็นปัญหาเดียวกับที่เขาพบในซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่ท่อนสุดท้ายมีเพลงประสานเสียงอันแสนโด่งดัง) เป็นที่น่าจดใจว่าในการแสดงอีกครั้งของอุปรากรเรื่องนี้ในปี 1814 ที่คาร์ทเนอร์เตอร์ เทียเตอร์ เด็กหนุ่มวัย 17 ปี นามว่า ฟรานซ์ ชูเบิร์ตถึงกลับยอมขายตำราเรียนเพื่อจะซื้อตั๋วเข้ามาชม ชูเบิร์ตชื่นชอบเบโธเฟนอย่างสุดซึ้ง ถึงขั้นแสดงเจตจำนงขอเป็นหนึ่งในบรรดาผู้แบกโลงของเบโธเฟนเพื่อไปฝังในพิธีศพ
 
 
                                       
                                            ภาพจาก www.commdiginews.com
                                
 
(รูปของกลุ่มนักโทษที่ตอบจบถูกปลดปล่อยจากคุกเพื่อพบกับลูกเมียและร้องประสานเสียง "Wer ein holdes Weib errungen" เพื่อยกย่องความกล้าหาญของลีโอนอรา)
 
 
Fidelio ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก และเป็นที่โด่งดังจนถึงปัจจุบันถึงแม้จะมีผู้วิจารณ์ว่าอุปรากรของเขาดูเหมือนจะขาดความลุ่มลึกและความสำเร็จเกิดจากบารมีของเบโธเฟนเป็นสำคัญ ว่าง่ายๆ คือคนที่รักเบโธเฟนก็จะรักอุปรากรเรื่องนี้ไปด้วย มากกว่าจะตระหนักถึงพลังของอุปรากรที่มักจะถูกดนตรีประกอบข่ม แต่ Fidelio ได้นำเสนอความแรงกล้าของความรักและการเสียสละ ที่สำคัญมีแนวทางการเมืองอยู่ด้วยอย่างชัดเจน อันแสดงให้เห็นว่าเบโธเฟนมีความสนใจในการเมือง (นอกจากนี้ยังจะดูได้จากการที่เขาเคยอุทิศซิมโฟนีหมายเลข 3 ให้กับนโปเลียน) สิ่งนี้ทำให้ เขาแตกต่างจากคีตกวีจำนวนมาก 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  1.บวรศักดิ์ อุวรรณโณคิดว่าร่างรัฐธรรมนูญของตนนั้นเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความต่อไปนี้บางส่วนเอามาจากบทความของคุณเดวิด เบอร์นาร์ด จาก http://www.chambersymphony.com/   เข้าใจว่าโซโฟนีหมายเลข 7 นี้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที