Skip to main content

 

1.Megalomaniac -  โรคหลงคิดว่าตัวเองเป็นใหญ่และหมกมุ่นกับอำนาจ  เราใช้คำนี้กับบุคคลซึ่งมีความประพฤติราวกับเชืื่อจริงๆ จังๆ ถึงอำนาจโดยเด็ดขาดและความยิ่งใหญ่ของตัวเอง ดังพฤติกรรมเช่น  ชอบตะคอก ทำตัวเหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะนักข่าวที่มาสัมภาษณ์ หรือแสดงการดูถูกประชาชนผ่านสื่อมวลชน  ร้ายไปกว่านั้นคือพล่ามอยู่คนเดียวหน้าโทรทัศน์โดยหลงคิดว่าประชาชนกว่าหกสิบล้านคนคงนั่งทำแป๋วฟังตัวเองและคิดว่าตัวเองจะเป็นนายกฯ ไปชั่วนิรันดร

 

 2.Pathological liar -คนชอบโกหกพกลม คนที่เป็นโรคนี้ชอบโกหกเป็นชีวิตจิตใจ ถึงขั้นสร้างวาทกรรมขึ้นมาใหม่โดยไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเลยเพียงเพื่อให้ได้รับความสนใจหรือการยอมรับจากคนรอบข้าง หรือเข้าสู่เป้าหมายเช่นอำนาจ หลายคนก็เป็นพวกมีทักษะอย่างดีเยี่ยมในการสื่อสาร มีเสน่ห์ แต่เป็นเจ้าเล่ห์เพทุบาย ไม่ใส่ใจผลที่เกิดขึ้น อย่างเช่นสัญญาเรื่องการเลือกตั้งผ่านคำพูดและท่าทางขึงขังราวกับเป็นผู้รักษาสัจจะ

 

3.Bipolar disorder -โรคอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เช่นตะหวาดคนรอบข้าง แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ต่อมาก็พูดดี แสดงอารมณ์ขััน  ยิ้มระรื่น ชอบอ้างว่าตัวเองเป็นคนตลก คนรอบข้างต่างระอากับการแสดงความรู้สึกผิดอยู่ร่ำไปพร้อมกับสัญญาเลื่อนลอยของบุคคลเช่นนี้ว่าจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นเพียงการโกหกพกลม (สอดคล้องกับข้อ 2)

 

4.Split personality -โรคหลายบุคลิก ซึ่งผู้ป่วยเพียง 1 คนสามารถมีบุคลิกหรือตัวตนหลายตัวและแสดงออกมาในต่างกรรมต่างวาระ เช่น เดี๋ยวก็แสดงตนเป็นกุ๊ยกักขฬะ   เดี๋ยวก็เป็นนักแต่งเพลง อารมณ์อ่อนไหว (เนื้อเพลงเต็มไปด้วยความรันทด สงสารตัวเอง)  เดี๋ยวก็เป็นนักปกครองมีเมตตาและวิสัยทัศน์กว้างไกล   เดี๋ยวก็เป็นเผด็จการความคิดวนอยู่แต่ในกะลา

 

5.Obsessive-Compulsive -โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคที่หมกมุ่นทำในสิ่งเดิมๆ มากเกินไปเช่นชอบตำหนิรัฐบาลชุดก่อนหรือคิดถึงแต่อดีตนายกรัฐมนตรีอย่างทักษิณ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่าพยายามกลับมาแย่งอำนาจตน อันสอดคล้องกับ 6. Paranoid คือโรคหวาดระแวงว่าจะมีคนมาทำอันตรายหรือแย่งอำนาจตนทั้งที่กลุ่มบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นเพียงต้องการเลือกตั้งหรือต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย และพวกเขาก็ต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

 

 

 

                                (ภาพจาก www.stephealth.com)

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  บทความนี้ได้รับการแปลและตัดต่อบางส่วนจากเว็บ The History Place:World War in Euroe ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ  บทความนี้ยังถูกนำเสนอเนื่องในโอกาสครบรอบการเสียชีวิตของฮิตเลอร์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว (30 เมษายน ปี 1945) เช่นเดียวกับก
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 คงมีภาพยนตร์เพียงไม่กี่เรื่องที่สามารถสะท้อนความคิดทางปรัชญาอันลุ่มลึกและมักทำให้ผมระลึกถึงอยู่เสมอเวลาดูข่าวต่างๆ หรือไม่เวลาพบกับเหตุการณ์ทางการเมือง ภาพยนตร์เหล่านั้นนอกจากราโชมอนของ อาคิระ คุโรซาวาแล้วยังมี Being There ที่ภาพยนตร์สุดฮิตอย่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1. กลุ่มกปปส.ต่อหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์คิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
1. เพลง  Give It Up ของวง  KC&Sunshine Band  (ปี 1983)  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.Don Giovanni คีตกวี วู๊ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  The Pianist ซึ่งกำกับโดยโรมัน โปลันสกีถูกนำออกฉายในปี 2002  และได้รับการยกย่องรวมไปถึงรางวัลออสการ์และอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะคิดว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  เมื่อพูดถึงเพลงคลาสสิก ภาพแรกที่ปรากฏอยู่ในหัวของทุกคนก็คือผู้ชายหรือไม่ก็เด็กชายฝรั่งสวมวิคแต่งชุดฝรั่งโบราณกำลังเล่นเปียโนอยู่ หากจะถามว่าคนๆ นั้นคือใคร ทุกคนก็จะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาคือ โมสาร์ต คีตกวีผู้มีชื่อเสียงมากที
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 1.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามองว่าตัวเองเป็น 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
  สำหรับโวห์ลสเตเตอร์และสานุศิษย์ แม็ดนั้นทั้งไร้ศิลธรรมและไร้ประสิทธิภาพ ที่ไร้ศีลธรรมคือมันจะสร้างความเสียหายให้กับพลเรือน และที่ไร้ประสิทธิภาพคือ มันจะทำให้เกิดการยุติการสะสมระเบิดนิวเคลียร์ของทั้งคู่ ในทางกลับกัน โวห์ลสเตเตอ