Skip to main content
มักเป็นที่เข้าใจว่าอเมริกาเป็นประเทศแห่งความเท่าเทียมกัน อาจด้วยอเมริกานั้นไม่เคยเปลี่ยนผ่านยุคศักดินาเหมือนกับประเทศในเอเชียและยุโรป อเมริกาถึงแม้จะมีชนชั้นกลางมากแต่บรรดาในชนชั้นกลางก็มีการแบ่งแบ่งแยกที่ดีที่สุดคือเงิน รองลงมาก็ได้แก่ฐานะทางสังคม สีผิว เพศ ฯลฯ เอาเข้าจริงๆ ไม่มีสังคมไหนในโลกที่เท่าเทียมกันเหมือนกับที่ได้ประกาศโฆษณาไว้ในรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะของอเมริกาที่ถือตัวเองเป็นสาวกตัวกลั่นของจอห์น ล็อค ภาพยนตร์ฮอลลีวูดสามารถสะท้อนภาพเหล่านี้ได้ชัดเจนไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือเป็นแค่แนวคิดรองของตัวภาพยนตร์ก็ตาม คอหนังกลางเก่ากลางใหม่น่าจะจำได้ดีถึงเรื่อง Pretty Woman ที่จูเลีย โรเบิร์ตแสดงเป็นคุณโสข้างถนนและได้ตกหลุมรักกับพระเอกคือริชาร์ด เกียร์ที่เป็นเศรษฐีที่ขับรถหลงทางผ่านมาเจอ จนสมรักสมรักในที่สุด และสำหรับคอหนังกลางเก่ากลางใหม่ก็น่าจะจำได้ดีถึงเรื่อง Sabrina (1995)ที่ซิดนีย์ โพลล็อคใช้บทภาพยนตร์บทเดียวกับภาพยนตร์ในปี 1954 เป็นเรื่องของลูกสาวคนขับรถซึ่งตกหลุมรักลูกชายของครอบครัวมั่งคั่งที่พ่อของตนทำงานให้ โดยมีดาราดังๆ ไม่ว่าแฮร์ริสัน ฟอร์ด, เกร์ก คินเนียร์และจูเลีย ออร์มอนด์มาร่วมแสดงถึงแม้เวอร์ชั่นนี้จะได้เสียงตอบรับค่อนข้างดีแต่ผู้กำกับ บารมีดารา รูปแบบการนำเสนอไม่อาจะเทียบได้กับต้นฉบับ ดังนั้นบทความนี้จะกล่าวถึงเวอร์ชั่นที่สร้างในปี 1954 ที่สะท้อนให้เห็นภาพของสังคมอเมริกันทศวรรษที่ห้าสิบได้อย่างดี
 
 
                                        
 
 
Sabrina  (1954) เป็นฝีมือการกำกับของผู้กำกับภาพยนตร์ บิลลี่ วิลเดอร์ที่ซึ่งมีแต่ภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยคุณภาพจนถึงขั้นคลาสสิกเกือบทั้งนั้นไม่ว่า Double Indemnity (1944) Sunset Blvd. (1950) Ace in the Hole (1951) Stalag 17 (1953) The Seven Year Itch (1955) Some Like It Hot (1959) และ The Apartment (1960) หากพิจารณาเนื้อหาของภาพยนตร์เหล่านั้นจะเห็นได้ว่ามีทั้งจริงจัง เคร่งเครียดและตลกเฮฮาสลับกันไป บางเรื่องอย่างเช่น The Apartment ก็เป็นเรื่องตลกรักโรแมนติกและแฝงด้วยการเสียดสีระบบทุนนิยมของอเมริกาที่แสนจะฉ้อฉล นั้นคือผู้บริหารเอาลูกน้องหญิงมาเป็นภรรยาน้อยและลูกน้องชายที่ช่วยเหลือเรื่องเช่นนี้ได้รับการเลื่อนขั้น สำหรับ ซาบริน่านั้นมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับ The Apartment อยู่บ้าง แต่เรื่องแรกนั้นจะผลิตซ้ำเทพนิยายที่ชาวโลกรู้จักกันดีนั้นคือซินเดอเรลล่าสาวอาภัพซึ่งในที่สุดแล้วก็ได้แต่งงานกับเจ้าชายรูปงาม ผู้ที่มารับบทเป็นนางซินก็คือออร์เดรย์ แฮฟเบิร์น ดาราวัยรุ่นซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ครั้งแรกกับหนังที่คนทั่วโลกหลงรักคือ Roman Holiday (พ่อผมบอกว่าเมื่อมาเข้าฉายในหนังหลายสิบปีก่อนโน้น มีชื่อไทยคือ โรมรำลึก)ในปี 1953 น่าตลกที่ว่าหนังเรื่องนี้เธอรับบทเป็นเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ แต่เมื่อมาแสดงในซาบริน่า แฮฟเบิร์นก็รับบทเป็นเพียงลูกสาวของคนขับรถโดยมีนามอันเดียวกับชื่อภาพยนตร์คือ ซาบริน่า แฟร์ชายด์ บิดาของเธอคือโทมัส แฟร์ชายด์ขับรถให้กับครอบครัวลาร์ราบี้อันมั่งคั่งและทรงเกรียรติซึ่งชอบจัดงานเลี้ยงกลางคืนอยู่บ่อยครั้ง 
 
 
ดารานำฝ่ายชายอีก 2 คนที่สามารถดึงดูดคนดูให้แห่กันมาเต็มโรงคือฮัมฟรีย์ โบการ์ต ที่สมาคมภาพยนตร์อเมริกันจัดให้เป็นดาราชายอันดับหนึ่งในรอบหนึ่งร้อยปีของอเมริกา เขามีชื่อเสียงกับภาพยนตร์แบบแก๊งส์เตอร์และหนังฟิล์มนัวร์ไม่ว่า Big Sleep หรือ Maltese Falcon ส่วน บิลลี่ โฮลเด้นนั้นเคยทำงานร่วมกับไวล์เดอร์มาแล้วคือ Sunset Blvd.และ Stalag 17 ทั้งสองรับบทเป็นลูกชายของตระกูลที่ว่านี้และทั้งคู่ต่างมีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นั่นคือไลนัส ลาร์ราบี้ (โบการ์ต) เป็นลูกชายคนโตที่ไม่แต่งงานเพราะแต่งกับงานคือธุรกิจของครอบครัวอย่างที่เรียกว่างานคือลมหายใจ ส่วนเดวิด ลาร์ราบี (โฮเดน)เป็นตัวอย่างที่ดีของเพลย์บอยหนุ่ม ชีวิตสมรสล้มเหลวด้วยความเจ้าชู้ แถมยังเหยียบขี้ไก่ไม่ฟ่อ ไม่สนใจงานการเหมือนพี่ชาย ซาบริน่าได้ตกหลุมรักเดวิดมานานแสนนานอาจด้วยเธอรู้จักและประทับใจเขามาตั้งแต่เด็กแต่ก็ต้องช้ำใจเพราะความรักแบบข้างเดียว แม้โทมัสจะเตือนลูกสาวบ่อยครั้งว่าอย่าได้ใฝ่สูงให้นัก (เขาใช้คำว่า don't reach for the moon)เพราะฐานะทางสังคมนั้นแตกต่างกันแต่ก็ไม่ยับยั้งความรักที่นับวันยิ่งทวีความทรมาณให้กับหัวใจของเธอเรื่อยๆ จนเธอคิดจะฆ่าตัวตาย ด้วยวิธีแบบซื่อๆ ตลกๆ จึงไม่ต้องสงสัยว่ามันจะสำเร็จหรือไม่
 
จนในที่สุดซาบริน่าก็ถูกส่งไปเรียนทำอาหารที่กรุงปารีสเป็นเวลานาน จนเมื่อเธอกลับมาอีกครั้งภายใต้คราบสาวไฮโซ แต่งตัวทันสมัย อันสะท้อนให้เห็นความนิยมในยุคนั้นจนถึงปัจจุบันว่ากรุงปารีสเป็นนครแห่งแฟชั่น แม้ว่าเธอจะไม่ได้ไปเรียนแฟชั่นก็ตาม กระนั้นในตอนที่เธออยู่ปารีส เดาได้เลยว่าเพลงที่บรรเลงประกอบจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของมหานครแห่งนี้ก็คือลาวีอองโรส เดวิดซึ่งบังเอิญพบซาบริน่าและพาเธอติดรถจากสถานีรถไฟกลับมาบ้านก็ตกหลุมรักและคิดจะจริงจังกับเธอแม้จะเป็นแค่ลูกคนขับรถก็ตาม ปัญหาก็คือตอนนั้นครอบครัวลาร์ราบี้กำลังวางแผนจะให้เขาแต่งงานกับลูกสาวของบริษัทยักษ์ใหญ่อีกบริษัทหนึ่งเพื่อที่จะทั้งสองบริษัทจะได้รวมกันกลายเป็นบริษัทข้ามชาติอันยิ่งใหญ่ต่อไป เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ไลนัสจึงเข้ามากีดกันซาบริน่าออกไปโดยการสร้างความสนิทชิดเชื้อจนซาบริน่าหันมาตกหลุมรักไลนัสแทนและท้ายสุดเขาวางแผนที่จะหลอกเธอให้กลับไปปารีส แต่ในที่สุดความรู้สึกของเขากลับหันมาทรยศตัวเอง...
 
 
 
                             
                                       ภาพจาก  Filmicmag.com   
 
 
ชีวิตหลังกล้องอาจจะดูวุ่นวายอยู่เอาการ ด้วยโบการ์ตซึ่งเข้ามาแทนที่แคร์รี่ แกรนท์ในนาทีสุดท้ายไม่ชอบแฮฟเบิร์นและต้องการให้ลอเรนซ์ บาคัลภรรยาสาวมารับบทนี้แทน กระนั้นคนเขียนเห็นว่าแฮฟเบิร์นเหมาะกับบทนี้มากกว่าโดยบุคลิกภาพโดยรวมของเธอคือสาวน้อยใสบริสุทธิ์ (ในบางครั้งอาจจะดูไร้เดียงสาไปนิด)และเต็มไปด้วยความอ่อนโยน ในขณะที่บาคัลดูเหมาะกับผู้หญิงที่มีบางสิ่งบางอย่างแฝงอยู่ข้างใน อาจจะละม้ายไปทาง La femme fatale หรือผู้หญิงร้ายลึก เสน่ห์มรณะแบบภาพยนตร์ฟิล์มนัวร์ นอกจากนี้โบการ์ตยังมีเรื่องทะเลาะกับโฮล์เดนท์ชนิดไม่ต้องมองหน้ากันนอกจากเวลาถ่ายหนังในด้วยกัน ในทางกลับกันโฮล์เดนท์กับแฮฟเบิร์นตกหลุมรักกันและกัน ทว่าทั้งคู่ก็เลิกกันไม่นานหลังจากนั้นเพราะแฮฟเบิร์นรู้ว่าเขาเป็นหมัน ด้วยเธอถือว่าความเป็นแม่นั้นเป็นภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้หญิง กระนั้นการแสดงและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสามถือได้ว่าเข้าขั้นยอดเยี่ยมถึงแม้ภาพยนตร์จะได้รางวัลออสการ์เพียงสาขาเดียวคือการออกแบบเครื่องแต่งกายจากการเข้าชิงถึง 6  สาขาและเป็นภาพยนตร์ระดับกลางๆ หากเทียบกับภาพยนตร์ของบิลลี่ดังที่กล่าวไว้ข้างบน
 
 
ตอนจบของเรื่องเป็นอย่างไร คนดูในยุคปัจจุบันก็เดาได้เพราะภาพยนตร์ไทยเก่าๆ รวมไปถึงละครไทยก็มีตอนจบแบบแฮปปี้เอ็นดิ้งแบบนี้แหละ ว่ากันตรง ๆ แล้วคนไทยก็เหมือนกับคนอเมริกันและชาวโลกนั้นคือไม่รังเกียจคนรวย แต่ก็เห็นร่วมกันว่าความรักนั้นไม่ควรจะมีเรื่องของเงินของทองมาเกี่ยว เดวิดคือตัวแทนของของระบบทุนนิยมที่ศิลปินอย่างเช่นผู้กำกับในวงการฮอลลีวู้ดเห็นว่าแห้งแล้ง น่าเบื่อ ยุ่งแต่กับตัวเลขของหุ้น ส่วนซาบริน่าคือตัวแทนของความอ่อนโยนและความไร้เดียงสาและในท้ายสุดแล้วฝ่ายหลังก็ได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายแรก ไม่รู้เหมือนกับว่าภาพยนตร์และละครไทยจะได้รับอิทธิพลมากจากภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่องนี้และอื่น ๆเพียงใด รู้แต่ว่าภาพยนตร์อีกเรื่องที่มีพล็อตคล้ายกับซาบรีน่าคือภาพยนตร์เพลงที่ชื่อ "บุษบาริมทาง"หรือ My Fair Lady ที่แฮฟเบิร์นแสดงเหมือนกันน่าจะมีอิทธิพลต่อเรื่องแหม่มกระปิของคุณกำธร ทัพคัลไลอย่างมาก 
 
ถึงแม้อเมริกาในช่วงหลังอาจจะไม่ค่อยสร้างภาพยนตร์แบบนี้นักนอกจะเรื่อง Pretty Woman หรือเรื่องประเภทเจ้าชายต่างชาติเสด็จมาอเมริกาและตกหลุมรักกับนางเอกซึ่งยากจนอาจจะด้วยกระแสสตรีนิยมหรือ feminismกำลังมาแรง ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดจำนวนมากจึงมักจะสะท้อนให้เห็นถึงภาพของผู้หญิงที่มีความสามารถในการไขว่ขว้าตำแหน่งงานด้วยตัวเองไม่ต้องรอเจ้าชายขี่ม้าขาวอีกต่อไป ซึ่งคงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Sabrina เวอร์ชั่นใหม่ในทศวรรษที่ 90 ไม่เปรี้ยงปร้างนัก กระนั้นความแตกต่างทางสังคมอเมริกันก็ยังมีอยู่ต่อไปเช่นผู้หญิงและคนสีผิวจะมีอัตราส่วนน้อยในการเป็นผู้บริหารบริษัทและรัฐบาล คนยากจนและไร้การศึกษาก็มีอยู่เป็นจำนวนมากที่กระจุกตัวอยู่ในสลัมตามเมืองใหญ่ๆ ไม่ว่านิวยอร์คและแอลเอ สำหรับละครไทยไม่ต้องห่วงว่ายังนิยมผลิตเรื่องซินเดอเรลล่าแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ (แถมยังมีการเปิดศึกแย่งผู้ชายเสียด้วยนี่) โดยเฉพาะหญิงสาวฐานะไม่ดีและได้แต่งงานกับชายหนุ่มเศรษฐีโดยที่ฝ่ายหญิงไม่ได้ปรารถนาเรื่องเงินแม้แต่น้อย ในทางกลับกันมักจะไม่มีเรื่องแบบพระเอกฐานะยากจนแต่งงานนางเอกฐานะร่ำรวยเท่าไรนักเพราะเป็นการลดอำนาจของเพศชายตามความเชื่อแบบชายเป็นใหญ่ แน่นอนว่า ผู้ชายที่ยากจนก็ต้องตกเป็นเหยื่อของคติเช่นนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างก็คือผู้เขียนบทความนี้ซึ่งต้องอยู่อย่างเจียมเนื้อเจียมตัวจนถึงทุกวันนี้
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ  Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913  และหนังสือเล่มนี้ก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 "Whoever you are, I have always depended on the kindness of strangers." Blanche Dubois  ไม่ว่าคุณเป็นใคร ฉันมักจะพึ่งพ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากพูดถึงคำว่า Three Bs ผู้ใฝ่ใจในดนตรีคลาสสิกก็จะทราบทันทีว่าหมายถึงคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3  ของเยอรมัน นั่นคือ Bach  Beethoven และ Brahms ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆ ส่วน นั่นคือบาคเป็นคีตกวีในยุคบาร็อค เบโธเฟนและบราห์ม เป็นคีตกวีในยุคโรแมนติก นอกจากนี้บาคเป็นบิดาที่มีบุตรหลายคน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ถ้าจะดูอย่างพินิจพิเคราะห์แล้ว La Dolce Vita (1960) ของเฟเดริโก เฟลลินี สุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี ไม่ได้ด้อยไปกว่าภาพยนตร์ในเรื่องต่อมาของเขาคือ 8 1/2 ในปี 1963 แม้แต่น้อยโดยเฉพาะการสื่อแนวคิดอันลุ่มลึกผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เพียงแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกเป็นสัจนิยมนั้นคือไม่ยอมให้จินตนาการกับความ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    หนึ่งในบรรดาคีตกวีที่อายุสั้นแต่ผลงานสุดบรรเจิดที่เรารู้จักกันดีคือนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียนามว่าฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ชูเบิร์ตเปรียบได้ดังสหายของเบโธเฟนผู้ส่งผ่านดนตรีจากคลาสสิกไปยังยุคโรแมนติก ด้วยความเป็นคีตกวีผสมนักกวี (และยังเป็นคนขี้เหงาเสียด้วย) ทำให้เขากลายเป็
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
      ขออุทิศบทความนี้ให้กับโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
             เป็นเรื่องตลกถึงแม้ผมเอาแต่นำเสนอแต่เรื่องของดนตรีคลาสสิก แต่ดนตรีซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่ออารมณ์ความรู้สึกของผมเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อนจนถึงปัจจุบันคือดนตรีแจ๊ส และผมฟังดนตรีชนิดนี้เสียก่อนจะฟังดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจังเสียอีก (ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าในป
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
แน่นอนว่าคนไทยย่อมรู้จักเป็นอย่างดีกับฉากของหญิงสาวผมสั้นสีทองในเสื้อและกระโปรงสีดำพร้อมผ้าคลุมด้านหน้าลายยาวที่เริงระบำพร้อมกับร้องเพลงในทุ่งกว้าง เข้าใจว่าต่อมาคงกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับหนังที่มีสาวม้งร้องเพลง "เทพธิดาดอย"อันโด่งดังเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่เนื้อเพลง Lover's Concerto ที่ด
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Debate =discussion between people in which they express different opinions about something อ้างจาก