Skip to main content
                                                                                                                     
                                                                                                                                                               ขออุทิศบทความนี้ให้กับ "อาจารย์ยิ้ม"
 
ชาวสยามคงจะรู้จักทำนองของเพลงเต้นรำหรือวอลซ์ ที่ชื่อ The Blue Danube (เช่นเดียวกับเพลง The Emperor Waltz) เป็นอย่างดี เข้าใจว่าชนชั้นนำของสยามประเทศได้นำเข้ามาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ในงานบอลล์ ที่ผู้เต้นจะใส่สูทหรือกระโปรงคลุมแบบวิกตอเรียนเต้นรำอย่างสง่างามบนฟลอร์ จนมาถึงไม่กี่สิบปีก่อนหน้านี้ก็เป็นเพลงประกอบการ์ตูนของค่ายการ์ตูนดิสนีย์ ไม่ว่าตอนที่ มิกกี เมาส์หรือเจ้าหมาพลูโตแสดงเป็นพระเอกหรือสำหรับคอภาพยนตร์ ผู้กำกับอัจฉริยะอย่างสแตนลีย์ คิวบริกได้หยิบยืมเพลงดังกล่าวมาประกอบกับส่วนหนึ่งของภาพยนตร์สุดคลาสสิกของเขาคือ  2001:A Space Odyssey (1968) เป็นเวลาเกือบ 7 นาที  ปัจจุบันเพลงนี้ยังกลายเป็นเพลงประกอบโฆษณา เพลงริงค์โทน ฯลฯ แต่คงมีน้อยรายที่รู้ว่าเพลงนี้ชื่ออะไร และก็คงมีน้อยลงไปอีกว่าคนแต่งคือ  Johann Strauss หรือ Johann Strauss Jr. (หรือจะใช้คำว่า Younger หรือ "อ่อนกว่า" ก็ได้)  ต่อไปนี้เป็นบทความเกี่ยวกับตัวเขา อันแปลมาจาก http://www.straussfestival.com ซึ่งเขียนโดยใครก็ไม่ทราบ ส่วนบทความที่เกี่ยวกับเพลงบูลดานูบที่โด่งดังไปทั่วโลกแปลมาจาก Wikipedia.com
 
โยฮันน์ ชเตราสส์จูเนียร์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ปี 1825 เป็นลูกชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 5 คน คีตกวีผู้ยิ่งใหญ่จำนวนมากจะโดนพ่อแม่คัดค้านเมื่อพวกเขาตั้งใจจะประกอบอาชีพทางดนตรี แต่ชเตราสส์จูเนียร์ถือได้ว่าเป็นกรณีที่หนักหนาที่สุด ชเตราสส์ ซีเนียร์ บิดาของเขาเห็นว่าครอบครัวนี้มีนักดนตรีเพียงคนเดียวก็พอแล้วและได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะกีดกันไม่ให้บรรดาลูกชายเจริญรอยตามตัวเอง แต่เป็นเรื่องตลกที่ว่าลูกชายสามคนทั้งหมดคือ ชเตราสส์จูเนียร์, โจเซฟ (1827-1870) และเอดูอาร์ด (1835-1916) ล้วนประสบควาสำเร็จในอาชีพนักดนตรีทั้งสิ้น เพราะเป็น มารดานั้นเองที่ช่วยส่งเสริมให้ลูกเดินไปตามความฝัน แอนนาได้ซื้อไวโอลินคันแรกเพื่อให้ลูกนำไปเรียนดนตรี โยฮันน้อยแอบเรียนการเล่นไวโอลินและได้พยายามเป็นครั้งแรกที่จะเขียนเพลงวอลซ์ (Waltz) เมื่ออายุเพียง 6 ขวบ
 
 
ตั้งแต่ปี 1841 ชเตราสส์จูเนียร์เข้าเรียนที่โรงเรียนโพลิเทคนิก แต่หาได้สนใจการทำบัญชีไม่ (พ่ออยากให้เป็นนายธนาคาร -ผู้แปล)  2 ปีต่อมาเขาโดนไล่ออกด้วยข้อหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่มีใครสามารถช่วยเขาได้แม้แต่ครูที่มาสอนพิเศษที่บ้าน ชเตราสส์จูเนียร์หนีเรียนพิเศษเพื่ออุทิศเวลาให้กับการเล่นดนตรี เขายังหัดเล่นไวโอลินจากแม่และก็รับใบอนุญาตจากตำรวจในการเล่นให้กับวงออเคสตราที่มีสมาชิกจำนวน 12 ถึง 15 คนในผับในวันที่ 15 ตุลาคม 1844 ด้วยอายุเพียง19 ปี ชเตราสส์จูเนียร์ก็เปิดการแสดงเป็นของตัวเองครั้งแรกที่ร้านกาแฟชื่อดอมมาเยอร์ ในเมือง ฮีตซิก เขามีอารมณ์และพลังของคนหนุ่มที่พลุ่งพล่านยิ่งกว่าบิดาเสียอีก คนดูในคืนนั้นได้เป็นประจักษ์พยานของการเริ่มต้นของนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ เมื่อจบการแสดง บรรดาคนดูได้เรียกร้องขอให้นักดนตรีกลับมาเล่นอีกครั้ง (Encore) ถึง19 ครั้ง ชเตราสส์จูเนียร์เล่นเพลงวอลซ์เพลงหนึ่งของพ่อ เขายังยึดมั่นมาตลอดชีวิตว่าบิดาเป็นแรงบันดาลใจและเป็นภาพในอุดมคติที่ตนไม่เคยก้าวล้ำ หลังจากนั้นอีกไม่นานผลประพันธ์ของเขาชิ้นแรกก็ได้รับการตีพิมพ์โดยเมเคตตี 
 
บัดนี้ การแข่งขันกันเป็นเจ้าดนตรีก็อุบัติขึ้นระหว่างพ่อกับลูก ในปี 1845 ชเตราสส์จูเนียร์ได้กลายเป็นวาทยากรของกองพันของพลเรือนที่ 2  ในขณะที่ชเตราสส์ซีเนียร์กำกับวงของกองพันของพลเรือนที่ 1 ตั้งแต่ปี 1834 เมื่อได้เวลาการเดินสวนสนามของกองทัพ สองพ่อลูกก็นำวงแข่งกันอยู่ในด้านเดียวกันทำให้ผู้คนรู้สึกอิหลักอิเหลื่อเป็นอย่างยิ่ง เป็นเวลา 5 ปีที่สองชเตราสส์จะแบ่งกันปกครองโลกแห่งเพลงเต้นรำของกรุงเวียนนาออกเป็นสองส่วน เมื่อบิดาเสียชีวิตในเดือนกันยายน 1849 ชเตราสส์ (ต่อไปนี้ขอตัดคำว่าจูเนียร์ออก -ผู้แปล)ก็ได้รับช่วงต่อวงออเคสตร้าจากพ่อ แต่นักดนตรีเก่าไม่ยอมรับเพราะติดใจกับความขัดแย้งของสองพ่อลูกในอดีต ในช่วงปี 1852 ถึง 1865 เขากลายเป็นวาทยากรนำวงในงานบอลล์คาร์นิวัลที่จัดโดยบรรดานักศึกษาวิทยาลัยกฏหมายและเทคโนโลยี ... 
 
                                         
 
 
 
 
ภายหลังงานคาร์นิวัลในปี 1853 ชเตราสส์ล้มป่วยหนักจนไม่สามารถนำวงได้ถึงครึ่งปี น้องชายของเขาคือโจเซฟทำหน้าที่นี้แทน เมื่อถึงฤดูร้อนปี 1853 ชเตราสส์ก็ฟื้นจากอาการไข้และในปี 1854 แล้วกลับไปประพันธ์เพลงอีกครั้ง ถึงแม้สาว ๆ จะเชิดชูบูชาเขา แต่ชเตราสส์ก็ไม่แต่งงานจนอายุอานามล่วงมาถึงปลายๆ 30 ใน ปี1862 เขาได้แต่งงานกับนักร้องสาวนามว่าเฮนรีตเต เทรฟ์ฟซ์ หรือ เจตตี ที่สเตนฟานส์ดอมหรือวิหารเซนต์สเตเฟน ทั้งคู่ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านใกล้กับ ชลอสปาร์ก ของพระราชวังเชนบรุนน์  ชเตราสส์หลงใหลในตัวศรีภรรยาเป็นหนักหนาในช่วง 10 ปีแรก แต่ 5 ปีต่อมาถึงแม้จะไม่ซื่อสัตย์กับหล่อนแต่ก็ยังอุทิศตนให้อยู่เสมอ เจตตีกลายเป็นผู้จัดการให้กับวงดนตรีของเขา เธอทำหน้าที่จัดตารางการออกแสดงคอนเสิร์ต ,สัญญากับโรงละคร และอื่นๆ เจตตีที่จริงแล้วเป็นผู้ที่นำชเตราสส์ไปสู่การประพันธ์ Operetta (คล้ายๆ กับโอเปราแต่เนื้อเรื่องจะเบาๆ ชวนหัว- ผู้แปล) แต่แล้วเธอก็พลันมาจากไปด้วยโรคหัวใจเมื่อปี 1878 ยังความโศกเศร้ามาให้ชเตราสส์อย่างมากล้น เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แม้จะเข้าร่วมในงานศพเธอ
 
ชเตราสส์ไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวในโลกนี้ได้ ดังนั้นแค่ 7 อาทิตย์หลังจากภรรยาเสียชีวิต เขาก็แต่งงานใหม่แม้วัยจะล่วงถึง 52  ปีก็ตาม เจ้าสาวเป็นดาราละครและนักร้องนามว่าเองเจลิกา ดีตทริช  หรือลิลลี่ และมีอายุน้อยกว่าเจ้าบ่าวถึง 30 ปี ต่อมาลิลลี่พบว่าเธอได้แต่งงานกับคีตกวีที่บ้างานและมีวิถีชีวิตที่เธอไม่อาจจะเข้าใจได้ เธอได้ทำให้เขาต้องร้าวรานใจและขายขี้หน้าชาวเวียนนาอย่างมากมายด้วยการแอบไปมีชายคนใหม่ แค่แต่งงานได้ 4  ปี เธอก็หนีชเตราสส์ไปกับผู้กำกับวงดนตรี ด้วยความบอบช้ำทางใจจากการแต่งงานครั้งที่ 2  ชเตราสส์หามุมเลียแผลใจจากสตรีที่ยังสาวและทรงเสน่ห์นามว่าอาเดเล ดอยช์ ซึ่งทำให้คีตกวีวัย 56 ปีตกหลุมรักอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ทางคริสต์จักรจะไม่ยอมรับการหย่าของชเตราสส์กับลิลลี่ อาเดเลก็ได้มาพักอยู่กับชเตราสส์ และได้เข้ามาเติมเต็มในช่องว่างที่ภรรยาคนแรกของเขาทิ้งไว้ ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้แต่งงานอย่างถูกกฏหมายในปี 1887 
 
ในช่วงสุดท้ายของอาชีพ ชเตราสส์ได้หาช่องทางของอาชีพที่กว้างกว่าเดิมนั้นคือโรงละคร เขาเขียนโอเปเรตตาถึง 17 ชิ้น Die Fledermaus (ค้าวคาว, 1874) and Der Zigeunerbaron (The Gypsy Baron, 1885) ประสบความสำเร็จมากที่สุด จุดสุดยอดของอาชีพของชเตราสส์เกิดขึ้นพร้อมกับงานเฉลิมฉลองเป็นอาทิตย์ ๆในเดือนตุลาคม 1894 ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองครบ50 ปีของการเปิดแสดงดนตรีครั้งแรกของเขา ทั้งจดหมายและช่อดอกไม้ถูกส่งมาจากทั่วโลก ชเตราสส์มีความปลื้มปิติอย่างยิ่งต่อความชื่นชมที่ได้รับ ในการพูดที่แสนน่าประทับ เขาได้กล่าวยกย่องความเป็นอัจฉริยะของบิดาว่าเป็นแรงบันดาลใจสำหรับศิลปะของเขาและ... "กรุงเวียนนาอันที่เป็นรักของข้าพเจ้า ซึ่งพื้นปฐพีคือที่หยั่งลึกของพลังของข้าพเจ้าทั้งมวล รวมไปถึงบรรยากาศที่พาบทเพลงที่หัวใจของข้าพเจ้าดื่มด่ำและนำมือของข้าพเจ้าสร้างสรรค์เป็นตัวโน้ตออกมา"
 
ในระหว่างกำลังเขียนเพลงประกอบบัลเล่ต์ชื่อ Aschenbroedel ชเตราสส์เกิดล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ จนกลายเป็นปอดบวม เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1899 ด้วยอายุ 73 ปีท่ามกลางอ้อมกอดของ อาเดเล ภรรยาผู้ซื่อสัตย์
 
 
                                          
 
                                   
 
เพลงบูลดานูบเป็นชื่อภาษาอังกฤษที่แปลมาจากภาษาเยอรมันคือ An der schoenen blauen Donau op. 314 (หรือ "ริมแม่น้ำบูลดานูบอันสวยงาม")แต่งโดยชเตราสส์ในปี 1867 และถูกนำออกมาแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ในคอนเสิร์ตของวีเนอร์ เมเนอร์เกซังส์เวไรน์หรือสมาคมร้องประสานเสียงของผู้ชายชาวเวียนนา ถือได้ว่าบูลดานูบเป็นดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาเพลงคลาสสิกทั้งหลาย ถึงแม้การแสดงครั้งแรกจะประสบความสำเร็จแบบกลาง ๆ 
 
บูลดานูบแต่เดิมมีเนื้อร้องประกอบโดยโจเซฟ วียล์  แต่ชเตราสส์ได้ดัดแปลงมันเป็นรูปแบบออเคสตราเพียงอย่างเดียวสำหรับงานเวิร์ดส์แฟร์ ในกรุงปารีสในปีเดียวกัน และมันได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนกลายเป็นเป็นเพลงบรรเลงที่เล่นมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้เนื้อร้องประกอบอีกเวอร์ชั่นหนึ่งที่เขียนโดยฟรานซ์ ฟอน เกอร์เนอร์ทที่ชื่อว่า Donau so blau (แม่น้ำดานูบช่างสีฟ้าเสียจริง) ก็ถูกนำมาใช้เป็นครั้งเป็นคราว ความนิยมอย่างมากที่ชาวเวียนนามีต่อดนตรีชิ้นนี้ได้ยกให้มันกลายเป็นเพลงประจำชาติอย่างไม่เป็นทางการของออสเตรีย และเป็นเพลงที่มักจะถูกเรียกร้องให้เล่นอีกคร้งในคอนเสิร์ตฉลองปีใหม่ของกรุงเวียนนาในทุกปี 
 
โยฮันเนส บาร์มส์ คีตกวีอีกท่านหนึ่งรักบูลดานูบมาก นอร์แมน ลอยด์ได้เขียนรายงานใน เอ็นไซคลอพิเดียดนตรีเล่มทอง ว่าเมื่อภรรยาของชเตราสส์ได้ขอลายเซนจากบราห์มส์ เขาได้เขียนเส้นขีดจังหวะของโน้ตดนตรีของบูลดานูบท่อนหนึ่งลงในพัดของหล่อนและเขียนประโยคไว้ข้างล่างว่า "อนิจจา ไม่ได้เขียนโดย โยฮันเนส บาร์มส์"
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ผลพวงแห่งความคับแค้นหรือ The Grapes of Wrath เป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวโจดส์ที่อาศัยอยู่ใน รัฐโอกลาโอมา พวกเขาเป็นหนึ่งในหลาย ๆ หมื่นครอบครัวของชนชั้นระดับรากหญ้าของอเมริกาที่ต้องพบกับความยากลำบากของชีวิตในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (Great Depression) ในทศวรรษที่ 30 ซึ่งสหรัฐฯเป็นต้นกำเนิดนั้นเอง &nbsp
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เคยสังเกตไหมว่าพวกที่เป็นเซเลบและพวกที่ไม่ได้เป็นเซเลบแต่อยากจะเป็นเซเลบ  มักจะหันมาใช้อาวุธชนิดหนึ่งในการโฆษณาสร้างภาพตัวเองซึ่งดูเหมือนจะได้ผลไม่น้อยไปกว่าให้หน้าม้ามาโผล่ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเสนอหน้าผ่านเกมโชว์หรือรายการทั้งหลายในโทรทัศน์ก็คือหนังสือนั้นเอง หนังสือที่ว่ามักจะเป็นเรื่องเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้แปลมาจากบทความของโรเจอร์ อีเบิร์ต ที่เขียนขึ้นในเวบ Rogerebert.com เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม ปี ค.ศ.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1."วันข้างหน้า ถ้าไม่มีมาตรา 44  ไม่มีคสช.เราจะอยู่กันอย่างไร"
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
from A to Z , rest of one's life If the officers want to inspect  Dhammakay temple from A to Z , they must spend the rest of their lives.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับของหมอดูที่ผมรวบรวมมาจากการประสบพบเองบ้าง (ในชีวิตนี้ก็ผ่านการดูหมอมาเยอะ) จากการสังเกตการณ์และนำมาครุ่นคิดเองบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงหมอดูทุกคน เพราะคงมีจำนวนไม่น้อยที่มีฝีมือจริงๆ  กระนั้นผมเห็นว่าไม่ว่าเก่งหรือไม่เก่ง พวกเขาหรือเธอต้องใช้เคล็ดลับ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงหนังเรื่อง Lolita ไม่ว่าเวอร์ชั่นไหนแล้วคำ ๆ แรกที่ทุกคนนึกถึงก็คือ Paedophilia หรือโรคจิตที่คนไข้หลงรักและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่อายุน้อย ๆ สาเหตุที่ถูกตีตราว่าโรคจิตแบบนี้เพราะสังคมถือว่ามนุษย์จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อมีอายุที่สมควรเท่านั้น และสำคัญที่มันผิดทั้งกฏหมายและศี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1.Blade Runner (1982)  สุดยอดหนังไซไฟที่มองโลกอนาคตแบบ Dystopia นั่นคือเต็มไปด้วยความมืดดำและความเสื่อมโทรม ถึงแม้บางคนอาจจะผิดหวังในตอนจบ(แต่นั่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหนัง) แต่ด้วยฝีมือ Ridley Scott ที่สร้างมาจากงานเขียนของ Philip K.Dick ทำให้
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
จำได้ว่าตั้งแต่เกิดมาเป็นตัวเป็นตน ภาพยนตร์ที่สร้างความเพลิดเพลินและความชื่นอกชื่นใจให้แก่ผมมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือหนังเรื่อง "มนตร์รักลูกทุ่ง" ของสยามประเทศนี่เอง เคยดูเป็นเวอร์ชั่นโรงใหญ่จากโทรทัศน์ก็ตอนเด็ก ๆ ความจำก็เลือนลางไป เมื่อเข้าเรี
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อาคิระ คุโรซาวาเป็นผู้กำกับญี่ปุ่นชื่อเสียงโด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วยความยิ่งใหญ่จนถึงระดับคลาสสิกของภาพยนตร์ที่เขาสร้างหลายสิบเรื่องทำให้มีผู้ยกย่องเขาว่าเหมือนกับจักรพรรดิหรือแห่งวงการภาพยนตร์ไม่ว่าญี่ปุ่นหรือแม้แต่ระดับนานาชาติคู่ไปกับสแตนลีย์ คิวบริก อัลเฟรด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก